บ้านไทยพื้นถิ่น ภาพสะท้อนวิถีชีวิตผ่านลายเส้นของ ศ.เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์

ภาพลายเส้นและภาพสีน้ำบ้านไทยพื้นถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ถ่ายทอดวิถีชีวิตผู้คนในชุมชนต่างๆ ของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณอรศิริ ปาณินท์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์ สถาปนิกและนักวิชาการที่จดบันทึกด้วยการวาดภาพในสมุดคู่ใจยามลงภาคสนาม เป็นส่วนหนึ่งในผลงานวิจัยด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม ที่ท่านทุ่มเทศึกษามาตลอด 40 ปี ถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ แรงบันดาลใจให้ลูกศิษย์ และคนรุ่นใหม่มากมาย กระทั่งได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น) ประจำปี 2564 จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งนับเป็นปีแรกที่มีสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และ บ้านและสวน ขอแสดงความยินดีมา ณ โอกาสนี้ การมีรางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น) เกิดขึ้นเป็นปีแรก อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง อาจารย์ดีใจกับลูกศิษย์มาก เพราะมีลูกศิษย์นักศึกษาหลายคนที่ให้ความสนใจในสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ตั้งแต่อาจารย์ลงพื้นที่สำรวจหมู่บ้านมาหลายสิบปี ในช่วงปีแรกต้องลุยเดี่ยว แต่ในภายหลังมีลูกศิษย์ตามไปช่วยวิจัยด้วยทุกปี และเปลี่ยนรุ่นไปทุกปี เพราะฉะนั้นงานวิจัยต่าง ๆ เหล่านี้จะไม่ประสบผลสำเร็จเลย หากขาดลูกศิษย์ที่ลงแรงไปช่วยวิจัยด้วยกัน แสดงให้เห็นว่ามีคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่ให้ความสนใจในสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เพียงแต่เรายังไม่เป็นที่รู้จักเท่าที่ควร ทั้งที่จริงแล้วสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในต่างประเทศนั้นค่อนข้างเป็นที่รู้จัก การได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติในปีนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าบ้านเราเริ่มให้ความสำคัญกับสาขานี้มากขึ้น ทำให้ผู้ที่สนใจรุ่นถัดไปมีพื้นที่ยืนอย่างเต็มตัว จึงนับเป็นเรื่องที่น่าดีใจ และยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมีแนวโน้มจะพัฒนาต่อไปให้ดีขึ้น นิยามของคำว่า “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น” […]

รวมบ้านสวย 4 ภาค ที่ออกแบบในสไตล์ไทยพื้นถิ่นร่วมสมัย

เพราะประเทศไทยในแต่ละภูมิภาคมีลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นแตกต่างกัน จึงทำให้ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ มีลักษณะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเฉพาะตัวที่มีเสน่ห์แตกต่างกันไป เราได้รวบรวม บ้านไทย4ภาคร่วมสมัย ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น แต่มีการผสมผสานฟังก์ชันการใช้งาน และความทันสมัยให้สอดรับกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ทำให้รูปแบบบ้านมีความร่วมสมัยมากขึ้น แต่ก็ยังเน้นให้ภายในบ้านมีการระบายอากาศที่ดี และมีการเชื่อมโยงกับธรรมชาติรอบบ้าน เพื่อให้คนในบ้านอยู่อาศัยได้อย่างสุขสบาย  บ้านที่มีต้นไม้เป็นศูนย์กลาง เจ้าของ : คุณสิทธิชัย บูรณะกิจไพบูลย์สถาปัตยกรรม – ตกแต่งภายใน : TA-CHA Designผู้รับเหมา : บริษัททวีมงคลก่อสร้าง (2000) จำกัด แม้หน้าตาของบ้านหลังนี้จะมีรูปแบบร่วมสมัย แต่ผู้ออกแบบได้หยิบสาระสำคัญของบ้านเรือนไทยภาคกลางมาใช้ มีการกำหนดฟังก์ชันการใช้งานเกือบเต็มพื้นที่ โดยมีพื้นที่ชานนอกบ้านใหญ่พอๆกับพื้นที่ใช้งานภายใน และให้ต้นไม้เป็นเหมือนศูนย์กลางที่รวมทุกส่วนไว้ด้วยกัน ชั้นล่างแบ่งเป็นห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร แต่ละห้องจะเปิดให้ดูโล่งและโปร่ง ส่วนตู้เก็บของทำเป็นงานบิลท์อิน ขณะที่เฟอร์นิเจอร์อื่นๆเลือกใช้แบบลอยตัว ส่วนชั้นบนก็เป็นห้องนอนของสมาชิกแต่ละคน และพื้นที่ส่วนกลางที่เชื่อมครอบครัวใหญ่เข้าด้วยกัน >> อ่านต่อ บ้านสวนริมคลองเจ้าของ: ครอบครัวตุ้มปรึกษาออกแบบ: คุณพงศกร ตุ้มปรึกษา บ้านริมคลองบางมดที่นำภูมิปัญญาของเรือนไทยพื้นถิ่นภาคกลางมาปรับให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศและการใช้ชีวิตของครอบครัว เราจึงได้เห็นการยกใต้ถุนสูงหนีน้ำท่วม หนีปลวก การทำหลังคาทรงสูงให้อากาศไหลเวียน ชายคายื่นยาว มีช่องหน้าต่างและช่องคอสองช่วยระบายความร้อน […]

บ้านไม้ สไตล์ปักษ์ใต้ร่วมสมัย แห่งพัทลุง

บ้านไม้ สไตล์ปักษ์ใต้ที่เกิดขึ้นจากภาพความทรงจำในวัยเด็กของเจ้าของที่มีต่อบ้านหลังเดิมของคุณตาคุณยาย ผ่านการออกแบบให้เหมาะกับการอยู่อาศัยในยุคปัจจุบัน จนเกิดเป็นเรือนปักษ์ใต้ร่วมสมัยที่เชื่อมโยงคนสามรุ่นไว้ด้วยกัน DESIGNER DIRECTORY : ออกแบบ : ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ และ อรวี เมธาวี / ก่อสร้าง : บุญฤทธิ์ สมุหเสนีโต / เจ้าของ : ครอบครัวรอดสุด บ้านไม้ หลังนี้เริ่มต้นมาจากการที่คุณพ่อปรีชา และคุณแม่สมทรง รอดสุด คุณพ่อคุณแม่ของคุณวิวัฒน์ รอดสุด ผู้ทำหน้าที่จัดการการสร้างบ้านหลังนี้  คิดที่จะสร้างบ้านเพื่อเป็นที่ระลึกเเด่คุณตาคุณยายจากไม้เก่าที่เหลือจากการรื้อบ้านเดิม เชื่อมโยงเเละส่งต่อความผูกพันจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน จนเป็นที่มาของการตั้งชื่อบ้านว่า  “เรือนพินรัตน์” ซึ่งเป็นชื่อของคุณตาวิรัตน์ และคุณยายพิน ศิริธร นั่นเอง ฉะนั้นเรือนหลังนี้จึงเป็นเสมือนบ้านส่วนกลางของครอบครัวสำหรับเหล่าลูกหลานเมื่อได้มาที่พัทลุงก็มักจะมาพักอาศัยที่เรือนหลังนี้ได้ โดยมีพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่ใช้สำหรับรับประทานอาหาร หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ของครอบครัว โดยเจ้าของวางแผนไว้ว่าในอนาคตอันใกล้อาจจะปรับเปลี่ยนที่นี่ทำเป็นโฮมสเตย์ต่อไป แต่ในปัจจุบัน “เรือนพินรัตน์” ยังคงทำหน้าที่เป็นเรือนรับรองของครอบครัวรอดสุด ที่ทุกคนต่างมีความสุขทุกครั้งที่ได้มาเยือนเเละพักผ่อนร่วมกัน    แกะรอยความทรงจำ ก่อนหน้าที่จะเริ่มขั้นตอนออกแบบ คุณวิวัฒน์ได้มีการเก็บข้อมูลภาพรูปแบบบ้านพื้นถิ่นของพัทลุงไว้ ซึ่งมีทั้งแบบเก่าและแบบร่วมสมัย เพื่อนำมาใช้เป็นโจทย์ตั้งต้น […]