ฤดูหนาว คนพัก ต้นไม้ก็พัก

อากาศที่เย็นขึ้นในฤดูหนาวถือว่ามีอิทธิพลต่อต้นไม้เป็นอย่างมาก เพราะน้ำเป็นปัจจัยหลักในกระบวนการสร้างสารอาหารของต้นไม้ ซึ่งในฤดูหนาวจะมีไอน้ำในอากาศน้อย ย่อมส่งผลโดยตรงกับการคายน้ำของต้นไม้ตามไปด้วย รวมถึงอุณหภูมิยังแปรผันต่อกระบวนการทำงานของเอมไซน์ที่เหมาะสมกับการทำปฏิกิริยาเมแทบอลิซึมของต้นไม้ ดังนั้น ต้นไม้ที่ไม่สามารถหนีไปหลบลมหนาวได้ก็ต้องมีวิธีการปรับตัว ดังนี้ ต้นไม้ฤดูหนาว  1.ใบไม้เปลี่ยนสี รูปจาก Phinyapat Nuch กระบวนการเริ่มต้นจากต้นไม้จะปิดปากใบเพื่อลดการคายน้ำ ซึ่งมีผลทำให้การสังเคราะห์ด้วยแสงต้องหยุดชะงักลง ทำให้ต้นไม้ปรับตัวให้น้ำและแร่ธาตุเข้าสู่ใบไม้น้อยลงด้วย เช่นเดียวกับคลอโรฟิลล์สารสีเขียวที่ใช้สำหรับผลิตอาหารที่พบมากบริเวณใบก็จะลดจำนวนลงด้วย ทำให้ใบไม้คงเหลือเพียงเม็ดสีบางสี เช่น สีเหลืองและสีแดง จนเป็นเหตุให้เราเห็นใบไม้เปลี่ยนสีจากเขียวเป็นเหลือง ส้ม หรือแดง โดยเฉพาะในประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น เช่น ต้นเมเปิ้ลบนภูกระดึงที่ใบเปลี่ยนสีเป็นสีแดงในช่วงพฤศจิกายน ดูแลสวน รับลมหนาว ด้วยขั้นตอนพื้นฐานที่ต้องรู้ 2.หยุดการเจริญเติบโต รูปจาก Phinyapat Nuch เมื่ออากาศเย็นลง ใบของทั้งไม้ยืนต้นและไม้พุ่มหลายชนิดจะเริ่มหยุดผลิตอาหารและดึงเอาอาหารในส่วนต่างๆ มาเก็บไว้บริเวณลำต้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้ต้นไม้จำเป็นต้องทิ้งใบจากต้น เพื่อไม่ต้นไม้ผลิตอาหารเพิ่มและลดการใช้พลังงานในส่วนที่ไม่จำเป็น รวมถึงสร้างกาบพิเศษมาหุ้มตายอดไว้ เพื่อไม่ให้ต้นแตกยอดใหม่ อัตราการเจริญเติบโตจึงหยุดชะงักไป ซึ่งทำให้ต้นไม้ยังคงรักษาสมดุลภายในเอาไว้ได้ จนกว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้นและเกิดกระบวนการผลิตอาหารตามปกติ 3.พักตัวในหัวหรือเมล็ด ต้นไม้หัวอย่างแดฟโฟดิลออกสวยงามในบ้านเราอุณหภูมิในฤดูหนาวจะเหมาะกับการออกดอก หลังจากออกแล้วต้นก็จะทำการพักตัว เราสามารถนำหัวไปแช่ตู้เย็นเพื่อเก็บไว้ปลูกได้อีกครั้ง การหยุดการเจริญเติบโตของต้นไม้บางชนิด โดยเฉพาะไม้ล้มลุกอย่างว่านสี่ทิศ บัวดิน หรือเฟินบางชนิด แค่เพียงการหยุดกระบวนการคายน้ำ และผลิตอาหารของใบยังไม่เพียงพอต่อการปรับตัวให้ทนต่อสภาพอากาศที่แห้งแล้งและขาดน้ำได้ ต้นไม้จึงปรับตัวโดยการพักตัวไว้ในส่วนเมล็ดหรือหัวที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดีกว่าส่วนอื่นๆ […]