PLANT ME ON THE MOON คาเฟ่ที่หวังจะปลูกต้นไม้ให้ถึงดวงจันทร์

คาเฟ่ลาดพร้าว ” PLANT ME ON THE MOON ” ที่โดดเด่นด่วยนั่งร้านเหล็กที่อัดแน่นและล้อมรอบไปด้วยกำแพงไม้ใบ เสมือนเป็นโอเอซิสกลางกรุง

โซลาร์เซลล์: พลังงานไฟฟ้าทางเลือกบนเกาะยาวน้อย-เกาะยาวใหญ่

ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมเกาะยาวและพลังงาน โซลาร์เซลล์ ต้นแบบอาคาร “Zero Energy”โจทย์แรกที่สำคัญที่สุดในโครงการนี้คือการจัดทำพื้นที่ต้นแบบเพื่อ…

CUUN COFFEE คาเฟ่เกาหลีที่ดึงก้อนเมฆจากท้องฟ้า ลงมาลอยบนพื้นกลางหมู่บ้านชอนจูฮันอก

คาเฟ่เกาหลี แนวมินิมัลในเมืองชอนจู ประเทศเกาหลีใต้ ที่ผู้ออกแบบจาก Design Studio MAOOM เก็บภาพบรรยากาศของเหล่าก้อนเมฆสีขาวจากท้องฟ้ากว้างในเมือง มาเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบ

ร้านสุดเท่ของ FREITAG ในเกียวโต ที่จับความต่างของตึกสองคูหาให้รวมเข้ากันเป็นหนึ่ง

FREITAG Store Kyoto คือรีเทลแห่งที่ 4 ในญี่ปุ่นของแบรนด์กระเป๋าผ้าใบรักษ์โลก ที่ออกแบบและตกแต่งให้มีความรู้สึกละม้ายกับคลังสินค้าของ FREITAG ในสำนักงานใหญ่ที่ซูริก สวิตเซอร์แลนด์

COPENHILL โรงงานเผาขยะในโคเปนเฮเกน ที่มีหลังคาเป็นสวนเขียว ทางเดินป่า และลานกีฬาเอ็กซ์ตรีม

CopenHill หรือ Amager Bakke โรงงานแปรรูปขยะเป็นพลังงานสายพันธุ์ใหม่ ที่ตอกย้ำเป้าหมายของโคเปนเฮเกนในการเป็นเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของโลกในปี 2025

DAI AN APARTMENT รีโนเวตอพาร์ตเมนต์เก่าให้ “ว้าว” ถูกใจวัยรุ่น

Dai An Apartment คือการปรับปรุง อพาร์ทเม้นท์ เดิมในเวียดนาม ด้วยการแปลงโฉมใหม่ให้ดึงดูดใจวัยรุ่นมากขึ้น เริ่มจากสีสันภายนอกที่ใช้ได้อย่างแปลกตาแต่ลงตัว

DEVOLUTION PARK สวนป่าในคอนโดฯ ที่ปลูกให้คนทั้งโลกออนไลน์มาเที่ยวชม

Devolution Park สวนลอยฟ้าบนชั้น 27 ของอาคาร 50 ชั้น ที่ถูกสร้างขึ้นจากห้องขนาด 90 ตารางเมตร อยู่ในพื้นที่พักอาศัยที่หนาแน่นของ Xinglin Bay, Xiamen ประเทศจีน โดยทีมออกแบบ DEVOLUTION ต้องการทดลองการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้พักอาศัยจำนวน 300 ห้องในตึกแห่งนี้

GOOD OPTICAL EYEWEAR ร้านขายแว่นตาที่ออกแบบให้ลูกค้าเลือกจับจ่ายอย่างสบายใจ

ร้านแว่นตา Good Optical Eyewear ที่ออกแบบให้ลูกค้าเลือกจับจ่ายอย่างสบายใจ ดูเป็นกันเอง ขณะเลือกสินค้า แถมยังใกล้ชิดกับธรรมชาติแม้จะอยู่ในร้าน

สำนักงานของ DROOMPARKEN ในเนเธอร์แลนด์ ที่มีขนาดเพียง 2.2 x 2.75 เมตร

สำนักงานขนาดเล็ก กะทัดรัดของ Droomparken ซึ่งตั้งอยู่กลางสวนสาธารณะในประเทศเนเธอร์เเลนด์ ซึ่งพิสูจน์ให้รู้ว่าแม้มีพื้นที่ไม่มากคุณก็สามารถมีออฟฟิศสำหรับทำงานสร้างสรรค์ของตัวเองได้

BONPLAND BUILDING ตึกที่เท้าแตะผืนหญ้าง่ายดายเพียงไม่กี่ก้าวจากห้องพัก

หอพัก แบบสตูดิโอขนาด 7 ชั้น 13 ยูนิต ออกแบบมาเพื่อปรับให้เข้ากับการใช้งานที่หลากหลาย โดยมีสวนริมระเบียงเชื่อมต่อกับพื้นที่ภายในด้วยประตูกระจกบานเลื่อน

DUJIANGYAN ZHONGSHUGE ร้านหนังสือดีไซน์สุดพิศวง

ร้านหนังสือ Dujiangyan Zhongshuge ตั้งอยู่ในเมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน ทางภาคตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน ออกแบบโดยสตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรมจากเซี่ยงไฮ้ X+Living ได้แรงบันดาลใจจากภูมิทัศน์ และประวัติศาสตร์ของระบบชลประทานอายุกว่า 2,000 ปีในเมือง Dujiangyan เมื่อก้าวเข้าไปในร้าน Dujiangyan Zhongshuge ผนังชั้นวางโค้งรูปตัวซี (C) สีไม้วอทนัทสร้างสเปซให้มีชั้นเชิงน่าค้นหา ทั้งยังเป็นไฮไลต์สำคัญของร้าน การเดินทางใต้ชั้นหนังสือเหล่านี้ให้ความรู้สึกเหมือนเดินใต้ชายคาของซุ้มโค้งกลางสวน หรือท่ามกลางคลื่นทิวเขาตามธรรมชาติ สร้างประสบการณ์เลือกซื้อหนังสือที่แตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ชั้นหนังสือเรียงรายเต็มบนซุ้มโค้ง และเสากลมสูงทะยานจรดเพดาน บรรจุหนังสือกว่า 80,000 เล่ม  ตู้หนังสือเหล่านี้ได้รับแรงบันดาลใจจากประวัติศาสตร์ และลักษณะภูมิประเทศของเมือง Dujiangyan ซึ่งมีประวัติการพัฒนาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำมายาวนาน ดังนั้นในพื้นที่หลักจะมีชั้นหนังสือที่สะท้อนภาพของเขื่อนกั้นน้ำ Dujiangyan สิ่งมหัศจรรย์ที่ชาวจีนสร้างตั้งแต่ 2,000 กว่าปีก่อน โดยนักออกแบบตั้งใจนำเสนอแรงบันดาลใจนี้ทั้งในเชิงนามธรรม และเชิงความงาม ในโซนหนังสือวรรณกรรมตรงกลาง กระจกบนเพดานชื่อทำให้สเปซดูสูงโปร่งไร้ที่สิ้นสุด พร้อมด้วยเงาสะท้อนของชั้นหนังสือที่ได้แรงบันดาลใจจากเขื่อนกั้นน้ำสุดยิ่งใหญ่ใน Dujiangyan ดูเหมือนเมืองย่อมๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยวัฒนธรรมเชิงประวัติศาสตร์ โต๊ะจัดวางหนังสือดูไม่ต่างเรือที่ล่องอยู่บนสายน้ำ ซึ่งแทนด้วยกระเบื้องสีดำบนพื้น ระหว่างชั้นหนังสือทั้งหลาย และเมื่อเดินผ่านช่องวงกลมบนผนังชั้นวางหนังสือเข้าไปจะพบกับโซนคาเฟ่ ที่ให้ทุกคนนั่งจิบกาแฟพร้อมๆ กับซึมซับบรรยากาศ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ  ส่วนระเบียงของชั้นสองเต็มไปด้วยที่นั่ง ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกหนังสือมานั่งเปิดดูก่อนซื้อ หรือนั่งพูดคุยกันได้ โดยทั้งหมดออกแบบด้วยแนวคิดแบบองค์รวม ทุกองค์ประกอบจึงต่อเนื่องลื่นไหลภายใต้แนวคิดความงามเดียวกัน […]

YUECHENG COURTYARD KINDERGARTEN โรงเรียนอนุบาลกับลานวิ่งเล่นลอยฟ้า

โรงเรียนอนุบาล ที่ผสมผสานระหว่างโรงเรียนอนุบาลและศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ สะท้อนให้เห็นว่าลูกค้าได้ให้ความสำคัญในประเด็นของ “การบูรณาการระหว่างวัย”

party / space / design สตูดิโอออกแบบในบรรยากาศคาเฟ่

party / space / design สตูดิโอออกแบบที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบพื้นที่ธุรกิจร้านอาหารและคาเฟ่ ที่สร้างประสบการณ์ใหม่เหนือความคาดหมายให้แก่ผู้ใช้งาน

HIRATA TOTSUKA CHURCH โบสถ์ไซซ์เล็กสุดคิวท์ มีไอเดียจากใต้ร่มเงาไม้ใหญ่

Hirata Totsuka Church โบสถ์กลางย่านชุมชนที่ดูน่ารักไม่ต่างจากภาพบ้านในหนังสือนิทานแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่มืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น เรียกว่าถ้าใครไปเที่ยวเมืองนี้ ลองหาข้อมูลแล้วแวะเวียนไปเยี่ยมชมและถ่ายรูปกลับมาเป็นที่ระลึกกันได้

HOME DAY 1 พื้นที่ทำงานที่แสดงออกถึงแนวคิดแบบวิศวกรรมศาสตร์

HD1 อาคารสำนักงานที่เปรียบเหมือนบ้านของเหล่าวิศวกรแห่ง Tri-En Solution โครงการนี้เริ่มต้นจากการขยายพื้นที่ของบริษัทวิศวกร Tri-En Solution จากเดิมที่ใช้อาคารแบบทาวน์เฮาส์ ได้มีการขยายเพิ่มขึ้นเป็น 3 คูหา และผู้ที่เข้ามาเป็นผู้ออกแบบก็คือ คุณตี๋ ณรงค์ โอถาวร จาก So Architect นี่เอง

MAISON826 จากพื้นที่ใต้ตึกที่เคยปล่อยร้าง ถูกปลุกให้ฟื้นเป็นคอนเซ็ปต์สโตร์สุดเท่

ภายใต้โครงสร้างที่เหมือนจะยังสร้างไม่เสร็จดีนัก แท้ที่จริงแล้วนั้นเกิดจากความตั้งใจของ Nuno Ferreira Capa ผู้ออกแบบที่เข้ามา รีโนเวท ฟื้นคืนชีพพื้นที่ใต้ตึกมีอายุ ที่ครั้งหนึ่งเคยปิดเอาไว้โดยไม่ถูกใช้งาน ให้กลับมามีชีวิตใหม่เป็นพื้นที่มัลติฟังก์ชันดีไซน์เรียบเท่ ที่นี่คือ Maison826 ร้านทำผม ส่วนจัดแสดงดนตรี และคอนเซ็ปต์สโตร์ แบรนด์เสื้อผ้าและเครื่องประดับของแฮร์สไตลิสต์หนุ่ม Pedro Remy ซึ่งตั้งอยู่บนชั้น G ของตึกคอนกรีตอายุหลายสิบปีที่สร้างขึ้นตั้งแต่ยุค 70’s ในย่านใจกลางเมืองบราก้า ประเทศโปรตุเกส ภายใต้พื้นที่ใช้สอยรวมทั้งหมด 250 ตารางเมตร ที่ได้รับการ รีโนเวท ขึ้นมาใหม่ จนเรียกได้ว่าเปลี่ยนบรรยากาศไปเลยไก้อย่างไม่น่าเชื่อ บ้างถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุปิดผิวให้ดูเรียบร้อย บ้างยังคงปล่อยเปลือยให้ปรากฏร่องรอยกระด้างดิบของเนื้อคอนกรีตบนผิวผนังและโครงสร้าง อีกทั้งด้วยลักษณะของพื้นที่ที่มีระดับต่างกันไป คล้ายกับชั้นหนึ่งชั้นถูกแบ่งย่อยออกเป็นชั้นเล็ก ๆ อีก 4 ระดับ จนดูซับซ้อน กลับดูน่าสนใจและมีเสน่ห์ในแบบฉบับของมันเองอย่างน่าประหลาด แม้ว่าในแต่ละสเปซจะมีฟังก์ชันที่ถูกกำหนดการใช้งานออกมาต่างกันก็ตาม เพราะด้วยช่องเปิดอาคารและหน้าต่างแต่ละบานที่มีจำนวนมากพอ ประกอบกับผู้ออกแบบจัดการรื้อผนังที่เป็นส่วนเกินรบกวนสเปซบางส่วนออกไป จึงทำให้สเปซต่างระดับเกิดความต่อเนื่องกันและมองเห็นกันได้ ผู้ออกแบบอธิบายว่า แนวคิดทางสถาปัตยกรรมของ Maison826 เกิดขึ้นพร้อมกับการหยุดชะงักไปในระหว่างกระบวนการปรับปรุงรื้อถอน ประกอบกับการคำนึงถึงความเหมาะสมของสเปซกับโปแกรมใหม่ที่จะถูกกำหนดลงบนสเปซเดิมทั้ง 4 ระดับ ซึ่งส่วนแรกถัดจากประตูทางเข้าถูกกำหนดฟังก์ชันเป็นส่วนเซอร์วิส จากจุดนี้สามารถก้าวขึ้นไปสู่ส่วนร้านทำผม ที่มีมุมสระผมและทำสีที่ออกแบบให้เกิดความเป็นส่วนตัวสำหรับลูกค้า เชื่อมกับห้องทรีตเมนต์ที่มีจุดสังเกตเป็นโต๊ะทำงานไม้ยาว […]

COPENHAGEN ISLANDS ต้นแบบสวนสาธารณะแห่งอนาคตในรูปแบบหมู่เกาะเคลื่อนที่

Copenhagen Islands หรือ หมู่เกาะเคลื่อนที่ได้ในชื่อ “Parkipelago” เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ Marshall Blecher สถาปนิกและนักสร้างเกาะชาวออสเตรเลีย และ Magnus Maarbjerg สถาปนิกแห่ง FOKSTROT โดยโมเดลต้นแบบตัวแรกที่เรียกว่า CPH-Ø1 นั้นมีขนาดพื้นที่เพียง 20 ตารางเมตรเท่านั้น มันถูกสร้างขึ้นจริงจากแผ่นไม้คล้ายกับแพที่ลอยน้ำและสามารถลากเพื่อเคลื่อนย้ายตำแหน่งด้วยเรือหนึ่งลำอย่างสะดวก

ศูนย์บำบัดผู้พิการที่สร้างจากดินและไม้ไผ่โดยฝีมือชาวบ้านในชุมชน

Anandaloy คือศูนย์สำหรับผู้พิการที่มีสตูดิโอขนาดเล็กสำหรับทำงานสิ่งทอรวมอยู่ด้วย ที่นี่โดดเด่นด้วยการก่อสร้างด้วยวัสดุเรียบง่ายอย่าง ดิน และ ไม้ไผ่ ออกแบบโดย Anna Heringer จาก Studio Anna Heringer ซึ่งเธอมีความเชื่อว่า “งานสถาปัตยกรรมคือเครื่องมือที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน” เช่นเดียวกับโปรเจ็กต์อื่น ๆ ของเธอที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นในยุโรป แอฟริกา หรือเอเชีย ซึ่งล้วนแต่ใช้วัสดุหาง่ายในท้องถิ่นเป็นหลัก รวมไปถึงอาศัยฝีมือและแรงงานจากช่างท้องถิ่น เนื่องจากตัวอาคารทำจากดินเหนียวและ ไม้ไผ่ งบประมาณส่วนใหญ่จึงตกไปอยู่ที่ค่าแรงงานของช่างฝีมือหญิง ตัวอาคารนึ้จึงทำหน้าที่เป็นมากกว่างานสถาปัตยกรรม แต่ยังเป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาในระดับชุมชน โครงการนี้คือการนำประสบการณ์จาก 5 โครงการที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ นำมาพัฒนาร่วมกับ Montu Ram Shaw ผู้รับเหมาชาวบังกลาเทศ และทีมทำโครงสร้างดินและไม้ไผ่จากในหมู่บ้าน รวมไปถึงผู้พิการบางคนที่ขอเข้ามามีส่วนร่วม สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ของ Studio Anna Heringer นับเป็นกุญแจสำคัญที่พิสูจน์ให้เห็นว่า ความรู้ด้านการออกแบบและก่อสร้างได้ถูกส่งต่อไปยังผู้คนและชุมชนอย่างหยั่งรากลึก บ่อยครั้งที่ความเป็นคนพิการของคนบังกลาเทศมักถูกมองว่าเป็นเพราะพวกเขาถูกลงโทษจากพระเจ้า ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ทำให้พวกเขาต้องอยู่กันอย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ และถูกทิ้งให้ใช้ชีวิตตามลำพัง ในขณะที่คนอื่น ๆ ในบ้านต้องออกไปทำงานเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ภายใต้ปัญหาความยากจน พื้นที่สำหรับบำบัดเยียวคนพิการจึงแทบหาได้ยากมาก […]