บ้านปูนผสมไม้ อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ

บ้านปูนผสมไม้ ขนาด 2 ชั้น ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบ้านกลางสวนป่าของสถาปนิก Geoffrey Bawa ที่ศรีลังกา โดยอาศัยความร่มรื่นจากต้นไม้ใหญ่รอบบริเวณ

บ้านปูนผสมไม้เก่า รูปทรงเรียบง่ายอยู่ริมทุ่งนา

บ้านปูนผสมไม้ ขนาด 2 ชั้นที่ออกแบบให้วางขวางทิศทางของลม และเน้นช่องเปิดของประตูหน้าต่างจากงานไม้เก่าเพื่อรับลมธรรมชาติหมุนเวียน

บ้านทรงจั่ว ที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติ

ความสุขเล็กๆ จากการได้มองธรรมชาติผ่านมุมมองจากในบ้านหรือสถานที่ที่เราคุ้นเคยคือความสุขใจที่หลายคนโหยหา บ้านแนวคิด inside out จึงตอบโจทย์อารมณ์แบบนั้นได้ดี เหมือน บ้านทรงจั่ว ที่สวยสไตล์โมเดิร์นในอำเภอแม ่ริมจังหวัดเชียงใหม่ หลังนี้ซึ่งออกแบบเชื่อมโยงพื้นที่ภายนอกสู่ภายใน และมีพื้นที่ว่างเพื่อสร้างมุมมองภายในสู่ภายนอกที่ปลอดโปร่ง จึงเกิดภาวะน่าสบายและไม่ถูกจำกัดอยู่แค่ในกรอบสี่เหลี่ยม เจ้าของ : คุณสถาพร – คุณธิดา สิริสิงห สถาปนิก : บริษัทแผลงฤทธิ์ สถาปัตย์ จำกัด โดยคุณขวัญชัย สุธรรมซาว บ้านทรงจั่ว โครงปูนสองชั้นสไตล์โมเดิร์น ออกแบบแปลนเป็นรูปตัวซี(C) หันหน้าไปทางทิศเหนือ ทำให้ได้แสงธรรมชาติในช่วงบ่าย ด้านหน้าเป็นห้องนั่งเล่นชั้นเดียว เปิดเพดานโล่ง โดยมีหลังคาทรงจั่วแหลมสูงและมีแนวเอียงในองศาที่ต่างกัน เพื่อให้ส่วนต่างของโครงหลังคาทั้งสองมีช่องว่างที่เป็นช่องแสง ช่วยเพิ่มความสว่างให้ภายใน ส่วนด้านหลังเป็นบ้านทรงกล่องสองชั้น แปลนบ้านที่วางเป็นรูปตัวซี(C) ยังทำให้เกิดพื้นที่ว่างในส่วนกลางบ้าน ซึ่ง คุณขวัญชัยสุธรรมซาว  สถาปนิกผู้ออกแบบ บอกว่ามีส่วนคล้ายกับชานกว้างของบ้านเรือนไทยแต่บ้านนี้ปรับเป็นสระว่ายน้ำที่มีมุมนั่งเล่นรอบสระแทน ช่วยสร้างความรู้สึกเย็นสบายให้บ้านได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ตัวบ้านทั้งสองฝั่งยังช่วยบังแสงแดดยามบ่ายให้สระว่ายน้ำ รวมถึงห้องนั่งเล่นด้วย สำหรับชั้นสองของบ้านประกอบด้วยห้อนอนใหญ่และห้องนอนเล็ก ซึ่งแบ่งสัดส่วนเป็นมุมทำงานและอ่านหนังสือที่กว้างขวางเพียงพอ เน้นความทันสมัย เรียบง่าย ดูโปร่งสบายตา เลือกใช้โทนสีสว่างจากไม้สีอ่อน เช่นไม้ธรรมชาติ รวมถึงการเปิดช่องแสงในส่วนต่างๆ เช่น […]

บ้านใหม่จาก บ้านไม้ เก่า ยกใต้ถุนสูงอยู่กลางสวนมะพร้าว

แบบ บ้านไม้ ยกใต้ถุนสูง หลังนี้สร้างขึ้นด้วยแนวคิดการผสมผสานไม้เก่าเพื่อให้ได้บ้านไม้หลังใหม่ในงบประมาณที่ไม่สูงเกินไป

ความลงตัวของบ้านพื้นถิ่นกับสไตล์อินดัสเทรียล กลางธรรมชาติในบาหลี

นอกจากตั้งใจจะสร้าง บ้านพักในบาหลี เพื่อพักผ่อนในช่วงวันหยุดแล้ว เฟอร์นิเจอร์และงานศิลปะที่สะสมไว้หลายชิ้นจากแอฟริกา ยุโรป และเอเชียยังกลายเป็นโจทย์

A Place Called Forever

จุดเริ่มต้นของ บ้านสไตล์อังกฤษ หลังนี้อาจจะแปลกไปจากบ้านทั่วไป เพราะเจ้าของบ้านเลือกกำหนดตำแหน่งและขนาดของครัวเป็นอย่างแรก ยิ่งไปกว่านั้นคือ ตำแหน่งของครัวอยู่ค่อนไปทางด้านหน้าบ้านเสียด้วย คุณเปียทิพย์ เชฟฟิลด์ เจ้าของบ้านฝ่ายหญิงให้ความกระจ่างว่า “ได้ประสบการณ์มาจากบ้านหลังแรกค่ะ เพราะไม่ใช่แบบที่เราอยากได้เลย เราฟังและเชื่อคนอื่นมากเกินไป คิดเอาว่าคงจะดีถ้าเป็นอย่างที่ใครเขาว่ากัน แต่คนเหล่านั้นไม่ได้เป็นคนอยู่ พอเราเข้าไปอยู่จริงก็ไม่ได้ประโยชน์ใช้สอยอย่างที่ต้องการ ไปเน้นทำประตูบานใหญ่ๆ ทำหน้าบ้านแบบคนไทย ทำให้เสียพื้นที่ในบ้านไปเปล่าๆ หรือเน้นทำห้องรับแขกใหญ่ๆ แต่ความจริงเราไม่ได้รับแขกที่จะต้องนั่งกันแบบเป็นทางการ นี่ไม่ใช่วิถีชีวิตของเรา อีกอย่างเป็นคนชอบทำอาหาร แต่ครัวของบ้านเก่าทำให้รู้สึกไม่สะดวกเลย พอจะสร้างบ้านใหม่จึงขอคิดเรื่องครัวเป็นอันดับแรก” คุณเปียทิพย์มีประสบการณ์เรื่องบ้านค่อนข้างมาก เพราะงานของเธอคือการหาบ้านเช่าให้ชาวต่างชาติที่มาอยู่เชียงใหม่ อีกทั้งช่วงหนึ่งต้องไปอยู่บ้านสามีที่อังกฤษ ได้เห็นสไตล์การตกแต่งบ้านและสวนที่ตรงกับความต้องการ จึงตั้งใจอยากมีบ้านแบบนั้นบ้าง แล้วความฝันก็เป็นจริงเมื่อได้กลับมาอยู่ที่เชียงใหม่ หากมองจากด้านหน้า ตัวบ้านจะดูทึบหน่อย แต่เมื่อเข้าไปภายในกลับพบว่าโล่งและสว่าง เพราะแวดล้อมด้วยพื้นที่ว่างซึ่งทำให้รู้สึกน่าสบาย อีกทั้งยังวางตำแหน่งของประตู หน้าต่าง และช่องแสงได้ถูกที่ถูกจังหวะ โดยให้หันไปยังด้านหลังบ้านและเน้นขนาดที่ใหญ่ เพื่อให้มองเห็นสวนและทุ่งนาอย่างที่เจ้าของบ้านชอบ ทุกพื้นที่ในบ้านจึงได้แสงสว่างที่เหมาะสม บ้านนี้มีประตูทางเข้าหลักอยู่ตรงกลางพอดี และตรงกับโถงประตูซึ่งเป็นมุมรับประทานอาหาร จึงเหมือนแกนกลางที่แบ่งให้ด้านหนึ่งเป็นครัวเปิดตามที่คุณเปียทิพย์บอกว่าเป็นพื้นที่ของเธอ และอีกด้านเป็นบาร์เครื่องดื่มซึ่งเป็นพื้นที่ของ คุณปีเตอร์ เชฟฟิลด์ สามี ถัดไปเป็นห้องนอนแขกและโถงบันไดขึ้นชั้นบนโดยไม่มีห้องรับแขกดังเหตุผลที่เจ้าของบ้านบอกไปข้างต้นนั่นเอง ชั้นบนวางแปลนคล้ายกันคือ จากบันไดไปสู่ห้องโถงใหญ่เน้นให้มีช่องแสงและหน้าต่างเต็มพื้นที่ของผนังเพื่อความโปร่ง โดยใช้เป็นพื้นที่ส่วนรวมของ 3 คนพ่อแม่ลูก กล่าวคือเป็นทั้งส่วนนั่งเล่น ทำงาน […]

Mediterranean Dreamin’ เมดิเตอร์เรเนียนที่ฝันถึง

เขาใหญ่คงเป็นดินแดนแห่งความใฝ่ฝันของใครหลายคนที่อยากมาสร้างบ้านหลังเล็กๆ และใช้ชีวิตพักผ่อนอยู่ที่นี่ หลายครั้งที่ “บ้านและสวน” เดินทางมาที่เขาใหญ่และเลือกสรรบ้านมานำเสนอเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้คุณผู้อ่านทุกท่าน ครั้งนี้ก็เช่นกัน เราได้รับเกียรติจาก คุณขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานบริษัทสื่อสากล จำกัด และครอบครัว สำหรับการเปิดบ้านสวยหลังนี้ให้เยี่ยมชม ในบรรดาบ้านหลายหลังที่ตั้งกระจายอยู่ภายในโครงการที่ดินจัดสรรบริเวณเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง บ้านสีเหลืองขนาดกะทัดรัดหลังนี้ดูโดดเด่นอยู่บนเนินเขาสูง ท่ามกลางบรรยากาศที่ร่มรื่นด้วยธรรมชาติ ทั้งยังรายล้อมด้วยงานจัดภูมิทัศน์ที่ช่วยเสริมความงามให้งานสถาปัตยกรรมได้อย่างลงตัว “เมื่อสัก 5 ปีก่อน ผมมาดูที่ทางแถวนี้ เนื่องจากมีเพื่อนมาอยู่กันเยอะ บางคนแนะนำให้ผมซื้อที่เยอะๆ 70 – 80 ไร่ เอาไว้ทำการเกษตร พอไปดูที่ดินก็มาคิดว่าชีวิตเราคงไม่ใช่อย่างนั้น เลยเลือกที่ดินผืนเล็กที่แพงหน่อยดีกว่า แต่อยู่ในหมู่บ้าน มีสาธารณูปโภคพร้อม ตอนแรกซื้อไว้ 3 แปลง ไปๆมาๆกลายเป็น 8 แปลง ราว 4 ไร่เศษ เราปลูกบ้านสำหรับอยู่เอง และบริเวณรอบๆ ก็ทำบ้านรับรองให้แขกได้มาพัก” คุณขวัญชัยเล่าถึงเหตุผลในการสร้างบ้านหลังนี้ สไตล์การออกแบบบ้านได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมแถบเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งมีสภาพอากาศคล้ายกับละแวกเขาใหญ่ คือกลางวันอากาศร้อน แต่กลางคืนจะเย็น ลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดคือเป็นอาคารที่มีความสูงไม่เกินหนึ่งชั้น ตั้งแทรกอยู่บนความชันของเนินเขา หันหน้ารับทิวทัศน์ตามลักษณะภูมิประเทศ ส่วนหน้าเชื่อมแต่ละห้องกันด้วยซุ้มระเบียงทางเดินยาว ตีระแนงไม้เป็นหลังคาช่วยพรางแสงในช่วงกลางวัน […]

Tropical House of Phangan มุมสงบแห่งท้องทะเล

  เรือเฟอร์รี่เทียบที่ท่าเรือท้องศาลา แดดแรงของพะงันขับทุกองค์ประกอบเมืองให้กลายเป็นเส้นคม ชาวต่างชาติเดินยิ้มแย้มคุยเล่นกันขณะขึ้นจากเรือ หลายคนมาเพื่อร่วมงานฟูลมูนปาร์ตี้อันโด่งดัง สถานที่แห่งนี้ไม่เคยห่างหายจากเสียงอึกทึก แต่…จุดหมายของเรานั้นต่างออกไป เรากำลังจะไปยังอีกฟากหนึ่งของเกาะ ที่ซึ่งมีแต่บ้านเรือนและหาดทรายอันเงียบสงบ เรากำลังจะไปที่อ่าวหินกองกันครับ “จากท้องศาลาให้ขับขึ้นเหนือมาทางซ้ายเลาะริมหาดมาเรื่อยๆพอถึงสามแยกก็เจอเลยจ้ะ” คุณเข็ม – ณฐกร พรหมเจริญ เจ้าของบ้าน บอกทางมาสู่บ้านหลังนี้ทางโทรศัพท์ด้วยสำเนียงแหลงใต้ชัดเจน แต่เราขับเลยไปเล็กน้อยก่อนจะถอยรถกลับมาเพราะความร่มครึ้มของต้นไม้นานาพรรณจนทำให้มองไม่เห็นตัวบ้านนั่นเอง “คุณชาลีชอบสวนรกๆ แน่นๆ คนข้างนอกจะได้ไม่เห็นเรา และยังให้บรรยากาศแบบทรอปิคัลดีนะ นั่นคือสิ่งที่ทำให้บ้านนี้เป็นอย่างที่เห็นนี่แหละ” “ทรอปิคัล” เป็นคำที่คุณเข็มนิยามถึงบ้านหลังนี้ บ้านไม้ซึ่งปลูกเป็นแนวยาวจากหน้าบ้านสู่หลังบ้าน ยกเพดานสูง มีพื้นที่เปิดถึงกันหมดตั้งแต่ห้องรับแขก โถงบันได ครัว ออกไปสู่นอกชานและยาวลงทะเลไปเลย บ้านหลังนี้ต้อนรับธรรมชาติเข้าสู่ทุกพื้นที่ได้เป็นอย่างดี เพราะตลอดแนวของตัวบ้านนั้นเป็นหน้าต่างและประตูแทบทั้งสิ้น ทุกพื้นที่ในบ้านจึงแนบสนิทกับแมกไม้น้อยใหญ่ได้อย่างลงตัว ให้บรรยากาศแบบสวรรค์แดนใต้อย่างเกาะตาฮีตีอย่างไรอย่างนั้น สำหรับการออกแบบทางสัญจรในบ้านจะเป็นระเบียงยาวทั้งชั้นหนึ่งและชั้นสอง สามารถเข้าถึงทุกส่วนของบ้านได้โดยง่าย อันที่จริงบ้านนี้ดูคล้ายรีสอร์ต เพราะคุณเข็มและ คุณชาลี โบเนลโล่ ต้องการให้ที่นี่เป็นสถานที่พักผ่อนของทั้งสองคนและเพื่อนๆ ของคุณชาลีในยามที่แวะเวียนมาเยี่ยมเยือน วัสดุในบ้านจะเน้นการใช้ไม้ ทั้งตัวบ้านเองและเฟอร์นิเจอร์ไม้เก่าทั้งหลาย ซึ่งก็เข้ากันดีกับการเข้าไม้ในรายละเอียดของส่วนต่างๆ ภายในบ้านได้เป็นอย่างดี และด้วยความที่บ้านอยู่ติดทะเล การปล่อยให้งานไม้บางส่วนมีร่องรอยบ้างก็สร้างเรื่องราวและความอบอุ่นได้อีกทางหนึ่ง เช่น ร่องรอยบนไม้ระเบียงสระว่ายน้ำที่อยู่ก่อนถึงทางเดินลงหาด “อยู่ที่นี่เหมือนทุกวันเป็นวันพักผ่อน” คุณเข็มกล่าวด้วยรอยยิ้ม “ถ้าเป็นวันปกติเวลาว่างๆ ก็จะชอบนอนดูทะเลอยู่ตรงชานรับแขก […]

บ้านที่มีลมหายใจ…และกำไรของชีวิต

ณ หัวโค้งหนึ่งของทางหลวงชนบทที่ลัดเลาะไปตามท้องทุ่งในตำบลบ้านชัฏป่าหวาย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มองเข้าไปก็จะเห็นบ้านหลังคาแป้นเกล็ดที่ดูแปลกตากว่าบ้านเรือนโดยรอบ ตัวอาคารคอนกรีตแซมด้วยองค์ประกอบไม้แลดูนิ่งสงบและอบอุ่น บ้านหลังนี้คือบ้านของ คุณเต้อ – นันทพงศ์ ยินดีคุณ และครอบครัว เจ้าของ : ครอบครัวยินดีคุณ ออกแบบ : คุณนันทพงศ์ ยินดีคุณ “มีความคิดว่าเมื่อคุณพ่อเกษียณก็อาจมาอยู่ทำสวนทำไร่ ใช้ชีวิตง่ายๆอยู่ที่นี่” คุณเต้อเล่าถึงสาเหตุที่มาปลูก บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน อยู่ที่นี่ “เริ่มมาจากตอนหนีน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯปี 2554 เราทั้งครอบครัว คุณพ่อ คุณแม่ น้องชาย และผมมาเช่ารีสอร์ตซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่แปลงนี้ และก็เริ่มติดใจบรรยากาศของพื้นที่แถบนี้” แม้จังหวัดราชบุรีจะอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ หากขับรถก็ใช้เวลาเพียงชั่วโมงเศษ แต่อำเภอสวนผึ้งซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังยังมีบรรยากาศแบบชนบทอย่างเต็มเปี่ยม   “ที่นี่ไม่ได้ไกลจากกรุงเทพฯ ผมสามารถขับรถไปทำงานที่อาศรมศิลป์ได้บ้านหลังนี้จึงไม่ใช่บ้านตากอากาศ แต่เป็นบ้านอีกหลังที่หากคุณพ่อเกษียณแล้วคงมาอยู่กัน” มองจากภายนอกบ้านหลังนี้ดูใหญ่โตทีเดียว แต่ความจริงแล้วการออกแบบเริ่มมาจากการสร้างพื้นที่ส่วนตัวของแต่ละคน แล้วจึงนำมาผนวกเข้าด้วยกัน “บ้านที่อยู่ปัจจุบันเป็นบ้านเดี่ยวที่อยู่ร่วมกัน บ้านใหม่ก็เลยอยากให้ทุกคนได้มีพื้นที่ของตัวเอง แล้วก็เชื่อมพื้นที่เหล่านั้นด้วยโถงทางเดิน เปิดพื้นที่ตรงกลางเป็นสวนและกั้นความเป็นส่วนตัวของทุกห้องออกจากกัน แต่ก็ยังหลวมพอที่ลมจะไหลเวียนผ่านทุกส่วนของบ้านได้” บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน หลังนี้จึงมีรายละเอียดของแต่ละพื้นที่ที่ทับซ้อนเข้าด้วยกันอย่างลงตัว โดยมีลานหินกรวดซึ่งปลูกต้นไม้ใหญ่สองสามต้นอยู่ตรงกลาง หากมองจากด้านบนก็จะเห็นว่ามีส่วนกั้นให้เกิดความเป็นส่วนตัวและเพิ่มความสดชื่นให้ทุกพื้นที่ในบ้าน แต่มองจากด้านล่างกลับดูนิ่งสงบ เข้ากับห้องทำงานของคุณเต้อที่ต้องการสมาธิในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม ทางเดินทั้งหมดภายในบ้านและระเบียงของแต่ละห้องตั้งอยู่บนคานยื่น (Cantilever) ด้วยเหตุผลเรื่องความคุ้มค่าและรูปแบบทางสถาปัตยกรรม […]

บ้านในฝันกลางป่าและนาผืนพอดี

บ้านในฝันกลางป่า และผืนนา เป็นบ้านพักผ่อนต่างจังหวัดที่สร้างแบบปูนเปลือยและเน้นเปิดรับความร่มรื่นอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ

บ้านทรงสี่เหลี่ยมหลังคาจั่ว จุดเริ่มต้นของความพอดี

บ้านชั้นเดียว สีขาว หลังนี้ตั้งอยู่ในละแวกเส้นทางแม่ริม – โป่งแยง จังหวัดเชียงใหม่ ในอดีตเคยเป็นหมู่บ้านจัดสรรเก่า แต่ปัจจุบันมีต้นไม้ขึ้นครึ้มจนปิดบังภาพเดิมของหมู่บ้านนี้ไปเกือบหมด คุณทองมา – จำเนียร ทองมา ศิลปินและประติมากรฝีมือเยี่ยม ผู้เป็นเจ้าของบ้านหลังนี้ เล่าถึงที่มาของบ้านให้ฟังว่า “ผมเจอที่ดินตรงนี้ ก็เพราะเพื่อนชวนให้มาตกแต่งห้องของเขา ซึ่งก็อยู่ข้างบ้านผมนี่เอง ผมเห็นที่ดินแล้วชอบ เพื่อนก็ชวนให้มาอยู่เป็นเพื่อนบ้านกัน ผมใช้เวลาตัดสินใจไม่นาน เพราะที่นี่มีสิ่งที่ผมชอบหลายอย่าง เช่น เป็นที่ที่อยู่กลางธรรมชาติ มีป่าและลำธารที่ได้ยินเสียงน้ำไหลรินตลอดเวลา อาจเป็นเพราะว่าผมทำงานที่ค่อนข้างดิบ ๆ จึงอยากอยู่แบบธรรมชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานของผมได้ดี  ” บ้านชั้นเดียว สีขาว ไม่เกิน 4 เดือน บ้านชั้นเดียว หลังนี้ก็สร้างเสร็จ จากเดิมที่ที่ดินผืนนี้เต็มไปด้วยหญ้าสูงท่วมศีรษะ มีต้นไม้ขึ้นรกชัฏ ก็เปลี่ยนสภาพเป็นที่ดินพร้อมปลูกที่อยู่อาศัยเหมือนเมื่อครั้งเป็นที่ดินจัดสรรตอนแรกเริ่มโครงการ บนพื้นที่ 1 ไร่ คุณทองมาได้วางแผนล่วงหน้าแล้วว่า จะทำเป็นสตูดิโอทำงานศิลปะและส่วนพักอาศัย ซึ่งทั้งสองส่วนนี้กินพื้นที่ประมาณเท่ากัน ด้านริมถนนเป็นส่วนสตูดิโอ ส่วนด้านหลังติดลำธารเล็กๆเป็นบ้านพัก โดยทุกหลังสร้างเป็นอาคารชั้นเดียวสีขาว หลังคาจั่ว ดูสงบและสบายส่วนที่เป็นบ้านพัก วางแปลนเป็นรูปตัวแอล ( L ) […]

บ้านโมเดิร์น ทรงเหลี่ยมๆ บนหินทรงกลม ๆ

บ้านโมเดิร์น บนที่ดินที่คาดคะเนว่าอาจมีน้อยคนนักที่จะสนใจที่ดินผืนนี้…ทำไมน่ะหรือ Design Directory สถาปนิก : Kusol Im-Erbsin บ้านโมเดิร์น ก็เพราะบริเวณนี้เต็มไปด้วยหิน ไม่ใช่หินธรรมดาเสียด้วย เป็นหินก้อนกลมขนาดใหญ่มาก ดังนั้นการวางแปลนบ้านก็จะยากกว่าบ้านทั่วไปหรือแม้แต่บ้านบนเนินเขาหลายเท่านัก แต่เจ้าของบ้านหลังนี้กลับไม่คิดเช่นนั้น ที่ดินขนาดประมาณ 1 ไร่นี้ดูคับแคบกว่าความเป็นจริง เพราะเต็มไปด้วยหินธรรมชาติขนาดยักษ์ ขอบเขตของพื้นที่ต่ำกว่าระดับถนนลงไปเป็นผาหินชัน บังตัวบ้านสองชั้นจนมองเห็นแค่หลังคาบางส่วนเท่านั้น เราจึงไม่อาจคาดเดาหน้าตาของบ้านว่าจะมีลักษณะเป็นเช่นไร ที่ดินที่มีระดับแตกต่างกันมาก ประกอบกับเต็มไปด้วยหิน ทำให้การออกแบบอาคารต้องแยกพื้นที่ใช้สอยให้ห่างกัน เป็น บ้านโมเดิร์น ภายใต้หลังคาแบบเพิงหมาแหงนที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน โดยทุกพื้นที่จะมีการ “เล่นเส้น” อย่างแยบยล สร้างความเชื่อมโยงและปรับความรู้สึกของแปลนรูปทรงสี่เหลี่ยม ผืนผ้าที่น่าเบื่อด้วยการออกแบบโครงสร้างที่ยกระดับพื้นให้ลดหลั่นกัน เปิดฝ้าเพดานขึ้นไปจนติดหลังคา ปล่อยเปลือยโครงสร้างบางส่วนเพื่อรับแสงด้านข้างและลวงตาให้เกิดเป็นเส้นสายในงานออกแบบ ทำให้รูปทรงดูต่างออกไป และสร้างความรู้สึกสบายยิ่งขึ้น ด้วยลักษณะของพื้นที่ การวางตำแหน่งอาคารจึงแยกเป็น 3 หลัง มีเรือนหลังใหญ่สองชั้นที่วางแปลนเป็นรูปตัวที (T) ชั้นบนเป็นส่วนนั่งเล่นแบบเปิดโล่ง เผยให้เห็นงานโครงสร้าง ผนังด้านในบางส่วนตีไม้ระแนง บางส่วนเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูนสลับกับกระจกใส มีระเบียงโล่งแนวขวางตั้งฉากกับห้องจัดเป็นส่วนรับประทานอาหารแบบเอ๊าต์ดอร์ ส่วนชั้นล่างของเรือนใหญ่แม้จะเน้นให้มีความเรียบโล่ง แต่ก็มีผนังกั้นเพื่อความเป็นสัดส่วนมากกว่าชั้นบน หลักๆ ออกแบบเป็นผนังบานเลื่อนกระจกใสขนาดใหญ่เต็มผนัง ประกอบด้วยส่วนนั่งเล่นที่ออกแบบเป็นเตียงขนาดใหญ่ ใกล้กันเป็นห้องรับประทานอาหารกึ่งทางการ และส่วนที่อยู่ในสุดเป็นแพนทรี่แบบทันสมัย เรือนหลังที่สองเป็นเรือนชั้นเดียว […]

เทียบขอบน้ำ เทียมขอบฟ้า

ลักษณะที่โดดเด่นของบ้านหลังนี้คือออกแบบเป็นบ้าน 3 หลังแยกจากกัน โดยมี” ชานไม้ “เชื่อมต่อพื้นที่ให้เป็นผืนเดียวกัน ดูคล้ายแนวคิดการสร้างบ้านไทยในอดีต

อยู่กับบ้าน…อยู่กับธรรมชาติ

แนวทางการทำบ้านที่ใกล้ชิดธรรมชาติเป็นหัวใจหลักของหนังสือ NATURE HOMES เราพบว่าเจ้าของบ้านแต่ละคนนอกจากจะมีรสนิยมในการอยู่อาศัยกับธรรมชาติแล้ว พวกเขายังทำบ้านที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม น่าอยู่ อบอุ่น เรียบง่าย และติดดิน  จัดสรรพื้นที่ทำงานให้สอดคล้องกับการอยู่บ้านได้อย่างกลมกลืน มีงานอดิเรกดี ๆ ที่ทำให้หัวใจเป็นสุข มีอาหารอร่อยจากพืชผักและผลไม้ในสวน มีระเบียงกว้างให้ออกมานั่งชมต้นไม้ใบหญ้า ไม่สะสมข้าวของมากมายเกินจำเป็น ใช้ชีวิตแบบ Slow Living  มีจังหวะช้า ๆ ทว่ามั่นคง ยั่งยืน   ข้อคิดในการอยู่อาศัยกับธรรมชาติจากบ้านทั้ง 9 หลัง ภายในบ้านทำช่องเปิดและช่องแสงมากมายเพื่อรับแสงธรรมชาติ ทำให้บ้านสว่าง โปร่งโล่ง ไม่ติดเครื่องปรับอากาศหรือใช้เท่าที่จำเป็น เลือกใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น ช่วยประหยัดการซื้อวัสดุใหม่ และการขนส่ง ใช้ต้นทุนในการทำบ้านแบบจำกัดงบประมาณ บางอย่างลงมือทำเอง ทำให้เห็นคุณค่าของวัสดุและงานทำมือ ใช้วัสดุจากธรรมชาติเป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างบ้านทั้งไม้ ดิน ซึ่งไม่สะสมความร้อน ทำให้บ้านอยู่สบาย ใช้ไม้เก่าสร้างบ้าน เลือกขนาดไม้ตามการใช้งาน และตัดไม้เท่าที่จำเป็น รวมทั้งนำวัสดุเหลือใช้มาดัดแปลงเป็นของตกแต่งบ้านดีไซน์เก๋ที่มีเพียงชิ้นเดียว ทำระเบียงกว้างเชื่อมต่อระหว่างในบ้านและนอกบ้านทำให้รู้สึกใกล้ชิดเป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติ บ้านหลายหลังอยู่ในชนบท เปิดบ้านออกมาเจอภูเขา ทุ่งนา แม่น้ำ แปลงผัก ส่วนบ้านในเมืองก็เลือกใช้วิธีทำหน้าต่างบานกว้าง ม องเห็นต้นไม้ที่ปลูกอยู่ภายนอกหยิบยืมบรรยากาศสวนให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน วางตำแหน่งห้องน้ำ […]

เว้นไว้ให้ธรรมชาติ

 อีกครั้งที่เราเดินทางมายังกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย 

INSIDE OUT – OUTSIDE IN นอกบ้าน ใน บ้านธรรมชาติ เข้าถึง

บ้านเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติและธรรมชาติก็ต้องเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน ก่อเกิดเป็นบ้านที่เคียงคู่ธรรมชาติ…