ยอร์กเชียร์ เทอร์เรียร์ (Yorkshire terrier) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์

สุนัขพันธุ์ ยอร์กเชียร์ เทอร์เรียร์ จัดเป็นสุนัขพันธุ์เล็กในตระกูลสายพันธุ์เทอร์เรียร์ พบถิ่นกำเนิดอยู่ในเมืองยอร์กเชียร์ (Yorkshire) ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ.1800 นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า ยอร์กกี้ (Yorkie) โดยองค์กร The Fédération cynologique internationale (FCI) ได้จดทะเบียนให้อยู่ในสุนัขพันธุ์ทอย รวมถึงสมาคม Kennel Clubs ได้จัดให้อยู่ในกลุ่มสุนัขคู่หู ซึ่งเป็นที่รู้จักเมื่อมีการชนะการประกวดสุนัข และได้รับความนิยมเป็นสุนัขคู่หูในเวลาต่อมา สุนัขพันธุ์ยอร์กเชียร์ เทอร์เรียร์ เป็นความคิดที่สืบเชื้อสายมาจากสุนัขอื่น ๆ หลายพันธุ์รวมกัน เช่น สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียน ซิลกี้ เทอร์เรียร์ (Australian Silky Terrier)

สุนัขพันธุ์ยอร์กเชียร์ เทอร์เรียร์ เป็นที่รู้จักครั้งแรก ที่ตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1872 หลังจากนั้นสมาคม The American Kennel Club (AKC) ได้ขึ้นทะเบียนสายพันธุ์สุนัข ในปี ค.ศ. 1878 ซึ่งเป็นสุนัข 1 ใน 25 สายพันธุ์ที่ได้รับการจดทะเบียน ณ ตอนนั้น

ในปี ค.ศ. 1940 มีการชนะการประกวดลูกสุนัข เป็นสุนัขพันธุ์เล็กที่ได้รับความนิยม 18% จากสุนัขที่ได้ขึ้นทะเบียนสายพันธุ์ทั้งหมด รวมถึงได้รับนิยมในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่มีผู้คนสนใจสุนัขพันธุ์ยอร์กเชียร์ เทอร์เรีย

ลักษณะทางกายภาพ

มีหัวขนาดเล็ก ปากมีความยาวปานกลาง หูเป็นรูปตัววีตั้งตรง สูง ร่างกายมีขนาดกะทัดรัด และหลังตรง

ลูกสุนัขพันธุ์ยอร์กเชียร์ เทอร์เรียร์ เมื่อเกิดจะมีสีขนเป็นสีดำ แต่บริเวณปาก, เหนือบริเวณตา, บริเวณรอบๆขาและเท้า รวมถึงขนบริเวณภายในหู และใต้หางจะมีสีน้ำตาล (Tan) บางครั้งอาจพบสีขาวเป็นรูปดาวเกิดขึ้นบริเวณอก หรือรอบนิ้วเท้า และจะจางหายไปเมื่อมีอายุมากขึ้น หรือประมาณ 1 เดือน การเกิดรูปดาวบนอกบ่งบอกถึงการเจริญขนที่ดี และจะมีขนยาวมากกว่าบริเวณอื่น แต่ไม่ได้บ่งบอกถึงคุณภาพขนสัตว์ ต้องใช้เวลามากกว่า 3 ปีถึงจะสามารถระบุสีขนได้จัดเจน

สีขน

สุนัขพันธุ์ยอร์กเชียร์ เทอร์เรียร์โตเต็มวัย ขนมีความสำคัญมาก ทั้งคุณภาพและลักษณะขน ต้องมีความมันวาว เรียบ ตรง และนุ่มเหมือนเส้นไหม สีขนจะยาวออกมาเรื่อยๆ ไล่เป็นระดับสี โดยไม่ต้องไปยุ่งกับขนบนตัวสัตว์  ซึ่งลักษณะของขนแบ่งได้ 2 แบบ คือนุ่มเหมือนเส้นไหม (Silky) หรือขนนิ่ม (Soft) โดยขนแบบ silky มักจะพบบนตัวสัตว์มากกว่าแบบ soft เนื่องจากขนแบบ soft มีความยาวขนสั้นกว่า

สีขนที่ไล่จากหลังคอถึงต้นหาง จะมีเทาเข้ม (Dark gray) ไปจนถึงสีฟ้าคล้ายเหล็กกล้า (Steel blue), สีขนบนหางจะมีสีน้ำเงินเข้ม (Darker blue), สีขนบนหัว อก และขา จะมีสีสว่างคล้ายสีแทน (Tan) โดยสีขนจะเข้มขึ้นที่รากขน และเข้มกว่ากลางขน ทำให้สีขนของสัตว์ไล่ระดับสีจากสว่างไปเข้ม (จากนอกไปใน) อาจพบเป็นสีน้ำตาล หรือขนนุ่มเป็นพิเศษในบางบริเวณได้ จัดเป็นสุนัขที่ได้รับความนิยมเกี่ยวกับสีขนที่ถูกตามพันธุ์ แต่จะดูแลขนยากกว่าขนหยาบ (Woolly) หรือขนแบบผ้าฝ้าย (Cottony) ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ทำให้สีขนไม่ได้มีแค่สีเดียว (Off coloured) หรือมีมากกว่า 1 สีนั่นเอง

สีขนที่ถูกจัดเป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ผิดปกติจากสีขนตามธรรมชาติ คือ สีขาวปนดำ/น้ำเงินปนสีน้ำตาล (White with black/blue and tan) มีโอกาสพบได้ยาก เนื่องจากเป็นสีขนที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือเกิดจากการผสมสุนัขข้ามสายพันธุ์ โดยสมาคม The American Kennel Club (AKC) ได้ขึ้นทะเบียนสีขนพันธุ์สุนัขยอร์กเชียร์ เทอร์เรียร์ มี 4 สี ดังนี้
1.สีน้ำเงินปนน้ำตาล (Blue and tan)
2.สีน้ำเงินปนทอง (Blue and gold)
3.สีดำปนสีน้ำตาล (Black and tan)
4.สีดำปนทอง (Black and gold)
ซึ่งสีขนที่พบสีเดียว หรือสีที่นอกเหนือจากการขึ้นทะเบียน จะมีราคาที่สูงกว่าปกติ

อายุขัย

สุนัขพันธุ์ยอร์กเชียร์ เทอร์เรียร์ โดยทั่วไปมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 13-16 ปี

ลักษณะนิสัย

สุนัขพันธุ์ ยอร์กเชียร์ เทอร์เรียร์ มีบุคลิกเฉพาะตัว เป็นสุนัขตัวเล็กที่กล้าหาญ มีพลังงานเยอะ ชอบเล่น อยากรู้ อยากเห็น ฉลาด กระตือรือร้น และต้องการความใส่ใจเป็นพิเศษในช่วงที่ยังเป็นลูกสุนัข 2-3 ปีแรก นอกจากนั้น ยังชอบผจญภัย รักอิสระ และไม่ค่อยรู้จักความกลัว เป็นสุนัขที่ชอบเห่า เมื่อเจอคนแปลกหน้าจึงพร้อมที่จะเห่าเตือนเจ้าของเสมอ

การเข้ากับเด็ก

สุนัขพันธุ์ยอร์กเชียร์ เทอร์เรียร์ ไม่เป็นที่ยมสำหรับอยู่ในบ้านที่มีเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ขวบ เพราะเด็กที่อายุ 6 ขวบขึ้นไป จะไม่ดื้อ และไม่ทำให้เกิดอันตรายกับสุนัข ในทางตรงกันข้าม หากสุนัขรู้สึกไม่ปลอดภัย จะกัดเด็กได้

การดูแล

การออกกำลังกาย

สุนัขพันธุ์ยอร์กเชียร์ เทอร์เรียร์ การออกกำลังกายมีอยู่ 2 ระดับ คือ แบบปานกลาง และแบบออกแรง
1.การออกกำลังกายแบบปานกลาง ควรให้เดินเร็วประมาณ 20-30 นาทีต่อวัน ซึ่งควรเป็นความเร็วของสุนัขเอง ไม่ควรไปเร่งให้เดินเร็วเกินไป เนื่องจากเป็นสุนัขพันธุ์เล็ก และขาสั้น
2.การออกกำลังกายแบบออกแรง ควรให้วิ่งรอบสนามหญ้า เล่นกับสุนัข หรือวิ่งไล่สุนัขรอบสนามหญ้า รวมถึงอะไรก็ตามที่ทำให้เลือดไหลเวียนมากขึ้น และควรระวังถึงอุณหภูมิภายในตัวสัตว์สูงขึ้น (Overheat) ซึ่งควรหยุดให้ได้พัก และนำเข้าที่ร่มทันที

อาหาร

สุนัขพันธุ์ยอร์กเชียร์ เทอร์เรียร์ มีความไวต่อการแพ้อาหาร ควรเลือกอาหารหลายๆยี่ห้อให้สุนัขกินเป็นครั้งแรก ก่อนที่จะเลือกอาหารยี่ห้อที่สุนัขไม่แพ้เป็นหลัก ควรให้อาหารที่มีคุณภาพสูง และปริมาณอาหารที่แนะนำสำหรับสุนัขพันธุ์นี้ คือ 1/2-1 ถ้วยต่อวัน แบ่งให้ 2 มื้อ

โรคประจำพันธุ์

เป็นสุนัขที่มีโอกาสเกิดโรคความผิดปกติทางพันธุกรรมได้มาก ผู้ที่จะทำการซื้อลูกสุนัขพันธุ์นี้ควรได้รับความแนะนำจากผู้ขาย หรือผู้เพาะพันธุ์ถึงโอกาสที่จะเกิดความผิดปกตินี้ การตรวจร่างกายสัตว์ จะทำให้ช่วยลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วย และประเมินสุขภาพสัตว์ให้อยู่บนพื้นฐานของการมีลักษณะที่สมบูรณ์พันธุ์ รวมถึงได้มาตรฐานการรับรองฟาร์ม และมีใบรับรองสายพันธุ์ (Certificate Pedigree)

  • โรคผิวหนัง
    • โรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Skin allergies)
  • โรคระบบประสาท
    • ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus)
    • ภาวะผิดปกติของรอยต่อกะโหลกกับกระดูกคอ (Alantoaxial instability)
    • โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Intervertebral disc disease (IVDD))
    • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Granulomatous meningoencephalitis (GME))
    • โรคสมองเนื้อขาวอักเสบอย่างรุนแรง (Necrotizingleukoencephalitis (NLE))
    • โรควิตกกังวล (Anxiety)
    • โรควิตกกังวลต่อการแยกจาก หรือว่าเกิดจากบาดแผลทางใจ (Separation anxiety)
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
    • โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis)
    • โรคท่อลมตีบ (tracheal collapse)
  • โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    • โรคปริทันต์ (Periodontal Disease)
    • ภาวะหลอดเลือดดำที่ตับลัดเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด (Portosystemic shunts (PSS))
  • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
    • โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis)
    • ภาวะหลอดลมตีบ (Tracheal collapse)
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
    • โรคคุชชิ่ง (Cushing disease หรือhyperadrenocorticism)
    • ภาวะขาดไทรอยด์ (Hypothyroidism)
  • โรคระบบกระดูก เอ็น และข้อต่อ
    • โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือด (Legg–Calvé–Perthes disease (LCPD))
    • โรคกระดูกสะบ้าเคลื่อน (Patellar luxation)
  • โรคระบบเลือดและภูมิคุ้มกัน
    • ภาวะต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (Lymphangiectasia)
  • โรคตา
    • โรคต้อกระจก (Cataracts)
    • โรคขนตางอกผิดปกติ (Distichiasis)
    • โรคจอประสาทตาเจริญผิดปกติ (Retinal dysplasia)
    • โรคตาแห้ง (Keratitis sicca หรือ Keratoconjunctivitis sicca)
    • โรคจอประสาทตาเสื่อม (Progressive retinal atrophy)
  • โรคหู
    • โรคหูหนวกตั้งแต่กำเนิด (Congenital deafness)

เรื่อง : ทรงภูมิ อานันทคุณ

ติดตามข้อมูล บ้านและสวน PETS ได้ที่นี่