ต่อสายไฟสายอ่อนกับสายแข็ง ด้วยเทคนิคการพับและพัน

การ ต่อสายไฟ ต่างประเภทกันมักจะหลุดง่าย คราวนี้เรามีวิธีการต่อสายไฟชนิดอ่อนและชนิดแข็งให้ใช้ได้นานมาฝากกัน การ ต่อสายไฟ สองประเภทเข้าด้วยกันมักเกิดปัญหาหลุดง่าย และอาจเกิดอันตราย เรามีเคล็ดไม่ลับการต่อสายไฟชนิดสายอ่อน (สายฝอย) เข้ากับสายแข็ง แบบดึงไม่หลุดง่าย สามารถใช้งานได้นานและปลอดภัย 2 วิธีมาฝากกัน โดยสำหรับการ ต่อสายไฟ ให้ยาวตรงต่อเนื่องไป และการต่อให้สายไฟให้กลับมาทบกัน ซึ่งมีขั้นตอนคล้ายกัน มาดูทั้ง 2 วิธีกันเลย ต่อสายไฟ วิธีที่ 1 1. ใช้คัทเตอร์หรือคีมปอกสายไฟ ปอกฉนวนที่หุ้มสายแข็งออกประมาณ 5 เซนติเมตร และปอกฉนวนที่หุ้มสายอ่อนให้ยาวกว่าสายแข็งเล็กน้อย (ยาวประมาณ 7-8 เซนติเมตร) แล้วนำสายอ่อนมาพาดกับสายแข็ง โดยให้ชิดกับฉนวนให้มากที่สุด 2. จากนั้นพันสายอ่อนให้เป็นเกลียวรอบสายแข็ง ด้วยการพับสายทองแดงลงมาแล้วพันย้อนกลับขึ้นไป โดยให้สายทองแดงชิดมาทางด้านขวา 3. แล้วพันสายทองแดงวนรอบๆสายแข็งแบบแนบชิดติดกันอย่างต่อเนื่องจนสุดสาย จากนั้นใช้คีมจับพับสายแข็งส่วนปลายเข้ามาด้านใน แล้วบีบให้แน่น เราก็จะได้สายไฟที่ต่อเสร็จแล้ว อย่างแน่นหนาและไม่หลุดง่าย ต่อสายไฟ วิธีที่ 2 1. ใช้คัทเตอร์หรือคีมปอกสายไฟ ปอกฉนวนที่หุ้มสายแข็งออกประมาณ 4 เซนติเมตร […]

2 เทคนิคการต่อสายไฟ (สายอ่อน) แบบผูกเงื่อน

สิ่งสำคัญในการ ต่อสายไฟ คือต้องแน่นและแข็งแรง เพื่อไม่ให้สายไฟหลุดง่าย มีเคล็ดไม่ลับการต่อสายไฟสายอ่อนหรือสายฝอยแบบดึงไม่หลุด สามารถใช้งานได้นานและปลอดภัย  ที่ใครๆ ก็ทำเองได้ มาฝากกัน ต่อสายไฟ วิธีที่ 1 1. ใช้คัทเตอร์หรือคีมปอกสายไฟ ปอกฉนวนที่หุ้มสายออกข้างละประมาณ 3 เซนติเมตร จากนั้นบิดหรือหมุนสายทองแดงให้เป็นเกลียว 2. ใช้มือดัดหรืองอสายไฟให้เป็นเหมือนห่วงหรือรูปเกือกม้า โดยให้เอียงหรือทำมุมประมาณ 45 องศา ทั้งสองเส้น จากนั้นนำสายไฟมาคล้องเข้าด้วยกัน 3. ให้ปลายสายไฟรอดผ่านห่วงของแต่ละเส้น (คล้ายๆกับการผูกเงื่อนพิรอด) แล้วใช้มือดึงปลายสายไฟเข้าหากัน 4. จากนั้นออกแรงดึงสายไฟทั้งสองข้างแบบสุดกำลัง แล้วพันเก็บสายส่วนเกินให้เรียบร้อยอีกครั้ง เราก็จะได้สายไฟที่ต่อเสร็จแล้ว อย่างแน่นหนาและไม่หลุดง่าย วิธีที่ 2 1. ใช้คัทเตอร์หรือคีมปอกสายไฟ ปอกฉนวนที่หุ้มสายออกข้างละประมาณ 3 เซนติเมตร จากนั้นนำสายไฟ (สีเทา) มาพาดกับสายไฟอีกเส้นหนึ่งคล้ายกับเครื่องหมายคูณ (X) ในลักษณะขวาทับซ้าย โดยให้มีพื้นที่ว่างเหลือเล็กน้อยประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วพันในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ส่วนสายไฟอีกเส้นหนึ่งให้พันในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา 2. จากนั้นให้พันสายทองแดงเอียงหรือชิดมาทางด้านขวา แล้วพันไปเรื่อยๆจนสุดสาย จากนั้นก็ให้พันสายทองแดงย้อนกลับมาอีกด้านหนึ่งเช่นเดียวกัน […]

4 วิธีพื้นฐานในการต่อสายไฟ

วิธีการ ต่อสายไฟ นั้นมีอยู่หลายแบบ ที่สำคัญคือต้องแน่นและแข็งแรง เพื่อให้สายไม่หลุดง่าย ไปดู 4 วิธีที่เราแนะนำกัน ก่อนต่อสายไฟเพื่อเพิ่มความยาวของสายหรือต่อแยกสาย เราจะต้องปอกฉนวนที่หุ้มสายออก โดยให้เส้นทองแดงโผล่ออกมายาวประมาณ 2-3 นิ้ว แล้วใช้คีมดึงหรือบิดเป็นเกลียว เพื่อให้จุดต่อมีการสัมผัสกันอย่างแน่นหนา ต่อไปนี้เป็นวิธีการต่อสายไฟ 4 วิธีที่แน่นและแข็งแรง ไปดูวิธีทำแต่ละแบบกันเลย 1. การต่อสายแบบหางเปียหรือหางหมู เป็นการต่อสายแบบไม่รับแรงดึง เหมาะสำหรับการต่อสายไฟที่มีขนาดเท่ากัน เช่น ต่อภายในกล่องต่อสาย เริ่มต้นด้วยการใช้คัทเตอร์หรือคีมปอกสายไฟ ปอกฉนวนที่หุ้มสายออกข้างละประมาณ 2 นิ้ว ใช้คีมจับสายไฟทั้งสองเส้นไว้ แล้วใช้คีมปากจิ้งจกหรือคีมปากจระเข้มาบิดเป็นเกลียวให้แน่น จากนั้นใช้คีมมาตัดเส้นทองแดงส่วนปลายออกหรือใช้คีมพับหรืองอปลายสายก็ได้ แล้วบีบให้แน่น โดยให้เหลือความยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ก่อนพันด้วยเทปพันสายไฟหรือสวมด้วยไวร์นัท (Wire Nut) 2. การต่อสายแบบรับแรงดึง ปลอกสายที่หุ้มฉนวนออกเส้นละประมาณ 3 นิ้ว แล้วนำมาพาดกันเป็นเครื่องหมายกากบาท หรือเครื่องหมายคูณ (X) ใช้คีมจับสายไฟทั้งสองเส้นไว้ในแน่น แล้วใช้คีมปากจระเข้หรือคีมปากผสมบีบแล้วหมุนให้เป็นเกลียว โดยให้สายไฟทั้งสองเส้นพันรอบตัวซึ่งกันและกัน 3. การต่อสายแบบแยก (หลายจุด) ใช้สำหรับกรณีที่ต้องการต่อสายไฟฟ้าไปใช้กับอุปกรณ์อื่นๆ สามารถทำได้โดยไม่ต้องตัดสายเส้นหลัก […]

ขาของตัวเสียบปลั๊กไฟที่ได้มาตรฐาน กลม หรือ แบน?

แม้มาตรฐานนี้จะถูกประกาศใช้มานานมากกว่าสิบปีแล้ว แต่ยังคงมีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ปลั๊กแบบหัวแบนขายกันอยู่จนทุกวันนี้ สาเหตุมาจากสองสามเหตุผล