หญ้าถอดปล้องน้อย

หญ้าถอดบ้องน้อย/Himalayan Horsetail/Tropical Horsetail ชื่อวิทยาศาสตร์: Equisetum diffusum D.Don วงศ์: Equisetaceae ประเภท: พืชคล้ายเฟิน โผล่เจริญเหนือน้ำ ลำต้น: มีเหง้าใต้ดิน เจริญเป็นพุ่มสูง 20-30 เซนติเมตร ลำต้นเหนือดินกลมเรียวยาว สีเขียวเข้ม มีขนาด 2-5 มิลลิเมตร มีข้อปล้องเห็นชัดเจน ภายในกลวง ผิวเป็นร่องตื้น  ใบ: ใบลดรูปเป็นเกล็ดเล็กๆ เรียงรอบข้อ แตกกิ่งก้านข้อละ 6-7 กิ่ง มีอวัยวะสืบพันธุ์รูปทรงกรวยที่ปลายลำ ลักษณะกลมรี       อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินเหนียว แสงแดด: แสงแดดครึ่งวัน น้ำ: มาก การขยายพันธุ์: แยกกอ การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกบริเวณริมลำธาร หรือปลูกเป็นไม้กระถาง

แสงอรุณ

Coneflower   ชื่อวิทยาศาสตร์: Rudbeckia laciniata L. วงศ์: Asteraceae ประเภท: ไม้ดอกอายุสั้น ลำต้น: พุ่มสูง 0.50-1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน ใบ: ใบออกเป็นกอหนาแน่นที่โคนต้น ใบด้านล่างรูปไข่หยักเว้าลึกเป็น 3 พู ขอบจักฟันเลื่อย ใบด้านบนรูปรีแกมไข่ ปลายแหลม มีขนทั้งสองด้าน ดอก: ดอกออกเป็นช่อกระจุกเดี่ยว ก้านช่อดอกยาว ดอกชั้นเดียว ขนาด 5-7 เซนติเมตร กลีบดอกวงนอกรูปขอบขนาน สีเหลืองทอง ลู่ไปทางด้านหลังเล็กน้อย กลีบดอกวงในเป็นหลอดกระจุกนูนรูปโดม สีน้ำตาลเข้ม ดอกบาน 1-2 วัน กลีบดอกสีเหลืองจะทยอยร่วงไป เหลือแต่ดอกวงในที่นูนเป็นรูปโดม จึงเป็นที่มาของชื่อ Coneflower ซึ่งจะคงรูปอยู่อย่างนั้นจนติดเมล็ดแล้วร่วงไป อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ชอบดินร่วนปนทรายระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดจัด น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกกอ เพาะเมล็ด […]

บัวหลวง

 Lotus ชื่อวิทยาศาสตร์: Nelumbo nucifera Gaertn. วงศ์: Nelumbonaceae ประเภท: ไม้อยู่เหนือน้ำ ลำต้น: มีเหง้าใต้ดิน ใบ: รูปกลมใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 15-40 ซม. สีเขียว มีนวลเคลือบ ก้านใบชูเหนือน้ำ ดอก: มีหลายพันธุ์ ทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน สีขาวหรือสีชมพู กลีบดอกใหญ่ กลางดอกมีฐานรังไข่และเกสรจำนวนมากและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ตอนเช้าหรือกลางคืน ก้านดอกยาวชูขึ้นเหนือน้ำและมีหนามเล็กๆ ออกดอกตลอดปี แต่ดกในฤดูร้อนและฤดูฝน ดิน: ดินเหนียวที่มีอินทรียวัตถุสูง เจริญได้ดีที่ระดับน้ำ 15-30 ซม. แสงแดด: ครึ่งวันถึงเต็มวัน ขยายพันธุ์: แยกหนิ่เหง้า การใช้งานและอื่นๆ: กลีบดอกทั้งขาวและชมพูชุบแป้งทอดจิ้มซอสพริก กลีบดอกเป็นยาฝาดสมาน เกสรดอกเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของเกสรทั้งห้า ที่มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ชาวมาเลเซียใช้กลีบดอกชั้นในตำพอกแก้โรคซิฟิลิส ชาวชวาใช้แก้ท้องร่วง บัวเข็มชมพู บัวไต้หวัน บัวปักกิ่งชมพู บัวหลวงจีน ชื่อวิทยาศาสตร์ Nelumbo nucifera Gaertn. var. pekinese […]

กกธูป

กกช้าง/ธูปฤาษี/ปรือ/เฟือ/หญ้าสลาบหลวง/Elephant Grass/Narrow-leaved Cattail/Soft Flag ชื่อวิทยาศาสตร์:Typhaangustifolia L. วงศ์:TYPHACEAE ประเภท: ไม้ริมน้ำ ความสูง: สูงกว่า 2 ม. ทรงพุ่ม: เจริญเป็นกอ ลำต้น: มีเหง้าใต้ดิน ใบ: ใบเดี่ยว รูปเส้นเรียว เรียงสลับในแนวระนาบ แผ่นใบหนา อวบน้ำ ยาวกว่า 1 ม. ดอก: เป็นช่อรูปทรงกระบอก ชูตั้งในระดับเดียวกับใบ ช่อดอกแยกเพศ แท่งสีน้ำตาลที่เห็นคือดอกเพศเมีย ส่วนดอกเพศผู้อยู่ที่ปลาย ดอกย่อยมีสีน้ำตาลแดง เมื่อติดเมล็ดจนแก่แห้งจะปลิวไปตามลม เนื่องจากที่ปลายเมล็ดมีปุยขนติดอยู่ ดิน: ดินร่วนถึงดินเหนียว น้ำ: มาก แสงแดด: ครึ่งวัน-เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ดและแยกกอ การใช้งานและอื่นๆ: เป็นวัชพืชที่สำคัญในธรรมชาติ เหง้าอ่อนใต้ดินนำมาแกงเผ็ดได้ ปัจจุบันนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ แต่ต้องหมั่นตัดช่อดอกแก่ทิ้ง เพราะเมล็ดจะปลิวฟุ้งติดตามประตูหน้าต่างบ้านเรือน