กระจูดวรรณี งานคราฟต์พื้นบ้านที่ดีไซน์ให้หยิบใช้แบบไม่เขิน

“กระจูด” เป็นวัชพืชที่พบได้มากในแถบภาคใต้ของบ้านเรา จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกับ “กก” ซึ่งเจริญเติบโตง่าย และแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว กระจูดวรรณี

กระจูดวรรณี

ขึ้นชื่อว่าวัชพืช หลายคนอาจมองว่าเป็นพรรณไม้ไร้ค่ากลางทุ่งแต่ด้วยภูมิปัญญาของช่างพื้นถิ่นที่นำพืชชนิดนี้มาต่อยอดเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีประโยชน์ใช้สอยด้วยคุณสมบัติของกระจูดที่สามารถดูดความชื้นได้ เหนียว ทน ชาวบ้านในสมัยก่อนจึงนำมาสานทำเป็นเสื่อไว้สำหรับนอน ต่อมาได้มีการพัฒนามาเป็นของใช้ภายในบ้านที่มีรูปแบบหลากหลายมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในผู้พัฒนางานหัตกรรมจากกระจูดให้มีรูปแบบร่วมสมัยก็คือ “กระจูดวรรณี”จากจังหวัดพัทลุง

กระจูดวรรณี

กระจูดวรรณี

คุณมนัทพงศ์ เซ่งฮวด นักออกแบบรุ่นใหม่ของกระจูดวรรณีผู้สืบสานภูมิปัญญาจากคุณแม่ผู้เป็นครูช่างศิลปหัตถกรรมของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศปี 2556 ได้เข้ามาช่วยดูแลเรื่องลวดลายการสานให้ดูทันสมัยขึ้น แต่ยังคงรูปแบบการใช้งานแบบเดิมเอาไว้

“ตอนที่แม่สานเสื่อกระจูดนั้นมีราคาถูกมากอยากให้แม่และคนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจึงเข้ามาช่วยดูเรื่องการออกแบบและการตลาดเพื่อให้เกิดอาชีพและการสืบสานทางวัฒนธรรมที่ยั่งยืน”

กระจูดวรรณี

กระจูดวรรณี

กระจูดวรรณี

ลูกออกแบบ แม่แกะลาย นับเป็นสายสัมพันธ์ของแม่ลูกที่ช่วยกันพัฒนางานหัตถกรรมกระจูดให้มีความเป็นสากลมากขึ้นเพื่อยกระดับงานพื้นบ้านให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย สำหรับผู้ที่ชื่นชอบงานสาน ผมอยากแนะนำให้ลองมาเยือนศูนย์เรียนรู้หัตถกรรมกระจูดวรรณี  นอกจากสามารถชมและซื้องานหัตถกรรมจากกระจูด เช่น กระเป๋า ตะกร้า และของใช้ในบ้านที่ทั้งสวยงามและราคาไม่แพงแล้ว ที่นี่ยังเปิดเป็นโฮมสเตย์รองรับนักท่องเที่ยวที่อยากเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนหัตถกรรม ด้วยบรรยากาศที่สวยงามและมีความเป็นธรรมชาติ ใกล้ๆกันยังมีสวนพฤกษศาสตร์พัทลุงอุทยานนกน้ำทะเลน้อย หรือจะไปชมแสงแรกของวันใหม่ที่ทะเลหลวง ก็ถือว่าเป็นไฮไลต์ที่เด็ดมากๆครับ

กระจูดวรรณี

กระจูดวรรณี

กระจูดวรรณี

กระจูดวรรณี

กระจูดวรรณี

กระจูดวรรณี

 

สนใจเข้ามาเยี่ยมชมและเข้าพักที่กระจูดวรรณีสอบถามรายละเอียดได้ที่

หมายเลขโทรศัพท์ 0-7461-0415
เว็บไซต์ https://www.facebook.com/varni2529/

เรื่อง : “ไตรรัตน์ ทรงเผ่า”
ภาพ : ธนกิตติ์ คำอ่อน


ขลุ่ย
ขลุ่ยบ้านลาว ประวัติศาสตร์ทางดนตรีที่ยังมีลมหายใจ

มีดอรัญญิก จากเศษเหล็กเหลือใช้…สู่เครื่องมือในบ้านเรือน

l l l l l l l l

l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l