เรือนกระจก

SEMI-OUTDOOR LIVING ออกแบบเรือนกระจกให้เหมาะเป็นมุมใช้งานอเนกประสงค์

เรือนกระจก
เรือนกระจก

เรามักเห็นกลาสเฮ้าส์ – กรีนเฮาส์ หรือ อาคารเรือนกระจก ถูกสร้างมาเพื่อเป็นโรงเรือนสำหรับปลูกผักสวนครัว ไม้ดอก สมุนไพร หรือว่าพรรณไม้เขตร้อนชื้นที่ชื่นชอบแดด บ้างก็ปรับฟังก์ชันมาเป็นมุมนั่งเล่นประจำบ้าน หรือเป็นที่นิยมสำหรับการตกแต่งเป็นมุมพิเศษในร้านอาหาร และคาเฟ่ในปัจจุบัน

ครานี้ room มีวิธีออกแบบเรือนกระจกให้เหมาะกับการเป็นมุมใช้งานแบบอเนกประสงค์มาฝากกัน ไอเดียเหล่านี้สามารถประยุกต์ใช้กับพื้นที่ในฝันของคุณได้ ไม่ว่าจะปรับเป็นร้านอาหารหรือคาเฟ่กลางสวน พื้นที่แฮ้งเอ๊าต์ไว้ปาร์ตี้กับเพื่อน ๆ หรือสร้างเป็นมุมทำงานอดิเรกหลังบ้าน

ข้อคำนึงก่อนการสร้างอาคารเรือนกระจก

  • วางตำแหน่งที่ตั้งคือความสำคัญลำดับแรก

อาคารเรือนกระจก

อาคารเรือนกระจกควรตั้งอยู่ในตำแหน่งใกล้กับต้นไม้ใหญ่ เพื่ออาศัยและพึ่งพิงร่มเงาของต้นไม้ หรือให้ต้นไม้เป็นตัวปะทะและกรองความร้อนจากแสงแดดไม่ให้กระทบตัวอาคารโดยตรง ที่สำคัญควรวางตำแหน่งในทิศที่ได้รับแสงแดดช่วงเช้าอย่างทิศเหนือหรือทิศตะวันออกดีที่สุด

  • เลือกใช้วัสดุให้สามารถใช้งานได้จริง

อาคารเรือนกระจก

โครงสร้างของเรือนกระจก กรณีใช้เหล็กเป็นวัสดุหลัก ควรทาน้ำยาเคลือบกันสนิม หรือหากใช้ไม้เนื้อแข็งก็ควรทาน้ำยารักษาเนื้อไม้ หรือยาป้องกันแมลงกินไม้ ส่วนวัสดุกรุผนังและหลังคาหากเลือกใช้กระจก ควรติดฟิล์มกันความร้อนเพิ่มอีกหนึ่งชั้น รวมถึงควรใช้ซิลิโคนหรือกาวสำหรับติดกระจกกับโครงเหล็กเพื่อป้องกันการรั่วซึม หากเลือกใช้วัสดุทดแทนที่ประหยัดกว่าการใช้กระจก ก็สามารถประยุกต์แผ่นพอลิคาร์บอเนตหรืออะคริลิกใส ซึ่งมีความทนทานมาทดแทนได้เช่นกัน

อาคารเรือนกระจก

  • กรองแสงและความร้อนด้วยผ้าหรือกันสาด

อาคารเรือนกระจก

เรือนกระจกที่ต้องรับแสงแดดโดยตรงในตอนเที่ยงวัน ควรขึงผ้าใต้ฝ้าเพดานอีกหนึ่งชั้นเพื่อช่วยกรองแสง และเพิ่มลูกเล่นในงานตกแต่งภายในไปในตัว หรือติดตั้งกันสาดแบบพับจีบที่เหมาะกับการคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ เพราะกันสาดแบบพับจีบสามารถเลื่อนเปิดเพื่อรับแสงหรือปิดเพื่อกันแดดใต้ตามความต้องการ แถมสะดวกสบายด้วย

บทความแนะนำ

แบบกันสาด

เลือกรูปแบบกันสาดและชนิดของผ้าเอ๊าต์ดอร์ให้เหมาะกับการใช้งานระยะยาว

  • ตกแต่งด้วยพรรณไม้ที่เหมาะสม

อาคารเรือนกระจก

ใครอยากเติมพื้นที่สีเขียวภายในอาคาร ควรเลือกพรรณไม้ที่เหมาะสม เช่น พรรณไม้เขตร้อนชื้นที่ต้องการอุณหภูมิอบอุ่นตลอดทั้งปี หรือทนทานต่อการรับแสงแบบรำไรได้ เช่น ฟิโลเดนดรอน พลูด่าง หรือพรรณไม้ที่ชอบแดดตลอดทั้งวันอย่างแคคตัส หรือไม้อวบน้ำ

  • เลือกเฟอร์นิเจอร์และผ้าบุที่ทนความร้อนและไม่ซีดจางง่าย

อาคารเรือนกระจก

การเลือกเฟอร์นิเจอร์สำหรับใช้งานในอาคารเรือนกระจก ควรคำนึงถึงการใช้งานในระยะยาวเป็นสำคัญ เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้ หรือหวาย ที่ทนต่อความร้อนและเหมาะกับการใช้งานในพื้นที่กึ่งกลางแจ้ง เลี่ยงการใช้เฟอร์นิเจอร์เหล็กที่นำพาความร้อน หรือในกรณีอยากใช้เฟอร์นิเจอร์ประเภทโซฟาหรือชุดม้านั่งสำหรับรับแขกชนิดบุผ้า ควรเลือกชนิดของผ้าที่สามารถทนต่อแสงแดด

ผลิตภัณฑ์แนะนำ: ผ้าเอาต์ดอร์สำหรับบุเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถใช้งานได้ในระยะยาวจาก SOL OUT

สำหรับใครที่อยากได้ฟังก์ชันการใช้งานที่ทนทานพร้อมความสวยงามควบคู่กัน ผ้าเอาต์ดอร์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนจากแบรนด์ SOL OUT ในเครือ Gold House Décor เป็นผลิตภัณฑ์ที่เราได้ทำการทดสอบแล้วว่าสามารถกันของเหลวได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นน้ำเปล่า น้ำเกลือ ไวน์แดง รวมถึงน้ำหมึกได้เป็นอย่างดี โดยของเหลวจะกลิ้งเป็นหยดน้ำบนผืนผ้า ไม่ซึมลงไปด้านล่างให้เปรอะเปื้อน หรือเกิดรอยสกปรก ดูแลรักษาได้ง่าย ๆ เพียงทำความสะอาดด้วยการใช้กระดาษทิชชู หรือใช้ผ้าแห้งซับคราบน้ำเเละเช็ดสิ่งสกปรกออกได้ทันที หากเป็นคราบเปื้อนน้ำแกง หรือไขมันจากอาหาร เพียงใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดออกเบา ๆ ก็สามารถขจัดคราบสกปรกออกได้ง่ายดาย หรือทำความสะอาดคราบหนักโดยการซักด้วยเครื่องซักผ้าที่ใช้ผงซักฟอกก็ได้เช่นกัน

ความพิเศษของผ้าเอ๊าต์ดอร์จาก SOL OUT คือเส้นใยที่นำมาใช้ทำมาจากอะคริลิกผสมสีพร้อมสารเคมี ก่อนจะผลิตออกมาเป็นเส้นด้ายที่เรียกว่า Solution-dyed Acrylic ซึ่งมีคุณสมบัติทนทานต่อแสงแดด และความเค็มจากน้ำทะเล ให้สีสันสดใสยาวนาน การันตีคุณภาพการใช้งานอย่างน้อย 5 ปี สามารถใช้ได้กับการออกแบบกันสาด ประยุกต์ใช้ในการทำผ้าบุเฟอร์นิเจอร์เอ๊าต์ดอร์อย่าง เตียงนอนอาบแดด โดยมีสีสันและลวดลายให้เลือกถึง 60 รายการ เพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้งาน เเละตอบโจทย์ความคิดสร้างสรรค์ของเหล่านักออกแบบได้อย่างไม่จำกัด

การทดสอบศักยภาพเบื้องต้นของผ้าเอ๊าต์ดอร์จาก SOL OUT

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
www.goldhousedecor.com
Line@ : @goldhousedecor
โทร. 0-2119-7888

ดูรูปแบบและไอเดียตกแต่งเรือนกระจกหน้าถัดไป