โคมไฟประติมากรรม ความสร้างสรรค์ที่ควรมาพร้อมวิจารณญาณ

ไม่นานมานี้หลายท่านคงได้ยินข่าว อบต.หลายที่ใช้งบประมาณไปกับการทำเสาไฟฟ้าประติมากรรมรูปทรงต่างๆ มีทั้งกินรี เครื่องบิน สัตว์ประจำถิ่น เครื่องหมายสัญลักษณ์ประจำถิ่น มีเสียงคัดค้านบ้างสนับสนุนบ้าง ไม่ว่าจะคัดค้าน สนับสนุน หรือบางที่ก็มีการสอบสวนกัน ด้วยเสาเหล่านั้นก็ตั้งขึ้นมาใช้งานเรียบร้อยไปแล้ว ถึงเวลานี้ผมใคร่ขอออกความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้สักหน่อย เผื่อจะมีประโยชน์กับการตัดสินใจในการทำประติมากรรมเสาไฟในที่ต่างๆต่อไปในอนาคต หรือแม้กระทั่งในบ้านเรือนของเราเองก็ตาม เสาไฟกินรี ไฟส่องสว่างทั่วๆไปนั้นเราแบ่งวัตถุประสงค์ออกเป็นสองอย่างใหญ่ๆ คือให้แสงสว่างเพื่อความปลอดภัย นั่นคือปลอดภัย จากขโมยขโจร งูเงี้ยวเขี้ยวขอ หลุมบ่อ เห็นว่าเป็นขอบถนนขอบทาง ทางโค้ง ทางลาด คนผ่านไปมาจะได้มองเห็นกันชัดๆ กับอีกวัตถุประสงค์หนึ่ง คือ เพื่อสร้างบรรยากาศ ถ้าต้องการเลือกแบบนี้ เรื่องความปลอดภัยก็เป็นรอง เอาบรรยากาศให้ได้ก่อน ทั้งหมดทั้งปวงขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานต้องการแบบไหน ณ สถานที่ไหนในเวลาใด แต่ก็ยังมีทางเลือกที่สามนั่น คือ ผสมผสานทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน เช่น โคมไฟเหนือโต๊ะอาหารแบบที่ปรับระดับสูงต่ำได้ เมื่อต้องการ รับประทานอาหารในชีวิตประจำวันก็ยกให้มันสูงขึ้น แสงจะได้กระจายไปทั่วๆ จะได้มองเห็นว่าวันนี้มีอะไรกินบ้าง ก้างปลาอยู่ตรงไหน ไอ้ก้อนดำๆในจานนั่นมันหมูทอดหรือเต้าหู้ยี้ สามารถมองเห็นหน้าสมาชิกบนโต๊ะได้ชัดเจน พูดคุยกันได้สะดวก ในอีกการใช้งานเมื่อเราต้องการเน้นบรรยากาศของแสงไฟส่องเฉพาะจุด เช่นเมื่อจะเล่นไพ่ก็ดึงโคมไฟให้ต่ำลงมาในจุดที่พอใจ แสงไฟก็จะเป็นวงส่องเน้นเฉพาะตรงกลางโต๊ะทำให้มีสมาธิในการเล่น สมาชิกในวงก็สามารถซ่อนแววตาที่อยากปกปิดเมื่อได้ไพ่ดีหรือไม่ดีได้อีกด้วย ได้ประโยชน์หลายทางด้วยกัน ทีนี้มาถึงโคมไฟถนนที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้น ผมมีความเห็นว่าท่าน อบต. […]

สวนเบญจกิติ ควรเป็นสวนป่ากลางเมืองหรือสวนแบบมิกซ์ยูส

ขณะนี้มีการดำเนินการสร้างสวนเบญจกิติ ณ บริเวณโรงงานยาสูบเดิม ถนนรัชดาภิเษก  ติดกับศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่กำลังปิดบูรณะอยู่ โดยเฟสแรกออกแบบเป็นสวนน้ำซึ่งแล้วเสร็จไปตั้งแต่ปี 2547 บนพื้นที่130 ไร่ ใครผ่านไปแถวนั้นคงจะเห็นกันแล้ว หลายคนคงเคยไปใช้บริการกันมาแล้วด้วยซ้ำ ผู้รับผิดชอบการสร้างสวนนี้คือกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ดำเนินการหลังจากได้รับการส่งมอบพื้นที่จากโรงงานยาสูบ ซึ่งย้ายไปอยู่ที่อื่น เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้มอบให้กรุงเทพมหานครรับไปดูแลบริหารจัดการต่อ สวนป่าบนพื้นที่ 259 ไร่ บนทำเลทอง สวนเบญจกิติ ส่วนที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในขณะนี้มีพื้นที่ 259 ไร่ ตามแผนการคือจะออกแบบเป็นสวนป่า มีพรรณไม้ออกดอกทั่วสวน มีพิพิธภัณฑ์ หอสูงชมเมือง อาคารนันทนาการและกีฬา ในเฟสสองที่เป็นสวนป่านี้ใช้งบประมาณก่อสร้าง 652 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 พื้นที่ทั้งหมดนี้ไม่ถึงกับใหญ่โตเป็นเมืองก็จริงแต่ก็ไม่เล็ก คะเนว่าน่าจะพอๆกับสวนลุมพินี  ทำเลก็อยู่กลางเมืองขนาดนั้น มีรถไฟฟ้าผ่าน ด้านหน้าติดถนนรัชดาภิเษก ด้านหลังติดทางด่วน มีโลคัลโรด ออกจากทางด่วนมาเข้าสวนนี้ได้เลย เป็นทำเลทองที่นักลงทุนคงน้ำลายหกแต่ก็ต้องกลืนน้ำลายกลับไป เพราะเขานำมาทำสวนสาธารณะเสียแล้ว ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องดี ความจริงการทำอะไรๆให้เป็นสาธารณะก็ดีทั้งนั้น เพราะชาวบ้านจะได้มาใช้ประโยชน์กันได้อย่างทั่วหน้าและเสมอภาคกัน ฝันกันเล่นกับสวนแบบมิกซ์ยูส สวนในความคิดของผม ถ้าพื้นที่ทั้งหมดนี้นำมาทำเป็นทั้งสวนป่า สวนน้ำ ย่านธุรกิจการค้า การบริการสาธารณะที่รวมอยู่ด้วยกันจะได้หรือไม่ โดยยำให้ทุกฟังก์ชันอยู่รวมกันบนพื้นที่นี้  เพราะทำเลดังกล่าวมีมูลค่าสูง […]