RAY CHANG สถาปนิกจิตวิญญาณตะวันออก ผู้หลงใหลในธรรมชาติ และร่องรอยแห่งกาลเวลา

Ray Chang สถาปนิกผู้เติบโตท่ามกลางธรรมชาติ ที่สวยงาม และสุขสงบของเกาะไต้หวัน ความเข้าใจในสัจธรรมแห่งธรรมชาติหล่อหลอมแนวคิด และความเชื่อของเขาให้แตกต่างท่ามกลางกระแสทุนนิยม งานออกแบบของเขาสะท้อนความงามภายใต้แนวคิดแบบปรัชญาตะวันออก ที่โอบรับ “ความเปลี่ยนแปลง” แห่งกาลเวลา ในยุคที่ผู้คนตามหาความสมบูรณ์แบบอันจีรังยั่งยืน ผลงานของเขาได้รับรางวัลมากมายมาตลอดหลายปี รวมถึง Golden Pin Design Award รางวัลชั้นนำด้านการออกแบบของเอเชีย จึงอาจกล่าวได้ว่าเขาคือสถาปนิกรุ่นใหม่ไฟแรงที่น่าจับตาของไต้หวัน ที่มีผลงานโดดเด่นทั้งในหมวดที่พักอาศัย ร้านค้า ร้านอาหาร คาเฟ่ ฯลฯ Ray Chang ก่อตั้ง Soar Design Studio เมื่อปี 2012 ปีที่ใครหลายคนร่ำลือกันถึงวันสิ้นโลก ปีนั้นเองที่เขาถามตัวเองว่า “ความหลงใหล” ของตัวเองคืออะไร “ตอนที่ผมยังเด็ก ผมมักใช้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติในป่าหรือภูเขา หรือแม้แต่ตอนที่ผมย้ายเข้ามาในเมือง ผมก็พยายามกลับไปหาธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นภูเขาหรือทะเลเท่าที่โอกาสจะเอื้ออำนวย เมื่อผมถามตัวเองว่าชื่นชอบอะไรเป็นพิเศษ คำตอบก็คือ “ธรรมชาติ” ธรรมชาติในที่นี้ไม่ใช่แค่พืชพรรณไม้ต่าง ๆ  หรือภูมิทัศน์ที่สวยงาม แต่มันคือแนวความคิดและปรัชญา ที่สะท้อนในงานออกแบบของผม” room: ในงานออกแบบของคุณ คุณมักจะอุปมาอุปไมยองค์ประกอบทางการออกแบบต่าง ๆ กับธรรมชาติ […]

การศึกษาศิลปะ อย่างไร้ขีดจำกัด ในทรรศนะของ ผศ.นันทพล จั่นเงิน

ตั้งแต่ช่วงมีนาคมที่ผ่านมา เราเริ่มเห็นชีวิตชีวาของมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กลับมาอีกครั้ง และอีกสถานที่หนึ่งที่หลายคนตั้งตารอคอยการกลับมาเปิดทำการอีกครั้ง นั่นคือหอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร ภายใต้การออกแบบและบริหารโดย อาจารย์โอ๊ต – ผศ.นันทพล จั่นเงิน อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ Design Director ของ JUNNARCHITECT เจ้าของ somewhere สเปซน่ารักของชุมชนคนประดิพัทธ์ การศึกษาศิลปะ อย่างไร้ขีดจำกัด ในทรรศนะของ ผศ.นันทพล จั่นเงิน จะเป็นอย่างไร วันนี้เราจึงชวนคุณมาคุยกับอาจารย์โอ๊ตถึงบทบาทหลากหลายที่ทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์” เปิดพื้นที่เพื่อเรียนรู้ “บทบาทหลักที่คิดว่าทิ้งไม่ได้ก็เป็นอาจารย์” อาจารย์โอ๊ตรับหน้าที่เป็นอาจารย์สอนระดับปริญญาตรีและโท ส่วนหลักในรายวิชาอาคารสาธารณะ “เพราะว่าเด็กปีหนึ่งสองจะเริ่มก้าวจากงานออกแบบบ้าน ที่พักอาศัย มาสู่ความเป็นสาธารณะ ส่วนปริญญาโท ก็เน้นเรื่องแนวความคิด แต่ไม่ว่าทั้งปริญญาตรีหรือโทก็ต้องมีเรื่องแนวความคิดนั่นแหละ แค่ว่ากลุ่มคนต่างกัน” และจากบทบาทด้านการศึกษานี่เอง ทำให้อาจารย์โอ๊ตได้รับโอกาสจากทางมหาวิทยาลัย เริ่มจากการเป็นผู้อำนวยการหอศิลป์เป็นเวลา 8 ปี ก่อนจะเดินทางมาสู่ตำแหน่งล่าสุดคือผู้อำนวยการหอสมุดวังท่าพระ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะได้นำเอาความเป็นศิลปะและการออกแบบเข้าไปจับกับห้องสมุดในช่วงเวลาเดียวกันกับที่ปิดปรับปรุงครั้งใหญ่ ที่นี่จึงนับเป็นห้องสมุดศิลปะเต็มรูปแบบแห่งแรกของประเทศไทย “จริงๆ ถ้าพูดถึงห้องสมุดศิลปะ ทุกคนอาจจะมองว่าแค่มีหนังสืออาร์ตหรือดีไซน์ ซึ่งพวกเจ้าหน้าที่ก็เข้าใจว่า ศิลปากร วังท่าพระ […]

คุยกับซีอีโอ D103i ในก้าวสู่ปีที่ 52 พร้อมบทพิสูจน์ว่าการออกแบบได้ไม่ใช่ความยืนยงขององค์กร

คุยกับ นพดล ตันพิวัฒน์ ซีอีโอคนที่ 6 ของ Design 103 International Limited กับการก้าวสู่ปีที่ 52 พร้อมบทพิสูจน์ว่าแค่ออกแบบสวย ไม่ใช่ความยืนยงขององค์กร

คุยกับ ญารินดา บุนนาค แห่ง IMAGINARY OBJECTS ผู้ต่อยอดจินตนาการสู่ความสุขในงานสถาปัตยกรรม

ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director แห่ง Imaginary Objects (IO) สตูดิโอออกแบบที่มองถึงผลลัพธ์จากการออกแบบเป็นสำคัญ โดยมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ไร้ขอบเขตเป็นเครื่องมือ

คุยกับ รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา นายกสมาคมนักผังเมืองไทย ใน 6 ประเด็นคัดค้านทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา

room ขอร่วมไขประเด็นการคัดค้านโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา คุยกับรศ.ดร.พนิต ภู่จินดา เพื่อหาคำตอบว่าเหตุใดเราจึงไม่ควรสร้างทางเลียบฯ แท้จริงแล้วทางเลียบฯ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้จริงหรือไม่ รวมถึงคำถามที่ไร้คนตอบว่าทำไมไม่เริ่มต้นจากการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนพื้นที่ของรัฐที่อยู่ริมแม่น้ำให้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจและท่องเที่ยวที่ดีเสียก่อน

“สาธุ” : ฝ้าย-ใยกัญชง-สีธรรมชาติ สู่เสื้อผ้าที่ถักทอจากสัญชาตญาณ

สาธุ แบรนด์เสื้อผ้าปลอดสารเคมี ทักทอจากใยธรรมชาติ ฝ้าย และ กัญชง ย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกไม้ ทอมือและตัดเย็บโดยชาวเขา สู่การสวมใส่ในรูปแบบศิลปะ

คม ศรีราช วิศวกรที่กลับบ้านเกิดเพื่อสร้างแหล่งท่องเที่ยวแบบ Local Experiences ให้ชุมชน

บ้านบางหมาก เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ อยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดชุมพรเพียง 3 กิโลเมตร เเต่รายล้อมด้วยธรรมชาติซึ่งเเทบไม่มีเค้าของชุมชนเมืองให้เราเห็นเลยสักนิด เงาต้นปาล์มเรียงรายเป็นแถวยาวตลอดเเนวสวน กิ่งมะพร้าวโบกปลิวตามแรงลมพัดเป็นระยะ บ้านแต่ละหลังตั้งอยู่ห่างกันอย่างสันโดษ ทำให้หมู่บ้านแห่งนี้ดูคล้ายกับซุกตัวอยู่อย่างเงียบ ๆ ภายใต้สวนบรรยากาศเขียวครึ้มขนาดใหญ่ ตัดผ่านด้วยถนนคอนกรีตเล็ก ๆ สองข้างทางเราจะได้ยินเสียงร้องของลิงกังสอดเเทรกสลับกับเสียงรถยนต์เป็นระยะ บรรยากาศโดยรวมของชุมชนบ้านบางหมากจึงยังคงความเรียบง่ายเเละเนิบช้า เป็นเสน่ห์ให้คนเมืองหลวงโหยหา เเละอยาก(กลับ)มาสัมผัส เช่นเดียวกับ คุณคม ศรีราช อดีตวิศวกรหนุ่มจากเมืองกรุงฯ ที่ย้อนกลับมายังที่นี่อีกครั้งในวัยสามสิบต้น ๆ ซึ่งกำลังก้าวหน้าในหน้าที่การงานที่ร่ำเรียนมา ด้วยใจที่มองเห็นว่าบ้านเกิดของเขานั้นมีเสน่ห์ไม่ต่างจากถิ่นฐานอื่นที่เคยไปพบเห็นเเละท่องเที่ยว ไม่ใช่เรื่องเเปลกหากเราจะชื่นชมวัฒนธรรมเเละธรรมชาติในดินเเดนอื่น เเต่จะมีสักกี่คนที่มองย้อนกลับมามองบ้านเกิดของตนเอง เเล้วพัฒนาให้ที่นั่นเกิดความพิเศษ เชื้อเชิญให้ผู้คนจากต่างถิ่นอยากเข้ามาสัมผัส เเละเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่น่าประทับใจกลับไปดูบ้าง ดังนั้นเมื่อตั้งใจ “กลับบ้าน” ภารกิจแรกของวิศวกรหนุ่มผู้นี้ คือการเปลี่ยนสวนมะพร้าวบนที่ดินของครอบครัวให้เป็นที่พักของนักท่องเที่ยว โดยมีจุดขายคือวิถีชีวิตเกษตรกรรมของคนในชุมชนบางหมาก พร้อมกับคำนิยามสั้น ๆ ที่ทุกคนจะได้รับคือ “Local Experiences” เรียกว่าใครที่มาเยือนจะต้องได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างกลับไป และทั้งหมดเป็นต้นกำเนิดของ วิลล่า วาริช รีสอร์ทเล็ก ๆ แห่งนี้ “ตอนที่บอกครอบครัวว่าจะทำโรงแรมเล็ก ๆ และทำที่นี่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ครอบครัวก็คัดค้านครับ ไม่มีใครเชื่อว่าเราจะทำได้ มองไม่ออกว่าจะไปทิศทางไหน แต่ผมก็ยืนยันที่จะทำ เพราะมองเห็นว่าทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนนั้นเป็นจุดขายที่ไม่เหมือนที่อื่น […]

พานิช ชูสิทธิ์ กับไร่กาแฟออร์แกนิกที่ไม่มีชื่อ แต่เป็นที่รู้จักทั่วชุมพร

ระยะทาง 67 กิโลเมตร จากตัวอำเภอฯ เมือง จังหวัดชุมพร สู่จุดหมายคือ บ้านธรรมเจริญ ในอำเภอท่าแซะ ไม่อาจทำให้ใจเต้นรัว แรง และเร็วคล้ายไม่เป็นจังหวะ ได้เท่ากับระยะทางอีก 10 กิโลเมตร จากเขตชุมชน ไปยัง “ไร่กาแฟ ที่ไม่มีชื่อ” ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาอันเป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำท่าตะเภา ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากด่านทัพต้นไทร (เนิน 491) พื้นที่รอยต่อระหว่างพรมแดนไทยและสหภาพเมียนมาร์ “ไร่กาแฟ ที่ไม่มีชื่อ” คืออีกหนึ่ง Hidden Place ของ จังหวัดชุมพร ที่คนต่างถิ่นไม่ค่อยมีใครได้ไปสัมผัสนัก เช่นเดียวกับคนในพื้นที่ที่ต่างปรารถนาอยากไปรู้จักไร่กาแฟแห่งนี้ด้วยตนเอง ทั้งจากชื่อเสียงเรียงนามของเจ้าของไร่ ซึ่งเป็นบุคคลกว้างขวางเเละเป็นผู้อยู่เบื้องหลังวงการกาแฟของจังหวัดชุมพร เเต่ด้วยระยะทางที่ไกล บวกกับถนนหนทางมีความยากลำบาก บนระดับความสูง 200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ทำให้เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าการเดินทางที่ได้ลงแรงลงใจไปนั้นจะคุ้มค่าหรือไม่ แต่แค่เพียงคำว่า “ไร่กาแฟออร์แกนิก บนแปลงปลูกที่อยู่สูงที่สุดของจังหวัดชุมพร” ได้กลายเป็นแม่เหล็ก เปลี่ยนให้ถนนลูกรังที่เต็มไปด้วยหลุมบ่อที่ทั้งแคบเเละขรุขระ กับระยะทางอีกหลายกิโลเมตรที่แสนยาวนาน ไม่ได้ทำให้เราเกิดความวิตกกังวลเลยอย่างใด เพราะใจที่จดจ่อไปยังจุดหมายปลายทางนั้น ได้ช่วยให้เราลืมความเหน็ดเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง พานิช ชูสิทธิ์ คือเจ้าของไร่กาแฟที่ไม่มีชื่อแห่งนี้ เราเรียกเขาสั้น ๆ ว่าพี่พานิช เช่นเดียวกับที่คนในพื้นที่เรียกขาน […]

มะลิวัลย์ ชัยบุตร กับการทำเกษตรเพื่อปลดหนี้ในวันที่ชีวิตติดลบ

ในชีวิตคนเราจะมีช่วงเวลาที่เลวร้าย ตกต่ำ หรือย่ำแย่ได้สักกี่ครั้ง สำหรับบางคนอาจจะเจอครั้งแล้วครั้งเล่า หรือเข็มนาฬิกาของบางคนอาจจะยังไม่พาไปถึงจุดนั้น แต่ที่แน่ๆ มันจะต้องมีบางช่วงบางจังหวะที่เราเผลอไปเหยียบกับดักของโชคร้ายจนอาจจะทำให้เกิดความพลิกผัน กลายเป็นเหตุการณ์ที่เปลี่ยนชีวิตไปเลย มะลิวัลย์ ชัยบุตร ก็เช่นเดียวกัน จากผู้หญิงคนหนึ่งที่เคยมีชีวิตครอบครัวที่สมบูรณ์ในกรุงเทพฯ มีหน้าที่การงานรุ่งโรจน์ บทบาททางสังคมในอาชีพโปรแกรมเมอร์ มีเงินเดือนรายได้ที่ส่งเสียเลี้ยงดูลูกๆ ได้เป็นอย่างดี แต่วันหนึ่งเมื่อเธอตื่นขึ้นมาพร้อมกับหนี้ก้อนโตกว่า 6 ล้านบาทและสามีที่เคยเป็นเสาหลักของครอบครัวทิ้งเธอไป ทุกอย่างได้พังทลายลงมา รวมทั้งตัวเธอด้วย หนี้ก้อนโตไม่อาจจะเทียบเท่ากับความเจ็บปวดแสนสาหัสที่สามีเธอฝากไว้ ร่างกายและจิตใจที่เหมือนคนไร้วิญญาณต้องพักฟื้นเยียวยาโดยจิตแพทย์อยู่นานถึง 6 เดือน ลูกชายและลูกสาววัยเรียนต้องรับหน้าที่รักษาบาดแผลทางใจของผู้เป็นแม่ ทั้งๆ ที่พวกเขาควรให้ความสำคัญกับการศึกษามากกว่ามาคอยดูแลผู้ป่วยอย่างเธอ “ตอนนั้นเราไม่เหลืออะไรเลย รู้สึกเป็นแม่ที่แย่ แต่ยังดีที่กลับบ้านถูก” ใบหน้าเปื้อนยิ้มของหญิงวัยห้าสิบปีฉายขึ้นหลังจากเล่ามาถึงช่วงเวลาที่ผ่านมรสุมชีวิตด่านแรก ก่อนเริ่มนับหนึ่งใหม่หลังจากฉุกคิดได้ว่าตนเองนั้นกำลังเป็นตัวถ่วงในชีวิตลูกๆ และเธอต้องกลับมาเป็นเสาหลักให้ครอบครัว ให้ลูกได้เรียนต่อ ชดใช้หนี้สินที่ติดตัวเธอมา 3 คนแม่ลูกจึงกลับมาสร้างชีวิตใหม่ที่บ้านบางหมาก จังหวัดชุมพร ในสวนมะพร้าวซึ่งเป็นที่ดินมรดกของครอบครัว “หลังจากกลับบ้านมา เราก็ไปไหนไม่ได้ เพราะเราทำอะไรไม่เป็นสักอย่าง ใช้ชีวิตอยู่กรุงเทพฯนานถึง 30 ปี ไม่มีความรู้เรื่องเกษตรหรือสวนมะพร้าวเลย ที่แรกที่ทำให้เรามีชีวิตแบบนี้คือเกษตรเมือง ตอนนั้นได้คุณสังคม ชูสุข ซึ่งเป็นเกษตรตำบลบางหมาก เข้ามาแนะนำให้ปลูกพืชเศรษฐกิจที่ชาวบ้านละแวกนี้ปลูกกัน อย่างปาล์ม ผักหวานบ้าน แต่ด้วยสภาพจิตใจเราที่ยังแย่อยู่ […]

ลุงมนู กาญจนะ เปลี่ยนความล้มเหลวของเกษตรเชิงเดี่ยวสู่การ ทำเกษตรผสมผสาน

ติดตามวิถีการดำเนินอาชีพเกษตรของ ลุงมนู กาญจนะ Smart Farmer ดีเด่นประจำปี 2559 ของจังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นหนึ่งในเกษตรกรที่นำการ เกษตรผสมผสาน …

ภวพล นักสะสมต้นไม้สู่เส้นทางน้ำหมึก 400 หน้าในหนังสือแคคตัสที่สมบูรณ์ที่สุดในเมืองไทย

ก่อนจะมาเป็นนักเลี้ยงแคคตัสหรือ กระบองเพชร ที่มีผลงานเป็นหนังสือแคคตัสฉบับสมบูรณ์ ที่สุดในไทยด้วยความหนาเกือบ 400 หน้า คุณ โอห์ม-ภวพล ศุภนันทนานนท์ ยังเคยเป็นนักเลี้ยง แอฟริกันไวโอเลต กล้วยไม้ และสับปะรดสีมาก่อนด้วย เพราะชอบต้นไม้มาตั้งแต่เด็ก จึงหัดเลี้ยงต้นนั้นต้นนี้มาเรื่อย รู้ตัวอีกที โอห์ม-ภวพล ศุภนันทนานนท์ ก็หลงรักบรรดา กระบองเพชร และต้นไม้เหล่านี้ กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีผลงาน หนังสือไม้ประดับกับสำนักพิมพ์บ้านและสวนอยู่หลายเล่ม แม้จะบอกว่าทำเป็นงานอดิเรก แต่เมื่อ ได้ทำสิ่งที่หลงรักอย่างเต็มที่โดยไม่คิดถึงปลายทาง ผลลัพธ์มักเหนือความคาดหมายเสมอ เหมือนอย่างที่เขากำลังทำหนังสือไม้อวบน้ำที่สมบูรณ์แบบไม่แพ้หนังสือแคคตัสให้เหล่าสาวก ได้ติดตามกัน เพื่อนใหม่ที่รู้จักกันตอน ป.5 และกลายเป็นเพื่อนสนิทจนปัจจุบัน “จำได้ว่าตอนเด็กๆ เห็นคุณตาเลี้ยงต้นโป๊ยเซียนโดยที่ผมเป็นลูกมือคอยช่วยหยิบกระถางหยิบดินให้มาตลอด จนโต มาช่วงป. 5 -ป. 6 ก็เริ่มอยากปลูกต้นไม้เองบ้าง เลยลองซื้อต้น แอฟริกันไวโอเลตซึ่งเป็นที่นิยมในยุคนั้นมาเลี้ยงดู ผมชอบรูปทรงของต้นไม้และชอบสีของดอกไม้ที่ดูพิเศษ พอช่วงจังหวะที่ย้ายมาอยู่บ้านใหม่ซึ่งมีพื้นที่กว้างขึ้น ผมก็เริ่มซื้อกล้วยไม้มาเลี้ยงเพิ่มเติม” ช่วงแรกที่คุณโอห์มหัดเลี้ยงต้นไม้ยังไม่มีแหล่งข้อมูลแบ่งปันทางอินเทอร์เน็ต จึงต้องอาศัยการซักถามจากผู้ขายบ่อยๆ จน คุ้นเคยและได้ความรู้สะสมมาเรื่อยๆ ความสนุกในการเลี้ยงต้นไม้ จึงเริ่มขยายต่อไปถึงพรรณไม้อื่นอย่างสับปะรดสีและกระบองเพชร ทำให้ตัดสินใจเลิกเลี้ยงแอฟริกันไวโอเลตไป เพราะไม่มีเวลาเพียงพอที่จะดูแล “ผมว่าเป็นเรื่องธรรมดานะที่เวลาเราเลี้ยงอะไรแล้วมัน อาจไม่ประสบความสำเร็จ […]

งานทดลองที่เปลี่ยนกระสอบและกระดาษให้กลับมาเป็นถุงใส่ของ

คุณบาส-ศิรวิชญ์ ชัยอภิสิทธิ์ เจ้าของผลงานและผู้ก่อตั้งแบรนด์ Dhammada Garden ช่วยยืนยันความคิดนี้อีกที เมื่อเขาเล่าว่า “ผมชอบความธรรมดาสามัญซึ่งมีความพอดี