สุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนียน – ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ตัวเล็ก ขนฟู และหน้าแหลม เป็นลักษณะอันโดดเด่นของ สุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนี่ยน ที่เป็นลูกรัก และเป็นสายพันธุ์ยอดนิยม ที่ครองใจเหล่าบรรดาที่ชื่นชอบสุนัขพันธุ์เล็ก ประวัติ สุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนี่ยน สุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนี่ยน (Pomeranian) มีต้นกำเนิดในศตวรรษที่ 16 จากแคว้นปอมเมอเรเนีย (Pomerania) แถบทะเลบอลติก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมันตะวันออกและโปแลนด์ในปัจจุบัน โดยบรรพบุรุษของปอมเมอเรเนียนเป็นสุนัขที่อยู่ในตระกูลสปิตซ์ (Spitz) รวมถึงสุนัขสายพันธุ์นอร์วีเจียน เอลก์ฮาวด์ (Norwegian Elkhound), ชิปเพิร์ก (Schipperke), เยอรมัน สปิตซ์ (German Spitz), อเมริกัน เอสกิโม (American Eskimo) และซามอยด์ (Samoyed) สุนัขเหล่านี้ทั้งหมดมีลักษณะที่โดดเด่นเหมือนกัน คือมีหน้าที่ยื่น, หูตั้งและขนยาวหนา ในอดีต ปอมเมอเรเนียน ถูกเพาะพันธุ์ให้เป็นสุนัขลากเลื่อนและมีน้ำหนักมากถึง 30 ปอนด์ ตั้งแต่ปอมได้รับการแนะนำให้เป็นที่รู้จักในฐานะสัตว์เลี้ยงประจำบ้าน สายพันธุ์ปอมเมอเรเนียนจึงเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก บุคคลที่มีชื่อเสียงที่เป็นเจ้าของสุนัขปอมเมอเรเนียน ได้แก่ นักศาสนศาสตร์มาร์ติน ลูเทอร์ (Martin Luther), จิตรกรไมเคิลแองเจโล (Michelangelo) และนักฟิสิกส์ไอแซก […]

มอลทีส (Maltese) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ มอลทีส จัดเป็นสุนัขพันธุ์เล็ก อยู่ในกลุ่มสุนัขพันธุ์ทอย มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Central Mediterranean Area) โดยชื่อพันธุ์ของสุนัขมีความเชื่อว่าเป็นสุนัขที่มาจากเกาะเล็ก ๆ ทางตอนใต้ของประเทศมอลต้า (Malta) นอกจากนั้นบางครั้งก็ถูกกล่าวว่ามาจากเกาะเอเดรียติก (Adriatic island) ของประเทศโครเอเชีย (Mljet) หรือมาจากเขตชุมชนซิซิเลีย (Sicilian) ในเมืองเมลิต้า (Melita) สุนัขพันธุ์ มอลทีส ได้รับการยอมรับจากองค์กร The Fédération cynologique internationale (FCI) เฉพาะในประเทศอิตาลี (Italy) ในปี ค.ศ.1954 หลังจากนั้นได้ถูกนำมาเลี้ยงในเมืองอินเตอร์ลาเคน (Interlaken) ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในต่อมาองค์กร FCI จึงได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นพันธุ์สุนัขที่ได้รับการยอมรับทั่วไป วันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ.1989 และได้ถูกนำข้อมูลสุนัขพันธุ์มอลทีสมาแปลภาษาจากภาษาอิตาลีเป็นภาษาอังกฤษ วันที่ 6 เมษายน ค.ศ.1998 สมาคม The American Kennel Club (AKC) ได้รับการขึ้นทะเบียนพันธุ์สุนัขมอลทีส […]

ชิสุ (Shih Tzu) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ ชิสุ จัดเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีถิ่นกำเนิดมาจากทิเบต และเป็นพันธุ์ที่นิยมในประเทศจีน โดยการตั้งชื่อสายพันธุ์ชิสุ มีความหมายว่าเป็นสิงโตน้อย (Little lion) หรือสุนัขตัวเล็ก (Little dog) ในประเทศจีน สุนัขพันธุ์ชิสุ มีลักษณะคล้ายสุนัขพันธุ์ปักกิ่ง (Pekingese) เนื่องจากได้รับการผสมพันธุ์กับสุนัขพันธุ์ปักกิ่ง ถูกจัดอยู่ในสายพันธุ์ชนชั้นสูง พวกเดียวกับปักกิ่งและปั๊ก เป็นสุนัขที่หรูหราที่สุดจากจักรพรรดิจีน โดยกล่าวว่าพระทิเบตมอบสุนัขพันธุ์ชิสุให้จักรพรรดิจีนเป็นของกำนัล สุนัขพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักนอกอาณาจักรจีนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1903 ในต่อมาได้ถูกนำมาเลี้ยงในแถบทวีปยุโรป ได้แก่ ประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส ทำให้ได้ความนิยมมากยิ่งขึ้น โดยสมาคม English kennel clubs ได้ขึ้นทะเบียนพันธุ์สุนัขชิสุ เป็นสุนัขพันธุ์ลาซา แอปโซ  (Lhasa Apso) และในปี ค.ศ.1935 สุนัขพันธุ์ชิสุได้มีการพัฒนาลักษณะประจำสายพันธุ์มากขึ้น ทำให้ถูกขึ้นทะเบียนอีกครั้งเป็นสุนัขพันธุ์ชิสุ แยกออกจากสุนัขพันธุ์ยุโรปอย่างชัดเจน และถูกนำต่อมายังอเมริกา โดยทหารอเมริกาที่กลับมาจากทวีปยุโรป ทำให้เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ลักษณะทางกายภาพ สุนัขพันธุ์ชิสุ เป็นสุนัขพันธุ์เล็ก ปากสั้น ตาลึกดำสนิท จมูกเล็กแบน หลังจากกินอาหาร หรือกินน้ำควรทำความสะอาดให้แห้งทุกครั้ง […]

ปาปิยอง (Papillon) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ ปาปิยอง (Papillon) เป็นสุนัขขนยาวในกลุ่มทอย (Toy Group) เนื่องจากขนาดตัวที่เล็ก พวกมันสืบเชื้อสายมาจากสแปเนียลพันธุ์แคระที่ได้รับความนิยมในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 16 สุนัขสายพันธุ์ปาปิยองได้รับการตั้งชื่อตามรูปลักษณ์ที่โดดเด่นของพวกมัน โดยหูของปาปิยองมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ คือตั้งตรง มีขนยาว และแผ่ออกคล้ายกับผีเสื้อจึงถูกนำมาตั้งเป็นชื่อของสายพันธุ์ โดยคำว่า “Papillon” ในภาษาฝรั่งเศส แปลว่าว่า “ผีเสื้อ” พวกมันได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากชนชั้นสูงในยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 และโดยทั่วไปจะถูกนำมาเป็นของขวัญสำหรับการมาเยือนของขุนนางจากประเทศต่าง ๆ ถึงแม้ว่าปาปิยองในยุคแรก ๆ จะมีลักษณะหูที่ตั้งขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปลูกในครอกของพวกมันสามารถพบได้ทั้งแบบหูตั้งและหูตกแตกต่างกันไป โดยปาปิยองหูตกเป็นที่รู้จักกันในชื่อฟาแลน (Phalene) หรือ “moth” ในภาษาฝรั่งเศส ชื่อเหล่านี้ยังคงใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เพื่อจำแนกลักษณะหูของปาปิยอง ปาปิยอง ถูกขยายพันธุ์ขึ้นมาเพื่อให้เป็นสุนัขตัวเล็ก ๆ ที่สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวกและถูกเลี้ยงไว้เพื่อเป็นเพื่อน ถึงแม้ว่าพวกมันจะมีความฉลาดในการทำงานในด้านอื่น ๆ ก็ตาม ปาปิยองเป็นสุนัขตัวเล็กที่มีน้ำหนักเฉลี่ยเพียง 4-9 ปอนด์และมีความสูง 8-11 นิ้วและเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของสุนัขกลุ่มทอยที่เก่าแก่ที่สุด ความนิยมอย่างต่อเนื่องของพวกมันได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความเหมาะสมในการทำหน้าที่ในฐานะเพื่อนคู่หูของมนุษย์ ถึงแม้ว่าที่มาของสายพันธุ์จะยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดแต่เชื่อกันว่าสายพันธุ์นี้ถูกพัฒนาขึ้นมาจากสุนัขสายพันธุ์คอนทิเนนทัล ทอย สแปเนียล (Continental Toy Spaniel) ในประเทศฝรั่งเศสช่วงกลางศตวรรษที่ 16 […]

บิชอง ฟริเซ่ (Bichon Frise) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขสายพันธุ์ บิชอง ฟริเซ่ (Bichon Frise) เดินทางมาถึงประเทศฝรั่งเศสช่วงก่อนศตวรรษที่ 14 ในขณะที่ถิ่นกำเนิดที่แน่นอนของสุนัขพันธุ์นี้ ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ความเชื่อส่วนใหญ่ได้กล่าวไว้ว่าบิชอง ฟริเซ่ ถือกำเนิดขึ้นมาจากสุนัขพันธุ์บาร์เบท (Barbet) ซึ่งเป็นสุนัขขนาดกลาง ส่วนวิธีที่มันเดินทางมาถึงฝรั่งเศสยังคงเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ หลายคนกล่าวว่าพ่อค้านำมันมาจากอิตาลีและสเปนตามเส้นทางการค้า ในขณะที่คนอื่นเชื่อว่ากองทัพเรือฝรั่งเศสนำพวกมันกลับมาหลังจากที่พวกเขาทำการบุกอิตาลีในศตวรรษที่ 16 อย่างไรก็ตามสิ่งที่ทราบกันดีคือสุนัขสายพันธุ์นี้ได้รับความนิยมในยุโรปในช่วงระยะเวลานั้น บิชอง ฟริเซ่ได้รับความนิยมจากกลุ่มชนชั้นสูง กษัตริย์ ราชวงศ์ และศิลปินที่มีชื่อเสียง บิชอง ฟริเซ่ได้รับการยกระดับในรัชสมัยของจักรพรรดินโปเลียน แต่ความนิยมก็ได้ลดลงภายหลังจากที่ผู้เพาะพันธุ์จำนวนมากได้สร้างความหลากหลายของสายพันธุ์ ทำให้บิชอง ฟริเซ่สูญเสียความพิเศษเฉพาะตัวและกลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงทั่ว ๆ ไป หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ผู้เพาะพันธุ์ชาวฝรั่งเศสได้ทำการคงไว้ซึ่งเชื้อสายของบิชอง ฟริเซ่ เช่นเดียวกันกับสายพันธุ์ลาบราดอร์ (Labradors) อันที่จริงสายพันธุ์นี้เกือบจะสูญพันธุ์ไปแล้วในช่วงของการฟื้นฟูประเทศ อย่างไรก็ตามผู้เพาะพันธุ์สามารถปรับปรุงสายพันธุ์ของบิชอง ฟริเซ่ สร้างชื่อเสียงให้กับสุนัข และได้ทำการส่งออกไปยังทวีปอื่น ๆ โดยสุนัขสายพันธุ์บิชอง ฟริเซ่ได้เข้ามาในประเทศสหรัฐอเมริกาช่วงกลางศตวรรษที่ 20 และได้รับการยอมรับจาก AKC ในปี 1975 ลักษณะทางกายภาพ บิชอง ฟริเซ่ เป็นสุนัขขนาดเล็กที่มีน้ำหนักประมาณ 5 […]

ดัชชุน (Dachshund) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ดัชชุน Dachshund ได้รับการพัฒนามาจากสุนัขแบดเจอร์ที่เรียกว่า “ดอกซี่ (Doxie)” มีต้นกำเนิดมาจากประเทศเยอรมนีตั้งแต่ก่อนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15 เริ่มแรกสุนัขพันธุ์ดัชชุนเป็นสุนัขสำหรับล่าสัตว์ โดยต้นกำเนิดของสุนัขพันธุ์นี้มาจากสุนัขขนาดใหญ่ (ช่วงน้ำหนัก 10-20ปอนด์) พวกมันล่าทุกอย่างที่อยู่ในป่า ไม่ว่าจะเป็นหมูป่าไปจนถึงกระต่ายขนาดเล็ก แถมยังขึ้นชื่อว่ามีความคล่องแคล่วและล่าสัตว์เก่ง เมื่อพูดถึงสุนัขบรรพบุรุษในประเทศเยอรมนีช่วงคริสต์ศตวรษที่ 18 และ 19 นายพรานหรือกลุ่มที่เลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้ ได้พัฒนาประสิทธิภาพของสายพันธุ์ และสร้างธุรกิจการล่าสัตว์จากสุนัขพันธุ์ดัชชุนให้มีความสามารถที่สมบูรณ์เหมาะเเก่การใช้งาน ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดัชชุนได้รับความนิยมเลี้ยงจากเหล่าราชวงศ์โดยเฉพาะพระราชินีวิกตอเรีย ทำให้นักเพาะพันธุ์มีการพัฒนาสุนัขพันธุ์ดัชชุน (Dachshund) ให้มีความเป็นสัตว์เลี้ยงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของขนาดให้เหลือเฉลี่ยประมาณ 10 ปอนด์ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าสุนัขล่าสัตว์ หลังจากมีการพัฒนาสายพันธุ์ได้มีการส่งออกสุนัขไปยังประเทศสหรัฐอมเริกา ก่อนที่สุนัขพันธุ์ดัชชุนจะเป็นที่รู้จักเเละได้รับความนิยมเลี้ยงในปัจจุบัน ลักษณะทางกายภาพ โดยทั่วไปสุนัขพันธุ์ดัชชุนมีลำตัวยาว มีกล้ามเนื้อเยอะ มีขาที่สั้นและอวบอ้วน อุ้งเท้าไม่ใหญ่มากมีรูปร่างคล้ายใบพายไว้ใช้สำหรับการขุดคุ้ย พวกมันมีผิวหนังที่หย่อนมากพอที่จะไม่ฉีกขาดเมื่อผ่านโพรงไม้แคบ ๆ ขณะล่าเหยื่อ ดัชชุนมีช่องอกลึก เพื่อให้มีพื้นที่ในการขยายของปอดมากเพียงพอในขณะวิ่งล่าสัตว์ มีส่วนหน้าของจมูกยาว ร่วมกับมีบริเวณส่วนของจมูกกว้าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดมกลิ่น พวกมันมีทั้งหมด 3 กลุ่ม แบ่งตามลักษณะของขน คือ ขนสั้น เรียกว่า smooth  […]

เวลช์ คอร์กี้ (Welsh corgi) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ Welsh corgi (เวลช์ คอร์กี้) เป็นสุนัขพันธุ์เล็ก คำว่า Corgi มาจากคำว่า Cor + gi ซึ่งในภาษาเวลส์ Cor (คอร์) มาจาก cur หมายถึง แคระ และ gi (กี้) มาจาก ci (ย่อมาจาก Cymreig) มีความหมายว่า สุนัข มีถิ่นกำเนิดมาจากเเคว้นเวลส์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ The Pembroke Welsh Corgi (พ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้) และ The Cardigan Welsh Corgi (คาร์ดิแกน เวล์ช คอร์กี้) แต่ที่นิยมในบ้านเราคือพันธุ์ พ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้ โดยทั้ง 2 […]