ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน Patent Ductus Arteriosus (PDA)

ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน หรือ Patent Ductus Arteriosus (PDA) เกิดจากหลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงเอออร์ตา (Aorta) กับหลอดเลือดแดงพัลโมนารี่ (Pulmonary artery) ไม่ปิดลง โดยความผิดปกตินี้เป็นความผิดปกติของเส้นเลือดตั้งแต่กำเนิด หลอดเลือดทั้งสองเส้นนี้ เป็นหลอดเลือดที่ส่งเลือดออกจากหัวใจ โดยภาวะการมีอยู่ของเส้นเลือด ductus arteriosus สามารถพบได้เป็นปกติเมื่อลูกสัตว์ยังอยู่ในครรภ์ ในขณะที่ปอดยังไม่ทำงาน (ยังไม่สามารถหายใจได้ด้วยตัวเอง) โดยสัตว์ที่อยู่ในครรภ์จะได้รับออกซิเจนผ่านทางรก ซึ่งมีหลอดเลือดดักตัสอาร์เทอริโอซัส (Ductus arteriosus) เป็นหลอดเลือดหลักในการนำเลือดจากหัวใจผ่านข้ามปอด (ซึ่งในขณะเป็นตัวอ่อนยังไม่ทำงาน) ไปยังหลอดเลือดแดง aorta ที่ส่งเลือดแดงไปเลี้ยงทั่วร่างกาย แต่ภายหลังการคลอด ปอดเริ่มมีการทำงานเส้นเลือดที่เป็นทางเชื่อมไปยังหลอดเลือดแดง aorta คือหลอดเลือด Ductus arteriosus เปิดอยู่ ไม่ฝ่อหายไป จึงเกิด ภาวะที่เรียกว่า Patent ductus arteriosus หรือ ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน ภายหลังลูกสัตว์คลอดและมีการหายใจครั้งแรก หลอดเลือด Ductus arteriosus จะถูกกระตุ้นให้หลอดเลือดปิดลง โดยหลอดเลือดนี้ จะตีบลงกลายเป็นเอ็น (ligament) ที่ยึดหลอดเลือดทั้งสอง การปิดของหลอดเลือด Ductus […]

โรคข้อสะโพกเสื่อมในสัตว์เลี้ยง (Hip Dysplasia)

โครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การเดิน การรับน้ำหนักตัวของคนและสัตว์ จำเป็นที่จะต้องมีกระดูก และข้อต่อในจุดต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดการหมุน การเหวี่ยง ซึ่งการยึดติดกันของกระดูกแต่ละชิ้น จะทำให้ประกอบขึ้นเป็นร่างกาย ข้อสะโพกเป็นข้อต่อที่จะยึดระหว่างแนวกระดูกเชิงกราน กับกระดูกท่อนขาหลังในสัตว์ ซึ่งข้อต่อนี้เป็นส่วนที่รับน้ำหนักตัวอยู่ 40 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักของร่างกาย จึงเป็นข้อต่อที่จำเป็นมากในการยืน การเคลื่อนไหว หากเกิดความเจ็บปวดที่ข้อต่อ หรือ โรคข้อสะโพกเสื่อมในสัตว์เลี้ยง มักทำให้สัตว์ไม่อยากลุกยืน หรือเดิน ที่น้อยลงกว่าปกติ ลักษณะทางกายวิภาคของข้อต่อสะโพกจะประกอบด้วย หัวกระดูกที่มีลักษณะกลมมน ( Femoral Head ) สวมเข้ากับกระดูกเชิงกราน ที่มีลักษณะเป็น เบ้า โค้ง ( Acetabulum ) ซึ่งจะรับพอดี เข้ารูปกับหัวกระดูก โดยจะมีเยื่อหุ้มข้อ ปกคลุมระหว่างหัวกระดูก และเบ้ากระดูก ซึ่งจะทำให้น้ำที่เป็นเหมือนสารหล่อลื่นเหนียว ๆ ไม่หลุด รั่ว ออกไปที่อื่น น้ำหล่อลื่นนี้จะทำให้กระดูกสองส่วนนี้ไม่มีการเสียดสี ชนกัน ลดความร้อนที่เกิดระหว่างการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ทำให้ผิวกระดูกทั้งสองส่วนนี้ไม่เกิดความเสียหายจากการสัมผัสกัน หรือจากความร้อนที่เกิดขึ้น อีกทั้งระว่างกระดูกสองชิ้นนี้ ยังมีเอ็นที่ช่วยยึดเข้าด้วยกัน โดยเส้นเอ็นนี้จะมีลักษณะที่เหนียว […]

โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ (dilated cardiomyopathy : DCM)

โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ หรือ dilated cardiomyopathy (DCM) เป็นโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจที่พบได้มากที่สุดในสุนัข และถือเป็นโรคหัวใจอันดับที่สองที่พบได้มากรองจากโรคลิ้นหัวใจเสื่อม หรือ degenerative mitral valve disease (DMVD) โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ เป็นโรคที่พบได้มากในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น บ๊อกเซอร์ โดเบอร์แมน เกรทเดน และอาจพบได้บ้างในสุนัขพันธุ์ขนาดกลาง เช่น ค๊อกเกอร์ สเเปเนียล โดยโรคนี้จะพบได้มากในสุนัขอายุมาก สาเหตุของการเกิดโรค อาจเกิดจากความผิดปกติของยีน ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติโดยตรง หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ โน้มนำ เช่น ภาวะหัวใจเต้นเร็วที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลานาน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส หรือโปรโตซัว ความเป็นพิษจากยาบางชนิดที่มีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง เช่น ยาดอกโซรูบิซิน ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษามะเร็ง หรืออาจเกิดจากภาวะพร่องฮอร์โมนบางชนิด เช่น ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ นอกจากนั้นอาจเกิดจากการขาดโปรตีนบางชนิด เช่น ทอรีน หรือ แอล คาร์นิทีน ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีความสำคัญต่อการทำงานของหัวใจ การขาดโปรตีนดังกล่าวอาจเกิดจากชนิดของอาหารที่กิน ที่อาจส่งผลต่อเมตาบอริซึมหรือการสร้างโปรตีน เมื่อระดับโปรตีน โดยเฉพาะ ทอรีน และ แอล […]