เจาะลึกช่องทางรายได้จากสมุนไพรไล่แมลง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมสูตรการทำ

ปัญหาแมลงศัตรูพืชบุกรบกวนต้นไม้ในสวนเป็นเรื่องน่ากังวลใจไม่น้อย จะใช้สารเคมีก็อาจเกิดการตกค้างและเป็นอันตรายได้ ครั้งนี้เป็นโอกาสอันดีที่เราได้มาพูดคุยกับ ดร.เทิดศักดิ์ โทณลักษณ์ อาจารย์ประจําสาขาวิชาวิทยาการสมุนไพร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้ศึกษาและวิจัยพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณไล่แมลง ซึ่งถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่ปลอดภัยและได้ผลดี โดยเฉพาะกับแปลงผักสวนครัวรั้วกินได้ในสวนของเรา จากแปลงปลูกสู่มือประชาชน ภายในแปลงเพาะชําของคณะผลิตกรรมการเกษตรแห่งนี้เป็นที่ปลูกพืชซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการทําสมุนไพรไล่แมลง เช่น ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ไพล กระชายดํา โดยที่นี่เป็นทั้งที่เพาะขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ ไปจนถึงทดลองแปรรูปสมุนไพรในรูปแบบต่างๆ เช่น น้ํามันหอมระเหย พร้อมกับเป็นแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกรหรือประชาชนที่สนใจมาศึกษาจนสามารถนําไปเพาะปลูกเองได้ต่อไป หลายคนอาจสงสัยว่าการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อสร้างพันธุ์ใหม่หรือเพื่อให้พืชกลายพันธุ์นั้นมีจุดประสงค์เพื่ออะไร อาจารย์เทิดศักดิ์ขยายความให้ฟังว่า เพื่อให้พืชมีสารที่เราต้องการใช้มากขึ้นกว่าเดิม โดยจะใช้รังสีแกมมาทําให้เกิดการตกค้างที่ทําให้เซลล์หรือสารพันธุกรรมพวกดีเอ็นเอหรือโครโมโซมของพืชเสื่อมสภาพและแตกหัก พอต้นไม้เครียดก็จะสร้างสารออกมาในปริมาณที่มากขึ้นจนกลายพันธุ์ไปเอง จากนั้นจึงต้องคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม เพื่อนําไปแจกจ่ายให้เกษตรกรหรือหน่วยงานที่ต้องการใช้ต่อไป ตะไคร้หอม  ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon nardus (Linn.) Rendle ตะไคร้หอมเป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน พืชชนิดนี้กําลังเป็นที่สนใจเนื่องจากใบมีสารซิโทรเนลลา(Citronella) ซึ่งมีฤทธิ์ทําให้ยุงและแมลงศัตรูพืชเบื่ออาหารหรือตายภายใน 3–4 วัน อีกทั้งยังทนแล้งได้ดี และลงทุนไม่สูงนัก หลังจากปลูกเพียง 6 เดือนก็สามารถเก็บผลผลิตได้ โดยการตัดใบประมาณ 1/3 จากนั้นต้นจะแตกใบใหม่และพร้อมให้ตัดใหม่ทุก 3 เดือน โดยพื้นที่ปลูกขนาด 1×5 […]

แมงลักคา

การา/Wild Spikenard ชื่อวิทยาศาสตร์: Hyptis suaveolens (L.) Poit. วงศ์: Lamiaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี/วัชพืช ความสูง: ได้ถึง 1.50 เมตร ลำต้น: เป็นพุ่ม แตกกิ่งก้านมาก มีขนทั่วไปและมีกลิ่นฉุน   ใบ: รูปไข่ ปลายแหลม ยาว 3-7 เซนติเมตร ดอก: เป็นช่อตามซอกใบ 2-5 ดอก กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วยแบนหรือรูประฆัง ปากถ้วยเป็นหนามแหลม 5 อัน ด้านนอกมีขนยาวปกคลุม ดอกสีม่วงอ่อน ผล: ผลและเมล็ดอยู่ภายในกลีบเลี้ยงรูปถ้วย อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง -มาก แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ:  พบตามริมทาง ที่รกร้าง และป่าละเมาะทั่วไป เป็นสมุนไพร […]