แนบอุรา ต้นไม้เลื้อยแห่งหัวใจที่คล้ายกัน จาก 2 สกุล Scindapsus และ Rhaphidophora

เมื่อพูดถึงไม้ใบที่เรียกกันว่า “แนบอุรา” หรือ “หัวใจแนบ”ภาพในความคิดของหลายคนคงหนีไม่พ้นไม้ใบรูปหัวใจที่มักจำหน่ายเป็นไม้กระถางต้นเจริญเกาะเลื้อยแนบชิดกับแผ่นไม้เรียบหลากหลายขนาดแผ่นใบมีลวดลายหลากหลายแต่ก็ล้วนสะดุดตาแค่เพียงนำไปวางตกแต่งในบ้านหรือประดับสวนก็ช่วยเพิ่มเสน่ห์ชวนมองได้ไม่แพ้ไม้ใบชนิดอื่นลงสวนฉบับนี้จึงพาไปรู้จักไม้ใบลายสวยสุดเก๋เหล่านี้กัน แนบอุรา หัวใจแนบ Scindapsus pictus Hassk. ‘Argyraeus’ ไม้เลื้อยขนาดเล็ก เลื้อยได้ไกล 1-3 เมตร มีรากออกจากลำต้นเพื่อพยุงต้นให้เติบโต ใบรูปหัวใจออกเรียงสลับซ้ายขวาในระนาบเดียวกัน ลักษณะเด่นของชนิดนี้คือ แผ่นใบหนาสีเขียวอมเทาเป็นกำมะหยี่ มีแต้มด่างสีบรอนซ์เงินหลากหลายรูปแบบ อาจเป็นแต้มเล็ก ๆ หรือเป็นปื้นทั่วใบ จึงมีชื่อสามัญว่า Satin Pothos, Silk Pothos, Silver Hilodendron เป็นไม้ประดับที่นิยมปลูกเลี้ยงในเมืองไทยมานานแล้ว นอกจากแนบอุราสกุลซินแด็ปซัส (Scindapsus) ยังมีไม้ใบในสกุลราฟิโดฟอรา (Rhaphidophora) บางชนิดที่เรียกแนบอุราเช่นกัน ลักษณะเป็นไม้เลื้อย มีรากออกตามข้อ เมื่อยังเล็กใบรูปหัวใจหรือใบรี แต่เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นอีกรูปทรงหนึ่งซึ่งแตกต่างจากเดิมอย่างเห็นได้ชัดเจน นิยมนำมาเลี้ยงให้เลื้อยขึ้นบนแผ่นไม้ ผนัง หรือใส่ในตู้เทอร์ราเรียม ตัวอย่างเช่น     แนบอุราชอบวัสดุปลูกโปร่งระบายน้ำได้ดีต้องการน้ำปานกลางความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูงแสงรำไรสามารถทนร่มได้ดีจึงปลูกเลี้ยงในบ้านได้แทบทุกชนิดเติบโตค่อนข้างช้านิยมปลูกเป็นไม้กระถางแขวนหรือเกาะกับหลักนำมาเลี้ยงให้เลื้อยขึ้นบนแผ่นไม้ผนังหรือลำต้นไม้ใหญ่ที่ชุ่มชื้นและเย็นหากได้รับแสงและความชื้นไม่เพียงพอรากและลำต้นจะไม่เกาะแนบกับพื้นผิววัสดุขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง เรื่อง: อังกาบดอย ภาพ: อภิรักษ์ สุขสัย, ธนกิตติ์ คำอ่อน ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับไม้ใบหลากหลายชนิดได้เพิ่มเติมใน หนังสือ […]

รวมฟิโลเดนดรอนยอดฮิต ที่สุดของไม้ใบที่ใครๆก็รัก และมีติดบ้าน

ฟิโลเดนดรอน ด้วยรูปทรงใบที่สวยงามโดดเด่น ดูแลง่าย อดทน และโตเร็ว เหมาะกับการปลูกไว้ในบ้าน ใครที่อยากเป็นเจ้าของลองดูกันว่ามีตัวไหนน่าสนใจ

บุกเนิร์สเซอรี่ไม้ใบหายากที่มาจากทั่วโลก จากนักสะสม สู่นักจัดสวนและจำหน่ายต้นไม้ราคาหลักล้าน

เพราะทุกความงามต่างมีเบื้องหลังและที่มาที่ไป เช่นเดียวกับสวนสวยหลายแห่งซึ่งเป็นผลงานของ Bensley Design Studios ที่เราเคยได้ชม ไม่ว่าจะเป็นโรงแรมระดับโลกอย่าง Four Seasons Tented Camp , Four Seasons Koh Samui , Kempinski Udaipur , The Siam หรือ Indigo Pearl นอกเหนือจากการออกแบบอย่างพิถีพิถันของคุณบิล เบนสเลย์ และคุณหนึ่ง–จิระชัย เร่งทองกับทีมงานแล้ว พระเอกที่ช่วยให้สวนของ Bensley Design Studios ยังคงเอกลักษณ์และความงามแบบนี้ได้ก็คือไม้ใบสีสันฉูดฉาดสไตล์สวนป่าเขตร้อนชื้น ซึ่งส่วนใหญ่นํามาจากเนิร์สเซอรี่ไม้ใบ “สวนโบทานิก้า” ของคุณหนึ่งที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ เนิร์สเซอรี่แห่งนี้คือสถานที่เก็บรวบรวมพรรณไม้หลายร้อยสายพันธุ์สําหรับใช้ในการจัดสวนของ Bensley Design Studios ซึ่งบางส่วนก็นําไปจําหน่ายให้ผู้รักต้นไม้และบุคคลทั่วไปที่ตลาดคําเที่ยงในตัวเมืองเชียงใหม่อีกด้วยตลอดระยะเวลาหลายสิบปีนับจากที่คุณหนึ่งได้เริ่มสร้างที่นี่ด้วยจุดประสงค์เพื่อสะสมพรรณไม้ใบและไม้เขตร้อนชื้นจากทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะตระกูลสับปะรดสี หมากผู้หมากเมีย ฟิโลเดนดรอน อโกลนีมา หน้าวัว คล้า และอากาเว่ โดยทําโรงเรือนในลักษณะเปิดโล่ง คลุมหลังคาด้วยซาแรนหรือตาข่ายพรางแสงสีดําเพื่อให้พรรณไม้เบื้องล่างได้รับแสงรําไร โดยมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดทั้งวัน “ พอเราซื้อต้นไม้ทั้งหมดมาก็ต้องนํามาทดลองปลูกว่าเหมาะสมที่จะปลูกเลี้ยงที่นี่ได้ไหม จากนั้นจึงนําไปขยายพันธุ์ต่อ […]

รู้จักการปลูกบอนสี ต้นไม้ที่กำลังมาแรงและสามารถปลูกในบ้านได้

การปลูกไม้ใบในบ้านรวมถึงปลูกในกระถางประดับตามมุมต่างๆของสวนกลายเป็นเรื่องฮิตจนหลายคนหันมาปลูกเลี้ยงไม้ประดับกันมากขึ้น มีการตามหาไม้ใบสวยหลากหลายรูปแบบเพื่อให้ได้มาครอบครอง หนึ่งในนั้นคือ “ บอนสี ” ซึ่งคนไทยรู้จักและปลูกเลี้ยงกันมานาน มีการพัฒนาสายพันธุ์จนเกิดลูกผสมใหม่ๆ และได้รับยกย่องว่าเป็น “ ราชินีแห่งไม้ใบ ” บอนสี ที่นิยมปลูกกันทั่วไปอยู่ในสกุลคาลาเดียม(Caladium) วงศ์Araceae เป็นพืชที่มีหัวสะสมอาหารใต้ดินคล้ายหัวมันฝรั่งทุกส่วนอวบน้ํา ใบมีหลายขนาดและหลายรูปทรง ทั้งรูปหัวใจ รูปหอก รูปกลมหรือรีและรูปแถบ มีสีสันลวดลายสวยงามแตกต่างกันทั้งสีแดง ชมพู เหลือง เขียว ขาว ก้านใบกลมมีทั้งสั้นและยาว ช่อดอกเป็นช่อเชิงลดมีกาบ ปลีดอกมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียที่สมบูรณ์ บานช่วงเย็นและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ โดยธรรมชาติแล้วบอนสีเป็นไม้ใบที่ต้องการความชื้นสูง มีแสงแดดรําไร ไม่ร้อนจัด และมักพักตัวในช่วงฤดูหนาวโดยทิ้งใบเหลือแต่หัวอยู่ใต้ดิน จนเข้าสู่ฤดูฝนจึงผลิใบใหม่เติบโตอีกครั้ง จึงมีการพัฒนาการปลูกเลี้ยงในตู้ หรือกระโจมเพื่อรักษาความชื้นและอุณหภูมิให้คงที่ป้องกันลมโกรก ทําให้ชะลอการพักตัวได้ ต้นก็จะสวยตลอดปี ซึ่งปัจจุบันมีหลายชนิดและพันธุ์ที่นิยมปลูกเลี้ยงกัน สำหรับผู้ที่ต้องการปลูกเลี้ยงบอนสีในบ้าน ควรเลือกสายพันธุ์ที่ทนทาน วางกระถางไว้ในตําแหน่งที่มีแสงค่อนข้างมาก ไม่ควรอยู่ในห้องปรับอากาศที่เย็นเกินไป เพราะต้นจะพักตัวทิ้งใบหมด หมั่นหมุนกระถางอยู่เสมอเพื่อไม่ให้ต้นเอนหาแสง และนําออกไปรับแสงและอากาศนอกบ้านทุกสัปดาห์ต้นก็จะเติบโตได้ปกติ หากบอนสีพักตัวทิ้งใบควรงดให้น้ํา นํากระถางไปวางนอกบ้านที่มีอุณหภูมิสูงกว่าในบ้านและมีแสงส่องมากขึ้น รอจนผลิใบใหม่และแข็งแรงจึงนําไปประดับมุมบ้านอีกครั้ง เรื่อง : อังกาบดอย ภาพ : อภิรักษ์ […]

ทำอย่างไรถึงเกิดต้นไม้ใบด่าง? พร้อมวิธีการปลูกดูแล รวมถึงขยายพันธุ์เพื่อสร้างรายได้

รู้ไหมทำไมต้นไม้ถึงใบด่าง? ต้นไม้ใบด่าง บางต้นก็มีปัจจัยให้เกิดใบด่างตามธรรมชาติ หรือเกิดจากการกลายพันธุ์ เช่น มอนสเตอร่าด่าง ฟิโลเดนดรอนด่าง พลูด่าง ไทรด่าง หรือชบาด่าง ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุ และวิธีการดูแลที่ต่างจากต้นไม้ทั่วไป มาค้นพบความลับของต้นไม้ใบด่างกัน ทำไมไม้ด่างถึงราคาแพง? เพราะในธรรมชาติต้นไม้ส่วนใหญ่จะมีใบสีเขียว การที่ต้นไม้มีใบด่างจะได้จากเม็ดสีบริเวณใบทั้งสีขาว ครีม เหลือง ชมพู แดง ทำให้สวนมีสีสันสดใสมากยิ่งขึ้น แต่ประเด็นหลักคือ ต้นไม้ด่างนั้นเกิดขึ้นยากในธรรมชาติ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แม้แต่การตัดแต่งพันธุกรรมก็ถือว่าทำได้ยาก เฉลี่ยได้พันธุ์ไม้ด่างที่สวยแค่ 5% เท่านั้น อีกทั้งยังโตช้าและขยายพันธุ์ยาก ส่วนต้นไม้ด่างบางต้นจะเป็นยีนเด่นที่ขยายพันธุ์ง่ายและโตเร็วก็จะราคาไม่แพง เนื่องจากต้นที่เกิดใหม่ก็จะด่างเหมือนพ่อพันธุ์หรือแม่พันธุ์แบบไม่ต้องลุ้น นั้นจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้คนรักสวนได้นำไปใช้ปลูกเพื่อสร้างสีสันได้ แต่ไม่เป็นที่นิยมในหมู่นักสะสมต้นไม้ เช่น เงินไหลมา ออมเพชร พลูด่าง ชบาด่าง บาหยาด่าง หนวดปลาหมึกแคระด่าง เป็นต้น แต่ควรระวังในปัจจุบันในวงการต้นไม้มีการปั่นราคาต้นไม้เหล่านี้ให้มีราคาสูงเกินความเป็นจริงๆ ทำใหบางคนซื้อในราคาที่แพงทั้งที่ในความจริงต้นไม้ชนิดนั้นราคาไม่แพงจริง  ส่วนต้นไม้ด่างที่มีราคาแพงคือต้นที่เกิดได้ยากในธรรมชาติ เกิดจากต้นไม้ใบเขียวที่กลายพันธุ์เป็นใบด่างด้วยวิธีการต่างๆ นอกจากนั้นยังโตช้า เกิดการลุ้นให้แต่ละใบจะด่างหรือไม่ หรือมีลักาณะและสีสันของการด่างเป็นแบบใดบ้าง ต้นไม้ใบด่าง สาเหตุที่ทำให้ต้นไม้ใบด่าง 1.ขาดแสงสว่าง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการผลิตคลอโรฟิลล์ที่ทำให้ต้นไม้มีใบสีเขียว สังเกตได้จากการนำต้นไม้ปกติไปวางในที่มืด ผ่านไปไม่กี่วันใบก็จะเป็นสีขาวซีดและอ่อนแอ ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกับการเพาะถั่วงอกหรือกุยช่ายให้มีใบสีขาวหรือเขียวอ่อน โดยหากนำมาออกแดดก็จะให้ใบสีเขียวตามเดิม […]