มะระขี้นก

ผักไห่/มะห่อย/Balsam Pear/Bitter Cucumber/Bitter Gourd/Leprosy Gourd
ชื่อวิทยาศาสตร์: Momordica charantia L.
วงศ์: Cucurbitaceae
ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้ออ่อน
ลำต้น: เป็นเหลี่ยม 4-5 เหลี่ยม มีมือเกาะ marakeenok2
ใบ: เดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่กว้าง รูปหัวใจ หรือเกือบกลม ขนาด 2.5-10 x 3-12 เซนติเมตร ปลายแหลม ขอบใบเว้าลึกเป็นรูปนิ้วมือ ลักษณะเป็นพูชัดเจน 5-13 พู และจักฟันเลื่อยห่างๆ
ดอก: เดี่ยว รูปกรวย สีเหลือง โคนกลีบเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ 3 อัน สีเหลือง ดอกเพศเมียมีก้านชูเกสรเพศเมีย 1 อัน ปลายแยกเป็น 3 แฉก มีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 3 อัน สีเขียวอ่อน ออกดอกเดือนมิถุนายนถึงกันยายน
ผล: ทรงรี หัวท้ายแหลมหรือรูปร่างไม่แน่นอน ผิวผลขรุขระ ขนาด 2-4 x 3-10 เซนติเมตร เมื่อแก่สีเหลืองหรือส้มและแตกออก เมล็ดรูปไข่แกมรีมีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง
อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว
ดิน: ทุกประเภท
แสงแดด: แสงแดดจัด
น้ำ: ปานกลาง
ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด
การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้เลื้อยตามแนวรั้วเพื่อนำมาบริโภคเป็นผัก ด้านสมุนไพร น้ำต้มจากใบเป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับพยาธิ น้ำต้มจากผลเป็นยาแก้ไข้ น้ำคั้นจากผลแก้ปากเปื่อย ปากเป็นขุย ดอกนำมาชงดื่มแก้หืดหอบ เมล็ดเป็นยาขับพยาธิตัวกลม ทุกส่วนของต้นมีสารโมโนซิดีน (Monocidine) ทำให้มีรสขม ช่วยให้เจริญอาหารและเป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด เหมาะกับผู้เป็นเบาหวาน แต่ไม่ควรกินมาก อาจทำให้น้ำตาลในเลือดลดต่ำลงกว่าปกติ และห้ามกินผลสุก จะทำให้อาเจียน สำหรับหญิงมีครรภ์ไม่ควรกินมาก เพราจะทำให้แท้งได้ ตามตำราจีนนำใบมาตำใช้พอกฝี แก้ปวดบวมอักเสบ หรือนำมาทำยาขม ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยฟอกเลือด