เชื้อราแมวติดคน ได้หรือไม่ อย่างไร

เชื้อราแมวติดคน ได้หรือไม่ เป็นหนึ่งในปัญหาที่ทาสแมวส่วนใหญ่ มีความกังวล วันนี้ เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้กันค่ะ เชื้อราแมวติดคน ได้หรือไม่ ก่อนจะไปตอบคำถามนี้ เรามารู้จักโรคเชื้อราในแมวกันก่อนค่ะ เชื้อราแมวในแมว เป็นโรคผิวหนังที่เกิดขึ้นกับแมวได้ทุกสายพันธุ์ โดยเชื้อราก่อโรคจะอาศัยอยู่บนผิวหนังชั้นนอกของแมว รวมถึงบริเวณเล็บ และเส้นขน โดยใช้เคอราตินของผิวหนัง เล็บ และ เส้นขน เป็นอาหารในการเจริญเติบโต ในแมวปกติบางตัวสามารถพบเชื้อราได้บนตัวแมวโดยไม่ก่อให้เกิดรอยโรค ส่วนมากแมวที่อายุยังน้อย แมวแก่ แมวป่วย แมวเครียด มักจะพบความผิดปกติ ทั้งนี้เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ไม่แข็งแรง เชื้อราที่ผิวหนังของแมว จัดเป็นความผิดปกติที่สำคัญ ดังนั้น ควรควบคุมโรคโดยการรักษา ทั้งบนตัวแมว และทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมที่แมวอยู่อาศัย เนื่องจากสปอร์เชื้อรา สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อม ได้เป็นระยะเวลานาน และที่สำคัญเชื้อราผิวหนังของแมวกลุ่มนี้ ยังสามารถติดต่อสู่คนเลี้ยง โดยทำให้คนเลี้ยงสามารถแสดงอาการรอยโรคทางผิวหนังได้ ปกติแมวทั่วไป สามารถติดเชื้อราก่อโรคได้จากการสัมผัสกับแมวป่วยโดยตรง หรือสัมผัสกับสปอร์ของเชื้อรา ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งสปอร์ของเชื้อรา สามารถอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นเวลานาน รอยโรคหลักๆที่สามารถพบได้คือ ขนร่วงแหว่งเป็นวงกลม ขอบเรียบ บางรายอาจจะเป็นสะเก็ด หรือมีอาการคันร่วมด้วย การตรวจวินิจฉัย การตรวจวินิจฉัยแยกแยะของโรคเชื้อรา สามารถวินิจฉัยเบื้องต้นจาก ลักษณะรอยโรคบนผิวหนัง การตรวจวินิจฉัยตัวอย่างเส้นขนหรือเนื้อเยื่อใต้กล้องจุลทรรศน์ […]

โรคไตวายในแมว กับ 6 คำถามยอดฮิต

โรคไตวายในแมว หลายคนคงเคยได้ยิน และอาจมีความกังวลว่าจะเกิดขึ้นกับเจ้าเหมียวสุดรักของตนหรือไม่ จะต้องระวัง หรือ มีวิธีป้องกันอย่างไร วันนี้ บ้านและสวน Pets มี 6 คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับโรคไตวายในเจ้าเหมียวมาฝากกัน คำถามที่ 1 : โรคไตวายในแมวส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุใด และ สถิติการเกิดโรค โรคไตวายในแมว หมายถึง ความผิดปกติของการทำหน้าที่ของไต ซึ่งโรคไตวายในแมว สามารถแบ่งได้ตามระยะการเกิดโรคเป็น 2 ประเภท คือ ไตวายเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากการทำหน้าที่ของไตลดลงอย่างทันทีทันใด เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อในร่างกาย การได้รับสารพิษ การอุดตันในระบบทางเดินปัสสาวะ การขาดเลือดไปเลี้ยงไตอย่างเฉียบพลัน เป็นต้น ส่วนไตวายเรื้อรัง คือพบการทำหน้าที่ของไตลดลงทีละน้อย เป็นระยะเวลานาน สาเหตุเกิดได้จาก โรคทางกรรมพันธุ์ , ความเสื่อมของไตตามอายุ , การได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสม , ความดันโลหิตสูง เป็นต้น โรคไตวายเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในแมวสูงอายุ ที่อายุมากกว่า 10 ปี อุบัติการณ์ของโรคสูงถึง 7.5% จากในบางรายงานภาวะไตวายในสัตว์เลี้ยง (Kidney […]

โรคเชื้อราสปอโรทริโคซิส ในแมว(Sporothricosis)

ในช่วงนี้เราอาจจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับโรคเชื้อราผิวหนังชนิดหนึ่งในแมว ที่สามารถติดต่อสู่คนได้ นั่นก็คือ โรคเชื้อราสปอโรทริโคซิส เกิดจากเชื้อราที่ชื่อว่า Sporothrix schenkii Sporothrix schenkii เป็นเชื้อราที่พบอาศัยในตามธรรมชาติ เช่น ดิน พืช เปลือกไม้ ซึ่งพบการกระจายอยู่ในทั่วโลก เชื้อราชนิดนี้หากติดเชื้อเข้าสู่ผิวหนังของแมวจะติดสู่ผิวหนังชั้นลึก ลักษณะรอยโรคของ โรคเชื้อราสปอโรทริโคซิส มีก้อนตามผิวหนัง และปะทุแตกออกเป็นแผลหลุม ความสำคัญในด้านระบาดวิทยา เชื้อรากลุ่มนี้เป็นเชื้อราที่สามารถติดต่อจากแมวสู่แมว และติดต่อจากแมวสู่คนได้ ซึ่งมีรายงานการพบการระบาดในต่างประเทศมาก่อน เช่น มาเลเซียมีรายงานพบการระบาดจากแมวสู่คน สำหรับข้อมูลการระบาดของเชื้อรานี้ในสัตว์ในประเทศไทยยังมีข้อมูลรายงานไม่มาก โดยในปี พศ.2561 มีงานวิจัยรายงานการพบโรคเชื้อราสปอโรทริโคซิสในแมวที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย แมวติดเชื้อราสปอโรทริโคซิสจากที่ไหนและอาการที่พบจะเป็นอย่างไร? การติดเชื้อเกิดจากแมวได้รับเชื้อรา Sporothrix ผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผล จากในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่มีเชื้อรานี้อาศัยอยู่ เช่น ในดิน หรือ หนามไม้ ทิ่มแทงที่ผิวหนังจนเกิดบาดแผล การติดเชื้อราเข้าสู่ชั้นผิวหนังก่อให้เกิดลักษณะรอยโรคเป็นตุ่ม หรือ ก้อนกระจายตามผิวหนัง สามารถพบได้ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า หัว และขาของแมว มักจะเป็นตำแหน่งที่พบบ่อยสุด รอยโรคที่เป็นก้อนจะพบการอักเสบและเกิดการประทุแตกออกเป็นแผลหลุมและอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยได้ เชื้อราชนิดนี้สามารถพบการติดเชื้อไปยังระบบอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลือง ระบบทางเดินหายใจ […]

โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ หรือ โรคไทรอยด์ฮอร์โมนสูงในแมว (Feline Hyperthyroidism)

โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ ในแมว (Feline Hyperthyroidism) เป็นความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อในแมว โดยต่อมไทรอยด์จะหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากกว่าปกติ โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ เกิดมาจาก ต่อมไทรอยด์ที่เป็นอวัยวะที่อยู่บริเวณลำคอ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ที่มีบทบาทสำคัญ ต่อการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย รวมไปถึงมีหน้าที่ในการควบคุมพลังงาน และ มีผลต่อการทำงานในอวัยวะต่าง ๆ ที่สำคัญในร่างกายของแมว เช่น หัวใจ สมอง ระบบทางเดินอาหาร ระบบกล้ามเนื้อ เป็นต้น โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ มักพบในแมววัยกลางจนถึงแมวสูงอายุ ช่วงอายุที่มีรายงานในการตรวจพบคือ ตั้งแต่ 4 -22 ปี แต่โดยส่วนมากค่าเฉลี่ยมักจะพบที่อายุมากกว่า 10 ปี โดยโรคนี้สามารถเกิดได้กับแมวทุกเพศ และ ทุกสายพันธุ์ อาการของโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ อาการที่เราสามารถสังเกตได้จากภายนอก เช่น น้ำหนักลดลง ถึงแม้จะมีความอยากอาหารอยู่ หรือ สามารถยังกินอาหารได้ปกติ มีการกินจุมากขึ้น ปัสสาวะบ่อย กินน้ำบ่อย ขนหยาบกร้าน มีการเคลื่อนไหวมาก (Hyperactivity) อาเจียน ถ่ายเหลว เป็นต้น ส่วนอาการอื่น ๆ ที่พบตามมาได้ เช่น เบื่ออาหาร […]

โรคขี้แมว หรือ โรคท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis)

โรคขี้แมว (Toxoplasmosis) เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน(Zoonosis) ที่สำคัญ เกิดจากติดเชื้อโปรโตซัวที่ชื่อว่า Toxoplasma gondii เชื้อมีวงจรชีวิตที่สามารถเจริญเติบโตได้ในสัตว์เลือดอุ่นทุกชนิด แต่แมวนั้นจัดเป็นโฮสต์แท้ เชื้อจะอาศัยทางเดินอาหารของแมวในการเจริญเติบโตจนสมบูรณ์และปล่อยไข่ (Oocyst) ปนออกมากับอุจจาระของแมว แมวที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการพบเชื้อ โรคขี้แมว นี้ คือ แมวเลี้ยงระบบเปิด มีพฤติกรรมล่ากินเหยื่อ เช่น หนู นก หรือแมว กินเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก แต่ถ้าหากเป็นแมวที่เลี้ยงระบบปิด และไม่กินเนื้อดิบ หรือกินหนู นกต่างๆ โอกาสพบเชื้อจะค่อนข้างน้อยมาก หรือไม่มีเลย การติดต่อสู่คนของเชื้อนี้มีได้ 3 ทาง1.การรับประทานอาหาร หรือ ดื่มน้ำที่มีไข่ ที่เจริญเต็มที่แล้วปนเปื้อนอยู่2.การรับประทานถุงซีสต์ของพยาธิ ที่อยู่ในเนื้อสัตว์ดิบ ปรุงไม่สุก ที่มีเชื้อโรคขี้แมวนี้อยู่3.ผ่านทางรกไปยังทารก หากแม่ติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ โดยที่จริงแล้ว รายงานคนที่เลี้ยงแมวติด โรคขี้แมว นี้จากแมวโดยตรงนั้นอุบัติการณ์น้อย การติดต่อทางหลักของโรคนี้ในแมวมักเกิดจากการที่กินเนื้อสัตว์เช่นเนื้อหมู เนื้อวัว ที่มีเชื้อปนเปื้อนและปรุงไม่สุก หรือปรุงสุกๆดิบๆ เป็นต้น ข้อควรเข้าใจคือโรคนี้ไม่ได้เกิดกับคนที่ตั้งครรภ์ทุกคน   สำหรับคนตั้งครรภ์ ถ้าหากติดเชื้อ โรคขี้แมว เชื้อโรคจะผ่านรกไปยังทารก และทำให้เกิดโรคขี้แมวแต่กำเนิดได้ […]

โรคหวัดแมว หรือ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้นในแมว (Cat flu)

โรคหวัดแมว เมื่อได้ยินแล้วหลายคนอาจคิดว่า เป็นโรคธรรมดาที่ไม่น่ากลัว คล้ายกับคนที่เป็นหวัด ไม่นานก็หาย แต่!! จริงๆแล้ว โรคหวัดแมวนั้นมีความอันตรายต่อชีวิตของน้องแมวมากกว่าที่ทุกคนคิด โรคหวัดแมว เป็นโรคที่พบได้บ่อยในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นไวรัสจำเพาะในแมว ได้แก่ Feline Herpesvirus (FHV) , Feline Calicivirus (FCV) นอกจากนั้นยังมีเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย เช่น Bordetella bronchiseptica  , Chlamydia spp. , Mycoplasma spp. เป็นต้น การติดต่อ เกิดจากแมวที่ติดเชื้อ จะแพร่เชื้อผ่านทางสิ่งคัดหลั่งจากตา จมูก และปาก การแพร่กระจายของเชื้อเกิดได้จากการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งของแมวที่ป่วยโดยตรง ซึ่งมักจะเป็นทางหลักในการติดต่อของโรค ส่วนการหายใจเอาเชื้อไวรัสจากสิ่งคัดหลั่ง หรือละอองหายใจเข้าไป ก็สามารถพบได้ โรคหวัดแมวพบได้บ่อยในบริเวณที่มีการเลี้ยงแมวจำนวนมาก หรืออยู่กันอย่างหนาแน่น ในกรณีที่แมวป่วย และหายจากโรคแล้วนั้น ยังสามารถเป็นพาหะนำโรคได้ต่อไป อาการของโรคหวัดแมว  ระยะฟักตัวของโรคหวัดแมว จะประมาณ 2 – 10 วัน แต่อาจจะนานได้ถึง 14 […]

โรคตับอ่อนอักเสบ ในแมว (Pancreatitis)

โรคตับอ่อนอักเสบ เป็นภาวะหนึ่งที่ฟังดูน่ากังวล และอาจจะเข้าใจได้ยาก วันนี้ บ้านและสวน Pets จะพามาความรู้จักกับโรคตับอ่อนอักเสบกันในบทความนี้ ตับอ่อน เป็นอวัยวะหนึ่งในช่องท้อง ที่มีบทบาทสำคัญ ในร่างกายหลายประการ ตำแหน่งของตับอ่อน จะอยู่ติดกับกระเพาะ และ ลำไส้เล็ก ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างเอ็นไซม์สำหรับการย่อยอาหาร และยังทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน สำหรับควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โรคตับอ่อนอักเสบ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในแมว นอกจากนั้น ยังพบได้ในคน และ สุนัขอีกด้วย โรคตับอ่อนอักเสบคืออะไร ? โรคตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) เกิดจากตับอ่อนของแมว มีกระบวนการอักเสบเกิดขึ้น โดยในแมวส่วนใหญ่ ภาวะนี้มักเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เรามักจะพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับ การอักเสบของตับ และ ลำไส้ร่วมกัน (เรียกว่า Triaditis) พบได้บ่อยในแมววัยกลางคน ถึงแมวสูงอายุ เนื่องจาก ตับอ่อนสร้างเอ็นไซม์สำหรับย่อยอาหาร และ เมื่อตับอ่อนเกิดการอักเสบ เอ็นไซม์เหล่านี้ก็จะถูกปล่อยออกสู่ตับอ่อน และ เนื้อเยื่อรอบๆข้าง ซึ่งทำให้เกิดความเสียหาย และ ความเจ็บปวด ทำให้แมวมีอาการปวดเกร็งท้อง ในรายที่รุนแรง อาจทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจาก […]

แมวกินน้ำน้อย จะมีวิธีกระตุ้นให้น้องกินน้ำยังไง

แมวกินน้ำน้อย โดยธรรมชาติ เราเชื่อกันว่าเป็นพฤติกรรมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษที่มีถิ่นกำเนิดแถบทะเลทราย ทำให้แมวต้องมีการปรับตัวให้เข้าสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ และพฤติกรรมนี้ก็ถูกถ่ายทอดมายังปัจจุบัน ปริมาณน้ำ ที่ต้องการของร่างกายแมวเฉลี่ยจะอยู่ที่ 40-60 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักตัวแมว 1 กิโลกรัม ต่อวัน การที่ แมวกินน้ำน้อย จึงสามารถนำไปสู่ การเกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้เช่น โรคไต , โรคระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น วันนี้ บ้านและสวน Pets เรามีทริปที่จะช่วยกระตุ้นให้น้องแมวกินน้ำมากขึ้น มาลองทำดูกัน   วิธีกระตุ้นแมวให้กินน้ำมากขึ้น (How to encourage your cat to drink) 1. ชนิดของภาชนะใส่น้ำ : ต้องเลือกภาชนะใส่น้ำ ที่ทำให้แมวอยากกินน้ำ ปกติแล้ว แมวจะชอบชามแก้ว โลหะ และ เซรามิก มากกว่า ชามพลาสติก (ให้ทดลองดู ว่าแมวเราชอบแบบไหน) แมวส่วนใหญ่ชอบชามน้ำที่ ตื้น กว้าง เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเอาหัวไปจุ่ม หรือ […]

แมวปัสสาวะไม่ออก เกิดจากสาเหตุอะไร?

กลุ่มอาการผิดปกติของระบบขับถ่ายปัสสาวะส่วนล่างในแมว (FLUTD ; feline lower urinary tract disease) เป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยในแมว อาการที่พบได้แก่ แมวปัสสาวะไม่ออก ปวดเบ่งเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะมีเลือดปน ใช้เวลาในการปัสสาวะนานกว่าปกติ เลียอวัยวะเพศบ่อยๆ ปัสสาวะผิดที่หรือปัสสาวะนอกกระบะทราย มีอาการปวดเกร็งบริเวณแถวช่องท้อง กลุ่มอาการนี้พบมากในแมวพันธุ์แท้ที่ขนยาว เช่น พันธุ์เปอร์เซีย พันธุ์ฮิมาลายัน ส่วนในแมวพันธุ์อื่น ๆ รวมถึงแมวไทย สามารถพบได้เช่นกัน ความผิดปกตินี้พบบ่อยในแมวที่มีช่วงอายุระหว่าง 2-6 ปี พบมากในแมวเพศผู้ที่ทำหมัน แมวที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือ แมวอ้วน แมวที่ออกกำลังกายน้อย แมวที่กินอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ด แมวที่มีนิสัยกินน้ำน้อย แมวปัสสาวะไม่ออก สาเหตุที่ทำให้แมว เกิดความผิดปกตินั้นพบว่าเกิดได้จากหลายสาเหตุ คือ 1. ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ที่ไม่ทราบสาเหตุ (Feline Idiopathic Cystitis : FIC) ซึ่งพบได้บ่อยมากในแมว  แมวจะมีอาการ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่เมื่อตรวจแล้วไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเกิดจากสาเหตุใด ปัจจัยโน้มนำที่ทำให้เกิดคือ ความเครียด และ […]

โรคพยาธิเม็ดเลือด หรือโรคไข้เห็บ (Canine Blood Parasites)

โรคพยาธิเม็ดเลือด ในสุนัขและแมว เป็นภัยร้ายที่คร่าชีวิตสุนัขและแมวในบ้านเราได้อย่างต่อเนื่อง เพราะ พยาธิเม็ดเลือดถูกนำโดยเห็บหรือหมัด เมื่อสุนัขหรือแมวติดเห็บหรือหมัดมาจึงมีโอกาสสูงมากที่จะได้รับเชื้อ โรคพยาธิเม็ดเลือด ติดมาด้วย ถ้าตรวจพบเร็วอาการยังไม่รุนแรงมาก สามารถให้ยาได้ทันการณ์ก็สามารถหายขาดได้ แต่ถ้าอาการลุกลามไปมากแล้ว โอกาสในการช่วยชีวิตก็จะน้อยลงเรื่อย ๆ สาเหตุ พยาธิเม็ดเลือดเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เข้าไปบุกรุกเซลล์เม็ดเลือด ไม่ว่าจะเป็นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว หรือเกล็ดเลือด จัดอยู่ในกลุ่มโปรโตซัว (Protozoa) หรือกลุ่มริกเกตเซีย (Rickettsia) มีหลายสปีชีส์ (Species) เช่น Babesia spp. Mycoplasma spp. Ehrlichia canis และ Hepatozoon spp. เป็นต้น แต่ละชนิดก็มีเซลล์เม็ดเลือดเป้าหมายที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่เหมือนกันคือมีการถ่ายทอดเชื้อผ่านพาหะ (Vector) อย่างเห็บและหมัด เห็บหมัดจะดูดเลือดจากสุนัขหรือแมวที่มีพยาธิเม็ดเลือด ทำให้ได้รับตัวอ่อนของพยาธิเม็ดเลือดเข้ามาเจริญอยู่ในตัวเห็บหมัดนั้น ๆ พอเติบโตได้ระยะที่สามารถแพร่เชื้อได้ เมื่อเห็บหมัดไปดูดเลือดสุนัขหรือแมวอีกตัวหนึ่งก็เกิดการถ่ายทอดเชื้อจากเห็บหมัดไป ยังสุนัขหรือแมว พยาธิเม็ดเลือดจึงเข้าไปเจริญเติบโตเพิ่มจำนวน และทำลายเซลล์เม็ดเลือดในร่างกายของสุนัขและแมวได้ทำให้เกิดอาการป่วยด้วยโรคพยาธิเม็ดเลือดตามมา อาการ อาการเด่นชัดของโรคพยาธิเม็ดเลือด คือ ภาวะซีดจากการทำลายเม็ดเลือดแดงของพยาธิเม็ดเลือด เกิดภาวะโลหิตจาง เป็นอาการเด่นที่เจ้าของสามารถสังเกตได้เอง โดยดูจากสีของเยื่อเมือกบริเวณต่าง ๆ […]

มดลูกอักเสบ (pyometra) ความผิดปกติของสุนัขและแมวเพศเมีย

สำหรับผู้เลี้ยงสุนัขและแมวเพศเมีย สิ่งที่ต้องเข้าใจเขาอีกส่วนคือเรื่องของระบบสืบพันธุ์เพศเมีย ตั้งแต่เรื่องวงรอบการเป็นสัด การตั้งท้อง การเลี้ยงลูก โดยทาง บ้านและสวน Pets ได้มีบทความบอกเล่าไปบ้างแล้ว วันนี้เรามาเพิ่มเติมส่วนของความผิดปกติของเพศเมีย อย่าง มดลูกอักเสบ แบบผู้หญิง ๆ กันค่ะ มดลูก (uterus) ก่อนเข้าสู่เรื่องความผิดปกติของ มดลูกอักเสบ หมอต้องขออธิบายโครงสร้างของมดลูกให้เห็นภาพคร่าว ๆ กันก่อนค่ะ โดยมดลูกนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศเมีย ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ปีกมดลูก (uterine horn) ตัวมดลูก (uterine body) และปากมดลูก (uterine cervix) ปีกมดลูกมี 2 ข้าง ข้างซ้ายและข้างขวาต่อจากรังไข่และท่อนำไข่ เชื่อมรวมกันที่ตัวมดลูก และมีปากมดลูกเป็นส่วนเชื่อมต่อสู่ช่องคลอด สาเหตุ มดลูกอักเสบ (pyometra) ทุกอวัยวะของร่างกายมีความผิดปกติเกิดขึ้นได้เสมอ…มดลูกก็เช่นกันค่ะปัญหาส่วนมากที่พบ คือ โรคมดลูกอักเสบแบบมีหนอง บางครั้งอาจถูกเรียกสั้นลงว่า “มดลูกอักเสบ” หรือ ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า “pyometra” เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทั้งในสุนัขและแมว สาเหตุการเกิดนั้นมักประกอบด้วยหลายปัจจัยดังนี้ […]

เมื่อสุนัขหรือแมวจมูกแห้ง แปลว่าป่วยจริงหรือไม่?

ผู้เลี้ยงสุนัขและแมวส่วนใหญ่มักจะเคยได้ยินมาว่า ความชื้นหรือแห้งของจมูกนั้น สามารถบอกถึงการเจ็บป่วยของสัตว์เลี้ยงได้ และบางครั้งเวลาที่เราเห็น สุนัข หรือ แมวจมูกแห้ง ผิดปกติ ก็อาจจะรู้สึกกังวลว่า ตอนนี้สัตว์เลี้ยงของเรากำลังป่วยอยู่หรือเปล่า หมาจมูกแห้ง บ้านและสวน Pets คงต้องขอเล่าว่าตามหลักกายวิภาคศาสตร์แล้ว จมูกสุนัขและแมวจะประกอบด้วย รูจมูก (Nares) ขีดแบ่งแยกตรงกลาง (Philtrum) และ พื้นผิวด้านบนปลายจมูกซึ่งเป็นตรงส่วนที่ไม่มีขน (Nasal planum) ซึ่งตรงส่วนที่เรียกว่า Nasal planum นี่ละคือส่วนที่เราสังเกตได้ว่า สุนัข หรือ แมวจมูกแห้ง อยู่หรือไม่ ปกติแล้วหน้าที่หลักของจมูก คือ การดมกลิ่น ซึ่งจมูกสุนัขสามารถรับกลิ่นได้ดีกว่ามนุษย์ถึงพันเท่า ส่วนอีกหน้าที่สำคัญสำหรับจมูกในสุนัขและแมว คือ การระบายความร้อน โดยบริเวณจมูกและฝ่าเท้าของสุนัขและแมวจะมีต่อมเหงื่อ (Eccrine sweat glands) ซึ่งเป็นต่อมเหงื่อที่มีลักษณะเป็นท่อเปิดออกบนพื้นผิวของผิวหนัง ทำให้สามารถขับน้ำออกมาได้ แต่การระบายความร้อนวิธีนี้ไม่ใช่วิธีหลักที่ร่างกายของสุนัขและแมวใช้ เพราะ การระบายความร้อนของสุนัขและแมวจะระบายออกจะใช้วิธีการการหายใจมากกว่า ซึ่งแตกต่างจากมนุษย์ที่มีต่อมเหงื่ออยู่ที่บริเวณผิวหนัง มีงานวิจัยที่ทดลองเทียบคุณสมบัติของเหงื่อมนุษย์และสุนัขแล้วพบว่า เหงื่อของมนุษย์และสุนัขมีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก เนื่องจากมีองค์ประกอบของน้ำที่คล้าย ๆ กัน แต่ด้วยปริมาณต่อมเหงื่อของสัตว์ที่น้อยกว่ามนุษย์ ทำให้เราไม่เห็นเม็ดเหงื่อที่ชัดเจนเหมือนในมนุษย์หรืออาจทำให้ดูว่าแห้งได้ […]

โรคระบบทางเดินหายใจผิดปกติของสุนัขและแมวพันธุ์หน้าสั้น

โรคระบบทางเดินหายใจผิดปกติของสุนัขและแมวพันธุ์หน้าสั้น (Brachycephalic syndrome) เป็นกลุ่มโรคของสุนัขและแมวที่มีจมูกสั้น เกิดปัญหาที่บริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น (Upper airway abnormalities) โดยการตั้งชื่อ โรคระบบทางเดินหายใจผิดปกติของสุนัขและแมวพันธุ์หน้าสั้น หรือ Brachycephalic syndrome มาจาก Brachy หมายถึงสั้น และ Cephalic หมายถึงส่วนหัว เนื่องจากมีลักษณะกะโหลกศีรษะขนาดใหญ่แต่สั้นแบน ทำให้โครงสร้างของหน้า จมูก และปากสั้น นอกจากนี้ยังสามารถเรียกชื่อโรคทางภาษาอังกฤษได้อีกหลายแบบ ได้แก่ Brachycephalic respiratory syndrome, Brachycephalic airway obstructive syndrome หรือ Congenital obstructive upper airway disease เป็นต้น องค์ประกอบของการเกิดโรค Brachycephalic syndrome เกิดจากความผิดปกติจากหลายองค์ประกอบ  สามารถพบความผิดปกติได้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเกิดความผิดปกติร่วมกัน ซึ่งจะทำให้การหายใจเข้าไปยังปอดเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยลักษณะความผิดปกติที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวสัตว์ได้ มีดังนี้ ความผิดปกติที่สามารถพบได้บ่อยในสุนัขและแมวพันธุ์หน้าสั้น รูจมูกตีบแคบ (Stenotic nares) เป็นการเจริญผิดปกติของรูจมูก ทำให้มีรูแคบหรือยุบแฟบเข้าไปเมื่อหายใจเข้า ทำให้สัตว์หายใจติดขัดเนื่องจากมีปัญหารูจมูกตีบแคบ เพดานอ่อนยาวกว่าปกติ […]

โรคไข้หัดแมว หรือ โรคลำไส้อักเสบติดต่อในแมว (Feline Distemper)

“โรคไข้หัดแมว” คือโรคอะไร ?? มีความเกี่ยวข้องกับโรคไข้หัดสุนัขหรือไม่ ?? ติดต่ออย่างไร ?? ก่อโรคในมนุษย์ได้หรือไม่ ?? แล้วจะมีวิธีการที่จะป้องกันแมวสุดที่รักของเราจากโรคนี้ได้หรือไม่ อย่างไร ??? ในโอกาสนี้ หมอก็จะขออนุญาตนำข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ “โรคไข้หัดแมว” มาสรุปสั้นๆ ให้ทุกท่านได้รู้จักกันครับ โรคไข้หัดแมว คืออะไร ?? “โรคไข้หัดแมว” หรือ “feline distemper” นั้น มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการในวงการสัตวแพทย์อยู่หลายชื่อ โดยคุณหมอสัตวแพทย์บางท่านอาจจะเรียกว่า “โรคลำไส้อักเสบติดต่อในแมว (feline infectious enteritis)” หรือ “โรคติดเชื้อพาร์โวไวรัสในแมว (feline parvovirus infection)” หรือบางท่านก็อาจจะขนานโรคนี้ว่า “โรคแพนลิวโคพีเนียในแมว (feline panleukopenia)” ซึ่งคำว่า “แพนลิวโคพีเนีย” นี้ เป็นศัพท์ทางการแพทย์ที่แปลว่าเม็ดเลือดขาวต่ำ ทั้งนี้เนื่องจากแมวที่ติดโรคดังกล่าวนี้ มักมีจำนวนเม็ดเลือดขาวทุกชนิดลดต่ำลงอย่างมาก (ซึ่งจะได้มีการกล่าวถึงรายละเอียดของภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำต่อไปหลังจากนี้) “โรคไข้หัดแมว” เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่ม “Carnivore protoparvovirus 1” โดยพบว่าร้อยละ 95 ของแมวที่ป่วยด้วยโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อพาร์โวไวรัสในแมว […]

ภาวะโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะของสุนัขและแมว

โรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะพบได้มากทั้งในสุนัขและแมว โดยนิ่วเกิดจากการสะสมรวมกันของตะกอนแร่-ธาตุในทางเดินปัสสาวะ ไม่ว่าจะเป็นที่ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ หรือท่อปัสสาวะ สำหรับ ภาวะโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะของสุนัขและแมว ปัจจุบันมีการแบ่งชนิดของนิ่วตามองค์ประกอบแร่ธาตุของนิ่วชนิดนั้น ๆ โดยนิ่วที่พบมีทั้งหมด 8 ชนิด ได้แก่ 1. Magnesium ammonium phosphate(แมกนีเซียมแอมโมเนียมฟอสเฟตหรืออีกชื่อเรียกว่า struvite (สตรู-ไวท์) หรือ MAP)2. Calcium oxalate (แคลเซียมออกซาเลต) หรือ CaOx3. Urate (ยูเรต)4. Cystine (ซีสทีน)5. Calcium phosphate (แคลเซียมฟอสเฟต) หรือ CaPo6. Silica (ซิลิกา)7. Compound8. Mixed แต่จะพบว่ามี 2 ชนิดที่พบได้บ่อยในสุนัขและแมว คือ MAP และ CaOx ซึ่งมีอัตราการกลับมาเป็นซ้ำสูง สาเหตุการเกิดภาวะโรคนิ่ว การเกิดนิ่วมีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น สายพันธุ์ อายุ เพศ อาหาร […]

ความสำคัญของ การตรวจปัสสาวะ สำหรับการวินิจฉัยและการรักษาโรคไต

สัตว์เลี้ยงที่มีสุขภาพแข็งแรงเปรียบได้กับมีระดับการทำงานของไต 100% หากไตเกิดความเสื่อมและเหลือการทำงานเพียง 33% จะสามารถพบความผิดปกติได้จาก การตรวจปัสสาวะ

ไวรัสโคโรนาในแมว (Feline coronavirus)

ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมาข่าวการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ไวรัสอู่ฮั่น” เนื่องจากพบการระบาดที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ต่อมาองค์กรอนามัยโลก (WHO) ประกาศตั้งชื่อไวรัสชนิดนี้ว่า Covid-19 ซึ่งย่อมาจาก “coronavirus disease starting in 2019” ไวรัสโคโรนา มีความรุนแรงมาก ทำให้ผู้ป่วยมีปอดอักเสบรุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้ ที่มาของเชื้อสันนิฐานว่าน่าจะมาจากเนื้อสัตว์ที่ขายในตลาดสดและสามารถติดต่อมาสู่คนได้ การแพร่กระจายของเชื้อมาจากการสูดดมละอองฝอยที่มีเชื้อไวรัสปนอยู่ โดยที่เชื้อจะเข้าไปอยู่ที่เนื้อเยื่อปอด ทำให้ปอดติดเชื้อและเกิดภาวะการหายใจล้มเหลว นอกจากนี้แล้วไวรัสโคโรนาสามารถก่อโรคในแมวแต่เป็นคนละสายพันธุ์กับ ไวรัสโคโรนาในคน (Covid-19) ไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคในสัตว์ โดยเฉพาะในสุนัขและแมว ทางการแพทย์ได้ค้นพบไวรัสชนิดนี้มานานแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963 มีการติดเชื้อได้ทั่วโลก ไวรัสโคโรนาในแมว มีชื่อว่า Feline coronavirus หรือ FCoV เป็นไวรัสที่ติดต่อระหว่างแมว เชื้อไวรัสตัวนี้ติดได้ง่ายจากการเลี้ยงแมวในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น การใช้กระบะทรายร่วมกันหลายตัว การเลี้ยงรวมกันอย่างหนาแน่น  ปัจจัยเหล่านี้ทำให้แมวเกิดความเครียดและเป็นผลทำให้ติดเชื้อไวรัสง่ายขึ้น เนื่องจาการแพร่ของเชื้อเกิดได้จากการกินน้ำและอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชื้อไวรัสปนอยู่ รวมไปถึงปัจจัยช่วงอายุมีผลเช่นกัน พบว่าช่วงอายุที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสได้ง่ายคือแมวอายุน้อยกว่า 2 ปี และ แมวแก่อายุมากกว่า 17 ปี เพราะ เป็นช่วงที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่แข็งแรง ไวรัสโคโรนาในแมว มี […]

เมื่อน้องแมวฉี่ไม่ออกหรือมีปัญหาภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ความผิดปกติหนึ่งที่พบได้บ่อยในแมวนั้นก็คือ ภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว หรือ ที่มักนิยมเรียกกันติดปากว่า “แมวปัสสาวะ(ฉี่)ไม่ออก”