ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออฟฟิศริมทุ่งนา ที่ออกแบบอย่างถ่อมตน

ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาคารที่รองรับกิจกรรมการทำงานของคนที่หลากหลาย ตั้งแต่นักวิจัยพันธุ์ข้าวในห้องแล็บ พนักงานในออฟฟิศ และชาวนาที่มาติดต่อ ส่งมอบเมล็ดพันธุ์ หรือใช้ลานอเนกประสงค์เป็นลานตากข้าว ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา แห่งนี้ เป็นการออกแบบที่สถาปนิกจาก Hanabitate Architect ต้องทำความเข้าใจ และโอบรับผู้ใช้งานเข้าเป็นส่วนหนึ่งโดยไม่ทิ้งใครเอาไว้ เพื่อให้อาคารถูกใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตามที่ตั้งใจ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา คือ พื้นที่ทำงานวิจัยพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคเหนือ เพื่อให้เกษตรกรใช้ประโยชน์ และต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงพัฒนาข้าวสายพันธุ์บนดอยที่มีความแข็งแรง ลงมาใช้ปลูกในพื้นที่ราบ เป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ออกแบบเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเปิดโล่งแบบใต้ถุน ส่วนชั้นบนเป็นโซนสำนักงาน และห้องทดลองของนักวิจัย วางอาคารตามวิถีคนปลูกข้าว ผังอาคารออกแบบจากพฤติกรรมของผู้ใช้งานจริง คือ ชาวนาที่ต้องขับรถแทร็คเตอร์เข้ามาติดต่อ ก็ยกอาคารชั้นล่างให้สูงโปร่งเป็นที่จอดรถได้ ชั้นล่างทำเป็นลานโล่งไว้สามารถปรับเปลี่ยนใช้งานได้หลากหลาย เพราะงานวิจัยข้าวไม่ได้ทำเฉพาะในห้อง แต่ต้องออกมาที่หน้างาน พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับชาวบ้านด้วย จึงออกแบบพื้นที่ไว้อย่างหลวมๆ เพื่อรองรับการใช้งานหลายรูปแบบ เช่น เป็นลานตากข้าว เป็นจุดนัดพบระหว่างนักวิจัย และชาวนา ออกแบบอาคารอย่างถ่อมตนเพื่อคนทุกกลุ่ม “การออกแบบอาคารที่ผู้ใช้งานเป็นคนหลากหลายกลุ่ม ต้องนึกภาพเวลาคนกลุ่มต่างๆ มาใช้งาน เช่น อาคารราชการสมัยก่อนมักจะใหญ่โต บันไดทางขึ้นกว้างใหญ่ […]

BLUE COFFEE AT AGRICULTURE CMU คาเฟ่เชียงใหม่ อบอุ่นพร้อมมุมโคเวิร์กกิ้งสเปซ

Blue Coffee At Agriculture CMU คาเฟ่เชียงใหม่ ควบรวมโคเวิร์กกิ้งสเปซมาไว้ในคาเฟ่ ให้นั่งทำงานชิล ๆ พร้อมชมวิวแปลงเกษตรทดลอง

TRIAL NOT ERROR คาเฟ่ชาเขียวสไตล์ลอฟต์ กับเมนูขนมครอฟเฟิลแสนอร่อย

Trial Not Error คาเฟ่เชียงใหม่ ไซซ์มินิ ตั้งอยู่ด้านหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับการตกแต่งตามใจฉัน แต่ออกมาเท่จัดเต็มด้วยสไตล์ลอฟต์ คาเฟ่เชียงใหม่ แห่งนี้ เกิดขึ้นจากความชื่นชอบของเจ้าของร้าน แม้จะเรียนจบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์รั้วมช. แต่ด้วยความชื่นชอบ หรืออาจเรียกว่าความหลงใหลในเครื่องดื่มประเภทชาเขียว เขาและเพื่อนจึงร่วมกันมองหาทำเลตั้งร้าน โดยเลือกตึกแถวในย่านที่คุ้นเคยตั้งแต่สมัยเรียน เพื่อเปิดคาเฟ่เล็ก ๆ แต่กลับดูโดดเด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุและแนวคิดที่ต้องการสื่อสารความไม่ธรรมดา ผ่านงานออกแบบ-ตกแต่งเพื่อเอาใจพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ “ที่นี่เราอยากทำร้านให้เป็นแบรนด์แบบจริงจังเลยครับ เรียกว่าใครอยากดื่มชาเขียวอร่อย ๆ ในเชียงใหม่ต้องมาที่นี่ สำหรับตัวคาเฟ่เราออกแบบกันเอง โดยเลือกจากสไตล์ที่พวกเราชื่นชอบและวัสดุที่คุ้นเคย เนื่องจากที่บ้านผมทำคอนกรีตอยู่แล้ว จึงหยิบคอนกรีตมาใช้เป็นไอเดียหลักในการออกแบบร้าน เพื่อให้มีบรรยากาศดิบ ๆ สไตล์ลอฟต์” คุณนอร์ท-นวพล ณ ลำพูน เล่าถึงการออกแบบร้านด้วยตัวเองให้ฟัง และเนื่องจากที่ตั้งเป็นอาคารตึกแถว พวกเขาจึงเกิดแนวคิดนำแผ่นสเตนเลสที่มีผิวมันวาวทั้งแผ่นมากรุลงไปที่ฝ้าเพดาน เพื่อเป็นตัวช่วยสะท้อนให้ร้านดูกว้างขึ้น ทั้งยังเป็นไอเดียทำให้ร้านมีจุดเด่นเป็นที่จดจำได้ง่าย โดยผ่านลูกเล่นที่ไม่เหมือนใคร แต่ทั้งนี้คุณนอร์ทก็แอบกระซิบว่า การใช้แผ่นสเตนเลส อาจมีข้อเสียอยู่บ้าง นั่นคือเป็นวัสดุมีราคาค่อนข้างสูง และไม่ค่อยมีใครใช้ทั้งแผ่นดังเช่นแบบนี้ โดยแลกมาด้วยผลลัพธ์ที่สร้างความรู้สึกสวยงามเข้ากันได้อย่างดีกับร้านคอนกรีตสีเทา นอกจากสเตนเลสจะเป็นวัสดุช่วยสะท้อนเรื่องราวและบรรยากาศแล้ว ผนังด้านหนึ่งออกแบบด้วยการทำลวดลายคล้ายลอนลูกฟูก ซึ่งใช้เทคนิคการนำปูนกาวมาปาดทำลายลูกฟูก (มองเผิน ๆ ให้อารมณ์เหมือนผนังกรุด้วยแผ่นสักกะสี) เพิ่มดีเทลด้วยการทาสีไล่เฉดแบบเกรเดียนต์ ขณะที่ผนังอีกฝั่งเลือกโชว์ลายของอิฐบล็อกดิบ ๆ […]

25 Year Anniversary Architecture CMU Lecture Series x FLIP

25 Year Anniversary Architecture CMU Lecture Series x FLIP : FACMUAA Lecture Improvement to Professional กิจกรรมการบรรยายพิเศษ Lecture Series โดย ศาสตราจารย์ ทาคาฮารุ เทะซึกะ ในวาระก้าวสู่ปีที่ 25 ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ (ล้านนา) และสมาคมศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอเชิญร่วมงาน 25 Year Anniversary Architecture CMU Lecture Series x FLIP : FACMUAA Lecture Improvement to Professional กิจกรรมการบรรยายพิเศษ Lecture Series ในวาระก้าวสู่ปีที่ 25 ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ […]