NHA LONG HEM รีโนเวทบ้านเก่า เป็นบ้านสีมินต์พร้อมดีไซน์พื้นที่ใช้สอยครบลงตัว

รีโนเวทบ้านเก่า ในตรอกที่แสนคับแคบในเวียดนาม ให้กลายเป็นบ้านน่าอยู่สีเขียวมินต์แสนหวาน ตามโจทย์ที่หญิงสาวเจ้าของบ้านอยากให้ที่นี่เติมเต็มทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ที่สำคัญยังสามารถเปิดร้านอาหารเล็ก ๆ ที่ชั้นล่างของบ้านได้ด้วย เล่าย้อนไปหญิงสาวเจ้าของบ้านที่อยู่อาศัยกับพ่อแม่ที่เกษียณอายุ ตัดสินใจ รีโนเวทบ้านเก่า ของตนเองใหม่ให้มีความเป็นส่วนตัว และตอบสนองการใช้งานมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ทำงานอดิเรกที่เธอชื่นชอบ เช่น มุมอ่านหนังสือ วาดภาพ และเล่นดนตรี ช่วยให้แม้จะอยู่ในย่านที่พลุกพล่านและแสนคับแคบ บ้านนี้ก็ตอบสนองการใช้งานได้แบบไม่น่าเบื่อ เนื่องจากตั้งอยู่ในย่านชุมชนที่ค่อนข้างแออัด สถาปนิกจาก AD+studio จึงตั้งใจออกแบบบ้าน NHA LONG HEM หลังนี้ ให้มีความมิดชิดและเป็นส่วนตัว เด่นด้วยการเลือกใช้เส้นสายคล้ายฟันปลา หรือมองอีกแง่ก็คล้ายสันรูปสามเหลี่ยมที่เกิดจากการพับกระดาษทบกันไปมาแล้วคลี่ออก ร่วมกับการหยิบคู่สีที่ตัดกันอย่างสีเขียวมินต์กับสีส้มโอลด์โรสมาช่วยสร้างสีสันและความสดใส เห็นได้จากประตูเหล็กบานเฟี้ยมสีเขียวมินต์สูงตระหง่านจนถึงระเบียงชั้น 2 ทำหน้าที่ปิดบังสายตาจากคนที่ผ่านไปมา มีดีเทลด้วยการใช้แผ่นเหล็กเจาะรูแบบถี่ ๆ เพื่อยอมให้แสงและลมหมุนเวียนถ่ายเทเข้าสู่บ้านภายในได้ และเมื่อเข้ามาด้านในยังปรากฏให้เห็นเส้นฟันปลานี้อยู่ในส่วนต่าง ๆ ของบ้าน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ ขณะที่พื้นที่ชั้นล่างด้านหน้าถูกสงวนไว้สำหรับเจ้าของบ้านใช้เปิดเป็นร้านขายอาหารเล็ก ๆ ได้ในอนาคต ดังนั้นพื้นที่พักอาศัยที่เป็นส่วนตัวจริง ๆ จึงถูกขยับให้ขึ้นไปอยู่ที่ชั้น 2 และ 3 เกิดเป็นการออกแบบคานระเบียงในลักษณะที่ยื่นออกมาแบบเหลื่อมกันระหว่างชั้น 2 และ 3 เผยให้มองเห็นท้องคานปูนเปลือยเป็นลายซิกแซกโชว์ความดิบของโครงสร้างให้เห็นอย่างชัดเจน […]

BRICK SCREEN HOUSE บ้านอิฐ หลากแพตเทิร์น ดีไซน์เรียบง่ายในอินเดีย

บ้านอิฐ สะท้อนรสนิยมและบุคลิกภาพของเจ้าของบ้าน เกิดขึ้นจากการคำนึงถึงทิศทางของแสงแดด และสภาพอากาศของประเทศอินเดีย รูปทรงของ บ้านอิฐ หลังนี้ ถูกกำหนดโดยขนาดของที่ดิน ทำให้โครงสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยยังคงมีพื้นที่ว่างรอบ ๆ ตัวบ้านอย่างเหลือเฟือ ดูแล้วเหมือนที่นี่จะเพอร์เฟ็กต์ จนแทบไม่มีปัญหาใด ๆ ให้ต้องแก้ไข แต่แท้จริงแล้วบ้านนี้มีปัญหาใหญ่ นั่นคือส่วนของหน้าบ้านที่หันไปทางทิศใต้ซึ่งมีแสงจ้า ดังนั้นเพื่อขจัดปัญหานี้ ผนังด้านดังกล่าวจึงถูกสร้างเกราะกำบังขึ้นด้วยเปลือกอาคารอิฐที่มีแพตเทิร์นสวยงามยาวต่อเนื่องเกือบตลอดตัวอาคาร ทำหน้าที่เป็นผนังชั้นนอกช่วยกรองแสง และพรางสายตาจากผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา ขณะที่ผนังอาคารอีกด้านที่ไม่กระทบกับแดดโดยตรงนั้น เลือกกรุเปลือกอาคารด้วยอิฐลายดอกไม้ มีระเบียงเล็ก ๆ เป็นกันชนอยู่ระหว่างพื้นที่พักอาศัยชั้นใน เพื่อไม่ให้แสงแดดและความร้อนปะทะเข้ามาตรง ๆ แต่ลมยังคงพัดผ่านเข้ามาได้ ช่วยให้อากาศภายในบ้านหมุนเวียนถ่ายเทได้สะดวก แต่ในเมื่อบ้านถูกปิดล้อมด้วยเปลือกอาคารอิฐ แสงสว่างดูเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนวิตกว่าอาจไม่เพียงพอ สถาปนิกจึงเรียกแสงด้วยวิธีทำช่องหลังคาสกายไลท์ไว้ด้านบนโถงกลางบ้าน ซึ่งเป็นมุมรับประทานอาหารและพักผ่อน เพื่อให้แสงสว่างส่องมายังพื้นที่ชั้นล่างนี้ โดยมีต้นไม้ในบ้านช่วยเพิ่มความสดชื่น ให้ความรู้สึกสบายและปลอดโปร่งตลอดทั้งวัน ส่วนงานออกแบบตกแต่ง สถาปนิกยังคงเลือกใช้วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น โดยเฉพาะกระเบื้องหินขัดที่นำมาปูพื้น เพื่อกำหนดพื้นที่ใช้งานฟังก์ชันต่าง ๆ เช่น พื้นที่รับประทานอาหาร แม้แต่เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งก็ได้รับการคัดเลือกมาอย่างดี เข้ากับสุนทรียศาสตร์ของอินเดีย เช่น โคมไฟที่แขวนอยู่เหนือคอร์ตกลางบ้าน ชิงช้าไม้ เตียงนอน ฯลฯ ออกแบบ : MS […]

NT’s Habitat บ้านอิฐ กับลูกเล่นช่วยเพิ่มแสงและลมให้บ้านเย็น

บ้านอิฐ สีแดง NT’s Habitat เกิดจากการเปลี่ยนโกดังขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในเมืองฟานเทียต ประเทศเวียดนาม ซึ่งมีสภาพภูมิอากาศแห้งแล้งตลอดทั้งปี ให้กลายเป็นบ้านที่น่ารักสำหรับครอบครัว 4 คน ให้การอยู่อาศัยรู้สึกถึงความสบายทั้งอากาศและบรรยากาศ ผลงานการออกแบบโดยสถาปนิกจาก Flex.atelier ได้เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจและสังเกตสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นก่อนออกแบบ บ้านอิฐ หลังนี้ ที่ไม่เพียงแต่ปรับปรุงการดำรงชีวิตให้มีความสุขเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังสอดคล้องกับปัจจัยภายนอกด้วย การออกแบบบ้านประกอบด้วยพื้นที่เปิดสำหรับเชื่อมต่อและพื้นที่ปิดเพื่อความเป็นส่วนตัว พื้นที่ปิดประกอบด้วยห้องนอน และห้องน้ำ ขณะที่พื้นที่เปิดโล่งประกอบด้วยพื้นที่ทำงาน ห้องครัว และสนามเด็กเล่น ทั้งหมดเชื่อมต่อกับสกายไลท์กลางบ้าน ซึ่งมีจุดประสงค์หลายประการ ประการแรกคือ ช่วยเพิ่มการระบายอากาศลดความร้อน และประการที่สองคือ ให้แสงธรรมชาติส่องสว่างได้อย่างทั่วถึงในเวลากลางวันเพื่อลดการใช้ไฟฟ้า ด้านโครงสร้างสถาปนิกใช้เทคนิคคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วไป แต่มีความสูงกว่าปกติเพื่อกักเก็บอากาศเย็นให้ได้มากที่สุด สิ่งที่น่าสนใจคือส่วนหน้าของอาคารที่ประกอบขึ้นจากอิฐดินเผาสีแดง วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ก่อนนำมาเรียงต่อกันเป็นแพตเทิร์นอย่างระมัดระวัง นอกจากเพิ่มความสวยงามให้แก่เปลือกอาคารด้านหน้าแล้ว ช่องว่างของอิฐยังทำหน้าที่ระบายอากาศ และยอมให้แสงลอดผ่านเข้ามาได้เพิ่มเติมจากสกายไลท์ชั้นหนึ่งของบ้านถือเป็นพื้นที่ที่ครอบครัวจะได้มาใช้เวลาร่วมกันมากที่สุด โดยออกแบบให้อยู่ในพื้นที่ที่มีมุมมองเปิดโล่งและดูแลบุตรหลานได้ง่าย มีห้องสมุดเล็ก ๆ อยู่ใต้บันได ให้เด็ก ๆ ได้นั่งอ่านหนังสือ นอกจากนี้ยังมีมุมรับประทานอาหารแบบสบาย ๆ ส่วนชั้นสองโดยเฉพาะห้องนอนใหญ่ด้านหน้า ออกแบบให้รู้สึกถึงความอบอุ่นด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้ เข้ากันดีกับฟาซาดอิฐผืนใหญ่ มีความพิเศษอันเกิดจากแสงที่ลอดผ่านช่องอิฐเข้ามา เป็นแพตเทิร์นของเงาที่ทาบลงบนพื้นผิวต่าง ๆ ของห้อง โดยจะเปลี่ยนองศาไปตามแต่ละช่วงเวลา […]

2Hien House บ้านหน้าแคบ เด่นด้วยผนังกระเบื้องเกล็ดปลาวัสดุจากบ้านเก่าที่นำมาใช้ใหม่ได้ลุคน่ารัก

บ้านหน้าแคบ ทรงกล่องที่ขอเลือกนำกระเบื้องเกล็ดปลาจากบ้านเก่า มาสร้างสรรค์ให้กลายเป็นผนังบ้านที่มีรายละเอียดดูน่ารัก แม้จะตั้งอยู่ในที่ดินหน้าแคบและลึก แต่กลับสามารถออกแบบบ้านให้ดูปลอดโปร่ง มีช่องแสงสกายไลท์อยู่ตรงกลางระหว่างอาคารสองก้อน ช่วยให้บ้านทั้งหลังดูสว่าง ไม่มืดทึบจากผนังสูงใหญ่ซึ่งถูกขนาบข้างดูเป็นส่วนตัวจากเพื่อนบ้านรอบ ๆ จุดเริ่มต้นของการออกแบบ บ้านหน้าแคบ หลังนี้ มาจากเจ้าของบ้าน เมื่อถึงคราวต้องขยับขยายสร้างบ้านใหม่บนที่ดินเดิมซึ่งทั้งแคบและยาว แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาของคู่สามีภรรยาเจ้าของบ้าน ผู้หลงใหลในธรรมชาติและความสงบเงียบเรียบง่าย กับบ้านที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นบนพื้นที่ที่ให้มีความเป็นส่วนตัวจากเพื่อนบ้าน ด้วยผนังบ้านทั้งสองด้านที่สูงชะลูด เด่นเป็นพิเศษด้วยการนำกระเบื้องเกล็ดปลา วัสดุจากบ้านเก่าที่ถูกนำมาเล่าใหม่ ให้กลายเป็นผนังและหลังคาบ้านส่วนหน้าที่แตกต่างไม่เหมือนใคร ที่นี่ออกแบบโดย CTA | Creative Architect ทีมสถาปนิกสัญชาติเวียดนาม บ้านขนาดสองชั้นที่เห็น ถูดจัดแบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็นพื้นที่ครึ่งหนึ่งด้านหน้าที่กำหนดให้เป็นสวนหย่อมเล็ก ๆ ก่อนเข้าสู่ตัวบ้านด้านในที่มีการแยกก้อนอาคารออกเป็นสองส่วน โดยมีเฉลียงขนาดกว้างสำหรับไว้ใช้นั่งเล่นพักผ่อน เชื่อมโยงสมาชิกให้ทุกคนมองเห็นกันและกันได้ง่าย ไม่ว่าจะใช้เป็นพื้นที่รับประทานอาหารว่างร่วมกัน หรืออ่านหนังสือ ชายคาที่ลดระดับลงได้โอบล้อมพื้นที่การเรียนรู้ของเด็ก ๆ ทำให้เกิดพื้นที่ที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย แต่ยังคงความโปร่งและยืดหยุ่นเอาไว้ โดยมีทางเดินเชื่อมต่อระหว่างอาคารทั้งสองเข้าด้วยกัน และรับแสงสว่างจากหลังคาสกายไลท์ด้านบน ช่วยให้บ้านมีแสงสว่างที่ทั่วถึง ลดความมืดทึบได้อย่างดี ในแง่ของวัสดุบ้านนี้เน้นใช้อิฐสีแดง และกระเบื้องเกล็ดปลาเก่า ซึ่งใกล้เคียงกับธรรมชาติ และให้ความรู้สึกที่โดดเด่น ไร้การปรุงแต่ง เพื่อให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นเรียบง่าย แต่ยังคงสร้างอารมณ์ที่หนักแน่นและมั่นคง นอกจากวัสดุที่ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติแล้ว มุมสวนสีเขียวเจ้าของบ้านก็เลือกให้ความสำคัญไม่แพ้กัน อย่างการแบ่งพื้นที่ให้มีสวนตรงพื้นที่บริเวณหน้าบ้าน ขณะที่หลังบ้านก็มีมุมนั่งเล่นพักผ่อนเช่นกัน เพื่อให้คุณสามีได้ปลูกต้นไม้ […]

BIRMINGHAM COFFEE AND MINI APARTMENT อพาร์ตเมนต์ที่ซ่อนคาเฟ่ไซซ์มินิไว้ใต้อาคารหน้าแคบ

รีโนเวตตึกแถว หน้าแคบ ที่มีขนาดจำกัดเพียง39 ตารางเมตร และมีรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู ให้ออกมามีฟังก์ชัน 2 รูปแบบ คือเป็นทั้งคาเฟ่ และอพาร์ตเมนต์ให้เช่าจำนวน 2 ห้อง อีกตัวอย่างการออกแบบพื้นที่พักอาศัยแบบมัลติฟังก์ชันที่สร้างรายได้ให้แก่เจ้าของอาคารในคราวเดียว ผลงานการรีโนเวตตึกแถว แห่งนี้ ตั้งอยู่ที่เมืองญาจาง ประเทศเวียดนาม เป็นผลงานการออกแบบโดยทีมสถาปนิกจาก Chơn.a  มีความท้าทายอยู่ที่การออกแบบฟังก์ชันการใช้งานภายในอาคารที่แคบแสนแคบออกมาอย่างไรให้น่าอยู่ เหมาะสมกับการใช้งานทั้งการเปิดเป็นคาเฟ่ และอพาร์เมนต์ให้เช่า ตัวอาคารด้านหน้าโดดเด่นสะดุดตาด้วยฟาซาดที่ดูคล้ายเส้นริบบิ้นที่โรยตัวลงมาปกคลุมอาคารไว้สร้างเส้นสายดูพลิ้วไหว ฟาซาดที่เห็นทำจากเหล็กตาข่ายทำสีแดง สำหรับทำหน้าที่ช่วยกรองแสงแดดจากดวงอาทิตย์ ไม่ให้ตกกระทบเข้าสู่พื้นที่ใช้สอยภายในอาคารโดยตรง อีกทั้งยังเปิดรับแสงสว่างและให้ความโปร่งไปพร้อมกัน สามารถมองเห็นวิวต้นไม้และความเป็นไปภายนอกอาคารได้ โดยไม่ถูกปิดกั้นมุมมองและปิดทึบจนเกินไป ขณะเดียวกันแสงที่ส่องผ่านฟาซาดตาข่ายเหล็กเข้ามานี้ ยังช่วยสร้างแสงเงาตกกระทบลงบนพื้นผิววัสดุให้ดูมีมิตินุ่มนวลมากขึ้น สิ่งที่ชวนสังเกตอีกอย่าง การออกแบบให้มีช่องสกายไลท์วงกลมด้านบนบันไดวนที่นำสู่พื้นที่ชั้นบน เพื่อทำหน้าที่เชื่อมต่อธรรมชาติไว้ตรงกลาง พื้นที่แกนกลางนี้จึงรับหน้าที่ช่วยกระจายแสงให้ทั่วถึง ช่องบันไดด้านล่างและระหว่างชานพักออกแบบให้มีมุมปลูกต้นไม้ในร่มเล็ก ๆ สีเขียวสดของใบไม้ดูตัดกันดีกับขั้นบัน และผนังหินขัดสีแดง วัสดุที่ใช้สถาปนิกให้ความสำคัญกับวัสดุที่ทำด้วยมือและธรรมชาติแบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นหินขัด หรือหินปูนธรรมชาติ เพื่อสร้างพื้นผิวที่สวยงามยามถูกแสงแดดตกกระทบอย่างผนังแต่ละด้านของราวบันได สัมผัสได้ถึงบรรยากาศและการเปลี่ยนผ่านของแสงอาทิตย์ที่ผาดผ่านในแต่ละช่วงเวลา ขณะที่ในยามค่ำคืนได้ติดตั้งไฟที่ช่วยสร้างแสงเงา ขับเน้นให้เกิดเสน่ห์ด้านมุมมอง เป็นตัวอย่างการออกแบบอาคารที่สร้างมูลค่าได้ทั้งสองธุรกิจ อีกแง่คือเป็นตัวอย่างของการจัดสรรพื้นที่ใช้งานให้อาคารขนาดเล็กไม่ใช่อุปสรรคของการอยู่อาศัย เป็นคำตอบว่า สถานที่แคบก็ใช่จะหาความสงบงามจากธรรมชาติไม่ได้ ออกแบบ – ภาพ : Chơn.a […]

WALL HOUSE บ้านหายใจได้ เย็นสบายไม่ง้อเครื่องปรับอากาศ – room

Wall House บ้านอิฐโปร่ง สร้างจากวัสดุธรรมดาสามัญที่ยอมให้อากาศและแสงผ่านเข้าบ้านได้ แตกต่างจากผนังบ้านแบบปิดทึบทั่วไป สร้างสภาวะน่าสบาย พร้อมมุมสีเขียวให้ได้พักผ่อนภายใน ตอบโจทย์การอยู่อาศัยแบบปลอดมลพิษ และเข้ากับสภาพอากาศร้อนชื้นในเวียดนามได้อย่างดี ที่นี่เกิดจากคำถามที่ว่า ถ้าหากลมและแสงไม่สามารถผ่านเข้าบ้านได้ คุณภาพอากาศและการใช้ชีวิตในบ้านจะเป็นอย่างไร แน่นอนว่านั่นย่อมย่ำแย่ทั้งต่อสุขภาพและการอยู่อาศัย เป็นโจทย์ให้เจ้าของบ้านกับทีมออกแบบจาก CTA | Creative Architects อยากสร้างบ้านให้สามารถหายใจได้ ผ่านขั้นตอนการออกแบบโดยมีวัสดุหลักอย่าง “อิฐโปร่ง” มาทำหน้าที่เป็นกำแพงให้แก่บ้าน แม้จะไม่สามารถรับน้ำหนักได้อย่างอิฐทั่วไป แต่ก็มาพร้อมคุณสมบัติที่ช่วยให้ลมและอากาศไหลเวียนถ่ายเทได้อย่างทั่วถึง Wall House บ้านอิฐ       Wall House ตั้งอยู่ในพื้นที่สวนดั้งเดิม (ซึ่งนับวันจะเหลือน้อย) ในเมืองเบียนฮหว่า เมืองหลักของจังหวัดด่งนาย ประเทศเวียดนาม ฉะนั้นเพื่อรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมซึ่งอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ และสร้างความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ สถาปนิกจึงเน้นใช้วัสดุธรรมชาติเป็นหลักในการออกแบบ เริ่มต้นจากองค์ประกอบเด่น ๆ อย่าง กำแพงหายใจได้ สถาปนิกเล่าว่าเขาแบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบ องค์ประกอบแรกคือ ระบบผนังเปิด ที่ทำจากอิฐโปร่ง เพื่อป้องกันมลภาวะจากสภาพแวดล้อมภายนอก โดยนำมาเรียงต่อกันในทิศทางตรงกันข้ามกับวิธีการก่อสร้างแบบเดิม ด้วยการจัดเรียงดังกล่าวจึงสามารถช่วยให้อากาศบริสุทธิ์ และแสงไหลเวียนถ่ายเทได้ดี ส่วนองค์ประกอบที่สองคือ พื้นที่สวน […]