The Commons Saladaeng ชานไม้ใต้หลังคาจั่ว และบรรยากาศสบาย ๆ ในซอยศาลาแดง

“ผมมักจะไม่ค่อยพูดว่า The Commons คือ Community Mall เท่าไหร่ แต่มันคือ Space for Community เพราะคอนเซ็ปต์ของ The Commons คือสถานที่ที่รองรับผู้คนอย่างเข้มข้น ทั้งด้านจิตวิญญาณและด้านการใช้สอย” คือคำกล่าวโดย คุณอมตะ หลูไพบูลย์ จาก Department of Architecture Co, Ltd. ทีมผู้ออกแบบ The Commons Saladaeng ซึ่งออกแบบ Community Space แห่งนี้โดยเริ่มต้นจากโจทย์ที่ว่า ‘ศาลาแดงคืออะไร?’

นอกจากรูปทรงของหลังคาจั่วสีแดงและต้นไทรอันโดดเด่นบริเวณหน้าอาคารแล้ว ชานไม้ที่ไหลลื่นจากชั้น 1 ไปจนถึงชั้นบนสุดของอาคารก็เป็นเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจไม่แพ้กัน

Space for Community
The Commons Saladaeng ถูกสร้างให้พื้นที่ภายนอกอาคารจัดสรรค์เป็นขั้นบันไดขนาดใหญ่แทรกอยู่กลางอาคาร สามารถเดินขึ้น-ลง และแวะนั่งพักตามมุมต่างๆ ได้ ซึ่งขั้นบันไดนี้ มีการออกแบบความกว้าง-แคบแตกต่างกันไปคล้ายอัฒจันทร์ เริ่มตั้งแต่จากทางเข้าหน้าโครงการ เมื่อเดินขึ้นไปยังพื้นที่แต่ละชั้นจนถึงบนสุด พื้นที่นี้เป็นเหมือนการสอดผสานโปรแกรมของอาคารทั้งหมดเข้าด้วยกัน ผ่านทางเข้าที่กรุด้วยวัสดุโปร่งใสสลับกับกระเบื้องเป็นจังหวะลูกเล่น และมีชื่อรวมทั้งหมดเรียกว่า ‘Common Ground’ ที่พิสูจน์มาแล้วว่าใช้งานได้จริง และจับคู่กันอย่างลงตัว แน่นอนว่ามีตัวอย่างมาให้เห็นแล้วจากโครงการ The Commons ที่ทองหล่อ

พื้นที่เอ๊าต์ดอร์ตรงนี้สามารถปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่กิจกรรมและอีเวนต์ต่าง ๆ ที่ทีม The Commons จัดขึ้นได้อย่างอัศจรรย์ ด้วยความตั้งใจที่จะออกแบบสถาปัตยกรรมให้ปรับเข้าหากิจกรรมทำให้แบบของฐานบันได สถาปนิกจึงเลือกปูพื้นเหล่านี้โดยใช้วัสดุของแท่นไม้พาเลทที่สามารถยกวางเพื่อเปลี่ยนระดับให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นได้ เพื่อที่เราจะได้งานสถาปัตยกรรมที่ยืดหยุ่นและปรับตัวเข้าหากิจกรรมที่จะเกิดขึ้นจากผู้คน สอดคล้องกับคำว่า Space for Community อย่างแท้จริง

ชานไม้สังเคราะห์บนแท่นปูนโครงสร้างเหล็ก
แม้ว่าโครงสร้างของชานไม้เหล่านี้จะเป็นโครงสร้างเหล็กที่จบพื้นผิวด้วยคอนกรีต ส่วนหนึ่งเป็นเพราะต้องการการดูแลรักษาที่ง่ายและคงทน เพราะพื้นที่เหล่านี้แม้จะอยู่ใต้ชายคาแต่ก็ยังเป็นพื้นที่ภายนอกอาคารที่ต้องรับ แดด ลม และ ฝนอยู่ดี การเลือกใช้วัสดุที่จะอยู่ไปได้นานๆ ไม่ต้องเปลี่ยนหรือซ่อมแซมบ่อยๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ
เพราะนอกจากวัสดุโครงสร้างปูน และ เหล็กแล้ว การจบพื้นผิวด้วยไม้ก็เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน พื้นที่จุดนี้เป็นทั้งชานนั่งเล่น พื้นที่กิจกรรม และหัวใจของโครงการ ผิวสัมผัสที่ดูอบอุ่นและการต้อนรับด้วยสีของไม้จึงเป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้พื้นที่เหล่านี้น่าใช้งานมากยิ่งขึ้น ให้ความรู้สึกไม่แข็งกระด้างจนเกินไป แต่การจะเลือกใช้ไม้จริงในโครงการอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนัก หากใช้ไม้สังเคราะห์ที่มีคุณภาพและลักษณะใกล้เคียงไม้จริงอย่างอาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า ผู้ออกแบบและก่อสร้างเลือก แบรนด์ Tree Concept โดยเลือกใช้รุ่น MS01 สี Oak และรุ่น MB01 สี Oak ให้เป็นตัวแทนของคำนิยามและความต้องการของเจ้าของโครงการได้อย่างลงตัว

ไม้สังเคราะห์ ตัวเลือกแห่งอนาคตที่ทดแทนไม้จริง
ทนแดด ทนฝน คงสภาพสวยงาม น้ำหนักเบา ก่อสร้างได้ง่าย เพราะไม้สังเคราะห์ในปัจจุบันมีรูปแบบที่ใกล้เคียงและให้สัมผัสที่เหมือนไม้จริงได้ดีมากอย่างแทบไม่น่าเชื่อ ใกล้เคียงจนถึงขนาดที่ว่าสามารถเลือกใช้ในส่วนที่ต้องสัมผัสได้เลยอย่างแยบยล ในโครงการนี้ นอกจากการใช้กรุพื้นเพื่อปิดพื้นทางเดินอัฒจรรย์ รวมทั้งองค์ประกอบขอบกระถางต้นไม้ที่เป็นส่วนปะทะสายตาแล้ว ยังมีการปรับใช้กับที่นั่งชานระเบียงซึ่งสามารถพับเก็บได้อีกด้วย ด้วยน้ำหนักที่เบาและความไม่แอ่น ไม่หด ไม่บิดกรอบจากไม้สังเคราะห์ แบรนด์ Tree Concept จึงช่วยให้การออกแบบเหล่านี้เป็นไปได้ และดูดีได้ด้วยลักษณะสีสันรวมถึงพื้นผิวที่น่าสัมผัสลงตัว ด้วยเหตุนี้เองโครงการ The Commons Saladaeng จึงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจเป็นอย่างมากของการเลือกวัสดุที่ตอบโจทย์ความเป็นธรรมชาติที่ทั้งดูแลได้ง่ายและดูดีน่าใช้ไปพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะกับพื้นที่กึ่งภายนอกเช่นนี้

และนี่ก็คืออีกหนึ่งโครงการที่เติมเต็มด้วยความเป็นธรรมชาติและพื้นผิวของวัสดุไม้ ถ้าใครอยากลองแวะมาสัมผัสบรรยากาศสบายๆ ใต้ร่มเงาบนชานไม้ชิคๆ แบบนี้ มาได้ที่ซอยศาลาแดง 1 บอกเลย อยู่ได้ทั้งวัน กลับบ้านได้ภาพไปลง IG จนล้นเครื่องเลยแน่นอน
.
.
สนใจไม้สังเคราะห์สอบถามที่ Polymer Master Co.,Ltd Tree Concept
โทร : 02 956 1048-9
Website : www.treeconcept.com
Email : [email protected]
Inbox : m.me/polymermaster
Line@ : https://bit.ly/3BshUCB (@treeconcept)
Instagram : @treeconcept_th
ขอขอบคุณสถานที่ : THE COMMONS SALADAENG (ศาลาแดง ซอย 1)
ทีมออกแบบ : บริษัท Department of Architecture Co, Ltd.
ภาพ นันทิยา บุษบงค์
เรื่อง Wuthikorn Sut