ต่อเติมบ้าน
ชวนสัมผัสประสบการณ์ที่ทุกเรื่องเกี่ยวกับบ้านเป็นจริงได้ ในงาน ก้าวสู่ปีที่ 15 SCG HOME Experience
บ้านและสวน ชวนคนรักบ้านไปร่วมงาน ‘ก้าวสู่ปีที่ 15 ทุกเรื่องการทำบ้าน เริ่มที่ SCG HOME Experience’ สัมผัสทุกประสบการณ์จากผู้นำเรื่องการทำบ้านและที่อยู่อาศัยที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องวัสดุศาสตร์ รวมถึงสินค้าและบริการเรื่องบ้านที่ลูกค้ามั่นใจได้ในคุณภาพ และโซลูชันที่เหมาะสมกับทุกความต้องการของเจ้าของบ้าน ตลอด 14 ปีที่ชาวเอสซีจี โฮม เอ็กซพีเรียนซ์ มุ่งมั่นและตั้งใจให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาเรื่องบ้านด้วยประสบการณ์ที่อัดแน่น จึงตั้งใจฉลองวาระก้าวสู่ปีที่ 15 ด้วยกิจกรรมแบบจัดเต็ม ทั้ง ‘เปลี่ยนบ้านให้เป็นคาเฟ่ by SIRI’ และจัด Living Expert Talk พูดคุยอย่างเปิดอกเรื่องบ้านและที่อยู่อาศัย ทุกวันเสาร์ตลอด 1 เดือนกับหัวข้อสุดเทรนด์ อาทิ Better Living Better Life อยู่ดี กินดี สุขภาพดี รีโนเวตบ้าน ปรับเปลี่ยนฟังก์ชันบ้านจัดสรร บ้านเดี่ยว ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ งานนี้ บ้านและสวน ได้เข้าร่วมจัดกิจกรรม Talk ในหัวข้อ ‘ทำสวนดูแลง่ายงบไม่บานปลาย’ โดย คุณธวัชชัย ศักดิกุล […]
ต่อเติมบ้านจัดสรร เติมเต็มความสุข
ปรับปรุงและ ต่อเติมบ้านจัดสรร ให้เป็นลุคบ้านไม้สีขาวสไตล์บาร์นเฮ้าส์แบบฝรั่งที่ดูอบอุ่นเป็นกันเอง และตรงกับความต้องการใช้พื้นที่มากขึ้น เมื่อเวลาเปลี่ยน รูปแบบพื้นที่และการใช้ภายงานในบ้านย่อมเปลี่ยน พร้อมความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น การต่อเติมบ้านจึงเป็นหนึ่งในวิธีสำหรับเจ้าของบ้านที่อยากเติมเต็มความต้องการเหล่านั้น เช่นเดียวกับ คุณโหน่งและคุณจุ๋ม สองสามีภรรยาที่ตัดสินใจปรับปรุงบ้านด้วยส่วนต่อขยายหลายจุด ซึ่งแม้จะไม่ใช่การพลิกโฉมบ้านใหม่ทั้งหมด แต่สามารถตอบโจทย์การใช้งานที่เปลี่ยนไปของครอบครัว เชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างกัน และเติมเต็มความสุขของการใช้ชีวิตในบ้านสำหรับทุกคน ต่อเติมบ้านจัดสรร จากคำบอกเล่า แรกเริ่มคุณโหน่งและคุณจุ๋มได้ซื้อบ้านสองหลังที่ติดกันนี้ภายในโครงการหมู่บ้านจัดสรรเพื่อเตรียมตัวล่วงหน้าสำหรับการขยายครอบครัวของลูกทั้งสองคนในอนาคต โดยทุบกำแพงที่กั้นระหว่างกันออกและปรับปรุงพื้นที่ว่างตรงกลางเพื่อให้บ้านทั้งสองหลังดูกลมกลืนกันเป็นหนึ่งเดียวด้วยสวนสีเขียว ระเบียงไม้ และลานอเนกประสงค์ การเชื่อมต่อพื้นที่รอบบ้านให้เป็นบริเวณเดียวกันนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการปรับปรุงบ้านส่วนอื่นๆ ในเวลาต่อมา อย่างแรกคือการต่อเติมครัว ด้วยข้อจำกัดของบ้านจัดสรรที่ออกแบบโดยไม่มีห้องครัวหลักในตัวบ้าน ทั้งสองจึงตัดสินใจต่อเติมห้องครัวตรงหลังบ้านหลังหลักที่คุณโหน่งและคุณจุ๋มอยู่อาศัย โดยที่ลูกทั้งสองคนที่อาศัยอยู่ในบ้านอีกหลังหนึ่งสามารถมาใช้งานห้องครัวนี้ได้เช่นกัน พร้อมเข้า-ออกได้สะดวกผ่านทางประตูหลังบ้าน ต่อมาเมื่อครอบครัวต้องการขยายฟังก์ชันการใช้งานเพิ่มขึ้น ในการต่อเติมบ้านครั้งล่าสุดนี้ ทั้งสองจึงติดต่อให้ สถาปนิก คุณหนุ่ย – จาริต เดชะคุปต์ มาช่วยออกแบบส่วนต่อเติมหลังบ้าน รวมถึงปรับโฉมรูปลักษณ์โดยรวมของบ้านให้ดูกลมกลืนกับส่วนต่อเติมใหม่ด้วย ฟังก์ชันหลักที่เพิ่มขึ้นมาคือห้องอเนกประสงค์บนชั้น 2 ของบ้านหลัก ประกอบด้วยมุมพักผ่อนแบบยกพื้นสูงและพื้นที่ทำงานแบบ work from home พร้อมวิวเปิดโล่งล้อมรอบด้วยต้นไม้ ให้บรรยากาศร่มรื่น ที่ชั้นล่างมีการกั้นห้องสำหรับห้องนอนแม่บ้าน ต่อเติมห้องเก็บของและห้องน้ำพร้อมช่องแสงสกายไลต์จากด้านบน ส่วนที่บ้านอีกหลังมีการต่อเติมห้องนอนชั้นบนให้กว้างขวางขึ้น โดยพื้นที่ส่วนที่อยู่ใต้ห้องต่อเติมถูกปรับเป็นห้องเก็บของและพื้นที่อเนกประสงค์ที่เชื่อมต่อกับลานกว้างซึ่งรองรับกิจกรรมได้หลากหลาย ต่อเติมบ้านจัดสรร สำหรับสไตล์การออกแบบ โจทย์ที่คุณโหน่งและคุณจุ๋มให้สถาปนิกคือบ้านในบรรยากาศผ่อนคลายด้วยโทนสีขาวที่ดูโปร่งโล่ง สบายตา […]
การ ต่อเติมบ้าน ให้ถูกวิธี บ้านไม่พัง
การต่อเติมบ้าน ต่างๆ ที่ควรรู้ โรงรถไม่พอจอด ครัวไม่พอใช้งาน มาดูวิธีการออกแบบส่วนต่อเติมโรงรถ เฉลียง และครัว พร้อมประเด็น
ต่อเติมบ้านใหม่ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรักรถ
บ้านต่อเติมใหม่ของคนรักรถ ที่ต่อขยายออกมาจากบ้านหลังเดิม เปิดพื้นที่โล่งด้านล่างสำหรับจอดรถ พร้อมลิฟต์จอดรถระบบไฮดรอลิกที่ทำให้สามารถจอดรถได้มากถึง 10 คัน
สารพัดปัญหาก่อสร้าง-ต่อเติมบ้าน การแก้ไขและป้องกัน
การสร้าง-ซ่อม-ต่อเติมบ้านมักเกิดสารพัด ปัญหาบ้าน ซึ่งหากรู้วิธีป้องกันและแก้ไข ก็ช่วยลดความเสียหายได้อย่างมาก เราจึงรวม 20 ปัญหาที่มักเจอ พร้อมการแก้ไข ปัญหาบ้าน มาฝากกัน 1.ลดปัญหาผนังฉาบปูนแตกลายงา การแตกลายงามักเกิดจากปูนฉาบแห้งเร็วเกินไป เพราะน้ำซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ปูนเซ็ตตัวจนแข็งแรง ระเหยเร็วเกินไป หรือน้ำถูกอิฐดูดไปในระหว่างฉาบ จึงเกิดการแตกลายงาได้ โดยวิธีฉาบปูนบนผนังก่ออิฐมอญที่ลดการแตกลายงา คือ ปัญหาบ้าน นำอิฐแช่น้ำก่อน 1 ชั่วโมง หรือใช้สายยางฉีดน้ำให้อิฐชุ่ม เพื่อช่วยให้อิฐอิ่มน้ำ จะได้ไม่มีการแย่งน้ำจากเนื้อปูนก่อ หลังจากก่อเสร็จแล้ว ควรทิ้งช่วงให้ชั้นปูนก่ออยู่ตัว ก่อนทำการฉาบต่อไป ซึ่งก่อนฉาบ 1 วัน ควรมีการรดน้ำให้ชุ่ม ทิ้งไว้ก่อน และรดน้ำซ้ำอีกครั้งในเช้าวันฉาบ ทำการบ่มผนัง โดยรดน้ำผนังที่ฉาบเสร็จแล้วต่อเนื่อง 3-7 วัน อย่างน้อยวันละ1 ครั้ง ป้องกันผนังที่ฉาบแล้วไม่ให้โดนแสงแดดโดยตรง เพราะจะทำให้น้ำระเหยเร็วเกินไป ส่วนที่โดนความร้อนมาก มีการกรีดผนัง หรือจุดที่เสี่ยงกับการแตกร้าว ควรกรตะแกรงกรงไก่ก่อนฉาบปูน 2.ป้องกันมุมผนังช่องประตู-หน้าต่างร้าวได้อย่างไร ถ้าเป็นรอยร้าวเล็กๆ มักเกิดกับวงกบไม้ที่มีการยืดหดตัวสูง หรือไม่ได้ใส่ตะแกรงลวดกรงไก่บริเวณรอยต่อขอบปูนกับวงกบ ซึ่งไม่มีอันตรายเพราะเป็นเฉพาะผิวปูน แต่ถ้ารอยร้าวค่อนข้างใหญ่และลาม อาจเกิดจากการก่อสร้างผนังช่องเปิดไม่ได้ทำเสาเอ็น-คานทับหลัง หรือทำไม่ถูกต้อง โดยเสาเอ็น-คานทับหลังทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กหรือโครงเหล็กที่ถูกต้องจะต้องทำไว้โดยรอบช่องเปิด […]
10 วิธีสร้างบ้านให้ใช้พื้นที่ได้คุ้มค่า ไม่เปลืองงบประมาณ
รวมวิธีสร้างบ้านให้ใช้พื้นที่ดินได้คุ้มค่าสูงสุด ไม่เปลืองที่ ลดงบประมาณการก่อสร้าง บ้านประหยัดงบ เมื่อเริ่มต้นสร้างบ้าน เจ้าของบ้านส่วนใหญ่คงต้องคิดแล้วคิดอีกว่าจะใช้พื้นที่อย่างไรให้คุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งความคุ้มค่านี้ไม่ได้หมายถึงการสร้างให้ประหยัดที่สุดหรือมีราคาถูกที่สุด แต่คำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ทั้งด้านประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามที่คุ้มค่ากับพื้นที่ที่มีอยู่ รวมถึงการวางแผนใช้พื้นที่ให้มีประโยชน์เพิ่มขึ้น เช่น พื้นที่ใต้บันได พื้นที่ใต้พื้นบ้าน ที่เก็บของ ก็จะไม่เปลืองงบประมาณที่ต้องมาทำเพิ่มภายหลัง มาดูกันว่า บ้านประหยัดงบ มีข้อควรพิจารณาอะไรก่อนลงมือก่อสร้างบ้าง 1. วางแผนงบประมาณก่อนสร้างบ้าน การสร้างบ้านไม่ได้มีเฉพาะค่าก่อสร้างตัวบ้านเท่านั้น ยังมีค่าใช้จ่ายอีกหลายอย่างซ่อนอยู่ บางอย่างตัดได้ บางอย่างตัดไม่ได้ มาดูกันว่าเราต้องเตรียมกระเป๋าให้หนากันแค่ไหน เพื่อจะได้สร้างบ้านให้สมดุลกับงบประมาณ บ้านประหยัดง สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้าน 66% งานก่อสร้างบ้าน (งานโครงสร้าง สถาปัตยกรรม ไฟฟ้า และสุขาภิบาล) 22% งานตกแต่งภายใน 4% งานตกแต่งสวน 5% ค่าออกแบบสถาปัตยกรรม วิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมไฟฟ้า และสุขาภิบาล 2% ค่าออกแบบตกแต่งภายใน 0.5% ค่าออกแบบสวน 0.5% งานยื่นขออนุญาตสร้างอาคาร งานขอน้ำ ไฟฟ้า เลขที่บ้าน หมายเหตุ : สัดส่วนนี้คิดจากบ้านราคา […]
[Before – After] พื้นที่ส่วนตัว…จากที่ว่างข้างบ้าน
สำหรับคนซนๆ ที่ชอบคิดชอบประดิษฐ์ มีกิจกรรมสุดสร้างสรรค์ให้ทำอยู่เสมอ แต่ขาดพื้นที่ทำรกแบบส่วนตัว หรือ ในบางอารมณ์ก็อยากปลีกวิเวก หลีกหนีจากคนในบ้าน ความใฝ่ฝันคือได้มีพื้นที่ส่วนตัว สำหรับทำกิจกรรมที่ตัวเองชื่นชอบ แบบรกบ้างก็ได้ ชิล สงบบ้างก็ดี พื้นที่นี้ตอบโจทย์แน่นอน ต่อเติมข้างบ้าน จากสวนแคบๆข้างบ้าน จะเป็นยังไง ไปดูกัน บ้านทาวน์โฮมหลังหัวมุม มีพื้นที่สวนข้างบ้านค่อนข้างกว้าง อยากใช้มุมนี้ให้เกิดประโยชน์สักหน่อย หลายๆบ้านจัดเป็นพื้นที่สวนสวยงามปลูกต้นไม้ร่มรื่น และ อีกหลายบ้านก็สร้างศาลาในสวน ไว้นั่งเล่นหรือทำกิจกรรมต่างๆ จดๆ จ้องๆ อยู่นาน ก็เกิดไอเดีย ต่อเติมข้างบ้าน สำหรับคนซนๆ ที่ชอบทำงานประดิษฐ์ ชอบลงมือ ซ่อมแซม ดัดแปลงสิ่งของต่างๆ ด้วยตัวเอง แต่เหล่าอุปกรณ์มากมาย ก็ย่อมต้องการที่เก็บ รวมไปถึงความสกปรกเลอะเทอะทุกครั้ง ที่ลงมือทำหรือประดิษฐ์อะไรสักอย่าง ถ้าได้สตูดิโอส่วนตัวที่พร้อมจะเลอะเทอะได้ แถมชมวิวในสวนไปด้วยได้ก็คงจะดี Before พื้นที่ข้างบ้านรูปทรงสี่เหลี่ยมยาวลึกเข้าไปถึงหลังบ้าน เดิมปลูกหญ้า และ ไม้กระถางวางเรียงริมรั้ว แต่หญ้าก็แห้งตายไปเกือบหมด ทำให้เป็นฝุ่นดิน และ หญ้าแห้ง สตูดิโอสุดเท่พร้อมเลอะได้เต็มที่ ใช้ไม้เก่าในส่วนโครงสร้าง ก่ออิฐมอญโชว์แนวให้ความรู้สึกดิบเท่เข้ากับความเป็นช่าง มีประตูเดินเข้า-ออกได้จากทั้งหน้าบ้าน และ […]
รีโนเวตบ้านชั้นเดียว เป็นบ้านสองชั้น ทำได้จริงหรือไม่?
รีโนเวตบ้านชั้นเดียว ให้กลายเป็นบ้านสองชั้น ทำได้จริงหรือไม่? ไม่อยากรื้อบ้านทั้งหลังแต่อยากขยายขึ้นไปชั้นสอง ถ้าตอบตรงๆ ก็คงจะต้องตอบว่า ทำได้จริง! และทำไม่ได้! เพราะมีเงื่อนไขขั้นตอนในแง่ของโครงสร้างและกฏหมายอยู่ค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นบ้านและสวนจึงอยากขอแจกแจงให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจว่า รีโนเวตบ้านชั้นเดียว เป็นบ้านสองชั้น ทำได้หรือไม่? ถ้าทำได้จริง ทำได้เพราะอะไร? และถ้าทำไม่ได้ มีหลักการและเรื่องที่ควรคำนึงอย่างไร? เพื่อจะได้พิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนจะตัดสินใจสร้างบ้านหรือต่อเติมต่อไปนะครับ กรณีตอบว่าทำไม่ได้ กรณีออกแบบเผื่อต่อเติมชั้นสอง ทำไม่ได้เพราะ เพราะว่าการออกแบบบ้านนั้นไม่นิยมเผื่อโครงสร้างมากกว่าที่จะสร้าง เหตุผลก็คือในการขออนุญาตนั้นจะต้องทำในครั้งเดียว หากการคำนวญโครงสร้างนั้นมีการเผื่อชั้นสองชั้นสาม การขออนุญาตก็จะต้องขอไปในทันที ซึ่งเขาไม่ทำกันเนื่องจากมีความยุ่งยากเกินไป กรณีตั้งใจออกแบบให้ชั้นสองมีโครงสร้างอยู่ในพิกัดเสาเดิม ทำไม่ได้ถ้าหากไม่ใช้โครงสร้างเบาเช่น โครงสร้างไม้ หรือ โครงสร้างเหล็ก เพราะไม่ได้ออกแบบรอรับการต่อเติมไว้ อาจก่อความเสียหายกับโครงสร้างเดิมได้ อีกทั้งยังจำเป็นต้องขออนุญาตใหม่อีกด้วย กรณีตอบว่าทำได้ ในกรณีที่ทำได้นั้น สามารถเลือกออกแบบได้หลายวิธี วิธีที่ 1 ออกแบบโดยใช้ฐานรากใหม่ วิธีนี้จะใช้การลงเข็มและทำฐานรากเพื่อทำโครงสร้างของชั้นสองใหม่ ข้อเสียคือจะไม่ได้อยู่ในแนวพิกัดเสาเดิม แต่สามารถออกแบบให้แนวเสาใหม่เข้ามาอยู่ชิดกับแนวเสาเดิมได้ จากนั้นจึงออกแบบให้ชั้นหนึ่งกับชั้นสองต่อเชื่อมเป็นอาคารเดียวกัน*ต้องปรึกษาวิศวกรและสถาปนิกตั้งแต่เริ่มต้น วิธีที่ 2 ออกแบบโครงสร้างชั้นสองด้วยโครงสร้างเบา วิธีนี้คือการรื้อโครงสร้างหลังคาออกมาก่อนแล้วจึงต่อเติมชั้นสองโดยเลือกใช้โครงสร้างเบา ทั้งนี้โครงสร้างเดิมต้องได้รับการพิจารณาจากวิศวกรเสียก่อนว่า สามารถรับแรงได้จริง และปลอดภัย หากเป็นกรณีที่ออกแบบเผื่อต่อเติมชั้นสองอยู่แล้ว อาจพิจารณาเลือกใช้โครงสร้างแบบ “ผนังรับน้ำหนัก” จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด […]
กฎหมายต่อเติม/รีโนเวทบ้าน ต่อเติมแค่ไหนไม่ต้องขออนุญาต
อยากต่อเติมบ้านแต่สงสัยว่า ต่อเติมแค่ไหนจึงจะต้องของอนุญาต มาทำความเข้าใจเรื่อง กฎหมายต่อเติมบ้าน และอัปเดตกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวข้องกัน กฎหมายต่อเติมบ้าน หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อเติมและเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้สอย คือ กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2528) ว่าด้วยเรื่องการกระทำที่ไม่ถือว่าเป็นการดัดแปลงอาคาร ซึ่งใจความสำคัญคือ เพื่อป้องกันอันตรายจากการดัดแปลงหรือเพิ่มน้ำหนักให้โครงสร้างอาคาร และมีกฎหมายเพิ่มเติม คือ กฎกระทรวง ฉบับที่ 65 (พ.ศ. 2558) ซึ่งเกี่ยวกับการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคา ซึ่งสรุปเนื้อความให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้ กฎหมายต่อเติมบ้าน ระบุว่าการต่อเติม-รีโนเวทต่อไปนี้ ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร จึงไม่ต้องขออนุญาต 1. การเปลี่ยนโครงสร้างโดยใช้วัสดุ ขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม ยกเว้นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง และโครงสร้างเหล็ก บ้านโครงสร้างไม้ เปลี่ยนโครงสร้างไม้ชิ้นใหม่ตามแบบเดิมได้โดยไม่ต้องขออนุญาต บ้านโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) และโครงสร้างเหล็ก แม้การเปลี่ยนโครงสร้างนั้นจะใช้วัสดุ ขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม ก็ต้องขออนุญาต กฎหมายต่อเติมบ้าน 2. การเปลี่ยนแปลงส่วนต่างๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้าง ซึ่งเพิ่มน้ำหนักให้โครงสร้างไม่เกิน 10 % ส่วนที่ไม่ถือเป็นโครงสร้าง […]
CASA SANTORINI ต่อเติมบ้านบนเนินเขาเป็นบ้านพักตากอากาศวิวธรรมชาติเต็มตา
บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ชานเมืองระหว่างชายฝั่งทะเลและตัวเมือง ทำให้แวดล้อมไปด้วยทัศนียภาพที่สวยงามและมีความเป็นธรรมชาติสูง เหมาะแก่การสร้างบ้านพักตากอากาศสักหลัง ดังเช่นบ้าน CASA SANTORINI หลังนี้ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาทำให้ได้วิวธรรมชาติแบบสุดลูกหูลูกตา โดยทำการจากการรีโนเวตบ้านขนาดกะทัดรัดให้เอื้อต่อการพักผ่อนมากยิ่งขึ้น เริ่มจากการปรับปรุงห้องนอนและห้องน้ำใหม่ รื้อห้องครัวเดิมออก โดยวางฟังก์ชันในแนวขวางกับแกนบ้านเดิม แต่ยังคงกลิ่นอายของบ้านเก่าที่มีอายุกว่า 10 ปีไว้ ส่วนที่ต่อเติมเลือกใช้โครงสร้างเหล็กกรุด้วยแผ่นเมทัลชีทด้านนอกและกรุไม้ด้านใน ด้วยความที่ตั้งอยู่กลางทุ่ง ประกอบกับไม่มีเขตที่ดินหรือกำแพงล้อมตัวบ้านไว้ กลายมาเป็นความท้าทายของผู้ออกแบบในการสร้างควาสมดุลระหว่างตัวสถาปัตยกรรมและแนวป่าด้านหลังที่เป็นเหมือนเบ๊กกราวนด์ของบ้านที่มีความคอนทราสต์กันอยู่ นำไปสู่การวางตัวอาคารไว้บริเวณจุดสูงสุดของเนินหญ้า แต่ให้ระดับพื้นใหม่ต่อเนื่องไปกับระดับพื้นบ้านเดิมเพื่อให้ดูกลมกลืนไปกับเนินหญ้ามากที่สุด และดูต่อเนื่องไปกับผืนดิน ส่วนที่ต่อเติมขึ้นใหม่วางตัวตั้งฉากกับบ้านเดิม จนได้บ้านรูปทรงตัวแอล (L) ที่เชื่อมตัวเก่ากับส่วนใหญ่เข้าหากัน โดยบริเวณบ้านเก่าใช้เป็นพื้นที่ส่วนครัว ส่วนต่อเติมให้เป็นพื้นที่นั่งเล่นและห้องนอนที่เชื่อมไปกับเทอเรซขนาดใหญ่ได้วิวความเขียวชอุ่มแบบเต็มตา โดยเลือกใช้โครงสร้างคอนกรีตร่วมกับเฟรมเหล็กเพื่อให้ได้ความลาดเอียงและรูปทรงที่ดูโฉบเฉี่ยว ดูทันสมัย ทั้งยังเหมาะกับพื้นทียกลอยจากพื้นเล็กน้อยเพื่อกันความชื้นจากพื้นดินโดยตรง ซึ่งวัสดุที่ตอบสนองต่อโครงสร้างมีได้แก่ เหล็ก กระจก และแผ่นฟีนอลิก รวมไปถึงเหมาะกับสถาพอากาศและการดูแลรักษาในอนาคตอีกด้วย ภาพสุดท้ายของบ้านหลังนี้ ภายนอกต้องการคุมด้วยสีดำเพื่อขับให้บริบทโดยรอบที่เป็นทิวทัศน์ของธรรมชาติดูเด่น คอนทราสต์ออกมาในแนวนอน ตัดกับต้นไม้ที่เรียงตัวกันเป็นเส้นตั้ง ออกแบบ: LOI Arquitectura ภาพ: Obra Linda เรียบเรียง: BRL บ้านชั้นเดียวบนเนิน ชมวิวเพลินทั้งวัน ร่มรื่นแบบสวนเมืองร้อนในกลิ่นอายของสวนชนบทฝรั่งเศส
บ้านต่อเติมของนักเก็บที่ชอบจัดของ บ้านที่ขยายออกตามปริมาณความสุข
บ้านต่อเติม ที่เพิ่มตรงนั้นนิด ตรงนี้หน่อย กลายเป็นลักษณะบ้านที่เราพบเห็นได้ทั่วไปในบ้านเรา เมื่อบ้านมีขนาดเท่าเดิม แต่สมาชิกในบ้านกลับเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ แผนการต่อเติมพื้นที่ในบ้าน ให้เหมาะสมกับความต้องการในใช้งานจึงได้เริ่มต้นขึ้น บ้านเดี่ยวสีขาวหลังนี้เมื่อมองจากภายนอกอาจจะดูธรรมดา ๆ แต่ด้านในบ้านนั้นทำเอา my home ประหลาดใจกับความช่างเก็บและช่างจัดของเจ้าของบ้าน ไม่ว่าจะมุมไหน ๆ ก็ดูน่าสนใจไปหมดทุกมุมเลยค่ะ มา บ้านเดี่ยวสีขาวบนพื้นที่ขนาด 50 ตารางวา ที่อยู่อาศัยกันมาตั้งแต่จำความได้ จากรุ่นตา – ยาย สู่รุ่นพ่อ – แม่ จนมาถึงรุ่นลูก ในช่วงแรกของบ้านเริ่มต้นมาเพียงสองห้องนอน จากนั้นค่อย ๆ ต่อเติมออกไปทีละนิด ทีละหน่อยอีกหลาย ๆ ครั้ง ตามจำนวนสมาชิกของบ้านที่เพิ่มขึ้นตามวันและเวลา ครอบครัวนาวิกมูลประกอบไปด้วย คุณแม่ – วรรณา คุณพ่อ – เอนก คุณส้มจุก – บันทึกทอง และคุณส้มจี๊ด – ทัดทอง สิ่งแรกที่เราเห็นได้ชัดตั้งแต่เดินเข้ามาในบ้านคือ หนังสือต่าง ๆ มากมาย […]
แก้ปัญหา การระบายน้ำ เมื่อต่อเติมบ้านใหม่
โดยทั่วไป การระบายน้ำ ฝนของบ้านจะเป็นไปตามธรรมชาติโดยซึมลงสู่พื้นดิน ส่วนน้อยจากบริเวณลานซักล้างหรือเฉลียงจะไหลลงสู่รางระบายน้ำข้างรั้ว
กฎหมายอาคาร(แบบเข้าใจง่าย) สำหรับคนที่กำลังจะสร้างบ้าน
ใครว่าเรื่อง กฎหมายอาคาร เป็นเรื่องยากเกินเข้าใจ และไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าของบ้านที่ต้องรู้เพราะมีสถาปนิกเป็นผู้ออกแบบบ้านและคำนึงถึงข้อกฎหมายต่างๆ ให้แล้ว ความคิดเหล่านี้ล้วนแต่เป็นเรื่องเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิง หนังสือ สร้างและต่อเติมบ้านอย่างรู้กฎหมาย เหตุที่บอกว่าการรู้ กฎหมายอาคาร เป็นเรื่องจำเป็นนั้น เมื่อเราได้แบบบ้านจากสถาปนิก ขั้นตอนต่อมาคือการยื่นแบบขออนุญาตก่อสร้างต่อสำนักงานเขต เมื่อผ่านการอนุญาตก่อสร้างจึงเป็นหน้าที่ของผู้รับเหมาสร้างบ้านที่จะต้องก่อสร้างตามแบบที่สถาปนิกออกแบบไว้ ซึ่งขั้นตอนนี้มักจะมีความผิดเพี้ยนจากที่ออกแบบไว้ ทั้งมาจากการพยายามลดต้นทุนก่อสร้างของผู้รับเหมา ร่นระยะเวลาให้เร็วขึ้นเพื่อลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ตัวเจ้าของบ้านเองต้องตรวจสอบอย่างใกล้ชิดและควรรู้ข้อกฎหมายก่อสร้างหากมีกรณีที่ผู้รับเหมาสร้างบ้านไม่ตรงแบบที่วางไว้ ซึ่งหากบ้านที่กำลังสร้างอยู่นี้กลายเป็นบ้านที่ผิดกฎหมายอาคาร จะเกิดปัญหายืดยาวตามมาอย่างแน่นอน 10 ข้อกฎหมายเบื้องต้นสำหรับคนที่กำลังจะสร้างบ้านต้องรู้มีอะไรบ้าง ไปดูกัน •ดาวน์โหลดกฎหมายควบคุมอาคารฉบับเต็มได้ที่นี้ •กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอาคาร 1 | สร้างบ้านชิดรั้วบ้านได้แต่ผนังบ้านรั้วต้องปิดทึบ กรณีแรกที่เหมือนจะเป็นปัญหากับเพื่อนบ้านอยู่เสมอคือการที่มีบ้านอีกหลังใดหลังนึงต่อเติมหรือสร้างบ้านจนมาชิดรั้วบ้านเรา ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่จะสร้างบ้านแบบนี้ เจ้าของบ้านต้องได้รับการยินยอมจากเพื่อนบ้านเป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ผนังบ้านจะต้องไม่มีหน้าต่าง ช่องลม ช่องแสงใดๆ เป็นเด็ดขาด แน่นอนว่ากรณีนี้ย่อมเกิดปัญหาวุ่นวายทีหลังเพราะเป็นธรรมดาว่าเพื่อนบ้านย่อมไม่ปรารถนาเช่นนั้น ซึ่งหากไม่อยากให้เรื่องยืดยาว ให้เว้นระยะห่างตัวบ้านจากรั้วบ้านหรือแนวดิน ไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตรแต่ยังคงต้องเป็นผนังทึบเช่นเดิม และอย่าลืมติดตั้งรางน้ำฝนให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันน้ำไหลลงฝั่งเพื่อนบ้านที่จะเป็นเหตุให้วิวาทกันภายหลังหลังด้วย 2 | ผนังบ้านที่มีประตูหน้าต่างต้องมีระยะห่างจากแนวรั้วอย่างน้อย 2 เมตร ในกรณีที่ผนังบ้านมีประตูหน้าต่าง ให้รู้ไว้เลยว่าตัวบ้านชั้น 1 และชั้น 2 จะต้องอยู่ห่างจากรั้วอย่างน้อย 2 เมตร หากเป็นบ้าน 3 […]
วางแผนซ่อมบ้านอย่างมืออาชีพ เรื่องง่ายๆ ที่คุณก็ทำเองได้
ไม่มีสิ่งใดยั่งยืนโดยไม่ถูกกาลเวลาทำลาย เช่นเดียวกันกับ ‘บ้าน’ ที่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนชื้นของไทย จนเกิดการทรุดโทรมไปตามกาลเวลา เจ้าของบ้านแบบเราจึงอยากซ่อมแซมและปรับปรุงบ้านให้กลับมาใหม่และน่าอยู่อีกครั้ง แต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน หรือต้องวางแผนอย่างไร วันนี้เราจึงมีแนวทางมาฝาก! 1. สำรวจบ้าน ลิสต์จุดที่ต้องการซ่อม การ วางแผนซ่อมบ้าน ต้องเริ่มจากการเช็คจุดที่เราอยากซ่อมแซมปรับปรุง พร้อมจดลิสต์ให้ละเอียดว่าจุดไหนเกิดปัญหาอะไร เพื่อที่จะได้วางแผนซ่อมแซมและปรับปรุงในขั้นต่อไป และสามารถบอกช่างได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้การเช็คว่าบ้านมีปัญหาจากจุดไหนบ้างนั้น มีคำแนะนำอยู่ 2 ข้อคือ สังเกตปัญหาด้วยตัวเองก่อน โดยเฉพาะปัญหาที่สามารถเห็นได้ชัดเจน เช่น ปัญหาหลังคารั่ว มีน้ำซึม ซึ่งเราสามารถเห็นและสัมผัสได้ ยิ่งช่วงหน้าฝนยิ่งเห็นได้ง่าย หรือผนังร้าว เป็นต้น จ้างช่างมืออาชีพมาตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อวางแผนการซ่อมแบบจริงจัง โดยเฉพาะการตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้างบ้านที่ต้องให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ประเมิน เพราะหากโครงสร้างบ้านทรุดโทรมจนอยากจะซ่อมแซม การรื้อสร้างใหม่อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า 2. เรียงลำดับความเสียหาย ประเมินความเร่งด่วน หลังจากทราบจุดที่ต้องการซ่อมแซมอย่างแน่นอนแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการเรียงลำดับความเสียหายและความสำคัญ ว่าจุดไหนคือจุดเร่งด่วนต้องรับซ่อมแซม จุดไหนยังพอพลัดผ่อนไปได้ พร้อมทั้งอย่างลืมจัดตารางว่ามีรายการใดที่พอจะทำไปพร้อมๆ กันได้ เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย นอกจากนี้อย่าลืมประเมินตัวเองว่า นอกจากการซ่อมจุดที่เกิดความเสียหายของบ้านแล้ว เจ้าของบ้านอย่างเราต้องการต่อเติมส่วนไหนหรือเปลี่ยนแปลงส่วนใดหรือไม่ เพราะหากคุณอยากต่อเติมบ้าน การ วางแผนซ่อมบ้าน พร้อมต่อเติมในคราวเดียวกันจะทำให้คุณประหยัดเงินและเวลาได้มากขึ้น เช่น ต้องซ่อมพื้น […]
ต่อเติมห้องนอนขนาดเล็ก บนระเบียงชั้น 2 ทำได้จริงหรือไม่?
ระเบียงมีพื้นที่เหลือไม่ได้ใช้ สามารถต่อเติมเป็นห้องได้หรือไม่และทำอย่างไรจึงจะปลอดภัย
จะต่อเติมโรงจอดรถ ต้องลงเสาเข็มแบบไหนดี
บ้านและสวนตอบกระทู้สัปดาห์นี้ เรามีข้อสงสัย จากกระทู้พันทิปที่หลายคนยังข้องใจเกี่ยวกับเรื่องบ้านและเรื่องสวนซึ่งคำถามยอดนิยมที่หยิบมาหาคำตอบ คือ ต่อเติมโรงจอดรถ ต้องลงเสาเข็มแบบไหนดี จากคำถาม : จะต่อเติมโรงจอดรถ ต้องลงเสาเข็มแบบไหนดี ในรูปบ้านเป็นบ้านผมเองแต่หลังคามาแปะเอง พอดีลองทำดูว่ามันจะออกมาโอเคไหม กะว่าด้านนึงจะฝากไว้กับตัวบ้าน อีกด้านจะลงเสาเข็ม 3 จุดครับ ให้ผู้รับเหมามาดูหน้างานแล้ว แต่ยังไม่ได้สรุปแบบมาให้ครับ เลยอยากทราบไว้เป็นข้อมูลว่า จะลงเสาเข็มแบบไหนดี ลึกเท่าไหร่ดีครับ จุดที่จะทำหลังคาอยู่มา 4 ปีแล้วยังไม่เห็นว่ามีการทรุดตัวครับ แต่ด้านอื่นๆ ของบ้านมีการทรุดเยอะๆ เหมือนกัน ตั้งแต่ 10-20 เซนติเมตร ที่มา : https://pantip.com/topic/37369189 คลายข้อสงสัย : แน่นอนว่าการต่อเติมบ้านเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยเป็นอีกหนึ่งสิ่งจำเป็นที่เจ้าของบ้านต้องการ ไม่ว่าเป็นการต่อเติมครัว หรือโรงจอดรถอย่างที่เจ้าของกระทู้ได้ทิ้งคำถามไว้ หากต่อเติมส่วนอื่นๆ ในบ้าน การตอกเสาเข็มเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามจริงๆ ยิ่งหากส่วนอื่นๆ ของบ้านมีร่องรอยการทรุดตัวของดินไปแล้วด้วย เปอร์เซนที่ดินส่วนที่ต่อเติมหลังคาโรงจอดรถจะทรุดตัวนั้นก็เป็นไปได้เช่นกัน โดยปัญหา ส่วนต่อเติมทรุด นั้น ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะเสาเข็มที่สั้นเกินไป เมื่อดินทรุดทำให้เสาเข็มทรุดตัวลงไปด้วย โดยทั่วไปแล้ว การลงเสาเข็มที่ถูกต้องสำหรับการสร้างบ้านนั้นจะต้องตอกลึกลงไปถึงชั้นดินแข็งคือ 18-21 เมตร แต่บางครั้งถ้าเป็นการใช้งานที่ไม่ได้รับน้ำหนักมากนัก ฐานรากแบบแผ่ก็เป็นตัวเลือกหนึ่งที่มักจะถูกหยิบยกมาใช้กัน แต่อย่าลืมว่าแม้ฐานรากจะยึดตัวแน่นหนากับพื้นดินแล้ว […]
รวมแบบ บ้านไม้สน หลากหลายไอเดียน่าสนใจเพื่อคนรักไม้โดยเฉพาะ
ใครที่กำลังมองหาแบบ บ้านไม้สน สวยๆสักหลัง หรือมองหาไอเดียในการตกแต่ง บ้านไม้ รวมถึงอยากรู้ว่า ไม้สน มีดีอย่างไร วันนี้ my home จะพาไปรู้จักกับ ไม้สน กันค่ะ
[ Before & After ] ที่จอดรถหน้าบ้าน ให้กลายเป็นมุมงานช่างสุดชิค
ที่จอดรถหน้าบ้าน มักวางของเต็มไปหมด จะดีกว่าไหมถ้าเราจะปรับปรุงมุมสุดรกมุมนี้ ให้กลายเป็นมุมทำงานของบ้าน โดยเฉพาะคุณพ่อบ้านทั้งหลายจะต้องร้องว้าวอย่างแน่นอน