13 ชื่อเขตในกรุงเทพมหานคร ที่มีที่มาจากชื่อต้นไม้ในพื้นที่ตั้งแต่อดีต

“ห้วย หนอง บาง บึง” คำนำหน้าชื่อที่ใช้บอกเล่าลักษณะของสถานที่ในระแวกนั้น ซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นชื่อเรียกของสถานที่นั้น ๆ ไปในที่สุด ทั้ง เขต แขวง ตำบล หรืออำเภอ เช่น “บาง” ใช้เรียกย่านหรือบริเวณที่มีคลองเข้าไป ซึ่งคำต่อท้ายก็มักแสดงถึงลักษณะเด่นในอดีตของสถานที่นั้น ทั้งอาชีพหลักของคนในพื้นที่ สถานที่สำคัญ เหตุการณ์สำคัญ รวมไปถึงต้นไม้พื้นถิ่นที่สามารถตั้งสมมุติฐานได้ว่าในอดีตมีต้นไม้ชนิดดังกล่างขึ้นอยู่ในบริเวณนั้นมากมาย ดังเช่นเขตต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ เอง ก็มีหลายเขตที่ชื่อเรียกที่มาจากชื่อต้นไม้ที่สามารถทำให้พอเดาได้ว่าในอดีตพื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะอย่างไรและมีต้นไม้ที่ปลูกได้ดีในกรุงเทพฯ ชนิดอะไรขึ้นอยู่มากมายในบริเวณนั้น ๆ จอกแหน เขต หนองจอก “แอ่งน้ำจืดขนาดเล็กที่มีต้นจอก” จอกแหน ชื่อวิทยาศาสตร์: Pistia stratiotes L. วงศ์: Araceae เขตหนองจอกสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นท้องทุ่งและเกษตรกรรม มีลำคลองไหลผ่านหลายสาย แม้ปัจจุบันก็ยังสามารถพบจอกได้ตามแหล่งน้ำบริเวณที่รกร้าง จอกคือไม้ลอยน้ำเจริญเติบโตติดกันเป็นกลุ่มลอยอยู่บนผิวน้ำ ชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Pistia หากปลูกในที่มีแสงแดดเต็มวันใบจะมีสีเขียวปนเหลือง กอใหญ่ จอกเป็นวัชพืชน้ำที่สำคัญใช้เป็นอาหารสัตว์อย่างหมู เป็ด ปลา ทั้งยังนำมาใช้เป็นอาหารเพื่อรับประทานในยามขาดแคลนอีกด้วย ปลูกเป็นไม้ประดับในอ่างขนาดเล็กร่วมกับไม้น้ำชนิดอื่น เป็นที่หลบภัยให้กับปลาเล็กได้ สามารถดูดสารที่มีพิษได้ดีมาก ดังนั้นหากปลูกในแหล่งน้ำที่มีพิษจึงไม่ควรบริโภค รัก เขต […]

จำปาเทศ

กะหนาย ขนาย จำปีแขก ยวนปลา หำอาว ชื่อวิทยาศาสตร์: Pterospermum littorale Craib var. littorale วงศ์: Sterculiaceae ประเภท: ไม้ต้น ความสูง:  15 – 20 เมตร ทรงพุ่ม: กลมแน่นทึบ ลำต้น: เปลือกต้นสีน้ำตาล ทุกส่วนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ใบ: ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 5 – 8 เซนติเมตร ยาว 12 – 15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบรูปหัวใจเบี้ยวหรือตัด ขอบใบหยักเว้าไม่สม่ำเสมอใต้ใบมีขนปกคลุม ดอก: ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ มีกลิ่นหอม บานวันเดียวแล้วร่วง ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 – 10 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ กลีบเลี้ยงหนาและงุ้มลง ด้านนอกมีขนสีน้ำตาล […]