โรคขี้เรื้อนแห้ง และขี้เรื้อนเปียกในสุนัข

โรคผิวหนังในสุนัขที่ทุกคนมักจะรู้จักกัน คงหนีไม่พ้นโรคขี้เรื้อน ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปโดยเฉพาะสุนัขจรจัดตามถนน เพราะ โรคขี้เรื้อนนี้เกิดจากปรสิตภายนอกที่สามารถติดต่อกันได้ในสุนัข โรคเรื้อนในสุนัข มีด้วยกัน 2 ประเภทได้แก่ โรคขี้เรื้อน แห้ง และขี้เรื้อนเปียก โดยเกิดจากปรสิตต่างชนิดกันดังนี้ โรคขี้เรื้อนแห้ง (Canine scabies) โรคขี้เรื้อนแห้งเกิดจาก Sarcoptes scabiei เป็นตัวไรขี้เรื้อนที่ทำเกิดอาการเกาคันอย่างรุนแรง เจ้าตัวไรขี้เรื้อนชนิดนี้ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อาศัยอยู่บนผิวหนังชั้นหนังกำพร้า โดยเจ้าไรที่ว่านี้สามารถสืบพันธุ์ออกไข่ ออกลูกหลานได้อีกมากมายเรียกว่าอาศัยอยู่บนผิวหนังสุนัขเป็นชุมชนกันเลยทีเดียวค่ะ บริเวณที่พบได้บ่อยคือขอบใบหู ใต้ท้อง ข้อศอกและข้อเท้าของขาหลังด้านนอก สุนัขจะคันมากและเกาจนผิวหนังอักเสบ คันจนไม่สามารถใช้ชีวิต หรือทำกิจกรรมในแต่ละวันได้อย่างปกติ ทำให้เกิดความเครียด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด บางตัวขนร่วง มีตุ่มแดง สะเก็ดรังแค (scale) เกิดคราบสะเก็ดแห้งกรัง (crust) หรือเกิดลักษณะผิวแห้งหนา (lichenification) ร่วมด้วย ในกรณีที่เลี้ยงสุนัขไว้หลายตัว ต้องพาสัตว์เลี้ยงที่มีอาการ โรคขี้เรื้อน ทุกตัวมารักษาด้วย เนื่องจากเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย ติดต่อกันได้ไวมาก มิเช่นนั้นจะทำให้เกิดปัญหาการป่วยวนเวียนอยู่ในฝูงสุนัขได้เรื่อย ๆ ที่สำคัญอาจจะมีอาการคันเกิดขึ้นได้กับเจ้าของเช่นกันนะคะ การวินิจฉัย สังเกตจากลักษณะผิวหนัง และเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาไรขี้เรื้อน […]

โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนองในสุนัข (Pyoderma)

โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง หรือ Pyoderma เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในสุนัข ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังและรูขุมขน โดยการอักเสบหรือเกิดบาดแผล จะทำให้สภาพแวดล้อมบนผิวหนังบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นความชื้น และอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้แบคทีเรียประจำถิ่น หรือจุลินทรีย์ประจำถิ่น (Normal flora) ที่ทำหน้าที่สร้างภูมิต้านทานให้แก่ผิวหนังบริเวณนั้นอ่อนแอลง แบคทีเรียกลุ่มที่ก่อโรคจึงเจริญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดเป็น โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง แบคทีเรียก่อโรคชนิดแกรมบวกที่พบได้มากในสุนัขที่เป็นโรคนี้ คือกลุ่ม Staphylococcus intermedius และยังพบแบคทีเรียชนิด Staphylococcus aureus และ Staphylococcus hyicus อีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วแบคทีเรียกลุ่มดังกล่าวสามารถพบได้ทั้งในสุนัขและแมวทั่วไปที่มีสุขภาพผิวหนังดี แต่จะพบในปริมาณที่ต่ำมาก และอยู่แบบชั่วคราวมากกว่าถาวร นอกจากนี้แบคทีเรียกลุ่มนี้ยังอาศัยอยู่บริเวณเยื่อเมือกของทวารหนักจมูก ปาก ตาขาว และอวัยวะสืบพันธุ์อีกด้วย เมื่อสัตว์เลียขน หรือกัดแทะผิวหนัง ก็สามารถพบเชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้บนผิวหนังและขุมขนได้เช่นกัน หากมีบาดแผลหรือการอักเสบบริเวณที่เลียก็จะก่อให้เกิดบาดแผลอักเสบ และติดเชื้อเป็นหนองในเวลาต่อมา สาเหตุ (Cause) ช่วงอายุของสุนัขที่มักเกิดโรคและระยะเวลาการเกิดโรคนั้นขึ้นอยู่กับ สาเหตุแท้จริง (underlying cause) หรือสาเหตุเริ่มต้น (Primary cause) ที่ทำให้เกิดโรค ล้วนแล้วเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบหรือเกิดบาดแผลจนทำให้เกิด โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง มีหลายสาเหตุด้วยกัน แบ่งตามช่วงอายุ ดังนี้ […]