เชื้อราแมวติดคน ได้หรือไม่ อย่างไร

เชื้อราแมวติดคน ได้หรือไม่ เป็นหนึ่งในปัญหาที่ทาสแมวส่วนใหญ่ มีความกังวล วันนี้ เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้กันค่ะ เชื้อราแมวติดคน ได้หรือไม่ ก่อนจะไปตอบคำถามนี้ เรามารู้จักโรคเชื้อราในแมวกันก่อนค่ะ เชื้อราแมวในแมว เป็นโรคผิวหนังที่เกิดขึ้นกับแมวได้ทุกสายพันธุ์ โดยเชื้อราก่อโรคจะอาศัยอยู่บนผิวหนังชั้นนอกของแมว รวมถึงบริเวณเล็บ และเส้นขน โดยใช้เคอราตินของผิวหนัง เล็บ และ เส้นขน เป็นอาหารในการเจริญเติบโต ในแมวปกติบางตัวสามารถพบเชื้อราได้บนตัวแมวโดยไม่ก่อให้เกิดรอยโรค ส่วนมากแมวที่อายุยังน้อย แมวแก่ แมวป่วย แมวเครียด มักจะพบความผิดปกติ ทั้งนี้เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ไม่แข็งแรง เชื้อราที่ผิวหนังของแมว จัดเป็นความผิดปกติที่สำคัญ ดังนั้น ควรควบคุมโรคโดยการรักษา ทั้งบนตัวแมว และทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมที่แมวอยู่อาศัย เนื่องจากสปอร์เชื้อรา สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อม ได้เป็นระยะเวลานาน และที่สำคัญเชื้อราผิวหนังของแมวกลุ่มนี้ ยังสามารถติดต่อสู่คนเลี้ยง โดยทำให้คนเลี้ยงสามารถแสดงอาการรอยโรคทางผิวหนังได้ ปกติแมวทั่วไป สามารถติดเชื้อราก่อโรคได้จากการสัมผัสกับแมวป่วยโดยตรง หรือสัมผัสกับสปอร์ของเชื้อรา ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งสปอร์ของเชื้อรา สามารถอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นเวลานาน รอยโรคหลักๆที่สามารถพบได้คือ ขนร่วงแหว่งเป็นวงกลม ขอบเรียบ บางรายอาจจะเป็นสะเก็ด หรือมีอาการคันร่วมด้วย การตรวจวินิจฉัย การตรวจวินิจฉัยแยกแยะของโรคเชื้อรา สามารถวินิจฉัยเบื้องต้นจาก ลักษณะรอยโรคบนผิวหนัง การตรวจวินิจฉัยตัวอย่างเส้นขนหรือเนื้อเยื่อใต้กล้องจุลทรรศน์ […]

ไรขน (Cheyletiella) และ ไรในหู (Otodectes cynotis)

โรคไรขน ไรขน (Cheyletiella) อาศัยอยู่บนผิวหนังของแมวและสุนัข โดยจะเข้าทำลายด้วยการกัดกินผิวหนังชั้นเคราตินและกินของเหลวที่อยู่ภายในเนื้อเยื่อผิวชั้นบน ทำให้ผิวหนังระคายเคือง เกิดลักษณะของรังแค ขนร่วง และมีอาการคัน ไรชนิดนี้ยังสามารถพบได้ทั่วไปในกระต่ายและสายพันธุ์อื่น ๆ ด้วย ซึ่งมันสามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ โดยสามารถอยู่บนผิวของคนและทำให้เกิดผื่นคันได้อีกด้วย Cheyletiella มีหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์จะชอบ Host ที่แตกต่างชนิดกันออกไป ไรขนจะตัวเต็มวัยมีขนาด 0.385 มิลลิเมตร มีขา 4 คู่ มีกรงเล็บที่บริเวณขา มีรยางค์ส่วนปากคล้ายคลึงกับคีมหนีบ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่พบได้ในปรสิตชนิดนี้ ไรขนมักอาศัยอยู่ภายในผิวหนังชั้นเคราตินและพัฒนาตัวเองให้เข้าสู่ระยะตัวเต็มวัยและมีชีวิตอยู่รอดได้เพียง 10 วันเท่านั้น ลักษณะการเข้าทำลายของ ไรขน มักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “รังแคเดินได้” เนื่องจากไรชนิดนี้จะเคลื่อนที่ไปมาใต้ชั้นเคราติน และผลักเศษผิวหนังขึ้นมา จึงทำให้ดูเหมือนว่ามีการเคลื่อนไหวของรังแค การวินิจฉัย สามารถสังเกตเห็นไรขนได้บ้างบนผิวหนัง มีลักษณะเหมือนรังแคที่กำลังเคลื่อนที่บนผิวหนัง สามารถเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาไรขี้เรื้อน โดยใช้สก็อตเทปแปะไปที่บนผิวหนังที่สงสัยหรือใช้หวีสาง และนำไปส่องกล้องจุลทรรศน์ เพื่อหาไรขน หรือไข่ของไรขน การรักษา มีทางเลือกหลายอย่างสำหรับการรักษา Cheyletiella โดยจะต้องรักษาทั้งตัวสัตว์และสภาพแวดล้อมภายในบ้าน เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ เช่น พื้นปูเตียง ของเล่น เป็นต้น […]