ต้นไม้ประจำจังหวัด

51.จังหวัดอุทัยธานี ต้นสะเดา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (varsiamensis Valeton) วงศ์ : MELIACEAE

ลักษณะทั่วไปต้นสะเดาเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 20 เมตร เปลือกสีเทาอมน้ำตาล เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกสลับ ใบย่อยเรียวแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบจักไม่เป็นระเบียบ ดอกสีขาวนวล ออกเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 10 อัน โคนก้านดอกติดกันเป็นหลอด ออกดอกเดือนธันวาคม-มกราคม ผลเป็นผลสดกลมรี ผิวบาง มีเนื้อฉ่ำน้ำ ผลแก่สีเหลือง

ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด

52.จังหวัดจันทบุรี ต้นจัน (อินจัน)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros decandra Lour. วงศ์ : EBENACEAE

ลักษณะทั่วไปต้นจันเป็นไม้ยืนต้นสูง 20 เมตร ยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปรี ดอกแยกเพศ เพศผู้เป็นช่อ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปคนโท สีขาวนวล ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวลักษณะคล้ายกับดอกเพศผู้แต่มีขนาดใหญ่กว่า ผลเป็นผลสดมีสองลักษณะคือ ทรงกลมแป้นเรียกว่าลูกจัน และทรงกลมเรียกว่าลูกอิน เมื่อสุกสีเหลือง มีกลิ่นหอม และกลีบเลี้ยงยังคงติดอยู่

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

53.จังหวัดฉะเชิงเทรา ต้นนนทรีป่า (อะราง)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Peltophorum dasyrachis Kurz, ex Baker วงศ์ : LEGUMINOSAE

ลักษณะทั่วไปต้นนนทรีป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 15–30 เมตร เรือนยอดเป็นรูปพุ่มกลมทึบ เปลือกต้นสีทองหรือสีเทาอมน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปขอบขนานปลายใบและโคนใบมน ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ สีเหลืองสด กลีบดอกมีลักษณะย่น ออกดอกพร้อมกับใบอ่อนช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลเป็นฝักแบนรูปหอก

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

54.จังหวัดชลบุรี ต้นประดู่ป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterocarpus macrocarpus Kurz วงศ์ : PAPILLIONACEAE

ลักษณะทั่วไปต้นประดู่ป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 15–25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลดำแตกเป็นสะเก็ด เปลือกในมีน้ำเลี้ยงสีแดง เนื้อไม้สีขาวอมเหลือง แก่นสีน้ำตาลแกมแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบเป็นติ่ง โคนใบมน ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบ รูปดอกถั่ว กลีบดอกสีเหลืองอ่อนกลิ่นหอม ผลแผ่เป็นปีกแบนๆ มีขนาดใหญ่กว่าประดู่บ้าน และมีขนปกคลุมทั่วไป

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

55.จังหวัดตราด ต้นหูกวาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia catappa Linn. วงศ์ : COMBRETACEAE

ลักษณะทั่วไปต้นหูกวางเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 8–25 เมตร เปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้นๆ คล้ายฉัตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง ใบรูปไข่ ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้นๆ โคนใบสอบแคบเว้า ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ขนาดเล็ก สีขาวนวล ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลเป็นรูปไข่หรือรูปรีป้อมๆ แบนเล็กน้อย เมื่อแห้งสีดำคล้ำ

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

56.จังหวัดปราจีนบุรี ต้นโพศรีมหาโพธิ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus religiosa Linn. วงศ์ : URTICACEAE

ลักษณะทั่วไปต้นโพศรีมหาโพธิเป็นไม้ยืนต้นสูง 20–30 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล มียางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปหัวใจ ออกดอกจำนวนมาก ขนาดเล็ก ออกดอกตลอดทั้งปี ผลเป็นผลสดทรงกลม เมื่อสุกสีม่วงดำ

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

57.จังหวัดระยอง ต้นสารภีทะเล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calophyllum inophyllum Linn. วงศ์ : GUTTIFERAE

ลักษณะทั่วไปต้นสารภีทะเลเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 20–25 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม สีเขียวเข้ม กิ่งอ่อนเกลี้ยง ยอดอ่อนเรียวเล็ก ปลายทู่ เปลือกเรียบสีเทาอ่อนหรือน้ำตาลปนเหลือง เปลือกในสีชมพูเนื้อไม้สีน้ำตาลปนแดง ออกดอกเป็นช่อสั้นที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง มีดอกย่อย กลีบดอกสีขาว เกสรเพศผู้สีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ผลเป็นผลสดทรงกลม ปลายผลเป็นติ่งแหลม เมื่อสุกจะมีสีเหลือง

ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด

58.จังหวัดสระแก้ว ต้นมะขามป้อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus emblica Linn. วงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะทั่วไปต้นมะขามป้อมเป็นไม้ยืนต้นสูง 8–12 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา ผิวค่อนข้างเรียบ เรือนยอดรูปร่ม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกรูปขอบขนานติดเป็นคู่ ขนาดเล็ก เรียงสลับ ออกดอกรวมกันเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกขนาดเล็กมาก สีเหลืองนวล ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ผลเป็นผลสดทรงกลม สีเขียวอ่อนค่อนข้างใส

ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด

59.จังหวัดกาญจนบุรี ต้นขานาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia macrohpylla Wall วงศ์ : Homalium tomentosum Benth.

ลักษณะทั่วไปต้นขานางเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–30 เมตร เปลือกต้นสีขาวนวล เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลนุ่ม ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน ออกดอกช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

60.จังหวัดตาก ต้นแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xylia sylocarpa Var. kerrii (Craib & Hutch.) I. Nielsen วงศ์ : LEGUMINOSAE

ลักษณะทั่วไปต้นแดงเป็นไม้ยืนต้น สูง 15–30 เมตร กิ่งก้านและยอดอ่อนมีขนละเอียดสีเหลือง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงสลับ ประกอบด้วย 2 ช่อ ใบแตกออกเป็น 2 ง่าม ใบย่อย 4–5 คู่รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อทรงกลมคล้ายดอกกระถิน ที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผลเป็นฝักรูปไต แบน แข็ง

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด