กะเพรา

กอมก้อ/กอมก้อดง/กะเพราขน/กะเพราขาว/กะเพราแดง/ห่อกวอซู/ห่อตูปลู/อิ่มคิมหลำ/อีตู่ไทย/Holy Basil/Sacred Basil ชื่อวิทยาศาสตร์: Ocimum tenuiflorum L. วงศ์: Lamiaceae ประเภท: ไม้พุ่ม อายุ 1-2 ปี  ลำต้น: พุ่มสูง 50-75 เซนติเมตร ลำต้นและกิ่งก้านเป็นเหลี่ยม มีขน ใบ: ใบรูปไข่แกมรี มีขนนุ่มทั่วใบ มีกลิ่นหอม ดอก: ดอกออกเป็นช่อคล้ายฉัตร ดอกรูปปาก กะเพรามี 2 ชนิด คือ กะเพราขาว มีกิ่งก้านใบและช่อดอกสีเขียว และกะเพราแดง มีกิ่งก้านใบและช่อดอกสีม่วงแดง  อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไร – จัด น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นผักสวนครัว หลังปลูกอายุ 70 วัน ก็เก็บส่วนยอดและใบมาทำอาหารได้ ยิ่งเด็ดก็ยิ่งแตกยอดใหม่ทดแทน เมื่อออกดอกควรตัดช่อดอกที่แก่ออกบ้างเพื่อช่วยยืดอายุของต้น เนื่องจากกะเพรามีกลิ่นและรสที่รุนแรง จึงนิยมใช้ปรุงแต่งกลิ่นและดับคาวในอาหารจานเนื้อ […]

ดอกไม้ทำไมจึงหอม

ดอกไม้ เป็นผลผลิตจากต้นไม้ มีทั้งที่หอมและไม่หอม  จริงหรือไม่ ที่ไม้ดอกหอมส่วนใหญ่มักมีสีขาว เรามาเรียนรู้ไปด้วยกัน พรรณไม้ชนิดต่างๆ ที่ดอกมีกลิ่นหอมเกิดจากน้ำมันหอมระเหย (Essential Oil หรือ Volatile Oil) ที่พืชสังเคราะห์ขึ้น แล้วลำเลียงไปเก็บไว้ในต่อมหรือเซลล์พิเศษ ซึ่งกระจายอยู่ในฐานรองดอก กลีบดอก เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย คนเราจะได้กลิ่นหอมของดอกไม้ก็ต่อเมื่อดอกไม้บาน เพราะน้ำมันหอมระเหยที่แทรกอยู่ตามส่วนต่างๆ ของดอกจะระเหยออกมาทำปฏิกิริยากับอากาศ เกิดกลิ่นหอมที่ทำให้จมูกรับกลิ่นได้ ดอกไม้แต่ละชนิดจะมีกลิ่นเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป มีทั้งหอมมาก หอมน้อย หอมอ่อนๆ หอมหวาน และหอมเย็น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบและน้ำหนักโมเลกุลของสารประกอบในน้ำมันหอมระเหย แต่ดอกไม้แต่ละชนิดก็มีช่วงเวลาดอกบานต่างกัน เช่น บานเวลาเย็น พลบค่ำหรือตอนเช้า ระยะเวลาดอกบานก็ไม่เท่ากันบางชนิดบานหลายวัน แต่บางชนิดบานเพียงวันเดียวก็โรย ช่วงเวลาการส่งกลิ่นก็ต่างกัน บางชนิดส่งกลิ่นหอมตลอดเวลา บางชนิดส่งกลิ่นเฉพาะบางช่วงเวลา เช่นในช่วงพลบค่ำ เช้าตรู่ หรือช่วงสาย เมื่อมีจุดเด่นเป็นกลิ่นหอมแล้ว ธรรมชาติจึงสรรค์สร้างให้ดอกไม้ประเภทนี้มีสีสันไม่ค่อยสะดุดตา  ส่วนใหญ่จึงมีสีขาวหรือสีขาวนวล ขนาดดอกเล็ก  ต่างจากดอกไม้ทั่วไปที่มีสีสันฉูดฉาดเพื่อล่อแมลง แต่ก็มีไม้ดอกหอมหลายชนิดที่ดอกมีสีสันสดใส เช่น เทียนกิ่ง บานบุรีหอม ประยงค์ เล็บมือนาง ชงโคฮอลแลนด์ ชัยพฤกษ์ […]

ดอกไม้ทำไมจึงหอม

ดอกไม้ เป็นผลผลิตจากต้นไม้ มีทั้งที่หอมและไม่หอม  จริงหรือไม่ ที่ไม้ดอกหอมส่วนใหญ่มักมีสีขาว เรามาเรียนรู้ไปด้วยกัน พรรณไม้ชนิดต่างๆ ที่ดอกมีกลิ่นหอมเกิดจากน้ำมันหอมระเหย (Essential Oil หรือ Volatile Oil) ที่พืชสังเคราะห์ขึ้น แล้วลำเลียงไปเก็บไว้ในต่อมหรือเซลล์พิเศษ ซึ่งกระจายอยู่ในฐานรองดอก กลีบดอก เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย คนเราจะได้กลิ่นหอมของดอกไม้ก็ต่อเมื่อดอกไม้บาน เพราะน้ำมันหอมระเหยที่แทรกอยู่ตามส่วนต่างๆ ของดอกจะระเหยออกมาทำปฏิกิริยากับอากาศ เกิดกลิ่นหอมที่ทำให้จมูกรับกลิ่นได้ ดอกไม้แต่ละชนิดจะมีกลิ่นเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป มีทั้งหอมมาก หอมน้อย หอมอ่อนๆ หอมหวาน และหอมเย็น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบและน้ำหนักโมเลกุลของสารประกอบในน้ำมันหอมระเหย แต่ดอกไม้แต่ละชนิดก็มีช่วงเวลาดอกบานต่างกัน เช่น บานเวลาเย็น พลบค่ำหรือตอนเช้า ระยะเวลาดอกบานก็ไม่เท่ากันบางชนิดบานหลายวัน แต่บางชนิดบานเพียงวันเดียวก็โรย ช่วงเวลาการส่งกลิ่นก็ต่างกัน บางชนิดส่งกลิ่นหอมตลอดเวลา บางชนิดส่งกลิ่นเฉพาะบางช่วงเวลา เช่นในช่วงพลบค่ำ เช้าตรู่ หรือช่วงสาย เมื่อมีจุดเด่นเป็นกลิ่นหอมแล้ว ธรรมชาติจึงสรรค์สร้างให้ดอกไม้ประเภทนี้มีสีสันไม่ค่อยสะดุดตา  ส่วนใหญ่จึงมีสีขาวหรือสีขาวนวล ขนาดดอกเล็ก  ต่างจากดอกไม้ทั่วไปที่มีสีสันฉูดฉาดเพื่อล่อแมลง แต่ก็มีไม้ดอกหอมหลายชนิดที่ดอกมีสีสันสดใส เช่น เทียนกิ่ง บานบุรีหอม ประยงค์ เล็บมือนาง ชงโคฮอลแลนด์ ชัยพฤกษ์ […]