โรคข้อสะโพกเสื่อมในสัตว์เลี้ยง (Hip Dysplasia)

โครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การเดิน การรับน้ำหนักตัวของคนและสัตว์ จำเป็นที่จะต้องมีกระดูก และข้อต่อในจุดต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดการหมุน การเหวี่ยง ซึ่งการยึดติดกันของกระดูกแต่ละชิ้น จะทำให้ประกอบขึ้นเป็นร่างกาย ข้อสะโพกเป็นข้อต่อที่จะยึดระหว่างแนวกระดูกเชิงกราน กับกระดูกท่อนขาหลังในสัตว์ ซึ่งข้อต่อนี้เป็นส่วนที่รับน้ำหนักตัวอยู่ 40 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักของร่างกาย จึงเป็นข้อต่อที่จำเป็นมากในการยืน การเคลื่อนไหว หากเกิดความเจ็บปวดที่ข้อต่อ หรือ โรคข้อสะโพกเสื่อมในสัตว์เลี้ยง มักทำให้สัตว์ไม่อยากลุกยืน หรือเดิน ที่น้อยลงกว่าปกติ ลักษณะทางกายวิภาคของข้อต่อสะโพกจะประกอบด้วย หัวกระดูกที่มีลักษณะกลมมน ( Femoral Head ) สวมเข้ากับกระดูกเชิงกราน ที่มีลักษณะเป็น เบ้า โค้ง ( Acetabulum ) ซึ่งจะรับพอดี เข้ารูปกับหัวกระดูก โดยจะมีเยื่อหุ้มข้อ ปกคลุมระหว่างหัวกระดูก และเบ้ากระดูก ซึ่งจะทำให้น้ำที่เป็นเหมือนสารหล่อลื่นเหนียว ๆ ไม่หลุด รั่ว ออกไปที่อื่น น้ำหล่อลื่นนี้จะทำให้กระดูกสองส่วนนี้ไม่มีการเสียดสี ชนกัน ลดความร้อนที่เกิดระหว่างการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ทำให้ผิวกระดูกทั้งสองส่วนนี้ไม่เกิดความเสียหายจากการสัมผัสกัน หรือจากความร้อนที่เกิดขึ้น อีกทั้งระว่างกระดูกสองชิ้นนี้ ยังมีเอ็นที่ช่วยยึดเข้าด้วยกัน โดยเส้นเอ็นนี้จะมีลักษณะที่เหนียว […]

อเมริกันพิทบูลเทอเรีย (American Pit bull terrier) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ ในช่วงศตวรรษที่ 19 สุนัขสายพันธุ์ อเมริกันพิทบูลเทอเรีย เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างบูลด๊อก กับ สุนัขเทอร์เรีย เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้สุนัขที่มีความแข็งแกร่ง  และความปราดเปรียว จนได้รับรางวัลสุนัขสายพันธุ์ผสมที่มีความแข็งแรงและความน่าประทับใจ นอกจากนี้ อเมริกันพิทบูลยังถูกใช้ช่วงสงครามในฐานะผู้พิทักษ์ ด้วยลักษณะเด่นของสายพันธุ์นี้ที่มีความก้าวร้าว และความน่าเกรงขาม ต่อมา ในปี 1920 สุนัขสายพันธุ์นี้ได้รับการฝึกฝน เพื่อใช้ในการล่อกระทิง และการต่อสู้อื่น ๆ อย่าง ความสามารถในการสะกดรอย การแข่งขันเรื่องของความเร็ว (Agility) การไล่ล่า และการลากน้ำหนัก จนขึ้นชื่อว่าเป็นสุนัข “Fighting dog” จากนั้นในปี 1980 ในสื่อภาพยนต์ รูปภาพเริ่มมีการใช้ภาพของสุนัขสายพันธุ์นี้มากขึ้น ทำให้ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยมา ปัจจุบันสุนัขสายพันธุ์ อเมริกันพิทบูลเทอเรีย เริ่มมีความคุ้นชินกับมนุษย์มากขึ้น รักความสงบมากขึ้น รักธรรมชาติ มีลักษณะที่แตกต่างจากบรรพบุรุษมากขึ้น และเป็นสุนัขสายพันธุ์ที่มีความใกล้ชิดกับสุนัขสายพันธุ์ Staffordshire terriers รวมถึงได้รับการขึ้นทะเบียนสุนัขพันธุ์อเมริกันพิทบูล จาก United Kennel Club (UKC) อีกด้วย ลักษณะทางกายภาพ อเมริกันพิทบูล […]