บ้านที่มีโรงเรือนแคคตัส กับสวนล้อมรอบบ้าน

บ้านหลังนี้เป็น บ้านที่มีโรงเรือนแคคตัส และออกแบบให้มีสวนล้อมรอบ โดยมีหน้าบ้านเป็นพื้นที่สวนทะเลทรายกับโรงเรือนแคคตัส เพราะรับแดดได้ดี ส่วนหลังบ้านที่มีร่มเงาจึงปลูกไม้เขตร้อนชื้นแนวสวนป่า

รงเรือนแคคตั

โรงเรือน โรงเรือนแคคตัส
“โรงเรือนต้องมีอากศถ่ายเทได้ดี ดังนั้นจึงควรมีบานหน่างต่างเปิดโล่ง ผมจึงออกแบบหน้าต่างบานเกล็ดที่สามารถเปิด-ปิดได้สะดวก”
มุมนั่งเล่น บ้านที่มีโรงเรือนแคคตัส
มุมนั่งเล่นบริเวณชานบ้านเย็นสบายเพราะอยู่ท่ามกลางร่มไม้ และเปิดโล่งรับลมจากทุกด้าน เวลาแดดหรือฝนสาดก็สามารถปล่อยม่านไม้ไผ่ลงมา ส่วนเฟอร์นิเจอร์เน้นงานไม้ทั้งหมดทำให้ดูเข้ากับสวนภายนอก

เชื่อว่าความฝันของคนเมืองหลายคนนั้นอยากสร้างพื้นที่สีเขียวไว้ในบ้านตัวเอง เช่นเดียวกับ บ้านที่มีโรงเรือนแคคตัส ของ คุณอนุภาพ พงษ์นะเมตตา ที่หนีจากห้องบนตึกสูงมาอยู่กับบ้านบนพื้นดิน เพราะอยากทำสวนปลูกต้นไม้ในวันว่างนอกเวลางาน จนเป็นที่มาของบ้าน “GREEN HOUSE” ที่เขียวชอุ่มไปด้วยพรรณไม้กับโรงเรือนแคคตัส

“บ้านหลังนี้ผมตั้งใจปลูกต้นไม้และแต่งสวนอย่างจริงๆจังๆ หลังจากต้องทนปลูกต้นไม้ริมระเบียงแคบๆในห้องคอนโดอยู่พักใหญ่ พอย้ายมาปลูกบ้านหลังใหม่ที่พอมีบริเวณบ้าง จึงตั้งใจออกแบบให้มีสวนเต็มพื้นที่ และปรับเปลี่ยนแปลนบ้านให้สัมผัสสวนได้ทั้งภายในและภายนอก”

มุมพักผ่อน บ้านที่มีโรงเรือนแคคตัส
ผนังกระจกเปิดโล่งรับแสงทั้งด้านข้างและด้านบน ทำให้มุมพักผ่อนนี้ดูโปร่ง มองเห็นท้องฟ้าส่วนเฟอร์นิเจอร์แม้จะเป็นงานโมเดิร์น แต่เน้นวัสดุธรรมชาติทั้งไม้และผ้าหุ้มเฟอร์นิเจอร์ เพื่อให้กลมกลืนกับธรรมชาติภายนอก
มุมรับประทานอาหาร บ้านที่มีโรงเรือนแคคตัส
โต๊ะรับประทานอาหารเป็นไม้ซุงขนาดใหญ่ ตัดขวางโชว์ลายไม้ ส่วนเก้าอี้เป็นงานดีไซน์หลากหลายยุค ตั้งแต่งานเชโกไปจนถึงเรโทร เลือกโคมไฟแบบยาวเพื่อให้แสงสว่างส่องทั่วทั้งโต๊ะ เป็นการผสมผสานความชอบที่หลากหลายได้อย่างลงตัว
มุมรับประทานอาหาร บ้านที่มีโรงเรือนแคคตัส
จงใจเลือกติดบานกระจกทั่วทั้งบ้าน ไม่ว่าจะนั่งตรงไหนก็สามารถมองวิวสวนร่มรื่นได้ ส่วนด้านล่างทำเป็นบานกระทุ้งเพื่อเปิดรับลมเย็นๆได้ตลอดทั้งวัน
มุมทำงาน บ้านที่มีโรงเรือนแคคตัส
ออกแบบโต๊ะทำงานให้กว้างและยาวเป็นพิเศษสำหรับใช้งานได้อเนกประสงค์ ทั้งอ่านหนังสือไปจนถึงทำงานศิลปะใหญ่ ส่วนผนังเป็นบานกระจกทั้งหมด จึงเปิดรับวิวรอบด้านเหมือนนั่งทำงาน

บ้านหลังนี้มีพื้นที่ 145 ตารางวา จึงออกแบบให้มีสวนล้อมรอบ โดยจัดวางตำแหน่งตามธรรมชาติของทิศทางแสงแดด ออกแบบให้หน้าบ้านเป็นพื้นที่สวนทะเลทรายและเรือนกระจกสำหรับแคคตัส เพราะรับแดดได้ดี ส่วนหลังบ้านที่มีร่มเงาตัวบ้านมากจึงปลูกไม้เขตร้อนชื้นแนวสวนป่า ส่วนโครงสร้างบ้านเดิมที่กั้นห้องไว้เป็นห้องเล็กห้องน้อยทำให้รู้สึกอึดอัด จึงรื้อผนังห้องและกำแพงบางส่วนออก แล้วติดกระจกบานใหญ่เติมผนังรอบบ้านเพื่อเปิดมุมมองสวนเข้าสู่ตัวบ้าน รวมไปถึงห้องครัวและห้องน้ำก็ยังจัดสวนเล็กๆแทรกไว้ด้วย เรียกได้ว่ามีพื้นที่สีเขียวไปเสียทุกจุด ทำให้แม้อยู่ในบ้านก็รู้สึกถึงความร่มรื่นตลอดเวลา

ไม่เพียงแต่การเปิดมุมมองสวนเท่านั้น บ้านหลังนี้ยังเปิดมุมมองในแนวตั้ง โดยเจาะฝ้าเพดานเหนือมุมรับแขกกลางบ้านให้ทะลุเชื่อมกับช่องรับแสงธรรมชาติจากผนังกระจกด้านบน ทำให้ภายในบ้านสว่าง โปร่งโล่ง มองเห็นท้องฟ้า ส่วนห้องนอนเปิดมุมมองด้วยบานกระจกขนาดใหญ่ ทำให้มองเห็นสวนจากมุมบน แล้วแยกส่วนอาบน้ำไปบนระเบียงเอ๊าต์ดอร์ เรียกได้ว่าให้ความรู้สึกกลมกลืนกับธรรมชาติไปเสียทุกจุด

“เพื่อนชอบแซวว่าบ้านผมจะกลายเป็นสวนพฤกษชาติไปแล้ว เพราะเก็บสะสมพรรณไม้แปลกๆไว้เยอะมาก ทั้งไม้เขตร้อน เขตร้อนชื้น กล้วยไม้พันธุ์ต่างๆ แต่นี่ถือว่าน้อยแล้ว เพราะไม่ได้สะสมแบบนักวิชาการ จะเลือกดูที่รูปทรงแปลกๆที่น่าสนใจมากกว่า ศึกษาสายพันธุ์ ของแบบนี้เริ่มแล้วหยุดยาก พอมีชนิดหนึ่งก็จะหาเพิ่มมาเรื่อยๆไม่จบ จะไปเดินตามฟาร์มไม้ต่างๆทางเชียงใหม่ งานพืชสวนโลก งานแสดงพรรณไม้ต่างๆ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นสวนจตุจักรนี่ละ ตอนนี้มีต้นไม้เข้าบ้านจนเริ่มไม่มีที่ให้ปลูกแล้ว”    โรงเรือนแคคตัส

ครัว บ้านที่มีโรงเรือนแคคตัส
ห้องครัวเน้นโทนสีขาวให้ดูโปร่งสะอาดตา และทำความสะอาดง่าย ผนังกรุแผ่นกระจกติดฟิล์มสีขาว ท็อปเคาน์เตอร์หินอ่อนสังเคราะห์ ติดกระดานดำใส่กรอบขนาดใหญ่ไว้เขียนโน้ตและเมนูอาหาร
ครัว บ้านที่มีโรงเรือนแคคตัส
ภายในครัวมีประตูเปิดโล่งระบายอากาศ ภายนอกจัดมุมนั่งเล่นเล็กๆจิบกาแฟยามเช้า แม้จะเป็นครัวสมัยใหม่ แต่ก็ดูเข้ากับธรรมชาติด้วยตู้เคาน์เตอร์ลายไม้และโต๊ะไม้ซุงขนาดใหญ่

มุมทำงาน บ้านที่มีโรงเรือนแคคตัส

ห้องนอน บ้านที่มีโรงเรือนแคคตัส
ตกแต่งห้องนอนอย่างเรียบง่าย เตียงนอนเป็นแค่เบาะวางกับพื้นเพื่อใช้งานกึ่งนั่งกึ่งนอน และช่วยเรื่องมุมมองสายตา ทำให้ห้องเพดานเตี้ยดูสูงโปร่งขึ้นด้วย ส่วนผนังห้องทาสีเทา เพื่อลดความสว่างลงให้เหมาะกับการนอน
ห้องน้ำ บ้านที่มีโรงเรือนแคคตัส
แม้ห้องน้ำจะมีพื้นที่คับแคบ แต่ดูโปร่งโล่งด้วยการใช้กระจกเงากรุบานตู้ และทำมุมเล็กๆไว้นอกหน้าต่าง ทำให้ดูโปร่งมากยิ่งขึ้น
ต้นไม้ริมตัว บ้านที่มีโรงเรือนแคคตัส
ออกแบบตัวบ้านเป็นทรงกล่องเหลี่ยมๆเรียบง่ายสไตล์โมเดิร์น รั้วและผนังบางส่วนปกคลุมด้วยสีเขียวของต้นไม้ บางส่วนปลูกไม้เลื้อยประเภทต่างๆคลุมแทนกันสาดเพิ่มความร่มรื่น

จากเรื่องราวประสบการณ์เกี่ยวกับต้นไม้และบ้านหลังนี้ที่ถ่ายทอดจากเจ้าของบ้าน ทำให้เราทราบเลยว่าเจ้าของบ้านเป็นคนรักต้นไม้ตัวจริง เพราะลงรายละเอียดโดยคำนึงถึงเรื่องต้นไม้ไปเสียทุกจุด จึงไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมบ้านหลังนี้ถึงได้ร่มรื่นและสงบเหมือนอยู่ท่ามกลางธรรมชาติทั้งในและนอกบ้านอย่างที่ตั้งใจไว้

เปิดโรงเรือนแคคตัสล้วงเคล็ดลับดีๆ สำหรับ บ้านที่มีโรงเรือนแคคตัส

“ผมออกแบบเอง โดยศึกษาจากหนังสือและไปดูตามฟาร์มและสวนแคคตัสต่างๆ จึงนำมาดัดแปลงขนาดและหน้าตาให้ออกมาเหมาะกับบ้านเรา โดยทำเล็กๆ ในพื้นที่ประมาณ 3×5 เมตร เทพื้นปูน ขึ้นโครงสร้างด้วยเหล็กหลังคาปิดแผ่นพอลิคาร์บอเนตเพื่อให้มีน้ำหนักเบา ส่วนผนังเรือนเป็นกระจกบานเกล็ดทั้งหมดเพื่อให้รับแสงแดดได้ดี และสามารถปรับบานเกล็ดให้อากาศถ่ายเทมากน้อยได้ตามต้องการ สำหรับควบคุมอุณหภูมิและความชื้นภายในให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโต”

โรงเรือนแคคตัส บ้านที่มีโรงเรือนแคคตัส
แคคตัสหรือกระบองเพชร เป็นไม้ในเขตร้อนแบบทะเลทราย แต่บ้านเรามีฝนและความชื้นสูง เรือนกระจกจึงจำเป็นสำหรับปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโต ดินที่ใช้ปลูกต้องผสมให้ได้ดินที่ร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี โดยมีส่วนผสมของดินร่วน 2 ส่วน ทรายหยาบ 3 ส่วน ถ่านป่น 1 ส่วน ใบไม้ผุ 1 ส่วน โดยประมาณ ส่วนผิวหน้าจะโรยกรวดตกแต่งอย่างไรก็แล้วแต่ความสวยงาม
โรงเรือนแคคตัส
เพื่อการระบายน้ำที่ดี โต๊ะที่ใช้วางกระถางต้องลาดเอียงให้มีทางระบายน้ำได้ หรือใช้แผ่นตะแกรงโปร่งๆทำท็อปโต๊ะให้อากาศลอดผ่าน จะช่วยระบายน้ำและความชื้นใต้กระถางได้ดีกว่าท็อปแบบทึบ

โรงเรือนแคคตัส

โรงเรือนแคคตัส
โรงเรือนต้องเปิดรับแสงได้มากที่สุดอย่างน้อย 50-70 เปอร์เซ็นต์ จึงนิยมมุงหลังคาด้วยวัสดุโปร่งแสงอย่างกระจกหลังคาพลาสติกใส อุณหภูมิที่แคคตัสชอบคือ 27-35 องศาเซลเซียส นั่นก็คือแสงแดดในช่วงเช้าและบ่ายที่ไม่แรงจนเกินไป และควรได้รับแสงอย่างน้อย 5-6 ชั่วโมง

เจ้าของ – ออกแบบ: คุณอนุภาพ พงษ์นะเมตตา 

เรื่อง: HOOOOO…ROOM

ภาพ: จิระศักดิ์, นันทิยา

สไตล์: ประไพวดี

สร้างโรงเรือนข้างบ้านให้ต้นไม้อยู่ ในงบไม่ถึงแสน

รวมแบบโรงเรือนหลากดีไซน์ เพื่อการดูแลต้นไม้ที่แตกต่างกัน

โรงเรือนแคคตัสที่สร้างจากเศษไม้เก่า Kueng’s Garden