คำถามที่พบบ่อย
น้ำรั่วจากพื้นห้องน้ำชั้นบนลงมาทำให้ฝ้าเพดานชั้นล่างเสียหาย แก้ไขอย่างไร
น้ำรั่วจากพื้นห้องน้ำ ทำให้ฝ้าเพดานชั้นล่างเสียหาย กรณีน้ำจำเป็นต้องรื้อฝ้าเพดานหรือเปิดฝ้าบริเวณที่มีคราบน้ำรั่ว เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอต่อการซ่อมแซม
บ้านจะพังไหม…ถ้าดินรอบบ้านทรุดตัวจนเห็นเสาบ้านลอยโผล่พ้นดินออกมา
ผู้เขียนมักเจอคำถามทำนองนี้เสมอว่า “ดินรอบ บ้านทรุดตัว จนเห็นเสาบ้านลอย โผล่พ้นดินออกมา แล้วบ้านจะพังไหมทำอย่างไรดี
เปลี่ยนกระเบื้องหลังคาอย่างไรไม่ให้น้ำรั่ว
หลักในการป้องกันน้ำรั่วของ กระเบื้องหลังคา นั้นง่ายอย่างไม่น่าเชื่อคือยอม ให้น้ำฝนไหลผ่านในความเร็วที่มากพอที่น้ำนั้นจะไม่ย้อนหรือล้นเข้าบริเวณ รอยต่อ
รางน้ำตัน ป้องกันได้ง่ายๆ
รางน้ำ บนหลังคาบ้าน นอกจากมีไว้ใช้รองรับน้ำฝนเพื่อเก็บใส่ภาชนะหรือระบายน้ำทิ้งแล้ว ยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย เรามารู้จักรางน้ำรูปแบบต่างๆกัน
แก้ปัญหาท่อน้ำทิ้ง อ่างซิงค์อุดตัน ไม่ยากอย่างที่คิด
เมื่อ อ่างซิงค์ หรืออ่างล้างจานในบ้านเกิดอุดตัน วันนี้เรามีวิธีแก้ปัญหาอย่างง่าย ๆ ที่เราทำได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องเรียกช่างมืออาชีพให้เสียเวลา
บ้านทรุด บ้านร้าว เกิดได้อย่างไร
บ้านทรุด เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะจากก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน ทั้งตรงชั้นดิน ฐานราก เสาเข็ม และจากการต่อเติม การก่อสร้างอาคารมีปัจจัยอีกมากมายที่ทำให้เกิดปัญหาในภายหลังได้หากการก่อสร้างเหล่านั้นทำไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นเราควรรู้ถึงปัจจัยต่างๆที่ทำให้บ้าน ทรุด แตก ร้าว จากสาเหตุในเรื่องชั้นดินและฐานรากซึ่งในบทความ “ บ้านทรุด บ้านร้าว บ้านล้ม : จน รวย ไม่เกี่ยว ” โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ พอจะสรุปความได้ดังนี้ ปัญหาจากเสาเข็ม บ่อยครั้งที่ปัญหาบ้านแตก ร้าว และ บ้านทรุด เกิดขึ้นจากเสาเข็มที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้การถ่ายเทน้ำหนักของโครงสร้างไม่เท่ากัน เป็นผลให้แรงดึงฉีกบ้านจนแตกร้าว โดยปัญหาที่มักพบกับเสาเข็มก็คือ เสาเข็มสั้นเกินไป การที่เสาเข็มลงไปไม่ถึงชั้นดินที่แข็งแรงพอทำให้เมื่อผ่านเวลาไปบ้านจึงทรุดลงไปจนกว่าจะถึงชั้นดินที่แข็งแรง หากทรุดไม่เท่ากันก็จะเกิดการแตกร้าวในที่สุดป้องกันได้โดยการตรวจสอบชั้นดินให้ดีเสียก่อน เสาเข็มวิบัติ การที่เสาเข็มไม่สามารถรับน้ำหนักอาคารได้ เกิดจากความผิดพลาดในขั้นตอนก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นอายุของเสาเข็ม หรือวิธีการตอกเสาเข็มที่ผิดพลาด รวมทั้งการต่อเสาเข็มที่ไม่ได้ศูนย์ก็จะทำให้เกิดความเสียหายในภายหลังได้ ป้องกันได้โดยตรวจสอบวิธีการก่อสร้างให้ถูกมาตรฐานไม่ลัดหรือดัดแปลงขั้นตอนจนเกิดความเสียหาย ปัญหาจากตอม่อ ตอม่อวิบัติ มักเกิดจากการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐานมีน้ำหรือดินท่วมในแบบหล่อหรือตอม่อแช่อยู่ในน้ำ นานวันเข้าจึงผุกร่อนเสื่อมสภาพเร็วก่อนเวลาอันควร อีกทั้งเหล็กที่เป็นสนิมยังบวมและดันให้คอนกรีตแตกออกได้ ตอม่อเยื้องศูนย์ เป็นการวางตำแหน่งเสาเข็มตอม่อ และฐานรากที่ผิดพลาด ทำให้ตอม่อถูกบิดและวิบัติจากการที่รับแรงซึ่งผิดไปจากการคำนวณ เป็นผลให้บ้านเกิดอาการทรุดในทางที่ตอม่อเยื้อง ปัญหาจากการถมดิน การเร่งถมดิน การถมดินจำเป็นจะต้องมีการรอให้ดินที่ถมมีการยุบตัว หากตอกเสาเข็มทันทีที่ถมเสร็จ […]
ระวังบ้านพัง ! 8 วิธีตรวจสอบโครงสร้างบ้าน ผ่านรอยร้าว
รอยร้าว เป็นวิธีตรวจสอบโครงสร้างบ้าน เบื้องต้นว่ายังมีสภาพแข็งแรงดีอยู่หรือไม่ ที่สังเกตง่ายที่สุด
ระวัง! รอยร้าว อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม
รอยร้าว บางลักษณะก็เป็นการเตือนล่วงหน้าถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับบ้าน เนื่องจากเป็นรอยร้าวที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างอาคารโดยตรง หากปล่อยทิ้งไว้นานเข้าอาจเป็นอันตรายถึงขั้นทำให้บ้านถล่มได้เลย