เฟินสไบนาง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Nephrolepid sp. วงศ์: Lomariopsidaceae ประเภท: เฟินดิน ลำต้น: ลำต้นเป็นเหง้าสั้น ตั้งตรงหรือเอน มีเกล็ดหรือขนสีน้ำตาลปกคลุม รากเป็นเส้นยาว ทอดเลื้อยไปตามผิวดิน ใบ: ใบประกอบแบบขนนกยาวได้ถึง 3 เมตร ใบย่อยรูปแถบ มีจำนวนมากถึง 100 คู่ ปลายใบเรียวมนถึงแหลม โคนป้าน ขอบจักฟันเลื่อยตื้น ก้านเรียวเล็ก ดูอ่อนช้อยมากกว่าเฟินใบมะขามชนิดเดิมที่จำหน่ายกันในตลาด กลุ่มอับสปอร์: รูปกลม อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลางถึงเร็ว ดิน: ชอบวัสดุปลูกระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดเต็มวันถึงรำไร น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แบ่งกอ เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกเป็นไม้กระถางแขวนให้ใบห้อยตกลงมาจากกระถาง เลี้ยงง่าย ถ้าปลูกเลี้ยงในสภาพแสงแดดจัด ใบจะสั้นลงและมีสีอมเหลือง

เฟินก้างปลา

เฟินใบมะขาม/กูดสร้อย/Fishbone Fern/Sword Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Nephrolepid cordifolia (L.) C. Presl วงศ์: Nephrolepidaceae ประเภท: เฟินดิน/ไม้ใบ ลำต้น: ลำต้นเป็นเหง้าสั้น ตั้งตรงหรือเอน มีเกล็ดหรือขนสีน้ำตาลปกคลุม ใบ: ใบรูปใบหอกแกมรูปแถบ ปลายแหลม โคนสอบ แกนกลางใบด้านบนเป็นร่อง มีเกล็ดเล็กๆ ใบย่อยออกตรงข้ามเป็นคู่และเยื้องกันเล็กน้อย มีจำนวนมากถึง 100 คู่ เรียงถี่ ปลายใบเรียวมนถึงแหลม โคนตัดตรง ขอบจักฟันเลื่อยตื้น ใบบาง กลุ่มอับสปอร์: รูปไต มีเยื่อปิดอับสปอร์ด้านบน อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลางถึงเร็ว ดิน: ชอบเครื่องปลูกโปร่งระบายน้ำดี  แสงแดด: แสงแดดรำไร น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกกอ ผ่าเหง้า การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกลงแปลง ปลูกเป็นไม้กระถางตั้งและแขวน และปลูกในอาคารได้ดี

เฟินบอสตัน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Nephrolepis exaltata (L.) Schott ‘Bostoniensis’ วงศ์: Lomariopsidaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ความสูง: 40-50 เซนติเมตร ใบ: แผ่โค้งเป็นพุ่มแน่น ยาว 40-60 เซนติเมตร ใบย่อยค่อนข้างบางและเรียบตรง เรียงชิดกันเป็นระเบียบ สีเขียวอ่อน อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี มีอินทรียวัตถุ อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบ ถ่านทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง ชอบความชื้นสูง แสงแดด: รำไรถึงค่อนข้างมาก ขยายพันธุ์: แยกกอ การใช้งานและอื่นๆ : นิยมปลูกเป็นไม้กระถางแขวนและใช้จัดสวน ปัจจุบันมีการกลายพันธุ์เป็นรูปแบบอื่นๆ อีกมากมาย

กูดดอย

กูดข้างฟาน/Centipede Fern/Oriental Blechnum/Oriental Hammock Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Blechnum orientale L. วงศ์: Blechnaceae ประเภท: : เฟินดิน ลำต้น: ต้นสูงได้ถึง 1-2 เมตร ตามลำต้นมีเกล็ดรูปแถบสีน้ำตาลปกคลุม   ใบ: ใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ยาวประมาณ 60-120 เซนติเมตร ใบย่อยรูปแถบ ขอบใบเป็นคลื่น ก้านใบมีสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลแดง อับสปอร์: ใต้ใบมีอับสปอร์สีน้ำตาลเป็นแถบแคบ เรียงตามแนวเส้นใบย่อย อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดครึ่งวัน หรือรำไร ชอบอากาศเย็น น้ำ: มาก การขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับแปลง ไม้กระถาง โดยใช้วัสดุปลูกที่มีอินทรียวัตถุสูง เช่น ดินผสมใบก้ามปูกับกาบมะพร้าวสับ หรือใช้จัดสวนแบบทรอปิคอล เกร็ดน่ารู้: มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย หมู่เกาะโพลินีเซีย และออสเตรเลีย

เฟินก้านดำใบด่าง

Variegated Maidenhair Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Adiantum raddianum C. Prest ‘Variegatum’ วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นพุ่มขนาดกลาง ใบ: ก้านใบตั้งตรงขึ้น ใบแผ่ออกเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง ยาว 50-60 เซนติเมตร ใบย่อยขนาดเล็ก แต่ละใบสีเขียวและมีขีดด่างสีขาว ใบอ่อนสีเขียวอ่อน มักจะมีใบไม่สมบูรณ์ เพราะสร้างอาหารได้น้อยกว่าปกติ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบถ่านทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง ชอบอากาศเย็น แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์

ปลูกเฟิน

เฟิน เป็นไม้ประดับที่นิยมปลูกประดับสวน โดยเฉพาะบริเวณที่ร่มรำไร ให้บรรยากาศของสวนสไตล์เมืองร้อนที่ดูชุ่มเย็น เฟินที่ใช้เป็นไม้ประดับมีหลายชนิด หลายพันธุ์ ส่วนใหญ่ปรับปรุงพันธุ์ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม เลี้ยงง่าย โตเร็ว ขอเพียงเข้าใจลักษณะนิสัยของเฟิน และดูแลอย่างถูกวิธี วัสดุปลูก อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า เฟินที่นิยมใช้เป็นไม้ประดับมีหลายชนิด ทั้งชนิดที่เป็นเฟินดิน เฟินหิน เฟินอิงอาศัย เฟินน้ำ ฯลฯ ซึ่งแต่ละชนิดก็ใช้วัสดุปลูกที่แตกต่างกัน ตามลักษณะการอยู่อาศัยในธรรมชาติ  เฟินดิน คือเฟินที่เจริญเติบโตอยู่บนพื้นป่าที่ชุ่มชื้น มีซากใบไม้ผุทับถมกัน เช่น เฟินก้านดำ เฟินนาคราช เฟินกีบแรด เป็นเฟินที่ใช้ “ดิน” เป็นวัสดุปลูก แต่จะผสมทรายหยาบ ปุ๋ยคอก ใบไม้ผุ ฯลฯ เพื่อให้เนื้อดินโปร่ง ระบายน้ำและอากาศได้ดี ตามแบบที่เฟินแต่ละพันธุ์ต้องการ Tips สูตรดินปลูกเฟิน โดย รศ.มล.จารุพันธุ์ ทองแถม ดินตะกอนหรือดินร่วน 1 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ใบไม้ผุ 4 ส่วน […]

ปลูกเฟิน

เฟิน เป็นไม้ประดับที่นิยมปลูกประดับสวน โดยเฉพาะบริเวณที่ร่มรำไร ให้บรรยากาศของสวนสไตล์เมืองร้อนที่ดูชุ่มเย็น เฟินที่ใช้เป็นไม้ประดับมีหลายชนิด หลายพันธุ์ ส่วนใหญ่ปรับปรุงพันธุ์ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม เลี้ยงง่าย โตเร็ว ขอเพียงเข้าใจลักษณะนิสัยของเฟิน และดูแลอย่างถูกวิธี วัสดุปลูก อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า เฟินที่นิยมใช้เป็นไม้ประดับมีหลายชนิด ทั้งชนิดที่เป็นเฟินดิน เฟินหิน เฟินอิงอาศัย เฟินน้ำ ฯลฯ ซึ่งแต่ละชนิดก็ใช้วัสดุปลูกที่แตกต่างกัน ตามลักษณะการอยู่อาศัยในธรรมชาติ  เฟินดิน คือเฟินที่เจริญเติบโตอยู่บนพื้นป่าที่ชุ่มชื้น มีซากใบไม้ผุทับถมกัน เช่น เฟินก้านดำ เฟินนาคราช เฟินกีบแรด เป็นเฟินที่ใช้ “ดิน” เป็นวัสดุปลูก แต่จะผสมทรายหยาบ ปุ๋ยคอก ใบไม้ผุ ฯลฯ เพื่อให้เนื้อดินโปร่ง ระบายน้ำและอากาศได้ดี ตามแบบที่เฟินแต่ละพันธุ์ต้องการ Tips สูตรดินปลูกเฟิน โดย รศ.มล.จารุพันธุ์ ทองแถม ดินตะกอนหรือดินร่วน 1 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ใบไม้ผุ 4 ส่วน […]

เฟินราชินีเงิน

เฟินเงิน/Victoria Fern/Victorian Brake Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Pleris ensiformis ‘Victoriae’   วงศ์: Pteridaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ความสูง: 30-50 เซนติเมตร ลำต้น: เป็นพุ่มแน่น ใบ: ใบหยักลึกเป็นแฉกเรียวแหลมคล้ายขนนก โดยเฉพาะใบที่ปลายสุดจะยาวเรียวมาก พื้นใบสีเขียว กลางใบด่างสีขาวเป็นลายคล้ายก้างปลา ใบสร้างสปอร์มีแฉก ใบแคบเล็กมาก ชูสูงขึ้นจากพุ่มใบ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี มีอินทรียวัตถุ อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบ ถ่านทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง ความชื้นสูง แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ หรือแยกกอ การใช้งานและอื่นๆ : นิยมทำไม้กระถางหรือจัดสวน มีอีกต้นที่คล้ายกันคือ Evergemiensis เรียกเฟินเงิน เช่นกัน

เฟินหางไก่ด่างปลายแฉก

ชื่อวิทยาศาสตร์: Pleris multifida ‘Cristata Variegata’   วงศ์: Pteridaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นพุ่มโปร่ง กระทัดรัด ไม่แผ่กว้าง ใบ: ใบย่อยเรียวเล็ก ปลายใบแตกแขนงเป็นแฉกสั้นๆ กลางใบมีแถบด่างสีขาวครีม ขอบใบจักฟันเลื่อย   อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี มีอินทรียวัตถุ อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบ ถ่านทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง ความชื้นสูง แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ หรือแยกกอ การใช้งานและอื่นๆ : กลายพันธุ์จากเฟินหางไก่  ปลูกเลี้ยงง่าย นิยมทำไม้กระถาง

เฟินก้ามปู

เฟินตีนตะขาบ/Fishtail Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Nephrolepis biserrata (Sw.) Schott ‘Fucans’ วงศ์: Oleandraceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ความสูง: 50-60 เซนติเมตร หรือสูงได้ถึง 1 เมตร ลำต้น: เป็นพุ่มขนาดกลาง  ใบ: ใบประกอบแบบขนนก ยาวมาก มีใบย่อยเรียงสลับกันสองด้าน ปลายใบย่อยแตกแขนงเป็น 2 แฉก ใบสีเขียวอ่อน อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี มีอินทรียวัตถุ อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบ ถ่านทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไรถึงมาก การใช้งานและอื่นๆ : กลายพันธุ์จากเฟินหางปลา (Nephrolepis biserrata ) นิยมปลูกเป็นไม้กระถาง หรือประดับสวนได้

บัตเตอร์ฟีลด์เฟิน

Butterfield Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyrtomium falcatum ‘Butterfieldii’ วงศ์: Dipteridaceae/Dryopteridaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นเฟินขนาดเล็ก มีทรงพุ่มแน่น ใบ: รูปร่างคล้ายกับฮอลลี่เฟิน แต่ใบย่อยเรียงชิดกันแน่นเป็นระเบียบกว่า ใบแข็งเป็นมัน ใบอ่อนสีเขียวอ่อนอมเหลือง ใบแก่สีเขียวเข้ม อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบ ถ่านทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง ความชื้นสูง แสงแดด: รำไร การใช้งานและอื่นๆ : นิยมปลูกเป็นไม้กระถาง หรือประดับสวนได้

ฮอลลี่เฟิน

Japanese Holly Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyrtomium falcatum (L.f.) Presl วงศ์: Dryopteridaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นพุ่มโปร่ง ขนาดเล็ก ใบ: ก้านใบสั้น มีสีแดงเรื่อ ใบยาว 30-60 เซนติเมตร มีใบย่อย 7-11 คู่ รูปรี ส่วนปลายแหลมโค้งขึ้นคล้ายรูปเคียว ใบหนา เมื่อเจริญเต็มที่จะมีสีเขียวเข้ม อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบ ถ่านทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง ความชื้นสูง แสงแดด: รำไร การใช้งานและอื่นๆ : ปลูกเป็นไม้กระถาง หรือปลูกประดับสวนได้

เฟินจอนหู

 เฟินโพธิ์/Diamond Maidenhair/Giant Maidenhair Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Adiantum trapeziforme L. วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นพุ่มขนาดใหญ่ ความสูง: เมื่อโตเต็มที่สูงได้ถึง 2 เมตร ใบ: ขนาดใหญ่ แต่ละใบยาว 50-100 เซนติเมตร แผ่กว้างและอ่อนโงลง มีใบย่อยขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนกึ่งรูปไข่ ส่วนปลายเรียวแหลม ขอบด้านหนึ่งหยักมน ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน อัตราการเจริญเติบโต: ช้า วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบถ่านทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ : ชอบวัสดุปลูกที่เป็นหินหรือมีหินปะปนมาก ในต่างประเทศนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

เฟินเกล็ดหอย

Brittle Maidenhair Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Adiantum tenerum วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นพุ่มขนาดกลางถึงใหญ่ ใบ: ยาวได้ถึง 90 เซนติเมตร ใบย่อยรูปลิ่มกว้าง สีเขียวสด ใบแก่มักทิ้งใบและหลุดร่วง อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบ ถ่านทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ : ชอบวัสดุปลูกที่เป็นกลางและระบายน้ำดี ในธรรมชาติพบตามหินผาริมลำธารทั่วไปในเขตร้อนของอเมริกา นิยมปลูกกันแพร่หลาย เพราะเลี้ยงและขยายพันธุ์ง่าย บางครั้งก็ขึ้นเองในพื้นที่ชื้นๆ ทั่วไป

เฟินก้านดำเปรู

Silver Dollar Maidenhair Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Adiantum peruviznum Klotzsch. วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นพุ่มค่อนข้างใหญ่ ใบ: ก้านใบเล็ก สีน้ำตาลเข้มถึงดำ แต่ละใบยาวได้ถึง 1 เมตร ส่วนปลายใบมักทิ้งตัวห้อยลง ใบย่อยสีเขียวสด มีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใบอ่อนมีสีเงินเหลือบชมพู อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบถ่านทุบ เศษโฟมหัก ชอบวัสดุปลูกที่เป็นกลางหรือด่างเล็กน้อย น้ำ: ปานกลาง ไม่ขังแฉะ แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ: พบในเขตร้อนชื้นของอเมริกาใต้ ถ้าปลูกในเขตอากาศหนาวจะพักตัว

หางนาคบก

กูดน้ำข้าว/ตีนตุ๊กแก/Tralling Maidenhair/Walking Maidenhair Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Adiantum caudatum L. วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นเฟินขนาดเล็ก มีเหง้าสั้นๆ ใบ: ยาวและอ่อนโค้ง ก้านใบสีน้ำตาลเข้มถึงม่วงดำ มีเกล็ดตล้ายขนปกคลุม แกนกลางใบสีน้ำตาลแดง ใบรูปแถบยาว ปลายแหลม ปลายใบยืดยาวออกไป ไม่มีใบ แต่จะเกิดเป็นต้นใหม่เล็กๆ ขึ้นมา ใบประกอบแบบขนนก ขนาด 2-4×20-60 เซนติเมตร ใบย่อยรูปคล้ายสามเหลี่ยม ปลายแหลม ส่วนปลายใบเป็นรูปพัด ขอบด้านบนหยักมน สีเขียวเข้ม ผิวใบมีขนบางๆ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบถ่ายทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: น้อย-ปานกลาง แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: […]

ว่านลูกไก่ทอง

กูดเสือ/ขนไก่น้อย/โพสี/เฟินลูกไก่ทอง/ละอองไฟฟ้า/ว่านไก่น้อย/หัสแดง ชื่อวิทยาศาสตร์: Cibotium barometz (L.) J.Sm. วงศ์: Cibotiaceae ประเภท: เฟินดิน อายุหลายปี ความสูง: 1 – 2 เมตร ลำต้น เป็นเหง้าสั้นๆ มีขนยาวสีเหลืองทองเป็นมันปกคลุม ใบ: เรียงเวียนสลับ ใบประกอบแบบขนนกหลายชั้น รูปสามเหลี่ยม ก้านใบใหญ่ สีน้ำตาลแกมดำ  โคนก้านมีขน กลุ่มของอับสปอร์เกิดใกล้กับเส้นกลางใบ ดิน: ดินร่วน น้ำ: ปานกลาง ความชื้นในอากาศสูงและอากาศเย็น แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: แยกเหง้าหรือเพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ : เป็นว่านทางโชคลาภ โบราณเล่าขานว่าบ้านไหนที่ปลูกเลี้ยงไว้ เมื่อได้ยินเสียงไก่ร้อง บ้านนั้นก็จะได้ลาภ เป็นสมุนไพรที่ใช้กันมาแต่โบราณ โดยนำขนที่ปกคลุมเหง้าและใบอ่อนมาปิดบาดแผลสด เพื่อห้ามเลือด ปัจจุบันเป็นไม้ประดับที่เสาะหากันในกลุ่มผู้ชื่นชอบเฟิน ในธรรมชาติพบตามป่าดิบชื้นทั่วทุกภาค ปัจจุบันหาดูได้ยากเพราะเกือบสูญพันธุ์จากป่า

ว่านกีบแรด

 กีบม้าลม/กีบแรด/ว่านกีบม้า/Giant Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Angiopteris evecta (G.Forst.) Hoffm. วงศ์: Marattiaceae ประเภท: เฟินดิน ลำต้น: เป็นเหง้าสั้น บางส่วนอยู่ใต้ดิน เมื่อทิ้งใบ ส่วนหูใบขนาดใหญ่ที่โคนต้นจะดูคล้ายกีบ (ง่ามนิ้ว) สัตว์ ติดอยู่ ใบ: ประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงเวียน ยาว 1 – 1.50 เมตร ใบย่อยรูปขอบขนาน โคนใบย่อยมน ปลายใบเรียวแหลม สีเขียวเป็นมัน กลุ่มของอับสปอร์รูปทรงรีเรียงตามขอบใบ ดิน: ดินร่วน ชอบดินที่เป็นกรดเล็กน้อย น้ำ: ปานกลาง ความชื้นสัมพัทธ์สูง แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: แยกหัวหรือเพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ : นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ใบจะเหี่ยวแห้งและตายในที่สุด เป็นว่านทางเสน่ห์เมตตามหานิยม ชาวชนบทใช้หัวเป็นยาแก้พิษตานซางในเด็ก เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วง อาเจียน แต่ควรใช้กับว่านร่อนทอง บางท่านกินเป็นยาแก้ปวดศีรษะ แก้พิษไข้ […]