สวนทรอปิคัลบนพื้นที่ 200 ตารางเมตร ริมทะเลสาบ

เจ้าของบ้านตั้งใจซื้อทะเลสาบ และที่ดินขนาดเกือบ 200 ตารางเมตร ที่เดิมเคยเป็นแคมป์คนงานก่อสร้างของหมู่บ้าน ไว้สำหรับปลูกต้นไม้ใหญ่และสร้างบ้านพักตากอากาศให้ครอบครัว ครั้งนี้เรามีนัดกับนักจัดสวนหน้าใหม่ คุณบอล-สุรศักดิ์ เหรียญทอง แห่ง Plearn Bai Landscape จากพ่อค้าขายต้นไม้ที่ไม่มีความรู้เรื่องการออกแบบจัดสวนเลย เขาขวนขวายและหมั่นฝึกฝีมือมาหลายปีจนเริ่มมีผลงานเป็นที่รู้จัก “สำหรับสวนนี้ คุณปริญ นวสนธิไกร เจ้าของบ้าน เป็นลูกค้าต้นไม้ของผมมาก่อน และผมเคยไปจัดสวนที่บ้านเพื่อนๆ ของคุณปริญด้วย โจทย์คืออยากได้สวนน้ำตกที่ดูไม่รก ต้นไม้ไม่ต้องแน่นไม่ต้องเยอะมากนักครับ” “พื้นที่ที่อยู่ริมน้ำอาจเกิดการทรุดตัวหรือการยวบของดินได้ครับ ดีที่ดินด้านล่างค่อนข้างแน่น แต่เราก็ต้องเตรียมโครงสร้างต่างๆ เพื่อรองรับและป้องกันไว้ก่อน ผมเลือกใช้หินแกรนิตไข่ซึ่งมีน้ำหนักค่อนข้างมาก ใช้รวมๆ เกือบร้อยตัน โครงสร้างใต้ดินเพื่อรองรับน้ำหนักงานฮาร์ดสเคปต่างๆ จึงต้องทำให้มีความแข็งแรงมากเป็นพิเศษ ส่วนของน้ำตกและลำธารลงเสาเข็มรองรับไว้ทั้งหมด ใช้สว่านเจาะและขุดดินลึกลงไป 3-4 เมตร ผูกเหล็กแล้วเทปูนหล่อลงไปเป็นเสาเข็ม ก็เหมือนกับทำเสาเข็มขึ้นมาใหม่ที่หน้างาน ซึ่งวิธีนี้ส่วนผสมของเนื้อปูนจะมีความแน่น มั่นคงแข็งแรงกว่าเสาเข็มสำเร็จรูปทั่วไป และเราสามารถเลือกขนาดเหล็กที่ผูกอยู่ด้านในให้ใหญ่กว่าปกติเพื่อเพิ่มความแข็งแรงได้ครับ “สวนมีขนาดใหญ่และเป็นที่ราบ ผมเททรายถมดินเพื่อปรับระดับพื้นที่ใหม่ให้มีสเต็ปเพิ่มขึ้นเป็น 2-3 ระดับ โซนน้ำตกด้านในจะเป็นบริเวณที่สูงที่สุด แต่ก็สูงจากเดิมมาแค่ 15 เซนติเมตรเท่านั้น ทำสโลป ลาดลงไปที่ทะเลสาบเพื่อให้สวนดูมีมิติมากขึ้น และยังช่วยเรื่องการระบายน้ำในสวนด้วย “แรกเลยเจ้าของบ้านอยากให้น้ำตกอยู่ข้างบ้านพักแล้วไหลลงไปที่ทะเลสาบ มีทางเดินข้ามลำธาร […]

บ้านเยื้องทะเลสาบที่หลบเหลี่ยม รับวิว ธรรมชาติอย่างเป็นส่วนตัว

คล้ายบ้านใต้ถุนสูง แต่คือบ้านไทยในสไตล์โมเดิร์น ทั้งยังเปิด รับวิว ทะเลสาบได้อย่างไม่ทิ้งความเป็นส่วนตัวไปแม้แต่น้อย DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Physicalist บ้านหลังนี้ เป็นบ้านที่เหมือนกับอยู่ติดกับทะเลสาบ แต่กลับเป็นแนวเยื้องไม่ได้ติดกับทะเลสาบเสียทีเดียว การออกแบบเพื่อเชื่อมโยงเอาธรรมชาติเข้ามาสู่การอยู่อาศัยจึงเข้ามาสร้างความพิเศษให้กับบ้านหลังนี้ ทั้งยังเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจขององค์ประกอบร่วมระหว่าง บ้านใต้ถุนสูงอย่างไทยเดิม และบ้านในยุคหนึ่งของไทยที่ตกแต่งด้วยสวนหย่อม และผนังหิน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบบ้านในสไตล์ Thai-Modern บอกเลยว่าบ้านนี้ต้องโดนใจอย่างแน่นอน บ้านยกสูงอย่างไทยในจริตโมเดิร์นเมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ บ้านเดิมนั้นได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม จึงทำให้การออกแบบใหม่ในครั้งนี้บ้านหลังจึงมีการยกสูงขึ้นไปให้พื้นที่พักอาศัยนั้นอยู่บนชั้นสอง ข้อดีก็คือสามรถรับวิวทะเลสาบได้โดยไม่ถูกบดบัง แต่การออกแบบให้สวยงามลงตัวก็เป็นอีกโจทย์ท้าทายของผู้ออกแบบ พื้นที่ชั้นล่างนั้น จะออกแบบให้เป็นลานโล่ง และห้องออกกำลังกาย และเมื่อเดินขึ้นสู่ชั้น 2 จึงจะกลายเป็นห้องรับแขกที่ดูคล้ายลอยตัวอยู่เหนือคอร์ตด้วยความบางเบา ด้วยการออกแบบโครงสร้างเหล็กในส่วนของห้องรับแขก และการเลือกใช้องค์ประกอบผนังหินที่ก่อตัวคล้ายเสารับน้ำหนักที่คอร์ตด้านล่างอาคาร ทำให้ชุดห้องที่ยื่นออกมาดูเบา และลงตัว นอกจากนี้ ห้องนอนทั้งหมดที่ชั้นบนยังหลบซ่อนอย่างเป็นส่วนตัวด้วยองค์ประกอบผนังซิกแซกที่ปิดมุมมองจากภายนอกทางหน้าบ้าน และเปิดมุมมองสู่ธรรมชาติวิวทะเลสาบที่ด้านหลังได้อย่างน่าสนใจ ผนังซิกแซกเปิดรับวิวอย่างเป็นส่วนตัวเมื่อต้องการรับวิวทะเลสาบ การเปิดรับวิวโดยไม่ทำให้ความเป็นส่วนตัวถูกรบกวน จึงออกมาเป็นผนังซิกแซกอย่างที่เห็น ผนังนี้จะมีช่องหน้าต่างในทิศที่หันออกไปสู่ทะเลสาบ แต่เมื่อมองมาจากถนนใหญ่ จะไม่สามารถมองเห็นด้านในของส่วนพักอาศัยได้ จึงทำให้ห้องนอนของบ้านหลังนี้ ได้ทั้งวิว ทั้งความเปิดโล่ง แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวไว้ได้อย่างเต็มเปี่ยม ผลพลอยได้ของผนังซิกแซกนี้ คือการที่แสงที่ส่องผ่านเข้าสู่ภายในอาคาร กลายเป็นแสงแบบ Indirec Light ที่ดูนวลตา สร้างให้เกิดบรรยากาศสบาย ๆ ได้อีกทาง […]