ปลูกผัก แบบไม่ไถพรวนดีจริงไหม? No-dig Gardening

ขั้นตอนการทำแปลง ปลูกผัก แบบไม่ไถพรวน ตามแนวคิด No-dig gardening ลดเวลาดูแล ไม่เปลืองแรง และไม่รบกวนธรรมชาติของดิน

ทําความรู้จัก“Permaculture” วัฒนธรรมใหม่ของโลก ที่แก้ปัญหาปากท้องและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

จากปัญหาวิกฤตโควิด-19 และภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา ความสวยงามและการใช้งานอาจไม่เพียงพอเสียแล้วสําหรับการออกแบบสวนในปัจจุบัน สิ่งสําคัญคือสวนนั้นต้องช่วยให้เรามีชีวิตรอดในสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง คําว่า“Permaculture”จึงเริ่มเป็นที่พูดถึงกันในวงกว้างทั่วทั้งโลก ใครที่ยังไม่เคยรู้จักหรือรู้จักเพียงผิวเผิน เรามาเริ่มทําความรู้จักไปพร้อมๆกันเลย ที่มาที่ไป เพอร์มาคัลเจอร์เกิดขึ้นเมื่อราวปีค.ศ.1978 โดยบิลมอลลิสันและ มาซาโนบุ ฟุกุโอกะ ซึ่งต้องการศึกษาหาแนวทางที่สมบูรณ์ที่สุดเพื่อทําการเกษตรแบบยั่งยืน(Permanent Agriculture) ต่อมาจึงได้เกิดความเข้าใจว่า การจะทําการเกษตรรูปแบบนี้จําเป็นต้องทําวิถีชีวิตในทุกด้านให้ยั่งยืนด้วย แนวคิดดังกล่าวเริ่มแพร่หลายไปจนเป็นที่ยอมรับและศึกษาต่อไปในชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะประเทศในแถบตะวันตก หากจะสรุปสั้นๆ เพอร์มาคัลเจอร์คือการทําเกษตรกรรมผสมผสานรูปแบบหนึ่งที่คนไทยก็คุ้นเคย ขนานไปกับวิถีชีวิตที่เป็นการรวมศาสตร์ในด้านต่างๆมาใช้ออกแบบวัฒนธรรมในทุกด้านของการดํารงชีวิตประจําวัน เพื่อผลิตอาหารและพลังงานให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเกื้อกูล พร้อมรับมือสู่อนาคตที่อาจเกิดเหตุการณ์ไม่แน่นอนและปัญหาพลังงานที่ลดลงไปในทุกวัน จะเห็นได้ว่าองค์ความรู้ของวิถีชีวิตแบบเพอร์มาคัลเจอร์ไม่มีหลักตายตัว สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม สถานการณ์หรือความเหมาะสม เราได้รวบรวมไอเดียที่น่าสนใจของวัฒนธรรมสวนแบบเพอร์มาคัลเจอร์ที่สามารถประยุกต์ใช้กับสวนที่บ้านคุณได้ไม่ยาก ดังนี้ ลําดับการวางผังสวน การวางผังหรือแบ่งสัดส่วนภายในสวนเป็นหัวใจสําคัญของการทําสวนแบบเพอร์มาคัลเจอร์รูปแบบที่นิยมทํากันจะเริ่มจากการเลือกบริเวณที่ตั้งของบ้านที่อยู่อาศัยให้อยู่ตรงกลาง มีทางเข้า-ออกที่เชื่อมกับพื้นที่สาธารณะได้สะดวก ก่อนกําหนดโซนอื่นๆให้แผ่ออกเป็นรัศมีวงล้อมขยายซ้อนออกไปเรื่อยๆ โดยแต่ละลําดับของชั้นต่างๆ ด้านที่อยู่ใกล้ที่อยู่อาศัยคือการทําเกษตรที่ต้องการการดูแลหรือนํามาใช้ประโยชน์มากที่สุด เช่น ผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ขณะที่วงนอกสุดออกแบบให้มีลักษณะเป็นสวนป่าเพื่อรักษาและสร้างความเชื่อมโยงกับระบบนิเวศเดิมหรือสวนป่าที่อยู่รอบๆ ทําให้สิ่งมีชีวิตสามารถใช้พื้นที่ในบริเวณนี้แบบเชื่อมถึงกันได้ การวางผังในลักษณะนี้นอกจากจะง่ายต่อการจัดการดูแลสวนที่ใช้พลังงานน้อยลงแล้ว ยังสอดคล้องกับการวางระบบอื่นๆ ทั้งการระบายน้ํา ให้แสงสว่าง และสาธารณูปโภค ซึ่งในโซนต่างๆที่มีกิจกรรมที่สามารถผลิตปัจจัย4ในการดํารงชีวิตได้ ทั้งผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ เพื่อใช้ทําอาหาร ต้นไม้ที่มีใยหรือสีสําหรับทําเครื่องนุ่งห่ม ไม้หรือดินสําหรับก่อสร้างที่อยู่อาศัย และสมุนไพรสําหรับเป็นยารักษาโรค สร้างวงจรทรัพยากรที่เลียนแบบธรรมชาติ เกิดการหมุนเวียนทรัพยากรกันในพื้นที่ ป่าอาหาร […]

สวนคนเมืองขนาดเล็ก แต่สามารถปลูกผักและเลี้ยงไก่ไข่ไว้บริโภคได้ตลอดทั้งปี

ในสวนขนาดเล็กที่ดูเรียบง่ายและไม่ได้ดูสวยงามโดดเด่นกว่าสวนอื่นๆในครั้งแรกที่มอง แต่กลับมีนิยามความงามในแบบของตัวเอง ในฐานะของแหล่งอาหารและสร้างสุขภาพที่ดีในการดำเนินชีวิตให้เกิดสุขภาพที่ดีแบบคนในเมือง เป็นสวนขนาดเล็กหน้าบ้านแต่สามารถปลูกผักและเลี้ยงไก่ไข่ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวและไอเดียที่น่าสนใจทีเดียวที่สามารถนำไปใช้ได้กับทุกคน คุณตี๋-ศุภวุฒิ บุญมหาธนากร เจ้าของบริษัท ใจบ้าน สตูดิโอ จํากัด การพบปะในครั้งนี้นอกจากเป็นการไปเยี่ยมเยือนพี่ชายที่ผมเคารพรักแล้ว ยังตั้งใจไปชมสวนซึ่งก่อนหน้านี้เขาเคยเล่าให้ฟังว่า“พี่ตั้งใจว่าจะทําสวนเพื่อเป็นแหล่งอาหารไว้รับประทานเอง” ทําให้ผมอยากมาเห็นด้วยตาสักครั้ง ผ่านไป2ปี ต้นไม้เริ่มเติบโตตามที่คุณตี๋ได้ตั้งปณิธานเอาไว้ หากดูเผินๆเหมือนว่าเติบโตเองตามธรรมชาติ แต่แท้จริงแล้วเป็นสวนที่ปรับมาจากสวนแนวบาหลี ซึ่งเป็นสไตล์ที่คุณตี๋ชื่นชอบและจัดออกมาได้สวยงามไม่แพ้ใครผมถามถึงสาเหตุที่ทําให้เขาตัดสินใจเปลี่ยนมาจัดเป็นสวนอย่างที่เห็นก็ได้รับคําตอบว่า “เมื่อก่อนหากจะจัดสวนให้บ้านในเมือง เราต้องซื้อดิน ซื้อต้นไม้ ซื้อทุกอย่างมาลง เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติในมุมมองของมนุษย์ แต่จริงๆอาจไม่เป็นธรรมชาติในมุมมองของแมลงหรือสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติจริง ก็เลยอยากลองเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง Permaculture เอง   ผมคุยเรื่องแนวคิดPermacultureกับคุณตี๋อยู่พักใหญ่ จึงทราบว่าแท้จริงแล้วการจัดสวนในรูปแบบนี้ก็ไม่ได้มีอะไรพิเศษไปกว่าการทําเกษตรแบบยั่งยืนที่เน้นการบํารุงดินด้วยธรรมชาติโดยไม่ใช้สารเคมี รวมถึงการปลูกไม้พื้นถิ่นหลากหลายชนิดแม้สวนของคุณตี๋จะมีเนื้อที่แค่เพียง100ตารางวาแต่เขาเล่าให้ฟังว่าในหนึ่งวันสามารถรังสรรค์เมนูอาหารได้หลากหลาย เพราะต้นไม้เกือบทั้งหมดในสวนเป็นชนิดที่รับประทานได้และพบเห็นได้ทั่วไปอย่างมะละกอ มะม่วง บวบ ขิง ข่า พริกตะไคร้ ชะอม แทรกไปกับไม้สมุนไพรและผักสวนครัวพื้นบ้านที่ปลูกง่ายและไม่ต้องดูแลมากเช่น ฟักข้าว ผักเชียงดา อ่อมแซบ ลูกใต้ใบบอน หม่อน และผักปลัง โดยในครั้งแรกเริ่มจากทดลองปลูกผักสวนครัวไม่กี่อย่าง เมื่อประสบความสําเร็จ สามารถเก็บผลผลิตได้ จึงเริ่มต่อยอดทดลองปลูกต้นไม้คละกันแบบมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ ผู้ริเริ่มเกษตรกรรมธรรมชาติ โดยปลูกต้นไม้หลายชั้นหลายระดับรวมกัน ก็ได้ผลผลิตค่อนข้างดี มีผักหลากหลายชนิดให้รับประทานมากขึ้น นอกจากนี้ยังเสริมด้วยโปรตีนจากไข่ไก่วันละ2ฟอง […]