ชมพูพันธุ์ทิพย์ ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ ชมพูอินเดีย ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่

ชมพูพันธุ์ทิพย์
ชมพูพันธุ์ทิพย์

ชมพูพันธุ์ทิพย์ ชมพูอินเดีย/ธรรมบูชา/Rosy trumpet tree
ชื่อวิทยาศาสตร์: Tabebuia rosea (Bertol.) Bertero ex A. DC.
วงศ์: BIGNONIACEAE
ประเภท: ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่
ความสูง:8-25 ม.
ทรงพุ่ม:เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกลม แผ่กว้างเป็นชั้นๆ ขนาดทรงพุ่ม 8-12 ม.
ลำต้น:ผิวลำต้นสีน้ำตาลขรุขระ
ใบ:ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 5 ใบ ใบรูปรี ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือสอบ ขอบใบเรียบ rosy trumpet2
ดอก:ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง ช่อละ 5-8 ดอก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายกลีบแยกเป็น 5 แฉก คล้ายรูปแตร ดอกสีชมพูอ่อน ชมพูสดถึงขาว กลางดอกสีเหลือง เมื่อบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 ซม. เกสรเพศผู้มี 4 อัน ร่วงง่าย ดอกออกในช่วงเดือนก.พ.-เม.ย.
ผล:ผลเป็นฝักกลมยาวประมาณ 15 ซม. เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก เมล็ดแบบสีน้ำตาล มีปีกปลิวไปได้ไกล
อัตราการเจริญเติบโต: เติบโตเร็ว
ดิน:ปลูกได้ในดินทั่วไป
น้ำ: ปานกลาง ทนสภาพน้ำท่วมได้ดี
แสงแดด: ครึ่งวันถึงเต็มวัน
ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง
การใช้งานและอื่นๆ: ให้ร่มเงา ปลูกริมถนนได้ ไม่เหมาะกับสนามเด็กเล่นและลานจอดรถ  ใบใช้ต้มแก้ปวดท้องหรือท้องเสียหรือตำให้ละเอียดพอกใส่แผล ลำต้นใช้ทำฟืน เยื่อใช้ทำกระดาษได้ ไม่ควรปลูกใกล้กับสิ่งก่อสร้าง เพราะมีระบบรากแข็งแรง อาจทำให้อาคารเสียหาย มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ตั้งชื่อไทยโดย หลวงบุเรศรบำรุงการ เพื่อเป็นเกียรติแก่คุณท่าน หรือหม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ผู้นำพรรณไม้ชนิดนี้เข้ามาปลูกเป็นคนแรกในเมืองไทยราวปีพ.ศ. 2490 ปัจจุบันกลายเป็นไม้ประดับที่พบทั่วไป