การปั๊มหัวใจ หรือ CPR สัตว์เลี้ยง (Cardiopulmonary Resuscitation)

การเรียนรู้วิธีการทำปฏิบัติการกู้ชีพ “การปั๊มหัวใจ” หรือ CPR สัตว์เลี้ยง สามารถช่วยชีวิตสัตว์เลี้ยงได้เบื้องต้น เมื่อสัตว์เลี้ยงมีอาการหยุดหายใจ และชีพจรหยุดเต้น เพื่อให้เลือดไหลเวียนนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะสมองและหัวใจ ก่อนนำส่งถึงมือสัตวแพทย์ต่อไป เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินขั้นตอนแรกในการทำปฏิบัติการกู้ชีพ หรือ CPR สัตว์เลี้ยง คือการตรวจสอบว่าสัตว์เลี้ยงยังหายใจอยู่หรือไม่ ด้วยการวางมือหรือแก้มของคุณใกล้กับจมูกของสัตว์ แล้วสัมผัสถึงอากาศหรือลมหายใจ แต่ถ้าหากยังไม่มั่นใจให้นำสำลีหรือผ้าบาง ๆ มาอังที่จมูก พร้อมสังเกตบริเวณหน้าอกว่ากำลังขยับขึ้นลงหรือไม่ เพื่อประเมินความจำเป็นในการทำ CPR หากต้องทำ CPR สัตว์เลี้ยง อย่างเร่งด่วน ให้เจ้าของทำการตรวจสอบชีพจรของสัตว์เลี้ยง ด้วยการกดนิ้วลงเบา ๆ ที่บริเวณด้านบนตรงกลางอุ้งเท้าขนาดใหญ่ของสัตว์เลี้ยง หรือบริเวณข้างล่างขาหลังด้านใน เพื่อสัมผัสถึงชีพจรหรือเส้นเลือดแดง (femoral artery) หรือจะให้ง่ายที่สุดคือการใช้ฝ่ามือคลำตรง “ตำแหน่งหัวใจของสัตว์เลี้ยง” โดยใช้นิ้วหัวแม่มือวางบนหน้าอกด้านหนึ่ง และใช้อีก 4 นิ้ว วางบนหน้าอกอีกด้าน หัวใจจะอยู่ด้านหลังข้อศอกบริเวณกลางอก ถ้าสัตว์เลี้ยงไม่หายใจและไม่มีชีพจร คุณสามารถข้ามการกดหน้าอกไปที่การช่วยหายใจได้เลย * การทำปฏิบัติการกู้ชีพ หรือ CPR สัตว์เลี้ยง ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า สัตว์เลี้ยงไม่มีเลือดออก […]

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับสัตว์เลี้ยง (First aid)

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับสัตว์เลี้ยง คือ การดูแลเมื่อสัตว์มีอาการป่วย หรือบาดเจ็บ โดยไม่จำเป็นต้องมีสัตวแพทย์อยู่ แต่ควรจะรู้จักคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ที่ใกล้ที่พักและเวลาเปิด-ปิด แต่ที่สำคัญที่สุด คือ เจ้าของจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับสัตว์เลี้ยง เพื่อลดความเจ็บปวดและลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ วิธีการนำสัตว์เลี้ยงมายังโรงพยาบาล หลังจาก การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับสัตว์เลี้ยง ควรพาสัตว์เลี้ยงไปยังโรงพยาบาล เพื่อรักษาอาการอย่างถูกต้อง ด้วยภาชนะที่นำสัตว์ที่เหมาะสม เช่น • สุนัขพันธุ์เล็ก หรือแมว ให้ใส่กระเป๋า หรือกล่องกระดาษแข็ง• สุนัขพันธุ์ใหญ่ สามารถใช้เปลหาม หรือจูงสัตว์มา หากสุนัขยังสามารถเดินได้ โดยเคลื่อนย้ายอย่างระมัดระวัง และจับสัตว์เลี้ยงอย่างระมัดระวัง เพราะเมื่อสัตว์อยู่ในภาวะเครียด จะทำให้สัตว์เลี้ยงแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวได้• ใช้อุปกรณ์ในการช่วยจับบังคับสัตว์ เพื่อป้องกันสัตว์กัดเจ้าของ เช่น ที่ปิดปากสัตว์ (Muzzling), การใช้ผ้าห่อตัวสัตว์ (Wrapping), การทำให้สัตว์นอนอยู่กับที่ (Immobilizing) ภาวะฉุกเฉินที่สามารถพบได้บ่อย  1.การได้รับสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นจากการกิน การหายใจเข้าไป หรือการสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงจากสารเคมีชนิดต่าง ๆ เช่น สารเคมีในครัวเรือน, ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด, ยาตามใบสั่งแพทย์, สารกำจัดหนู หรือ อาหารที่เป็นพิษต่อสัตว์ (ช็อคโกแลต) อันตรายจากช็อคโกแลต […]