ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน Patent Ductus Arteriosus (PDA)

ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน หรือ Patent Ductus Arteriosus (PDA) เกิดจากหลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงเอออร์ตา (Aorta) กับหลอดเลือดแดงพัลโมนารี่ (Pulmonary artery) ไม่ปิดลง โดยความผิดปกตินี้เป็นความผิดปกติของเส้นเลือดตั้งแต่กำเนิด หลอดเลือดทั้งสองเส้นนี้ เป็นหลอดเลือดที่ส่งเลือดออกจากหัวใจ โดยภาวะการมีอยู่ของเส้นเลือด ductus arteriosus สามารถพบได้เป็นปกติเมื่อลูกสัตว์ยังอยู่ในครรภ์ ในขณะที่ปอดยังไม่ทำงาน (ยังไม่สามารถหายใจได้ด้วยตัวเอง) โดยสัตว์ที่อยู่ในครรภ์จะได้รับออกซิเจนผ่านทางรก ซึ่งมีหลอดเลือดดักตัสอาร์เทอริโอซัส (Ductus arteriosus) เป็นหลอดเลือดหลักในการนำเลือดจากหัวใจผ่านข้ามปอด (ซึ่งในขณะเป็นตัวอ่อนยังไม่ทำงาน) ไปยังหลอดเลือดแดง aorta ที่ส่งเลือดแดงไปเลี้ยงทั่วร่างกาย แต่ภายหลังการคลอด ปอดเริ่มมีการทำงานเส้นเลือดที่เป็นทางเชื่อมไปยังหลอดเลือดแดง aorta คือหลอดเลือด Ductus arteriosus เปิดอยู่ ไม่ฝ่อหายไป จึงเกิด ภาวะที่เรียกว่า Patent ductus arteriosus หรือ ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน ภายหลังลูกสัตว์คลอดและมีการหายใจครั้งแรก หลอดเลือด Ductus arteriosus จะถูกกระตุ้นให้หลอดเลือดปิดลง โดยหลอดเลือดนี้ จะตีบลงกลายเป็นเอ็น (ligament) ที่ยึดหลอดเลือดทั้งสอง การปิดของหลอดเลือด Ductus […]

โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง (Legg-Calve-Perthes Disease)

โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง หรือ Legg-Calve-Perthes Disease, Perthes disease หรือ coxa plana เป็นโรคที่เกิดจากปัญหาขาดเลือดไปเลี้ยงในตำแหน่งของหัวกระดูก (femur) ทำให้บริเวณที่เกิดมีอาการกระดูกตาย ซึ่งหัวของกระดูก femur โดยปกติจะสวมเข้าไปในเบ้า (Acetabulum) ของกระดูก pelvis ซึ่งเป็นบริเวณของข้อสะโพก (Hip joint) มีลักษณะของข้อเป็น ball and socket ถ้าหากหัวกระดูก femur มีการพัฒนาของเนื้อตายหรือมีเลือดมาเลี้ยงน้อยลง จะทำให้การทำงานของข้อผิดปกติไป และอาจทำให้เกิดข้ออักเสบตามมา กระดูกที่ตายส่งผลให้เกิดการสูญเสียความแข็งแรง และการยุบตัวของหัวกระดูก femur ได้ ซึ่งชื่อโรค เป็นการตั้งชื่อ โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง (Legg-Calve-Perthes Disease) โดยการรวมนายแพทย์ 3 คนที่ค้นพบโรคนี้ขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันใน ค.ศ. 1910 สาเหตุการเกิดโรค สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีการศึกษาถึงสาเหตุอาจจะเกิดจากมีการรบกวนการไหลเวียนของเลือดมายังส่วนของสะโพกโดยตรง หรือมีการขัดขวางการไหลเวียนเลือดจากการอุดตันของก้อนเลือดที่แข็งตัวภายในหลอดเลือดเอง  ทำให้กระดูกมีความอ่อนแอ และเสื่อมสภาพลง ซึ่งอาจนำไปสู่การหักของกระดูกเป็นชิ้นเล็ก ๆ และเมื่อเวลาผ่านไปจะมีการพัฒนาของเยื่อไฟบรัส (Fibrous tissue) […]