ข่า

ข่าหยวก/ข่าหลวง/Galangal/Siamese Ginger/Greater Galangal  ชื่อวิทยาศาสตร์: Alpinia galanga (L.) Willd.  วงศ์: Zingiberaceae ประเภท: ไม้พุ่ม อายุหลายปี  ลำต้น: พุ่มสูง 2-2.50 เมตร ลำต้นแตกกอ มีลำต้นใต้ดินเป็นเหง้า ลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบแตกกอเป็นพุ่ม ใบ: ใบรูปใบหอกแกมขอบขนาน สีเขียวสดเป็นมัน  ดอก: ดอกออกเป็นช่อยาวที่ปลายยอด ดอกสีขาว ปากลายม่วงแดง ผล: รูปกลมรี สีส้มอมแดง มี 2-3 เมล็ด อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี มีความชื้นสูง  แสงแดด: แสงแดดรำไร น้ำ: ปานกลาง สม่ำเสมอ  การขยายพันธุ์: ปลูกเหง้าโดยใช้เหง้าแก่  การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นผักสวนครัว ปลูกประดับแปลงตามแนวรั้ว เป็นได้ทั้งอาหารและยา ทุกส่วนของต้นมีน้ำมันหอมระเหย โดยเฉพาะเหง้าที่ใช้ปรุงแกง ช่วยดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ทำให้แกงมีกลิ่นหอมชวนกิน ข่าอ่อนและดอกมีรสเผ็ดซ่า กินได้อร่อยเช่นกัน นอกจากนี้ยังช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด เกร็ดน่ารู้: หลังปลูกอายุ 8 เดือนขึ้นไป เก็บใช้ได้ตลอดปี […]

เฟินริบบิ้น

Ribbon Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Ophioglossum pendulum L. วงศ์: Ophioglossaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินอิงอาศัย ลำต้น: เป็นเหง้าหนาเลื้อยสั้น ใบ: ห้อยลงเป็นแถบแคบยาว ซึ่งยาวได้ถึง 4.50 เมตร กว้าง 3-8 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบแบนหรือบิดเล็กน้อย ปลายใบอาจแตกแขนงเป็นสองแฉก สีเขียวสดเป็นมัน บริเวณโคนใบถึงกลางใบอาจเกิดใบที่สร้างสปอร์ขึ้นมา ลักษณะเป็นแท่งยาว มีก้านสั้นๆ อับสปอร์เรียงเป็น 2 แถว อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เบา เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี มีอินทรียวัตถุ เช่น กาบมะพร้าวสับ กานเฟินชายผ้าสีดา (รากเฟินชายผ้าสีดา) ผสมกับถ่านทุบและใบไม้ผุ น้ำ: ปานกลาง ชอบความชื้นปานกลางถึงสูง แสงแดด: มาก ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ หรือแยกเหง้า การใช้งานและอื่นๆ : มักเกาะอาศัยกับรากเฟินชายผ้าสีดา ซึ่งมีเชื้อราบางชนิดที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ปลูกเป็นไม้กระถางแขวนหรือเกาะกับต้นไม้ใหญ่