นางตายน้อย

 นางตายตัวผู้
ชื่อวิทยาศาสตร์: Habenaria lindleyana Steud.
วงศ์: Orchidaceae
ประเภท: กล้วยไม้/ไม้ล้มลุกอายุหลายปี
ลำต้น: สั้นมาก อยู่ที่ระดับดิน มี 3-5 ใบ มีหัวใต้ดิน
ใบ: รูปรีกว้าง ค่อนข้างหนาและอวบน้ำ สีเขียวเข้ม ปลายมน เรียงตัวในแนวระนาบเวียนรอบต้นที่ระดับดิน
ดอก: ออกเป็นช่อตั้ง ยาว 20-40 เซนติเมตร ดอกมักเกิดค่อนไปทางปลายช่อ ลักษณะเป็นพุ่ม สีขาว  กลีบปากเรียวยาว สีขาว ที่โคนมีเดือยยาวทั้งสองข้าง ติ่งที่อยู่กลางดอกคือเส้าเกสร   ออกดอกเดือนกันยายน-ตุลาคม
ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น
น้ำ: ปานกลาง
แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า
ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติพบขึ้นบนพื้นดินในป่าดิบทางภาคเหนือและภาคอิสาน