โรคที่เกี่ยวกับจอประสาทตาในสุนัข (Retinal Diseases)

จอประสาทตา หรือ Retina เป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นแผ่นโปร่งแสงอยู่ที่ด้านหลังสุดของดวงตา มีเซลล์จอตา (photoreceptors) ทำหน้าที่รับและรวมแสงส่งไปยังสมอง เพื่อแปลผลกลับมาเป็นภาพให้เรามองเห็น ซึ่งเซลล์จอประสาทตาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เซลล์จอตารูปแท่ง (rod photoreceptors) ทำงานได้ดีในสภาวะแสงน้อยหรือในที่มืด และเซลล์จอตารูปกรวย (cone photoreceptors) ทำงานได้ดีในสภาวะที่มีแสงสว่างหรือช่วงเวลากลางวัน ทำให้ โรคที่เกี่ยวกับจอประสาทตาในสุนัข มีผลอย่างมากต่อการมองเห็น หรืออาจทำให้ต้องสูญเสียการมองเห็นไป โรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเฉียบพลัน (Sudden Acquired Retinal Degeneration : SARD) ทําให้หมาสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาไม่กี่วัน (ประมาณ 2-3 วัน จนถึงสัปดาห์) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับดวงตาทั้งสองข้าง และพบได้ในน้องหมาทุกช่วงวัย แต่มีรายงานว่าพบได้บ่อยในช่วงกลางวัยของสุนัข ซึ่งสาเหตุของโรคนี้เรายังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบความสัมพันธ์กับภาวะฮอร์โมนต่อมหมวกไตเกินขนาด หรือ Cushing’s syndrome ในสุนัขบางราย จึงอาจทําให้น้องหมาบางตัวมีอาการกินน้ํามาก ปัสสาวะมาก และมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นร่วมด้วย สันนิษฐานว่าเกิดจากการหลั่ง steroid-like substance จึงไปสร้างความเป็นพิษต่อจอประสาทตา (Retinotoxic) โดยเข้าไปทําลายชั้นของเซลล์รับแสง ทั้งเซลล์รูปกรวยและเซลล์รูปแท่ง […]

โรคต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia : BPH)

หากพบสุนัขเพศผู้มีอาการปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อย หรือเบ่งอุจจาระนานกว่าปกติ โรคสำคัญที่หมอมักจะต้องนึกถึงเป็นลำดับต้น ๆ ก็คือ “โรคต่อมลูกหมากโต” หรือ Benign Prostatic Hyperplasia (BPH) ซึ่งเป็นโรคที่มีความสำคัญทางระบบสืบพันธุ์ของผู้ชายและสัตว์เพศผู้เมื่ออายุมาก พบได้ในคน สุนัข และมีรายงานการเกิดโรคในลิงชิมแปนซี แต่ไม่พบโรคในแมว ต่อมลูกหมากของสุนัขจะทำหน้าที่ในการสร้างน้ำเลี้ยงเชื้อในการผสมพันธุ์ ต่อมจะมีรูปร่างกลมรีแบ่งเป็น 2 ก้อน ซ้ายและขวาอยู่ล้อมรอบบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะส่วนต้น และอยู่ใต้ลำไส้ตรง ดังนั้น หากต่อมลูกหมากเกิดความผิดปกติมีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น โรคต่อมลูกหมากโต ถุงน้ำ หรือฝีหนองในต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมลูกหมากจะส่งผลต่อระบบขับถ่ายเป็นหลัก โรคต่อมลูกหมากโต พบได้ในสุนัขทุกพันธุ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ และอาจเรียกได้ว่าเป็นโรคของสุนัขแก่ เนื่องจากพบได้บ่อยในสุนัขเพศผู้อายุมากที่ยังไม่ได้ทำหมัน อุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นตามอายุเช่นเดียวกับคน โดยผู้ชายอายุระหว่าง 60-70 ปี จะมีภาวะต่อมลูกหมากโตได้ร้อยละ 55 ส่วนในสุนัขอายุมากกว่า 5 ปี จะพบโรคได้มากกว่าร้อยละ 80 และมากกว่าร้อยละ 95 เมื่อสุนัขอายุ 9 ปี แต่สุนัขที่มีปัญหาต่อมลูกหมากโต อาจจะมีอาการป่วยหรือไม่ก็ได้ สาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโต สาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโตยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด […]

ภาวะต่อมหมวกไตชั้นนอกทำงานมากกว่าปกติ หรือกลุ่มอาการคุชชิ่ง

ในการทำงานทางคลินิก เราพบว่า “ภาวะต่อมหมวกไตชั้นนอกทำงานมากกว่าปกติ” (Hyperadrenocorticism; ย่อว่า HAC) หรือ “กลุ่มอาการคุชชิ่ง (Cushing’s syndrome)” เป็นหนึ่งในโรคของต่อมไร้ท่อที่พบได้ค่อนข้างบ่อยในสุนัข แต่ก่อนที่จะไปรู้จัก ภาวะต่อมหมวกไตชั้นนอกทำงานมากกว่าปกติ หรือกลุ่มอาการคุชชิ่ง กันให้ลึกซึ้งมากขึ้นนั้น เรามาทำความรู้จักกับต่อมหมวกไตของสุนัขกันเสียก่อนดีกว่าครับ ว่ามีตำแหน่งอยู่ที่ใด และมีหน้าที่การทำงานอย่างไรบ้าง ต่อมหมวกไตหรือ adrenal gland เป็นต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) ที่มีตำแหน่งอยู่ในช่องท้องบริเวณเหนือไตทั้งสองข้าง ต่อมหมวกไตมีโครงสร้างสำคัญแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ก็คือ ต่อมหมวกไตชั้นนอก (adrenal cortex) และต่อมหมวกไตชั้นใน (adrenal medulla) ซึ่งแต่ละชั้นจะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่สำคัญหลายชนิดให้กับร่างกาย ฮอร์โมนที่สำคัญมากชนิดหนึ่งที่สร้างมาจากต่อมหมวกไตชั้นนอก คือ ฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) ซึ่งทำหน้าที่หลักในการควบคุมสมดุลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเผาผลาญ (metabolism) ในร่างกาย ซึ่งการเผาผลาญที่เกิดขึ้นจากอิทธิพลการทำงานของฮอร์โมนคอร์ติซอลนี้ จะเป็นกระบวนการที่สำคัญมากอย่างหนึ่งที่ร่างกายใช้ในการรับมือกับความเครียด (stress) ในสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความเครียดที่มีอิทธิพลเหนี่ยวนำจากสภาพแวดล้อม ความเครียดจากการอยู่รวมฝูง หรือแม้แต่ความเครียดที่เกิดขึ้นจากอาการป่วยต่าง ๆ ในร่างกาย […]

โรคเส้นเลือดลัดข้ามตับ (Portosystemic shunts : PSS)

กายวิภาคปกติคือ เส้นเลือดดำ portal (portal vascular system) ซึ่งรับเลือดจากทางเดินอาหาร เช่น ม้าม ตับอ่อน และระบบทางเดินอาหาร ทั้งหมดจะมุ่งหน้าเข้าสู่ตับ เพื่อให้ตับทำหน้าที่ในการเผาผลาญสารอาหาร (Metabolize) และกำจัดสารพิษ (Detoxify) ก่อนจะระบายเลือดสู่เส้นเดือดดำ hepatic (hepatic vein) ซึ่งจะต่อกับเส้นเลือดดำ vena cava (รูปที่ 1 A) แต่หากเกิดการลัดเส้นทางเดินของหลอดเลือดจากทางเดินอาหารเข้าตับ จะทำให้ตับขาดการพัฒนาตัวตับเอง เป็นผลทำให้เกิดตับล้มเหลว (Failure of the liver) หรือเกิดตับฝ่อ (Hepatic atrophy) ซึ่งการเกิดตับฝ่อ คือการที่ตับไม่สามารถทำงานได้ดีเหมือนปกติ ความผิดปกตินี้ส่งผลทำให้ร่างกายได้รับสารพิษ, โปรตีน, และสารอาหารที่ถูกดูดซึม จากลำไส้เข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือดภายในร่างกายทันที หากมีการสะสมมากขึ้น จะก่อตัวเป็นสารพิษนำไปสู่การเกิดโรคสมองจากตับได้ (Hepatic encephalopathy) ทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นที่ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system) โรคเส้นเลือดลัดข้ามตับ โรคเส้นเลือดลัดข้ามตับ Portosystemic shunt (PSS) […]