ROLL-UP & DUO ECOBAG กระเป๋าผ้าสะดวกใช้สำหรับร้านสะดวกซื้อ LAWSON

คนรักษ์โลกถูกใจสิ่งนี้! นี่คือกระเป๋าสองแบบจากไอเดียสร้างสรรค์ของ nendo ที่ออกแบบมาให้ใช้ซ้ำได้โดยไม่ต้องพึ่งถุงพลาสติก ซึ่งได้รับการผลิตมาสำหรับร้านสะดวกซื้อยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่นอย่าง Lawson

COFFEE NAP ROASTERS 2ND ดื่มกาแฟบนเนินอิฐ กับคาเฟ่ที่ไม่มีโต๊ะแม้แต่ตัวเดียว!

ด้วยคอนเซ็ปต์หลักคือ “พื้นที่” สำหรับ “นั่ง” โดยไม่ต้องมีโต๊ะ หรือเก้าอี้ มาขวางหูขวางตา การรวมเฟอร์นิเจอร์ วัสดุ และพื้นที่ใช้งานของร้านกาแฟให้กลายเป็นสิ่งเดียวกัน จึงได้ผลลัพธ์เป็นร้านกาแฟที่ดูแปลกตาแห่งนี้

MAGGIE’S LEEDS CENTRE คลินิกรักษาโรคมะเร็งที่ใช้ธรรมชาติช่วยบำบัด

Maggie’s Leeds Centre คลินิกรักษาโรคมะเร็ง ภายในวิทยาเขตของโรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยเซนต์เจมส์ ในเมืองลีดส์ ทางตอนเหนือของประเทศอังกฤษ ภายใต้โจทย์ที่ไม่เหมือนสถาบันรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยมะเร็งทั่วไป เพื่อให้สถานที่แห่งนี้มีส่วนช่วยสร้างกำลังใจเเละความหวังระหว่างการรักษาให้แก่ผู้ป่วยหายจากอาการ

KIENTRUC O OFFICE สำนักงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่เปิดรับธรรมชาติอย่างเต็มอิ่ม

KIENTRUC O OFFICE ออฟฟิศสถาปนิกที่ออกแบบสอดคล้องกับภูมิอากาศเวียดนาม ไร้เส้นแบ่งภายในและภายนอก เปิดรับธรรมชาติอย่างเต็มอิ่ม

BÓ MON PRESCHOOL อาคารเรียนที่สร้างด้วยแผ่นหลังคาลอนเล็กยกหลัง

Bó Mon Preschool เป็นโรงเรียนเล็ก ๆ ในแถบชนบทของเวียดนาม ที่สร้างขึ้นด้วยงบประมาณอันจำกัด โดยความร่วมมือและสนับสนุนขององค์กรไม่แสวงผลกำไร “MT Community” และโครงการระดมทุน “Pay It Forward Fund” โดยมีสำนักงานสถาปัตยกรรม “KIENTRUC O” เป็นทีมผู้ออกแบบ

TORIGUCHI SANCI บ้านไม้และคลินิกกายภาพบำบัดในงบประมาณจำกัด

“TORIGUCHI SANCI” คือบ้านและ seitai clinic ซึ่งตั้งอยู่ในอาคารที่พัฒนาขึ้นใหม่ใน Tama New Town ล้อมรอบด้วยอาคารซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายกันด้วยการกรุวัสดุภายนอกที่มีความมันวาว หน้าต่างรูปแบบคล้าย ๆ กันทั้งหมด เนื่องจากสร้างโดยซัพพลายเออร์ผู้ผลิตบ้านสำเร็จรูปตามข้อกำหนดและกลไกของราคาในตลาดในพื้นที่

THINK LAB SOLO-WORK SPACE โต๊ะทำงานในฝันของคนอยากนั่งทำงานเงียบ ๆ

ขอฉันนั่งทำงานเงียบ ๆ ได้ไหมเนี่ย? สิทธิ์นั้นจะเป็นของคุณทันที หากมาใช้บริการที่ “Think Lab Shiodome” เพราะที่นี่คือพื้นที่ทำงานแบบ Solo-Work Space แห่งแรกซึ่งตั้งอยู่ที่ Caretta Shiodome อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่บริษัท Dentsu ในประเทศญี่ปุ่น 

% ARABICA KUWAIT ABU AL HASANIYA คาเฟ่ไร้เก้าอี้ในคูเวตจากฝีมือ NENDO

จากสาขาดั้งเดิมที่ฮิกาชิยามะในเกียวโต ก่อนมาถึงสาขาล่าสุดในไทยที่ไอคอนสยาม ขอพาย้อนไปดูอีกหนึ่งสาขาของ % ARABICA ที่สร้างภาพจำของความน้อยนิ่งและเรียบหรูให้เกิดขึ้นในคูเวตมาก่อนหน้านี้กันบ้าง

RICCO BURGER ร้านเบอเกอร์บล็อกแก้ว ที่เชื่อมเมืองกับสวนสาธารณะเข้าไว้ด้วยกัน

RICCO BURGER ร้านเบอเกอร์ ที่ใช้เวลาในการทำเพียง 4 เดือน ด้วยงบประมาณและเวลาก่อสร้างอันจำกัด สถาปนิกถึงพยายามใช้โครงสร้างและสิ่งที่มีอยู่เดิมให้มากที่สุด ผู้ออกแบบให้ความสำคัญกับความเชื่อมต่อของพื้นที่หน้ ร้านเบอเกอร์ RICCO BURGER ซึ่งเป็นถนนและสวนสาธารณะด้านหลัง ตัวอาคารของร้านจึงทำหน้าที่เป็นตัวประสานพื้นที่ทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยให้ร้านเปรียบเสมือน “ตัวกรอง” มลภาวะเเละความวุ่นวายทางสายตาต่าง ๆ ออกไป บรรยากาศของพื้นที่ฝั่งสวนสาธารณะใช้โครงเหล็กและบันไดที่จะนำไปสู่พื้นที่ร้านอาหารชั้น 1 และเมื่อเข้ามาในร้าน ลูกค้าจะได้รับความรู้สึกเหมือนกำลังนั่งกินเบอเกอร์อยู่ในห้องน้ำ ด้วยผนังกรุกระเบื้องแผ่นเล็กของห้องน้ำเดิมยังคงอยู่โดยถูกดัดแปลงให้กลายเป็นส่วนของห้องครัว ผนังที่เหลือถูกกระเทาะออกทั้งหมด เหลือไว้เพียงพื้นไม้เดิมที่ยังคงเก็บรักษาไว้ อีกหนึ่งรูปแบบที่เชื่อมพื้นที่ทั้งหมดเข้าด้วยกันคือขนาดของวัสดุ 20×20 เซนติเมตร ทั้งในส่วนของกระเบื้องสีขาว แผ่นปูพื้น และบล็อกแก้ว ส่วนพื้นที่ที่ทำขึ้นมาใหม่ของร้านนี้ ก็คือส่วนของเคาน์เตอร์เตรียมอาหาร และที่นั่งแบบหล่อในที่ ฝ้าเพดานถูกรื้อออกหมด เพื่อโชว์โครงสร้างเผยผิววัสดุตามเเบบที่เรียกว่าสัจวัสดุ ซึ่งตรงกับคอนเซ็ปต์ของร้านที่ว่าใช้วัตถุดิบเรียบง่ายเป็นธรรมชาติ และเน้นไปที่กระบวนการเตรียมอาหาร พื้นที่ในร้านชั้น 1 และทางเท้าเลือกใช้วัสดุปูพื้นชนิดเดียวกัน เพื่อเชื่อมพื้นที่ให้ดูลื่นไหล ต่อเนื่อง ผนังด้านหน้าและหลังร้านกั้นด้วยบล็อกแก้วที่ใช้โครงสร้างเหล็ก ด้วยคุณสมบัติของบล็อกแก้วที่ยอมให้แสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ในร้าน แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวให้กับพื้นที่ภายใน อีกทั้งช่วยสร้างเอฟเฟ็กต์ของแสงสียามค่ำคืน สร้างความน่าสนใจสำหรับใครที่ผ่านไปมา ออกแบบ : BLOCO Arquitetos ภาพ : […]

DESIGN IN MOTION OFFICE ออฟฟิศสถาปนิกที่โชว์ผิววัสดุ โครงสร้าง และสเปซคุณภาพ

ออฟฟิศสถาปนิก ที่โดดเด่นด้วยความโปร่งโล่งทั่วถึงกันตลอดทั้งอาคาร ด้วยการออกแบบ “บันได” เป็นองค์ประกอบหลัก จากการใช้โครงสร้างคอนกรีตโชว์ผิวที่โชว์ความงามของระบบโครงสร้างอย่างตรงไปตรงมา เมื่อถึงโอกาสของการขยับขยายและย้ายที่ทำงานสู่สถานที่ใหม่ บริษัท Design In Motion จึงได้เปลี่ยนที่ดินว่างเปล่าผืนหนึ่งในซอกซอยซับซ้อนของถนนสุขุมวิท 71 ให้กลายเป็นอาคารสำนักงานมากเอกลักษณ์ ที่รวมทุกคุณสมบัติของสำนักงานคุณภาพ ทั้งเรื่องแสงสว่าง พื้นที่ส่วนกลาง และดีไซน์พิเศษมากฟังก์ชัน ซึ่งผ่านการคิดมาแล้วอย่างเป็นองค์รวม สมกับความเป็น ออฟฟิศสถาปนิก มากประสบการณ์ “เรามีความต้องการที่จำเป็นอยู่ไม่กี่ข้อ” คุณธฤต ทศไนยธาดา หนึ่งในพาร์ทเนอร์ของบริษัท เล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของสำนักงานแห่งใหม่ “แสงสว่างส่องถึง ให้ออฟฟิสสว่างๆ โล่งๆ ไม่ทึบ แล้วก็อยากมองเห็นกันในระหว่างทำงาน รวมถึงเรื่องงบประมาณค่าก่อสร้างด้วย” คุณธฤตเล่าว่า สำนักงานของ Design In Motion ก่อนหน้านี้ เป็นเพียงห้องของตึกแถว 1 ห้องในย่านเอกมัย และพนักงานกว่า 10 คนทั้งทีมพาร์ทเนอร์และพนักงาน ก็นั่งทำงานรวมกันอยู่ในห้องเดียว ซึ่งถึงแม้ว่าจะเพียงพอ และไม่ถึงขั้นแออัดยัดเยียด แต่การขาดพื้นที่ส่วนกลางและความเป็นส่วนตัวในพื้นที่ทำงานของแต่ละคน ก็เป็นหนึ่งในปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมของที่ทำงาน ที่ทุกคนเห็นตรงกันว่าต้องการแก้ไข เมื่อย้ายมาที่ทำงานใหม่ การออกแบบให้สถานที่ทำงานโปร่งโล่ง และแบ่งเป็นสัดเป็นส่วนมากขึ้น จึงเป็นปัจจัยแรกๆ […]

เปลี่ยนศูนย์อนุรักษ์น้ำ ให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับคนเมือง

แม่น้ำ Songyin ในมณฑลเจ้อเจียง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นแม่น้ำสายสำคัญของเมือง Songyang เมืองที่มีประวัติศาสตร์การอนุรักษ์น้ำ มาเป็นเวลานาน โดยที่นี่เป็นแหล่งกระจายน้ำที่สำคัญของภูมิภาคเพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้งและปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เกษตรกรรม ทางทิศตะวันตกของเขื่อนและสถานีไฟฟ้าเป็นที่ตั้งของ ศูนย์อนุรักษ์น้ำ ซึ่งเดิมทีที่นี่ตั้งใจให้เป็นศูนย์การจัดการน้ำ ที่มีห้องควบคุม ออฟฟิศ และโรงอาหารรวมอยู่ด้วยกัน แต่ด้วยนโนบายการพัฒนาพื้นที่ให้กลายเป็นจุดชมวิวแม่น้ำ ที่นี่จึงถูกเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่สาธารณะริมน้ำ เพื่อการพักผ่อนเเละนันทนาการเเทน โดยพื้นที่ภายในอาคารได้ถูกเปลี่ยนการใช้งานทั้งหมด เช่น ห้องเก็บเอกสารเปลี่ยนเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติการอนุรักษ์น้ำ ศูนย์ตรวจสอบเปลี่ยนเป็นพื้นที่ให้คนทั่วไปและนักเรียนได้เข้ามาใช้ทำกิจกรรม และส่วนของโรงอาหารยังคงการใช้งานไว้ โดยเพิ่มหน้าที่เป็นพื้นที่มัลติมีเดียสำหรับวัยรุ่นในพื้นที่ ทีมผู้ออกแบบพยายามเก็บสเปซเดิมของอาคารไว้ให้มากที่สุด โดยรูปทรงโค้งของอาคารถูกปรับให้เป็นอัฒจันทร์สำหรับทำกิจกรรมเอ๊าต์ดอร์ และทางเดินที่จะนำไปยังสวนดาดฟ้า อีกทั้งยังใช้ประโยชน์จากรูปแบบของพื้นที่เดิมมาสร้างความพิเศษให้กับพื้นที่ภายในอาคาร ไม่ว่าจะเป็นลำดับการเข้าถึง เเละเปิดรับแสงธรรมชาติให้สาดเข้ามายังพื้นที่ภายใน การวางตัวอาคารในลักษณะของคลัสเตอร์ที่มีทางเชื่อมถึงกัน แล้วแทรกด้วยบ่อน้ำ ดูเสมือนคอร์ตน้ำกลางกลุ่มอาคาร อันสื่อถึงเอกลักษณ์ของสถานที่ตั้ง นอกจากนี้ทางเดินเชื่อมไปยังแต่ละอาคาร ยังออกแบบให้สอดคล้องไปกับลักษณะของภูมิประเทศ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายของการมาเที่ยวชมศูนย์อนุรักษ์แห่งนี้ ที่นี่จึงกลายเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านแถบชานเมืองกับภูเขาโดยรอบ เปิดโอกาสให้ผู้คนจากในเมืองได้มาเรียนรู้ ใกล้ชิด เเละสัมผัสธรรมชาติ ผ่านเรื่องราวการอนุรักษ์น้ำที่สอดเเทรกอยู่ทุกมุม รวมถึงประวัติศาสตร์ของพื้นที่ตั้งได้เป็นอย่างดี ออกแบบ : DnA_ Design and Architecture ภาพ : Wang Ziling, Han Dan […]

BAANSOMTAM BANG NA ร้านส้มตำที่เติมความแซ่บและเป็นพื้นที่สีเขียวให้เมือง

“บ้านส้มตำ” ร้านส้มตำสุดเก๋าที่เปิดมายาวนานกว่า 15 ปี และมีสาขาอยู่ทั่วมุมเมือง ล่าสุดกับสาขาที่ 10 สาขานี้เปรียบเสมือนเป็นแฟล็กชิปสโตร์ของบ้านส้มตำ ที่แสดงออกถึงตัวตนและอัตลักษณ์ของเเบรนด์ได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความใส่ใจในรายละเอียด การคัดเลือกวัตถุดิบคุณภาพ และดีเทลในการบริการ ผ่านการวางพื้นที่ใช้สอยและการใช้วัสดุตกแต่งธรรมดาที่ไม่ธรรมดา หลังจากศึกษาและวิเคราะห์ที่ตั้งของร้าน ซึ่งอยู่ในย่านบางนาที่ยังขาดพื้นที่สวนระดับชุมชน หรือไม่มีสวนขนาดเล็กแทรกอยู่ในชุมชนเมืองเลย ประจวบเหมาะกับที่ดินผืนนี้มีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ เมื่อหักลบจากพื้นที่ร้าน บ้านส้มตำ และคาเฟ่แล้ว ยังเหลือพื้นที่อีกมาก จึงเกิดเป็นไอเดียในการสร้างสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ที่ใช้ “พื้นที่สีเขียว” เป็นจุดดึงดูดความสนใจของโครงการ พื้นที่สีเขียวที่เกิดขึ้นอาจจะเรียกว่าสวนกึ่งสาธารณะ นอกจากช่วยดึงผู้คนให้มาใช้พื้นที่ของร้านบ้านส้มตำและคาเฟ่แล้ว ยังเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง โดยสิ่งนี้ได้กลายเป็นการพึ่งพาอาศัยกัน ทั้งในเเง่ฟังก์ชันการใช้พื้นที่และโมเดลธุรกิจ และเมื่อพูดถึงอาหารอีสาน หลายคนมักนึกถึงความสนุกสนาน อันเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์จากสิ่งที่เป็นเบสิก ท่ามกลางบรรยากาศการรับประทานอาหารที่เป็นการพูดคุยอย่างออกรสเเละเป็นกันเอง อันสื่อถึงความเป็นครอบครัวและความอบอุ่น นำไปสู่การออกแบบตัวอาคารให้มีความกลมกลืนระหว่างฟังก์ชันกับรูปฟอร์มได้อย่างลงตัว ตัวอาคารถูกแบ่งออกเป็นสองก้อนหลัก ๆ คือ ส่วนของร้านบ้านส้มตำ และส่วนของร้านหอมคาเฟ่ที่เชื่อมต่อกันอยู่ในรูปทรงของ Spiral Shape โดยส่วนของคาเฟ่เป็นส่วนของขดก้นหอยที่มีลักษณะเป็นวงกลม ตอบโจทย์การใช้งานของบาร์กาแฟ ขณะหางที่ต่อออกมาใช้เป็นส่วนของบ้านส้มตำ ที่มีลักษณะของอาคารทรงจั่วอันเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ เอื้อต่อการวางฟังก์ชันครัว ซึ่งทั้งสองมีการเชื่อมต่อทางมุมมองและการเข้าถึงสนับสนุนซึ่งกันและกัน ไฮไลต์ที่อดกล่าวถึงไม่ได้คือพื้นที่สวนโดยรอบอาคารที่ถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่ง สวนด้านหน้าเป็นสวนของไม้ดอกที่มีกลิ่นหอม เช่น จำปี ปีบ […]

JACQUELINE BANGKOK จิบค็อกเทลในบาร์ที่จะพาคุณย้อนสู่ยุค50’s

ย้อนบรรยากาศกลับสู่ยุค 50’s กับ JACQUELINE BANGKOK บาร์สไตล์ American Mid-Century บนชั้น 2 ของโครงการสิริเฮ้าส์ ไลฟ์สไตล์คอมมูนิตีเฮ้าส์ย่านชิดลม ด้วยการหยิบคาเเร็กเตอร์สุดเฟียร์สของแจ็คเกอลีน เคนเนดี มาใช้เป็นคอนเซ็ปต์ในการออกแบบตกแต่ง จากบ้านเก่าที่สร้างขึ้นในยุค 50’s ภายในซอยสมคิด ได้รับการปรับเปลี่ยนเพื่อเปิดเป็นแหล่งรวมไลฟ์สไตล์ ซึ่งมีทั้งร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านหนังสือ ร้านดอกไม้ เเละโดยเฉพาะบาร์แห่งนี้ จากประวัติอันยาวนานเเละรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ ทุกอย่างจึงดูลงตัวเข้ากับคอนเซ็ปต์บาร์ยุคซิกซ์ตี้อย่างยิ่ง โดยทันทีที่คุณเดินขึ้นมายังพื้นที่บาร์จะสัมผัสได้กับบรรยากาศที่เป็นกันเอง คล้ายกำลังพักผ่อนอยู่ในบ้านพักตากอากาศช่วงซัมเมอร์ริมชายหาดไมอามีอย่างไรอย่างนั้น ด้านหน้าเด่นด้วยเคาน์เตอร์บาร์ที่นำไอเดียคอปเปอร์บาร์ของบ้านตัวร้ายในภาพยนตร์ Dr. No (1963) มาดีไซน์กลายเป็นเคาน์เตอร์บาร์สีทองเเดงสามารถรับบริการเครื่องดื่มจากบาร์เทนเนอร์ได้รอบทิศทาง ท็อปด้านบนปูด้วยหินขัดเทอร์ราซโซ วัสดุยอดนิยมของยุคนั้น พร้อมกับประดับโคมไฟเเขวนสไตล์สเเกนดิเนเวียนช่วยย่อสเปซลงมา รอบ ๆ เคาน์เตอร์ทั้งในเเละนอกจัดวางสตูลบาร์ตัวสูงทำจากหวายสไตล์ทรอปิคัล ดูรีเเล็กซ์เข้ากับบรรยากาศร่มครึ้มของไม้ใหญ่ในโครงการ ขยับเข้ามาที่โซนด้านในจะพบกับชุดเฟอร์นิเจอร์บุเบาะกำมะหยี่สีสันสดใสหนานุ่ม ร่วมด้วยองค์ประกอบอย่าง เเพตเทิร์นไม้เเต่งผนังสีน้ำตาลเข้ม ทาสีผนังด้วยสีน้ำเงินเเกมเขียวสื่อถึงสไตล์วินเทจ รู้สึกได้ทั้งความเป็นเฟมินีนเเละโฮมมี่พร้อม ๆ กัน หากอยากออกไปสูดอากาศด้านนอกก็มีระเบียงให้นั่งเล่น บนเบาะสีฟ้าขลิบขอบขาว ซึ่งนิยมใช้ในสถานที่ตากอากาศริมทะเลสมัยก่อน นอกจากบรรยากาศเเละของตกแต่งที่อิงมาจากเรื่องราวชีวประวัติของแจ็คเกอลีน เคนเนดี เเล้ว เมนูค็อกเทลยังตั้งชื่อตามช่วงเวลาสำคัญต่าง ๆ […]

หอเก็บน้ำจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่พระตะบอง

เมื่อ “น้ำดื่มสะอาด” กลายเป็นของหายาก จึงเป็นที่มาของ หอเก็บน้ำ ที่ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาก่อสร้าง หอเก็บน้ำ ในหมู่บ้านที่เมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชา แห่งนี้ ทำหน้าที่เป็นแหล่งน้ำดื่มสะอาดของหมู่บ้านที่ปลอดภัย ให้แก่พื้นที่ขาดแคลนและด้อยโอกาส ทั้งยังกลายมาเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ของคนในชุมชน ทั้งการเฉลิมฉลองและเทศกาลสำคัญต่าง ๆ เเต่กว่าหอเก็บน้ำนี้จะกลายเป็นฮับของชุมชน ในระหว่างกระบวนออกแบบทีมสถาปนิก Orient Occident Atelier ได้ลงพื้นที่และเข้ามาเก็บข้อมูล จนค้นพบเทคนิคและเอกสารเกี่ยวกับการก่อสร้างที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กระทั่งนำมาสู่แรงบันดาลใจการสร้างหอเก็บน้ำภายใต้รูปเเบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์นอย่างที่เห็นขึ้น โดยหมู่บ้านที่เป็นสถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ในเขตชานเมืองของพระตะบอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เคยได้รับความเสียหายจากทุ่นระเบิดในยุคสงครามเขมรแดง วิถีชีวิตชาวบ้านต้องอาศัยน้ำจากทะเลสาบเป็นแหล่งอุปโภคบริโภคหลัก เเต่ก็ไม่ปลอดภัยนัก เพราะแหล่งน้ำที่ว่านี้ปนเปื้อนไปด้วยสารพิษจากโรงงานในพื้นที่ใกล้เคียง เเถมยังต้องเผชิญกับปัญหาภัยเเล้งเเละน้ำท่วมในบางปี เพื่อแก้ปัญาหาการขาดแคลนน้ำอย่างยั่งยืนให้แก่ชาวบ้าน ทีมงานจึงช่วยกันระดมทุนเพื่อสร้างหอเก็บน้ำไว้สำหรับกักเก็บน้ำฝนและจากทะเลสาบใกล้เคียง ซึ่งมีระบบการกรองน้ำที่มีคุณภาพ จนได้น้ำที่ทั้งสะอาดเเละปลอดภัยสำหรับทุกคนในหมู่บ้าน จะว่าไปหอเก็บน้ำนี้เป็นเหมือนฮีโร่พาชาวบ้านทั้งหมู่บ้านผ่านพ้นวิกฤตปัญหาน้ำเเละภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ไปได้ นี่จึงถือเป็นอีกหนึ่งสถาปัตยกรรมที่ออกแบบมาเพื่อผู้คนอย่างเเท้จริง ออกแบบ : Orient Occident Atelier (http://ooa.design ภาพ : Magic Kwan, Kenrick Wong เรียบเรียง : BRL Adventurous Global School อาคารเรียนที่ใช้ล็อกเกอร์เป็นทั้งผนังและที่เก็บของ

ADHOC อร่อยกับเมนูเชฟส์เทเบิ้ลในบรรยากาศไพรเวตไดน์นิ่งสุดเอกซ์คลูซีฟ

ADHOC ร้านอาหารไพรเวตไดน์นิ่งกับคอนเซ็ปต์ที่จะทำให้คุณรู้สึกราวกับเป็นเเขกคนพิเศษ ผู้ได้รับคำเชิญจากเชฟเจ้าของบ้านให้มาดินเนอร์ท่ามกลางบรรยากาศอบอุ่นสุดเอกซ์คลูซีฟ กับมื้ออาหารไทยสไตล์โมเดิร์นที่ทั้งอร่อยเเละมีหน้าตาราวกับงานศิลปะ สร้างสรรค์โดยเชฟเเท็ป-ศุภสิทธิ์ ก๊กผล จากธีมของร้าน ADHOC ที่เป็นเเบบเชฟส์เทเบิ้ล เปิดต้อนรับลูกค้าผู้ต้องการความเป็นส่วนตัว ที่ตั้งของที่นี่จึงถูกซ่อนตัวอยู่อย่างเงียบเชียบภายในทาวน์เฮ้าส์หลังเล็ก ๆ ที่อยู่ท้ายซอยตัน ในย่านสุขุมวิท39 ทันทีที่เปิดประตูเข้ามาเราจะพบกับโต๊ะ Long Table รองรับเเขกได้ราว 10 คน กับการตกแต่งที่ดูอบอุ่นเหมือนบ้านดั้งเดิมในยุโรป เพดานด้านบนเปิดสเปซสูงโปร่งเเขวนเเชนเดอเลียร์คริสตัลดูหรูหรา สุดปลายโต๊ะคือครัวเปิดที่มองเห็นความเคลื่อนไหวของเชฟขณะทำอาหาร ก่อนลำเลียงออกมาจัดเสิร์ฟไล่ลำดับตามรสชาติจนครบ 1 คอร์ส โดยเน้นการดีไซน์อาหารไทย-จีนให้มีหน้าตาสร้างสรรค์ดูโมเดิร์น หนึ่งคำสามารถสัมผัสได้ครบทุกรสชาติ ไม่ทิ้งเอกลักษณ์ของอาหารไทยดั้งเดิม จากธีมของร้านที่เป็นเเบบเชฟส์เทเบิ้ล เปิดต้อนรับลูกค้าผู้ต้องการความเป็นส่วนตัว ที่ตั้งของที่นี่จึงถูกซ่อนตัวอยู่อย่างเงียบเชียบภายในทาวน์เฮ้าส์หลังเล็ก ๆ ที่อยู่ท้ายซอยตัน ในย่านสุขุมวิท39 ทันทีที่เปิดประตูเข้ามาเราจะพบกับโต๊ะ Long Table รองรับเเขกได้ราว 10 คน กับการตกแต่งที่ดูอบอุ่นเหมือนบ้านดั้งเดิมในยุโรป เพดานด้านบนเปิดสเปซสูงโปร่งเเขวนเเชนเดอเลียร์คริสตัลดูหรูหรา สุดปลายโต๊ะคือครัวเปิดที่มองเห็นความเคลื่อนไหวของเชฟขณะทำอาหาร ก่อนลำเลียงออกมาจัดเสิร์ฟไล่ลำดับตามรสชาติจนครบ 1 คอร์ส โดยเน้นการดีไซน์อาหารไทย-จีนให้มีหน้าตาสร้างสรรค์ดูโมเดิร์น หนึ่งคำสามารถสัมผัสได้ครบทุกรสชาติ ไม่ทิ้งเอกลักษณ์ของอาหารไทยดั้งเดิม ไม่เพียงเเต่ชั้น 1 หากใครต้องการมาดินเนอร์สองต่อสอง หรือมาเป็นกรุ๊ปย่อย ๆ […]

THE NẮNG SUITES ที่พักเมืองดานัง นอนสบายเหมือนอยู่บ้านท่ามกลางธรรมชาติ

The Nắng Suites ที่พักเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ที่สถาปนิกตั้งใจออกแบบบรรยากาศให้อยู่สบายเเหมือนอยู่บ้าน ไม่ว่าจะมาพักในระยะสั้น หรือระยะยาว โดยหัวใจสำคัญของที่นี่คือคอร์ตกลางอาคารที่เปิดโล่งจากชั้นแรกทะลุถึงท้องฟ้า เกิดเป็นพื้นที่เปิดโล่งและวิวของที่พัก ซึ่งช่วยแก้ปัญหาเรื่องแสงธรรมชาติและความอึดอัดของตึกที่มีลักษณะเป็นอาคารสูงแคบได้อย่างดี ที่พักเมืองดานัง แห่งนี้พื้นที่ทั้ง 4 ชั้น ถูกแบ่งออกเป็น 2 โซนหลัก ๆ คือ พื้นที่พักผ่อนแบบไพรเวตในชั้นบนจำนวน 8 ห้อง และพื้นที่ส่วนกลางที่ประกอบด้วยพื้นที่นั่งเล่น ห้องครัว ส่วนรับประทานอาหาร เล้านจ์ ห้องสมุด ห้องดูหนัง ห้องซักรีด และที่จอดรถ ในส่วนของฟาซาด สร้างจังหวะให้กับอาคารด้วยแผงไม้ และหน้าต่างเต็มบานที่มีความสูงจากพื้นจรดฝ้าเพดาน สร้างความรู้สึกทั้งปิดทึบและปลอดโปร่งด้วยเเสงสว่าง โดยแผงไม้ทำเป็นรูปแบบของไม้สาน ช่วยในการนำแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในเเละระบายอากาศ ทั้งยังช่วยกรองแสงแดดได้ในตัว และเมื่อคุณเดินเข้ามาจะเจอกับคอร์ตตรงกลางทำหน้าที่เสมือนสะพานเชื่อมระหว่างพื้นที่ภายในกับภายในเข้าด้วยกัน การตกแต่งภายในได้แรงบันดาลใจมาจากยุค 1960s และทำให้ดูร่วมสมัยสไตล์คอนเทมโพรารี โดยใช้คีย์สีหลักอย่าง แดง เขียว และน้ำเงิน เพิ่มความอบอุ่นด้วยไม้วอลนัทสีเข้มที่ทำเพียงเคลือบใสเพื่อเผยผิวธรรมชาติ เพิ่มผิวสัมผัสความเป็นธรรมชาติด้วยหินขัดในส่วนของห้องน้ำ และเพื่อเป็นการเชื่อมโยงกับบริบทโดยรอบที่เป็นภูเขา จึงยกไม้แบบทรอปิคัลมาไว้ในส่วนต่าง ๆ ของที่พัก ไม่ว่าจะเป็นระเบียงด้านหน้า หรือคอร์ตด้านใน นอกจากจะเพิ่มความสดชื่นแล้ว […]

CASA DE LASESTRELLAS โรงเรียนทางเลือกในคอสตาริกา ที่ออกแบบให้เด็กได้สัมผัสธรรมชาติแบบเต็มร้อย

ความท้าทายของที่นี่คือการนำแนวคิดการศึกษาของ โรงเรียน แปลงออกมาในรูปแบบของงานสถาปัตยกรรมได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีทั้งความโดดเด่น เปิดโล่ง ผนังโค้งดูลื่นไหล สี และวัสดุทำมาจากธรรมชาติ จุดเริ่มต้นเกิดจากความต้องการให้ โรงเรียน แห่งนี้เป็นหนึ่งเดียวกับพื้นที่ ดูกลมกลืนไปกับพื้นที่ป่ารอบ ๆ ให้มากที่สุด สถาปนิกจึงเลือกออกแบบอาคารเรียนเป็นแนวยาว ขนานไปกับชายหาด และรูปแบบภูมิสัณฐานของที่ตั้ง ตัวอาคารแยกออกเป็นก้อน ๆ เพื่อแบ่งการใช้งานตามระดับของชั้นเรียน ซึ่งมีความต้องการพื้นที่ใช้งานที่ต่างกัน อาคารหลักใช้เป็นห้องเรียนหลัก ห้องน้ำ ห้องครัว และพื้นที่รับประทานอาหาร ขนาบไว้ด้วยห้องแสดงศิลปะ ที่จอดรถ และห้องของเด็กชั้นเตรียมอนุบาล ซึ่งเเบ่งให้อยู่ด้านละฝั่ง ส่วนของชั้นเตรียมอนุบาลนั้น ตามหลักสูตรมุ่งเน้นให้เด็ก ๆ ได้ทำกิจกรรมที่กระตุ้นการเรียนรู้ ดังนั้นรูปแบบของสถาปัตยกรรมจึงเน้นใช้วัสดุธรรมชาติ เพื่อช่วยสร้างแรงบันดาลใจผ่านความรู้สึก แผนผังของอาคารประกอบด้วยส่วนที่มีรูปทรงแบบก้นหอย ซึ่งเป็นพื้นที่เปิดโล่งในส่วนของทางเข้า แล้วค่อย ๆ ปิดทีละนิดตามเส้นทางที่คดเคี้ยว จนกระทั่งถึงห้องเรียนรวมที่เด็ก ๆ จะทำกิจกรรมร่วมกัน หลังคาของอาคารส่วนก้นหอยนี้ ทำขึ้นจากโครงสร้างไม้ไผ่ให้มีลักษณะคล้ายกระโจม แล้วมุงด้วยหญ้าแห้งเป็นชั้น ๆ แทนการมุงกระเบื้อง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านทางภาคใต้ของคอสตาริกา โดยส่วนของโครงสร้างหลังคาได้เว้นช่องตรงกลาง แต่มีหลังคาเล็ก ๆ แบบโปร่งแสงคลุมอีกชั้น เพื่อให้แสงอาทิตย์สามารถสาดส่องเข้ามายังพื้นที่ภายในได้ ให้เด็ก […]

ADVENTUROUS GLOBAL SCHOOL อาคารเรียนที่ใช้ล็อกเกอร์เป็นทั้งผนังและที่เก็บของ

นี่คือ อาคารเรียน ในหมู่บ้านที่พระตะบอง ประเทศกัมพูชา โดย Orient Occident Atelier สำนักงานออกแบบจากฮ่องกงต้องการให้ที่นี่ไม่ได้เป็นเพียงอาคารเรียนแบบเน้นการบรรยายทั่วไป แต่ใช้สำหรับเป็นพื้นที่เรียนรู้ด้านการออกแบบ ก่อสร้าง รวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งในระหว่างกระบวนการก่อสร้างนั้นเด็ก ๆ จะได้มีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกับทีมสถาปนิกด้วย อาคารเรียน มีลักษณะสองชั้น ชั้นล่างออกแบบให้เป็นพื้นที่เเบบใต้ถุนสูง ซึ่งเป็นลักษณะบ้านเรือนดั้งเดิมของชาวกัมพูชา โดยประยุกต์เป็นห้องเรียนแบบเปิดโล่งสามารถเชื่อมต่อกับชุมชนและวิวท้องนารอบ ๆ ที่จะใช้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมการเรียนรู้ เอื้อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างชาวบ้านให้ได้รับรู้ถึงกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็ก ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน ทั้งยังสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้นั้น ๆ ได้ตลอดเวลาโดยไม่รู้สึกเคอะเขิน พื้นที่ชั้นสอง ออกแบบเป็นห้องสองฝั่งแบบโอเพ่นสเปซ สามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น โดยมีผนังที่เรียกว่า “Griddy” ผนังโครงเหล็กสองชั้นกรุด้วยแผ่นไม้สลับกับแผ่นพอลิคาร์บอเนตทำหน้าที่เป็นทั้งผนังอาคาร ล็อกเกอร์ และชั้นวางของ โครงสร้างอาคารแบบยกสูง นอกจากจะเกิดเป็นพื้นที่ใช้งานแบบใต้ถุนแล้ว ยังช่วยป้องกันเรื่องน้ำท่วม และเป็นการเก็บรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิมด้านการอยู่อาศัยไว้ ในส่วนของกระบวนการก่อสร้าง สถาปนิกได้เลือกใช้วิธีการและวัสดุแบบท้องถิ่น อย่างการใช้อิฐและไม้ที่หาได้ง่ายในพื้นที่ ซึ่งเป็นการประหยัดค่าก่อสร้าง ทั้งยังแป็นวัสดุที่ช่างพื้นถิ่นคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ในแง่ของการออกแบบใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมแบบ Bottom-up ทำให้อาคารที่ออกมายังสะท้อนถึงบริบทของชุมชน เพราะทีมผู้ออกแบบเชื่อว่าอาคารเรียนที่ดีต้องเกิดจากความร่วมมือของครูผู้สอน เด็กนักเรียน และคนในชุมชนร่วมกับผู้ออกแบบ ถึงจะได้พื้นที่ใช้งานที่ทั้งถูกต้องและถูกใจ […]