การจัดการกับต้นไม้ และพื้นที่สวนที่อยู่ติดกับบ้านหรือพื้นที่สวนคอร์ตยาร์ด

คอร์ตยาร์ดและบริเวณข้างบ้านไม่อาจดูสวยงามสมบูรณ์ได้เลยหากขาดสวนและต้นไม้ แต่ด้วยลักษณะพื้นที่ที่ถูกปิดล้อมจากหลายทางและติดกับโครงสร้างสถาปัตยกรรม ทำให้พื้นที่ต้นไม้และสวนที่อยู่ติดกับบ้าน รวมไปถึงพื้นที่สวนคอร์ตยาร์ด มีจุดเด่นและรายละเอียดต่างจากสวนที่จัดทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภายนอกอาคาร หรือสเปซกว้าง ๆ ที่โอบล้อมอาคารเอาไว้ ตาม บ้านและสวน มาเรียนรู้วิธี การจัดสวนใกล้โครงสร้างอาคาร ไม่ว่าจะเป็น การเลือกใช้ต้นไม้และการจัดการพื้นที่ให้เหมาะสมกับพื้นที่ลักษณะนี้กันเถอะ การเลือกไม้ประธาน การเลือกไม้ยืนต้นเป็นตัวเลือกแรกที่หลายคนเลือกใช้ เพราะ ให้ความรู้สึกของสวนและธรรมชาติได้ในทันทีที่ปลูก ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความร้อนจากแดดแก่คอร์ตยาร์ดและพื้นที่ภายในบ้าน โดยเฉพาะบริเวณที่มีช่องเปิดทางทิศตะวันตกและทิศใต้ อีกทั้งด้วยลักษณะทรงต้นที่ส่วนใหญ่จะสูงตรงและแผ่ออกด้านบน ทำให้บริเวณใต้ต้นไม้ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกมาก สิ่งสำคัญในการเลือกไม้ยืนต้นมีทั้งเรื่องของกิ่งที่อาจหักและระบบรากที่อาจไปทำอันตรายแก่โครงสร้างฐานรากของบ้านที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งเรามองไม่เห็น จึงมีข้อควรระวัง ดังนี้ – พื้นคอร์ตยาร์ดควรมีระยะความกว้างที่มีแสงแดดส่องถึง อย่างน้อย 4 เมตร โดยต้นไม้ควรมีรูปทรงต้นแบบพีระมิด รูปทรงกระบอก หรือรูปทรงไข่ที่สูงชะลูดขึ้นด้านบน เนื่องจากต้นไม้ทุกชนิดโดยเฉพาะไม้ยืนต้นต้องการแสงแดดในการสังเคราะห์แสงสร้างอาหาร ระยะดังกล่าวเป็นระยะแคบที่สุดที่ต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งพอจะเจริญเติบโตและแผ่กิ่งก้านได้ในพื้นที่ที่มีร่มเงาจากอาคารมาทาบเกือบทั้งวัน ซึ่งก็มีต้นไม้เพียงบางชนิดเท่านั้นที่สามารถเติบโตได้ในพื้นที่จำกัดขนาดนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ประเภทปาล์ม น้ำเต้าต้น ลั่นทม ไทรใบสัก ยางอินเดีย เป็นต้น ซึ่งหากมีพื้นที่กว้างขวางก็สามารถเลือกใช้ต้นไม้อื่นที่เหมาะสมกว่าได้ – ไม้ยืนต้นที่ปลูกควรจะมีกิ่งที่สูงโปร่งไม่แผ่ออกด้านข้างมากนัก เนื้อไม้โดยเฉพาะบริเวณกิ่งต้องแข็งแรง ไม่เปราะหรือหักง่าย นอกจากนั้นยังควรหมั่นตัดแต่งให้เรือนยอดไม่สูงเด่น แน่นทึบ หรือเทน้ำหนักไปทางใดทางหนึ่งมากจนเกินไป ให้มีขนาดทรงพุ่มเหมาะสมกับตัวกระบะปลูกหรือภาชนะปลูกที่มีรากอยู่ใต้ดิน – ระบบรากไม่แผ่ออกด้านข้างมากเกินไปและไม่ลอยเหนือดิน […]

รวมศัพท์ช่าง ที่ฟังแล้วอาจงงว่าหมายถึงอะไรนะ?

หลายคนอาจเคยได้ยิน ศัพท์ช่าง บางคำที่ฟังแล้วอาจทำให้เราต้องนึกสงสัย หนวดกุ้งคืออะไร? ท้องช้างคือส่วนไหน? ไปดูที่มาของศัพท์ช่างเหล่านี้กัน ศัพท์ช่าง ที่ช่างมักจะพูดกันนั้น บางครั้งก็มีคำที่ฟังแล้วอาจจะพานนึกไปถึงอย่างอื่นได้อยู่บ่อยครั้ง แต่ศัพท์ช่างเหล่านั้นก็เป็นคำพูดที่ใช้กันมาจนเคยชินเสียแล้ว เพื่อให้สามารถสื่อสารกับบรรดาช่างๆ ได้เข้าใจมากขึ้น วันนี้บ้านและสวนจึงขอยก 30 ศัพท์ช่างที่ได้ยินอยู่บ่อยๆ มาเป็นตัวอย่างให้ท่านผู้อ่านกัน ตีเต๊า หมายถึง การสร้างแนวเส้นบนอาคารระหว่างก่อสร้างเพื่อใช้สำหรับการกำหนดระยะ วางตำแหน่งในการติดตั้งส่วนต่างๆบนอาคาร โดยใช้เครื่องมือตีเต๊า(บางคนก็เรียก เต๊า ปักเต๊า) ซึ่งจะทำให้เกิดสีเป็นแนวเส้นตามรอยของเชือกทำให้ช่างเห็นรอยในการวางตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ การตีเต๊านั้นจะใช้กับงานประเภท วางท่อ ผนัง ติดตั้งประตู หน้าต่าง มุงกระเบื้อง การทำเคาน์เตอร์ ทำราง หรือการโรยกรวด เป็นต้น ศัพท์ช่าง ต๊าปเกลียว คือ การทำให้เกิดเกลียวบนผิววัสดุ ส่วนใหญ่ช่างจะใช้ทำบนพื้นผิวท่อเหล็กหรืออลูมิเนียมให้ท่อเกิดเป็นเกลียวไว้สำหรับไปต่อประกอบกับอีกท่อหนึงได้ ต๊าปเกลียวมีทั้งการทำเกลียวในและเกลียวนอก โดยมีเครื่องจักรในการทำจนไปถึงเครื่องมือแบบพกพาในการทำต๊าปเกลียว (แนะนำให้ใช้เครื่องจักรดีกว่าเพราะเกลียวจะคงที่กว่าการทำมือ) สลัดดอก คือ การเตรียมพื้นคอนกรีตก่อนฉาบด้วยการเอาปูนซีเมนต์ธรรมดาผสมกับน้ำ ทราย และน้ำยาเพิ่มแรงยึดเกาะ แล้วใช้ไม้กวาดทางมะพร้าวมาจุ่มลงในน้ำปูน สลัดลงไปให้ทั่วบริเวณที่จะฉาบ ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน แล้วจึงค่อยมาฉาบทับไปอีกที ซึ่งเทคนิคสลัดดอกนี้จะช่วยให้ปูนฉาบเกาะกับผิวคอนกรีตได้ดีขึ้น ช่วยเรื่องการหลุดร่อนหรือการแตกร้าวของปูนฉาบไม่ให้เกิดขึ้นในอนาคต […]