เทคนิคทำผิวสนิมให้สวยทน โชว์เสน่ห์อินดัสเทรียลลอฟต์

การโชว์ให้เห็นสภาพจริงของผิววัสดุ เป็นนิยามความดิบที่มีเสน่ห์ของสไตล์อินดัสเทรียลลอฟต์มักเลือกใช้ โดยเฉพาะวัสดุอย่าง “เหล็ก” ที่มักเป็นส่วนประกอบหนึ่งของการตกแต่ง เพื่อแสดงถึงความแข็งแกร่ง ดุดัน และความมีตัวตน และจะยิ่งมีเสน่ห์มากขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อปรากฏสีส้มสนิมที่สวยงามแปลกตา สำหรับใครที่หลงใหลในเสน่ห์แห่งความไม่สมบูรณ์ของวัสดุ สู่ความงามของเนื้อแท้ งานเหล็กสีสนิมจึงนับเป็นอีกลูกเล่นหนึ่งที่คาเฟ่ หรือร้านอาหารหลาย ๆ แห่งเลือกนำมาใช้ตกแต่งสถานที่ วันนี้ room จึงมี เทคนิคทำผิวสนิม ให้สวยทนทานมาฝากว่ามีขั้นตอน และวิธีการอย่างไร เพื่อคงสภาพสีสันตามอย่างที่ต้องการไว้ให้คงทนยาวนาน เริ่มจากทำการล้างผิววัสดุ แล้วเคลือบด้วยกรดเกลือ (กรดไฮโรคลอริก HCI) ทิ้งไว้ เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาการกัดกร่อนระหว่างสารเคมีกับเหล็ก เสร็จแล้วล้างออก วิธีนี้จะทำให้วัสดุเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ เมื่อทิ้งไว้นาน ๆ กลายเป็นสีส้มสนิมที่สวยงามแปลกตา แล้วจึงค่อยทาน้ำยาเคลือบเพื่อหยุดปฏิกิริยาของการเกิดสนิมและคงสภาพสีสันแบบแผ่นเหล็กที่ชอบ หรือหากพื้นผิวเป็นไม้ละ เราก็สามารถตกแต่งสีให้ดูเหมือนสนิมได้เช่นกัน ด้วยการเพ้นต์สีโครเมียม หรือโลหะลงไปบนพื้นผิว จากนั้นใช้แปรงชุบสีเทาและดำปัดไปมาให้เกิดเส้นทีแปรงบาง ๆ สีสันไม่สม่ำเสมอกัน เป็นเสน่ห์ดิบ ๆ ให้พื้นผิวส่วนต่าง ๆ ของบ้านได้ นอกจากสีสนิมเหล็กแล้ว สีสนิมเขียว สนิมทองแดง สีแตกลายงาต่าง ๆ เราก็สามารถใช้สเปรย์พ่นเฉพาะจุดให้เกิดสีสนิมประเภทต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย […]

SAP’ON HEARTFULNESS CENTRE บูติกโฮเทลเวียดนาม กับการเอาชนะพื้นที่แคบลึกแบบสะใจ

Sep’on Heartfulness Centre บูติกโฮเทลเวียดนาม ในพื้นที่แคบลึก กับโจทย์การสร้างสุนทรียภาพด้านมุมมองและการพักผ่อนที่เต็มอิ่ม บูติกโฮเทลเวียดนาม ขนาด 600 ตารางเมตร กับอาคารโชว์โครงสร้างสัจวัสดุที่เรียงตัวไปตามแนวที่ดินนี้ เลือกเชื่อมต่อมุมมองเข้ากับวิวทิวทัศน์ และวิถีชีวิตของผู้คนของเมืองญาจาง เมืองท่องเที่ยวสำคัญริมชายฝั่งทางใต้ของประเทศเวียดนาม ผ่านการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมให้มีทั้งความเรียบง่าย และกลมกลืนไปกับบริบทของเมือง แม้จะอยู่ในพื้นที่ที่จำกัดก็ตาม สตูดิโอออแบบ 324Praxis architects จึงเอาชนะความท้าทายนั้นด้วยการดึงข้อด้อยด้านพื้นที่ให้กลายเป็นจุดเด่น สร้างภาพจำผ่านเปลือกอาคารให้แก่ผู้ได้พบเห็น อย่างระเบียงขนาดเล็กตรงมุมอาคาร รวมถึงการเน้นใช้วัสดุที่เอื้อต่อการเปิดกว้างด้านพื้นที่ เพื่อเปิดมุมมองไปยังฝั่งที่ไร้ซึ่งอาคารใด ๆ มาบดบังสายตาให้กลายเป็นจุดเด่น และนำพาแสงธรรมชาติ และลมให้เข้ามาภายในอาคารมากที่สุด พื้นที่ใช้งานจึงสว่างปลอดโปร่ง ทั้งยังมอบประสบการณ์การพักผ่อนผ่านมุมมองเพื่อผู้ใช้งานภายในอาคารได้มีปฏิสัมพันธ์ และเชื่อมต่อถึงกันได้ผ่านพื้นที่เปิดโล่ง โดยสามารถมองเห็นทิวทัศน์จากด้านล่างจรดด้านบน หรือจากสวนด้านล่างแล้วมองขึ้นไปเห็นมวลเมฆบนท้องฟ้า พื้นที่เปิดโล่งนี้ประกอบด้วยฟังก์ชันที่กระจายตัวในแนวตั้ง อันเป็นการจัดการพื้นที่อย่างชาญฉลาดภายใต้ข้อจำกัดของรูปทรงที่ดิน ตัวอาคารโครงสร้างคอนกรีต 5 ชั้น ชั้นล่างออกแบบให้มีพื้นที่นั่งเล่นแบบคาเฟ่ และบาร์ 6 ที่นั่ง ยินดีต้อนรับทั้งคนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวให้เข้ามาใช้เวลาร่วมกัน ท่ามกลางบรรยากาศสบาย ๆ ในวงล้อมของแมกไม้สีเขียว ไหลขึ้นไปยังพื้นที่ชั้นลอย ผ่านบันไดเหล็กที่ช่วยให้พื้นที่ดูโปร่ง สำหรับขึ้นไปอ่านหนังสือ และพักผ่อน ช่วยให้แขกได้ดื่มด่ำกับบรรยากาศเปิดโล่ง และเชื่อมต่อกับสภาพแวดล้อมในมุมสูง ขณะที่ชั้น 3 […]

PUSAYAPURI HOTEL จากประวัติศาสตร์เมืองอู่ทอง ต่อยอดสู่โรงแรมใหม่สุพรรณบุรี

เพราะประวัติศาสตร์ช่วยให้มนุษย์รู้จักตัวเอง นั่นจึงมีความหมายอย่างยิ่งกับผู้คนในท้องถิ่นอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ก่อนนำมาสู่โปรเจ็กต์การออกแบบ ปุษยปุรี Pusayapuri HOTEL เพื่อให้เป็นมากกว่าแค่ที่พัก แต่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ประจำเมือง เพื่อช่วยเชื่อมโยงไปสู่ประวัติศาสตร์ของเมืองอู่ทองที่มีอายุยาวนานกว่าสองพันปี สู่ที่มาของการออกแบบโรงแรม ปุษยปุรี Pusayapuri HOTEL ผู้รับหน้าที่ออกแบบอย่าง EKAR Architects นำโดยคุณหนึ่ง-เอกภาพ ดวงแก้ว ทีมสถาปนิกได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลอย่างจริงจัง ก่อนนำมาซึ่งแนวคิดและเอกลักษณ์ด้านงานดีไซน์ ที่สร้างสรรค์จนเกิดเป็นอาคารสถาปัตยกรรมอันมีเอกลักษณ์น่าจดจำแห่งนี้ ต่อยอดจากประวัติศาสตร์ที่หลงเหลือ จากการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลก่อนเริ่มต้นโปรเจ็กต์การออกแบบ คุณหนึ่ง-เอกภาพ ดวงแก้ว แห่ง EKAR Architects ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นและกระบวนการทำงานของทีมสถาปนิกให้ฟังว่า “การออกแบบครั้งนี้ ว่าด้วยเรื่องของเมือง และเรื่องราวของประวัติศาสตร์ ซึ่งอำเภออู่ทองเคยเป็นเมืองก่อนประวัติศาสตร์มาก่อน แต่คล้าย ๆ เป็นเมืองเก่าที่ถูกมองข้ามไป เป็นประวัติศาสตร์ที่คนหลงลืม คนในท้องถิ่นจึงช่วยกันเล่าเรื่องราวในท้องถิ่นของตนเอง จะเห็นว่ามีทั้งพิพิธภัณฑ์ มีสถานที่ท่องเที่ยวอย่าง พระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ พระแกะสลักจากหน้าผาหิน แลนด์มาร์กใหม่ของสุพรรณฯ มีซากเจดีย์ลำดับต่าง ๆ ที่เราไปตระเวนดู พอไปถึงแต่ละที่ ก็จะเห็นว่าบางที่ดูเผิน ๆ ก็เหมือนเป็นสนามหญ้าเฉย ๆ พอดูดี ๆ ถึงจะเห็นกองอิฐที่เหลืออยู่ไม่มาก […]

IN MY ELEMENT CAFE รวมองค์ประกอบความสุขในคาเฟ่ปูนดิบเท่

In My Element Cafe คาเฟ่คอนกรีตเปลือยรูปทรงเรขาคณิตสไตล์ Brutalist ดิบเท่ไร้การปรุงแต่ง กลางย่านราชพฤกษ์ แปลกตาด้วยรูปทรงคล้ายโดม หรือปล่องควันอย่างโรงงานอุตสาหกรรม เล่นสนุกกับประสบการณ์และจินตนาการของผู้พบเห็นแบบไม่ตีกรอบ คล้ายกับกำลังมาชมงานศิลปะ ความดิบปนเท่ของคอนกรีตเปลือยและรูปทรงเรขาคณิต ภายใต้การตกแต่งที่เน้นสีโมโนโทนเรียบนิ่ง เป็นเสน่ห์ที่คุณดารัตน์ โรจนภักดี เจ้าของคาเฟ่ In my Element Cafe ชื่นชอบและยังช่วยสะท้อนตัวตนของเธอได้อย่างดี โดยในความหมายของชื่อ In My Element ที่เธอคิดขึ้นนั้นคือการนำพาองค์ประกอบที่ใช่และถูกใจมาใส่ไว้ที่เดียว หรืออีกนัยหนึ่งคำว่า Element ยังหมายถึงธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ดังนั้นสถาปัตยกรรมที่ไร้การปรุงแต่ง หรือสัจวัสดุจึงเป็นอีกนิยามของธรรมชาติ เพื่อให้คอนเซ็ปต์มีความชัด เราจึงได้เห็นไอเดียการดึงแสงธรรมชาติจากภายนอกเข้ามาสู่ภายใน นับเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ออกแบบให้ความสำคัญ ผ่านการออกแบบผนังเป็นช่องแสงทั้งสี่เหลี่ยมและครึ่งวงกลม มีมุมไฮไลต์คือสวนหย่อมขนาดเล็ก โดดเด่นด้วยต้นแก้วเจ้าจอม ที่ตัดแต่งทรงพุ่มกลมสวยงาม มีใบสีเขียวอ่อนช่วยลดความดิบกระด้างของอาคารคอนกรีต หลังคาด้านบนซึ่งเป็นส่วนของปล่องอาคารที่สูงขึ้นไปนั้น ออกแบบให้มีช่องแสงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่สามารถมองเห็นท้องฟ้าและนำแสงแดดลอดผ่านลงมาถึงเรือนยอดของต้นไม้ได้อย่างพอดี โดยแสงแดดนี้จะเปลี่ยนองศาไปตามแต่ละช่วงเวลาและฤดูกาล เรียกว่าในแต่ละวันความงามของมุมนี้แทบจะไม่ซ้ำกันเลย จึงเป็นมุมที่ทุกคนมักมาถ่ายรูป โคนต้นปลูกประดับไม้พุ่มขนาดเล็ก และจัดวางประติมากรรมก้อนหิน พื้นโรยหินกรวดและปูแผ่นคอนกรีต เช่นเดียวกับพื้นสวนเอ๊าต์ดอร์ด้านนอก นอกจากนี้ สถาปนิกยังสร้างสรรค์ลวดลายธรรมชาติให้ปรากฏลงบนพื้นผิวต่าง […]

PROTAGONIST BAR คาเฟ่กึ่งบาร์ที่มี “สัจวัสดุ” เป็นพระเอก

คาเฟ่กึ่งบาร์ ที่แปลชื่อได้ว่า “ตัวเอก” มีโจทย์อยู่ที่การสร้างพื้นที่โดยใช้ “สัจวัสดุ” ซึ่งได้กลายมาเป็นงานออกแบบตัวเอกของสถานที่นี้ พื้นที่ภายในเน้นบรรยากาศเผยให้เห็นความเป็น สัจวัสดุ ซึ่งเป็นร่องรอยโครงสร้างดั้งเดิม ทั้งการฉาบฝ้าเพดาน พื้นผิวคอนกรีตมองเห็นรอยที่เคยปูกระเบื้อง เเละเนื้อปูนที่เชื่อมประสานอิฐแต่ละก้อน แล้วจัดสรรสเปซเพื่อให้สอดรับกับฟังก์ชันการใช้งานมากที่สุด เพราะให้ความสำคัญกับเสียงเพลงและดีเจเป็นพิเศษ นอกจากจะออกแบบระบบเสียงอย่างดีแล้ว บู๊ธดีเจของที่นี่ยังแสดงถึงกลิ่นอายวินเทจนิด ๆ ด้วยการนำสเตอริโอโบราณจากยุคโซเวียตมาตัดครึ่งแล้วขยายออก ก่อนเติมดีเทลความเป็นโมเดิร์นลงไป จนกลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเอกของพื้นที่ส่วนที่เป็นจุดโฟกัสของสเปซอย่างพื้นที่รับประทานอาหารส่วนกลาง เลือกใช้โต๊ะอาหารแบบยาววางกลางห้อง เปิดมุมมองออกสู่หน้าต่างบานกว้างแบบพานอรามา เหนือโต๊ะเป็นประติมากรรมโคมไฟขนาดยักษ์ตีกรอบล้อมรอบด้วยผิวเมทัลลิกมันวาว พื้นที่ส่วนกลางนี้ประกบข้างด้วยบาร์เต็มรูปแบบอยู่ฝั่งซ้ายมือของโต๊ะ และผืนผนังบล็อกแก้วที่สะท้อนความเป็นไปภายในร้านผ่านแสงและสีสัน ทั้งหมดนี้สามารถมองเห็นรายละเอียดการตกแต่งที่เรืองรองออกมาจากกล่องหน้าตาธรรมดาตรงบริเวณหัวมุมถนนโดดเด่นกว่าใคร    Idea to Steal เปลี่ยนจากเครื่องใช้ไฟฟ้าวินเทจให้กลายเป็นพร็อปส์ตกแต่งสุดเก๋ด้วยการทดลองตัด ต่อ และเติม ข้อมูล ที่ตั้ง เมืองคาร์คิฟ ประเทศยูเครน ออกแบบ : belbek bureau เวลาทำการ : ทุกวัน 10.00 น. – 02.00 น. IG: prtgnst.bar    

LA CASA DEL SAPO บ้านชั้นเดียว ริมทะเล ผสานทุกอณูเพื่อเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ

บ้านชั้นเดียว ริมทะเล ของสองนักเขียน สำหรับไว้ใช้พักผ่อนและตามหาแรงบันดาลใจ ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างกลมกลืนไปกับธรรมชาติอันบริสุทธิ์ เพื่อสะท้อนบริบทของที่ตั้งซึ่งอยู่ริมชายฝั่งทะเลในรัฐ Oaxaca ประเทศเม็กซิโก ตัวอาคารของ บ้านชั้นเดียว ที่วางแปลนไว้อย่างดีนี้ มีไอเดียมาจากภาพของก้อนหินขนาดใหญ่ริมทะเล ซึ่งเป็นวิวทิวทัศน์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชายฝั่งโออาซาเกญา ก่อนนำมาถ่ายทอดเป็นอาคารจากคอนกรีตหล่อในที่ ผสมผสานกับวัสดุอื่น ๆ อย่าง เหล็ก อิฐ และไม้เนื้อแข็ง โดยทีมออกแบบจาก Espacio 18 Arquitectura  ตั้งใจเผยผิวสัมผัสอันแท้จริงไร้การปรุงแต่ง เป็นความงามแบบไร้กาลเวลา และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อม ๆ กับการออกแบบพื้นที่ใช้งานให้มีความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนไปตามวิถีความเป็นอยู่ของสองนักเขียนผู้เป็นเจ้าของบ้าน    แม้ในบางวันที่อาจมีเพื่อน ๆ มาปาร์ตี้สังสรรค์ ที่นี่ก็มีบรรยากาศดีจนใคร ๆ ต่างต้องอิจฉา ไม่ว่าจะเป็นสระน้ำส่วนตัวที่สามารถทอดสายตามองวิวทะเลได้สุดชิล ใกล้เคียงยังมีสวนผลไม้ และมีกิจกรรมให้ท่องเที่ยว โดยยังคงเคารพบริบทของชุมชนและธรรมชาติ ระหว่างที่วันเวลาและฤดูกาลค่อย ๆ เคลื่อนไป ธรรมชาติจะค่อย ๆ ผสานกลมกลืนไปกับ La casa del sapo นั่นคือสิ่งที่เจ้าของบ้านต้องการ เปรียบเสมือนได้ถูกธรรมชาติเข้าโอบกอด ส่งต่อพลังงานความสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจ […]

บ้าน “อิฐบล็อก” สวยโดยไม่ต้องโดนฉาบ

บ้านสีเทาที่ดูเหมือนสร้างไม่เสร็จ (ในสายตาคนอื่น) แท้จริงแล้วมีเสน่ห์อย่างไร room มีตัวอย่างบ้านต่างประเทศสวย ๆ ที่ก่อสร้างขึ้นจาก อิฐบล็อก วัสดุสุดเรียบง่ายที่เราคุ้นเคยกันอย่างดีมาฝาก โดยเฉพาะใครที่กำลังอยากสร้างบ้านสไตล์ลอฟต์โชว์ผิววัสดุดิบ ๆ การฉาบปิดผิวสุดเนี้ยบในขั้นตอนสุดท้าย ก่อนงานทาสีเก็บรายละเอียดจึงแทบไม่จำเป็น เพราะแค่เผยผิวแบบไร้สิ่งปรุงแต่ง แค่นั้นก็สวยได้โดยไม่ต้องโดนฉาบเลย เพราะเสน่ห์ของบ้านที่สร้างจาก อิฐบล็อก คือการโชว์ผิวให้แพตเทิร์นที่เกิดจากการเรียงต่อกันนั้น กลายเป็นลวดลายตกแต่งอาคารไปในตัว นอกจากนั้นใน อิฐบล็อก แต่ละก้อนจะมีรูตรงกลาง จึงเป็นเหมือนฉนวนกันความร้อนได้ดี และด้วยขนาดของก้อนที่ใหญ่ในขั้นตอนการก่อสร้างจึงสามารถแล้วเสร็จได้อย่างรวดเร็ว แถมเป็นวัสดุที่คุ้นมือช่าง ที่สำคัญมีราคาถูก ” อิฐบล็อก ”  จึงถือเป็นวัสดุที่น่าสนใจ หากนำมาก่อสร้างด้วยไอเดียสร้างสรรค์ รับรองว่าบ้านอิฐบล็อกก็สามารถสวยได้ ไม่แพ้บ้านที่สร้างด้วยวัสดุอื่นเลย k59 Home and Atelier   บ้านอิฐบล็อกที่อยู่สบายในสภาพอากาศแบบมรสุมเขตร้อนของเวียดนาม ด้วยสภาพบ้านที่เป็นตึกแถว สถาปนิกจึงเลือกปรับตัวเองเข้าหาสภาพแวดล้อม โดยใช้โครงสร้างคอนกรีตและผนังคอนกรีตบล็อก รวมกับองค์ประกอบของงานไม้ เสริมบรรยากาศภาพรวมของบ้านให้ดูสบาย พร้อม ๆ กับการออกแบบที่เน้นให้แสงและลมพัดผ่านเข้าสู่ตัวบ้านได้ อย่างการออกแบบช่องว่างของอาคารและเพดานสูงโปร่งแบบดับเบิ้ลสเปซ ช่วยให้มีพื้นที่ลื่นไหลเชื่อมโยงกันอย่างอิสระ พร้อมพื้นที่สีเขียวริมระเบียงช่วยกรองฝุ่นและเสียงรบกวนได้อย่างดี Mipibu House บ้านอิฐบล็อกที่ชื่อว่า Mipibu House […]

HOUSE BETWEEN BLOCKS หยิบคอนกรีตบล็อกสุดธรรมดา มาประกอบเป็นบ้านแบบโปร่งโล่ง

บ้านคอนกรีตบล็อก หลังนี้ ตั้งอยู่ที่เมืองบาบาโอโย ประเทศเอกวาดอร์ เมืองที่บ้านเรือนส่วนใหญ่อาศัยในรูปแบบของตึกแถว หรืออาคารพาณิชย์ มีลักษณะหน้าแคบตอนลึกยาว อันเป็นสาเหตุให้แสงธรรมชาติส่องไปถึงและไม่สามารถระบายอากาศได้ จึงกลายมาเป็นความท้าทายของผู้ออกแบบในการแก้ปัญหาเหล่านี้ ที่ตั้งของ House Between Blocks บ้านคอนกรีตบล็อก อยู่ในที่ดินขนาด 7×10 เมตร ซึ่งเป็นของนักออกแบบสื่อสารเกี่ยวกับเสียงและวิชวล ที่เน้นทำงานอีเว้นต์เกี่ยวกับวัฒนธรรม ที่ได้รับการออกแบบให้มีสภาวะน่าสบายเหมาะแก่การทำงานและอยู่อาศัย สถาปนิกเลือกใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่และคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอย่าง “คอนกรีตบล็อก” มาเรียงสับหว่างในส่วนของกำแพงด้านหน้า ส่วนประตูและหน้าต่างเลือกใช้วัสดุทั่วไปอย่าง ไม้ กระจก และเหล็ก ทั้งยังเลือกใช้ชายคาแบบโปร่งแสงเพื่อยอมให้แสงธรรมชาติสาดส่องเข้ามายังพื้นที่ภายในได้ หน้าต่างมีหน้าบานกว้างช่วยเสริมการระบายอากาศ เหมาะกับสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของพื้นที่ รวมไปถึงการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ขนาดกะทัดรัดเพื่อประหยัดพื้นที่ เกิดการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าที่สุด            บ้านหลังนี้จึงเป็นตัวอย่างของการการอยู่อาศัยแบบพอดีและการออกแบบที่ยั่งยืน ด้วยการใช้วัสดุที่ใช้พลังงานในกระบวนการผลิตให้น้อย และสามารถก่อสร้างได้ด้วยฝีมือช่างท้องถิ่น เรียกว่าเป็นการดึงศักยภาพของสิ่งที่มีในชุมชนออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ออกแบบ : Natura Futura Arquitectura ภาพ : JAG Studio เรียบเรียง : BRL

MIPIBU HOUSE บ้านอิฐบล็อก ทึบนอก โปร่งใน

บ้านอิฐบล็อก หลังนี้  คือบ้านบนที่ดินที่มีพื้นที่ในลักษณะยาวและแคบ ทำให้ผู้ออกแบบต้องแก้ปัญหาพื้นที่แคบและลึกของที่ดินแปลงดังกล่าว ด้วยการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยเบิ้ลเป็นสองเท่า บดบังสายตาจากภายนอกด้วยการออกแบบตัวอาคารด้านนอกให้ทึบแต่โปร่งใน ช่วยแก้ปัญหาเขตรั้วชิดบ้านเรือนเคียงให้เกิดความเป็นส่วนตัวอย่างชาญฉลาด ด้วยที่ตั้งของ บ้านอิฐบล็อก Mipibu House ซึ่งอยู่ในเมืองเซา เปาโล ประเทศบราซิล มีมูลค่าของที่ดินที่มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทีมออกแบบจาก Terra e Tuma | arquitetos associados จึงต้องเน้นการสร้างสถาปัตยกรรมเพื่อการอยู่อาศัยที่ดีสำหรับเจ้าของบ้าน เพื่อให้พื้นที่ใช้สอยทุกตารางนิ้วเป็นไปอย่างคุ้มค่าสูงสุด  เห็นได้จากการจัดสรรพื้นที่ใช้งานขนาดแคบแค่เพียง 5.6 x 30 เมตร ให้ยกระดับพื้นที่ด้านหน้าขึ้นเล็กน้อย เพื่อตัดการรบกวนจากอาคารรอบ ๆ ในระยะประชิด ประกอบกับความท้าทายของทีมออกแบบที่ต้องพบกับโปรแกรมมากมายสำหรับพื้นที่แห่งนี้ แต่ท้ายที่สุดพวกเขาก็กำหนดพื้นที่ใช้งานออกมาได้มากถึง 170 ตารางเมตรเลยทีเดียว เมื่อพิจารณาถึงบริบทในแนวดิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากที่ตั้งของที่ดินนั้นรายล้อมไปด้วยบ้านเรือนของเพื่อนบ้าน บ้านหลังนี้จึงออกแบบโดยตั้งต้นจากภายใน เปิดพื้นที่ให้โปร่งโล่ง แล้วปิดล้อมด้วยกำแพงอิฐบล็อกให้ทึบสนิทที่สุด สร้างคอร์ตยาร์ดสองจุดกลางบ้านเพื่อให้แสงสว่างที่จำเป็นส่องผ่านมายังพื้นที่ภายในอาคารอย่างทั่วถึง เพื่อการระบายอากาศที่ดี รวมถึงเพื่อเป็นตัวกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างเป็นสัดส่วนและมีคุณภาพที่เหมาะกับการใช้งานจริง แต่การตัดสินใจของผู้อาศัยที่สถาปนิกไม่คาดคิดอีกหนึ่งสิ่ง ก็คือการเลือกวางตำแหน่งของห้องนอนไว้ที่ชั้นล่าง แทนที่จะยกขึ้นไปไว้บนชั้นสองตามปกติทั่วไป ทั้งนี้ก็เพื่อความเป็นส่วนตัวและเงียบสงบ โดยตำแหน่งของห้องนอนได้ถูกวางให้เชื่อมกับคอร์ตยาร์ดที่ออกแบบให้เกิดเป็นบ่อน้ำเล็ก ๆ เพิ่มความเย็นให้กับบ้าน ส่วนคอร์ตยาร์ดอีกจุดหนึ่งได้วางตำแหน่งให้เชื่อมต่อกับครัว เป็นมุมพักผ่อนกลางแจ้งที่สามารถยกเก้าอี้ไปนั่งพักผ่อนได้จริง   […]

CASA NAKASONE บ้านอิฐเปลือยผิวในบริบทเเบบเม็กซิโก

บ้านอิฐ เปลือยผิว ขนาด 100 ตารางเมตร แห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ชานเมืองเม็กซิโกซิตี เด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุที่มีอยู่เเล้วในพื้นที่อย่าง “อิฐมอญ” มาใช้ในการสร้างบ้าน เพื่อประหยัดงบประมาณการก่อสร้าง และง่ายต่อการทำงานกับช่างในท้องถิ่น เเม้อิฐมอญจะเป็นวัสดุธรรมดา ๆ แต่ผลที่ได้กลับเป็นบ้านที่สื่อถึงเอกลักษณ์พื้นถิ่นได้อย่างน่าสนใจ เอื้อต่อการอยู่อาศัยอย่างเเท้จริง ในขั้นตอนการทำงานออกเเบบ บ้านอิฐ หลังนี้สถาปนิกได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับช่างในท้องที่ถึงวิธีการก่อสร้าง จนได้บ้านอิฐที่มีโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กล้อมรอบคอร์ตกลางบ้านเอาไว้ ส่วนหนึ่งก็ด้วยเหตุผลในแง่ของความเป็นส่วนตัว เผื่อว่าในอนาคตที่ดินรอบ ๆ บ้านอาจเกิดงานก่อสร้างอื่น ๆ หรือมีความพลุกพล่านวุ่นวายตามมาในอนาคต อย่างน้อยบ้านหลังนี้ก็ยังมีพื้นที่คอร์ตยาร์ดอยู่ภายในสำหรับใช้พักผ่อนหย่อนใจ จุดเด่นของบ้านนี้นอกจากการเลือกใช้วัสดุธรรมดาที่หาได้ง่ายเเล้ว ยังให้ความสำคัญในเรื่องของเเสงเงา เห็นได้จากบันไดหลักของบ้านที่มีสกายไลต์อยู่ด้านบน ช่วยเปิดให้แสงธรรมชาติค่อย ๆ ฉาบไล้ลงมายังพื้นที่ภายในบ้าน ผ่านผนังหินภูเขาไฟที่สถาปนิกเลือกนำมาใช้ เกิดเป็นเฉดสีของเเสงเงาที่แบ่งจังหวะของพื้นที่ต่าง ๆ ออกจากกัน ส่วนบานกระจกที่ใช้เป็นประตูบ้าน นอกจากจะเปิดให้แต่ละสวนสามารถมองเห็นกันได้สะดวกแล้ว ยังปล่อยให้แสงเข้าสู่ตัวบ้านได้ในบางจุด ช่วยให้ภาพของอิฐที่ดูหนักเกิดจังหวะที่ดูโปร่งขึ้น ขณะที่พื้นที่ชั้นล่างออกแบบเป็นส่วนรับแขก ครัว คอร์ตยาร์ด และส่วนรับประทานอาหาร ชั้นบนเป็นพื้นที่ส่วนตัวอาทิ ห้องนอน ห้องทำงาน และห้องน้ำ โดยแบ่งห้องนอนออกเป็นสองปีกล้อมคอร์ตกลางไว้ ซึ่งคอร์ตนี้ออกแบบไว้เผื่อกรณีที่เจ้าของบ้านต้องการต่อเติมพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้อีก เเละนี่ก็คือบ้านอิฐเปลือยที่มีการเล่นกับพื้นที่ รวมถึงการให้แสงธรรมชาติเข้ามามีบทบาทในแต่ละจุดได้อย่างน่าสนใจ […]

บ้านปูนขนาดเล็ก ที่มีฟาซาดเป็นเหล็กกับพื้นที่เปิดโปร่งภายใน

เนรมิตพื้นที่จำกัดให้กลายเป็น พื้นที่เฉพาะ โดยใส่ฟังก์ชันการใช้งานลงไปอย่างเต็มที่ มีการออกแบบที่เอื้อต่อการใช้งานพื้นที่เล็กๆให้รู้สึกสบายบ้านหลังใหญ่