วิธีสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่

วิธีการนำไม้ไผ่มาทำเสา ผนัง หลังคา และวิธีการมัดไม้ไผ่เข้าด้วยกัน มาดู วิธีสร้างบ้านไม้ไผ่ และการทำเป็นส่วนประกอบอาคาร

วิธีสร้างบ้านไม้ไผ่
วิธีสร้างบ้านไม้ไผ่
วิธีสร้างบ้านไม้ไผ่

การตั้งเสา

วิธีการคล้ายการตั้งเสาไม้จริง อาจใช้ไม้ไผ่ลำเล็กหลายลำมัดรวมกัน หรือไม้ลำใหญ่ 5-7 นิ้ว แล้วทำฐานรากและตอม่อคอนกรีตหรือหินเพื่อความแข็งแรงและป้องกันไม้จากความชื้นในดิน หากเสาอยู่ใกล้ชายคา แนะนำให้ทำตอม่อสูงป้องกันฝนและแดดโดนเสา วิธีสร้างบ้านไม้ไผ่

การกรอกปูนเกราต์

ปูนเกราต์ คือ ปูนซิเมนต์สำเร็จรูปชนิดหนึ่งที่สามารถไหลไปตามซอกมุมต่างๆ ได้ดี มีการหดตัวน้อย มีกำลังอัดสูงและแข็งตัวเร็ว ใช้เสริมความแข็งแรงและเพิ่มแรงยึดเกาะกับโครงสร้างที่เสริมในปล้องไม้ไผ่ โดยเจาะรูกว้างประมาณ 4 เซนติเมตร กรอกปูนเกราต์ลงไป แล้วปิดรูด้วยไม้ให้สนิท

การมัดไม้ไผ่

การมัดเป็นภูมิปัญญาแต่ละท้องถิ่น สามารถใช้ประกอบไม้ไผ่ได้เช่นกัน แต่ถ้าจะให้โครงสร้างแข็งแรง ควรยึดด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ตามวิธีข้างต้นก่อน แล้วจึงมัดเพื่อช่วยให้ข้อต่อแน่นขึ้น ลดการฉีกขาดของเนื้อไม้ หรือเป็นการตกแต่งให้สวยงาม และยังใช้การมัดช่วยในการประกอบโครงไม้ โดยใช้ยางในรถหรือยางเส้นมัดชั่วคราว แล้วจึงยึดด้วยวัสดุต่างๆ

วิธีสร้างบ้านไม้ไผ่

ผนังไม้ไผ่

ผนังไม้ไผ่สามารถใช้ไม้ไผ่ลำ ไม้ไผ่สาน หรือผสมกับวัสดุอื่นๆ ได้ ซึ่งทำได้หลายวิธี วิธีสร้างบ้านไม้ไผ่

หลังคา

การมุงหลังคาไม้ไผ่เหมือนกับการมุงหลังคาชิงเกิล คือ รองใต้หลังคาด้วยแผ่นกันซึมอีกชั้น หรืออาจมุงด้วยหลังคาปกติแล้วมุงหลังคาไม้ไผ่ทับอีกชั้นก็ได้เช่นกัน ก็จะไม่ต้องกังวลเรื่องการรั่วซึม

การดูแลรักษาอาคารไม้ไผ่

อายุการใช้งานของไม้ไผ่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โครงสร้างที่อยู่กลางแจ้งมีอายุการใช้งานประมาณ 3 ปี แต่ถ้าเป็นส่วนตกแต่งที่ยึดกับโครงสร้างอื่นจะมีอายุการใช้งานนานกว่า ส่วนไม้ไผ่ที่อยู่ในอาคารไม่โดนแดดและฝนโดยตรงจะสามารถอยู่ได้นานหลายปีเช่นเดียวกับไม้ทั่วไป โดยมีข้อควรคำนึง ดังนี้

  • ผู้ออกแบบควรออกแบบเผื่อให้เปลี่ยนชิ้นส่วนอาคารได้ รวมถึงคิดการรับน้ำหนักโครงสร้างเผื่อให้มีการเสริมหรือติดวัสดุทับภายหลังได้ เช่น การมุงหลังคาทับหลังคาเดิมซึ่งสะดวกกว่าการรื้อออกแล้วมุงใหม่ทั้งหมด
  • แนะนำให้ออกแบบส่วนที่ใช้ไม้ไผ่ โดยเฉพาะส่วนโครงสร้าง ให้อยู่ในชายคา และห่างจากแดดและความชื้น ส่วนที่โดนแดดและฝน เช่น โคนเสาริมระเบียงอาจสีซีดก่อนส่วนอื่น ควรทาเคลือบผิวด้วยพอลิยูรีเทนเพื่อช่วยให้ผิวไม้มันเงาและดูใหม่เสมอ
  • หากอาคารตั้งอยู่ในพื้นที่ลมแรงอย่างริมทะเล อาคารอาจมีการเคลื่อนไหวซึ่งทำให้รอยต่ออาจคลายตัว จึงควรตรวจสอบสม่ำเสมอ
  • งานไม้ไผ่เป็นวัสดุทางเลือกที่ดีสำหรับรีสอร์ตและโรงแรม เพราะสามารถออกแบบให้มีเอกลักษณ์ และโรงแรมต้องมีการรีโนเวตทุกๆ 3-5 ปีอยู่แล้ว ซึ่งพอดีกับอายุไม้ไผ่ที่เริ่มเก่า 

ข้อควรพิจารณาก่อนเลือกใช้ไม้ไผ่

ไม้ไผ่ไม่ได้เหมาะกับการสร้างบ้านหรืออาคารทุกประเภท ดังนั้นถ้าใครอยากใช้ไม้ไผ่ควรดูข้อควรพิจารณาก่อนตัดสินใจ

  • สำหรับเจ้าของอาคารที่จะเลือกใช้ไม้ไผ่ ควรเริ่มจากความชอบและเข้าใจธรรมชาติของวัสดุที่มีความอ่อนและแอ่นตัว มีการแตกได้ อาจเกิดเชื้อราซึ่งสามารถเช็ดออกหรือถ้าอากาศแห้งก็อาจหายไปเองได้ และต้องมีการเปลี่ยนเมื่อถึงเวลา หากยังไม่แน่ใจเรื่องเหล่านี้ควรเลือกใช้วัสดุประเภทอื่นแทน
  • ในบ้านเรายังไม่มีวิศวกรที่ชำนาญเรื่องไม้ไผ่ ผู้ออกแบบจึงอาจใช้วิธีชั่งน้ำหนักไม้ไผ่ให้วิศวกร เพื่อให้สามารถคำนวณโครงสร้างได้ อีกทั้งการขออนุญาตก่อสร้างอาคารที่ใช้ไม้ไผ่เป็นโครงสร้างหลักยังไม่สามารถทำได้ หากยังไม่พร้อมแนะนำให้ก่อสร้างโครงสร้างหลักด้วยคอนกรีตหรือเหล็กตามปกติ แล้วใช้ไม้ไผ่เป็นโครงสร้างรองและส่วนตกแต่งแทนจะดีกว่า  

ขอขอบคุณ บริษัท ธ.ไก่ชน จำกัด โทรศัพท์ 08-4100-0233 

นิตยสารบ้านและสวน ฉบับเมษายน 2562


  • เรื่อง : ศรายุทธ ศรีทิพย์อาสน์
  • ภาพ: อนุพงษ์ ฉายสุขเกษม
  • ภาพประกอบ: เอกรินทร์ พันธุนิล

วิธีเลือกไม้ไผ่สำหรับใช้ในงานสร้างอาคาร

ติดตามบ้านและสวน