ลมหายใจสุดท้ายของคนปั้นโอ่ง

ย้อนกลับไปสมัยก่อน โอ่ง เป็นภาชนะสำรองน้ำที่ทุกครัวเรือนต้องมีใช้โดยเฉพาะตามท้องถิ่นชนบท


เนื่องจากมีราคาถูกและทนทานอีกทั้งคนต่างจังหวัดนิยมดื่มน้ำฝนกันเป็นส่วนมากเนื่อจากมลพิษในอากาศยังไม่มากเท่าปัจจุบัน น้ำฝนจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของคนสมัยนั้น โอ่ง
หากพูดถึงโอ่งหลายคนคงนึกถึงแต่โอ่งราชบุรี จริงๆแล้วโอ่งมีแหล่งผลิตอยู่ในหลายพื้นที่ และที่ลพบุรีก็เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ผลิตโอ่งที่มีชื่อเสียงมายาวนาน ด้วยวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านล้วนๆ

โอ่ง
โอ่งของลพบุรีนั้นได้รับอิทธิพลมาจากพ่อค้าชาวจีนในยุคแรกๆ และมีการสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน ด้วยรูปทรงที่เรียบๆไม่มีลวดลายเหมือนโอ่งราชบุรี จึงได้รับความนิยมน้อย คนที่ซื้อโอ่งลพบุรีจะซื้อเพื่อการใช้งานจริงๆ เพราะเป็นโอ่งที่มีขนาดใหญ่ จุน้ำได้ถึง 2,000 ลิตร

เรามีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณลุงสมบูรณ์ สินชนะ ผู้ซึ่งอาจเป็นช่างปั้นโอ่งรุ่นสุดท้ายของตำบลโพธิ์เก้าต้น จังหวัดลพบุรี    ผมเริ่มปั้นโอ่งมาตั้งแต่เด็กๆ ไปเป็นลูกน้องเาได้วันละ 5 บาท เมื่อ 60 ปีที่แล้ว จนถึงตอนนี้ปั้นจะไม่ไหวแล้ว เมื่อก่อนปั้นวันละ 17 ลูก เดี๋ยวนี้เหลือลูกเดียวบ้าง 2 ลูกบ้าง ถึงตอนนี้รุ่นต่อไปก็ไม่มีแล้ว ผมว่ารุ่นผมนี่คงเป็นรุ่นสุดท้าย เพราะลูกหลานเาไม่เอางานแบบนี้แล้ว บอกว่างานหนัก ได้ค่าแรงน้อยโอ่งใบหนึ่งปั้นเสร็จแล้ว ขายได้ 2,000 บาท แล้วแต่ระยะทางที่นำไปส่งด้วยว่าใกล้ไกลแค่ไหน เพราะเราร่วมค่าขนส่งไปด้วย”


โชคดีที่ว่าวัสดุที่เราใช้มันหาได้ง่ายๆใกล้ตัว ดินที่เอามายาแนวเราก็เอาดินจากท้องนามาใช้ ซึ่งชาวบ้านนิยมเอามาทำอิฐ สำหรับสร้างบ้านในสมัยก่อน บล็อที่ใช้ขึ้นแบบก็ใช้มาตั้งแต่สมัยเรารุ่นๆ ตอนนี้น้ำประปาเข้ามาในหมู่บ้านแล้ว เลยขายไม่ค่อยดี  ว่างๆก็หันมาปั้นอ่างบัวบ้าง ปูนที่เราใช้ปั้นก็เป็นปูนซีเมนต์ที่เราใช้สร้างบ้านนั่นแหละ เมื่อก่อนตอนปั้นเสร็จแล้วเอาไปส่งให้ลูกค้าก็ไปทางแม่น้ำลพบุรี อาศัยนั่งบนปากโอ่งพายไปส่งลูกค้า”

การปั้นโอ่งนี่ไม่ง่ายนะ ต้องใจเย็น ปั้นแล้วต้องดูว่าสวย ลูกค้าชอบไหม อันนี้สำคัญที่สุด” คุณลุงสมบูรณ์เอ่ยทิ้งท้าย

ในอนาคตโอ่งอาจกลายเป็นตำนานหน้าหนึ่งที่มีให้เห็นเพียงแค่รูปถ่ายบอกเล่าให้ลูกหลานฟัง เรามาดูความยากง่ายในการปั้นโอ่งกันครับว่าเป็นอย่างไร

เริ่มทำฐานโอ่ง

เทปูนในแบบวงกลม

เริ่มวางบล็อคทีละก้อน

ยาแนวด้วยดินจากท้องนา

วางเรียงไปเรื่อยๆจนได้ความสูงตามต้องการ แล้ววางไม้แบบเพื่อรองรับดินสำหรับปากโอ่ง

นำกาบกล้วยมาฉาบดินให้เรียบ
นำกาบกล้วยมาฉาบดินให้เรียบ

ฉาบเรียบเสร็จแล้ว เตรียมฉาบด้วยปูนซีเมนต์

ฉาบปูนซีเมนต์

ฉาบด้วยปูนซีเมนต์เรียบร้อยแล้ว เตรียมทำปากโอ่ง

เกลี่ยปูนให้เรียบอีกครั้ง ขัดมัน รอให้แห้งแล้วลงสี

โอ่งที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว รอส่งมอบให้ลูกค้า

เรื่อง : “ไตรรัตน์ ทรงเผ่า”
ภาพ : ไตรรัตน์ ทรงเผ่า, สมศักดิ์ แสงพลบ

เรื่องที่น่าสนใจ