อิงลิช บูลล์ด็อก (English Bulldog) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ บูลล์ด็อก (English Bulldog) เป็นชื่อสามัญของสุนัขสายพันธุ์ที่เรียกว่า อิงลิช บูลล์ด็อก หรือ บริติช บูลล์ด็อก โดยบูลล์ด็อกสายพันธุ์อื่น ๆ ได้แก่ อเมริกัน บูลล์ด็อก และเฟรนช์ บูลล์ด็อก โดยต้นกำเนิดของสายพันธุ์บูลล์ด็อกนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่หลายคนเชื่อว่า บูลล์ด็อกมาจากเกาะอังกฤษ โดยคำว่า “บูล (bull)” ในชื่อนั้นมาจากการที่พวกมันตกเป็นเหยื่อของกีฬาที่โหดร้ายอย่างกีฬาการต่อสู้กับวัว ตั้งแต่กีฬาถูกห้ามในปี 1835 บูลล์ด็อกได้กลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านที่เป็นที่ชื่นชอบ เนื่องจากมีความซื่อสัตย์และมีอารมณ์สงบนิ่ง ภายในช่วงเวลาสิบปีที่ผ่านมาสายพันธุ์บูลล์ด็อกได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากบูลล์ด็อกมีลักษณะเฉพาะตัวโดยเป็นสุนัขที่รูปร่างตันขาสั้นมีกล้ามเนื้อแข็งแรง มีใบหน้าเหี่ยวย่นและมีลักษณะเด่นของจมูกที่หุบเข้าไปในใบหน้า โดยมี The American Kennel Club (AKC), The Kennel Club (UK) และ United Kennel Club (UKC) คอยทำหน้าที่ในการดูแลมาตรฐานการปรับปรุงพันธุ์ ลักษณะทางกายภาพ บูลล์ด็อก (English Bulldog) เป็นสุนัขสายพันธุ์ที่มีลักษณะไหล่หนาและหัวที่เข้าคู่กัน โดยทั่วไปจะมีผิวหนังที่หนาบริเวณคิ้ว ตามด้วยตาที่กลมโตสีดำ ปากสั้นและจมูกมีลักษณะคล้ายเชือกพับซ้อนกันเป็นชั้นอยู่เหนือจมูก […]

เยอรมันเชพเพิร์ด (German Shepherd) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ เยอรมันเชพเพิร์ด (German Shepherd) หรือที่รู้จักกันในชื่ออัลเซเชี่ยน (เยอรมัน : Deutscher Schäferhund) เป็นสุนัขสายพันธุ์ขนาดใหญ่ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศเยอรมนี เยอรมันเชพเพิร์ดเป็นสุนัขสายพันธุ์ที่ค่อนข้างใหม่ มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1899 โดยจัดอยู่ในกลุ่มของสุนัขต้อนสัตว์และถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อต้อนแกะ เนื่องจากมีความแข็งแรง, ฉลาดและถูกฝึกให้เชื่อฟังตามคำสั่ง จึงมักจะถูกฝึกให้ช่วยงานตำรวจและทหารทั่วโลก เนื่องจากความจงรักภักดีและมีสัญชาตญาณในการปกป้อง จึงทำให้ เยอรมันเชพพิร์ด เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่ได้รับการจดทะเบียนมากที่สุด ลักษณะทางกายภาพ เยอรมันเชพเพิร์ด เป็นสุนัขขนาดใหญ่ ซึ่งขนาดโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 55 – 65 เซนติเมตร (22 – 26 นิ้ว) วัดจากส่วนที่สูงที่สุดของหลัง และมีน้ำหนักระหว่าง 22 – 40 กิโลกรัม (49 – 88 ปอนด์) ความสูงในอุดมคติคือ 63 เซนติเมตร (25 นิ้ว) ตามมาตรฐานของ Kennel Club เยอรมันเชพเพิร์ดจะมีหน้าผากที่เป็นรูปโดม, จมูกและปากส่วนบนเป็นทรงสี่เหลี่ยมยาวและมีจมูกสีดำ ขากรรไกรมีความแข็งแรงร่วมกับฟันที่คมเหมือนกรรไกร […]

เกรทเดน (Great Dane) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ เกรทเดน (Great Dane) มีต้นกำเนิดมาจากประเทศเยอรมนีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นสุนัขล่าหมูป่า ชาวเยอรมนีได้ทำการพัฒนาสายพันธุ์จนเกรทเดนมีลักษณเหมือนกับสุนัขสายพันธุ์ไอริช วูล์ฟฮาวน์ด (Irish Wolfhounds) ในด้านของความสูงคล้ายกับมาสทิฟฟ์ (Mastiffs) ในด้านมวลกล้ามเนื้อและคล้ายกับเกรย์ฮาวน์ด Greyhounds ในด้านของความเร็ว สุนัขสายพันธุ์นี้ได้ถูกเปลี่ยนชื่อหลายครั้ง ชื่อเริ่มแรกของพวกมันคือ English Docke หลังจากนั้นก็ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น German Boarhound เชื้อพระวงศ์ใช้เกรทเดน เพื่อการล่าหมูป่า กวาง และหมีรวมถึงช่วยในการอารักขาเจ้าหญิงจากการถูกลอบทำร้าย ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้เพาะพันธุ์ชาวเยอรมนีพยายามที่จะเปลี่ยนชื่อพวกมันเป็น German Mastiff เพื่อให้ชื่อของสุนัขฟังดูหรูหราแทนที่จะฟังดูเหมือนกับเป็นสุนัขสายพันธุ์ที่เอาไว้ใช้งาน เกรทเดน เป็นชื่อสุดท้ายที่มีการเรียกขานกันเมื่อนักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศสเดินทางไปที่ประเทศเดนมาร์กและได้เห็นเกรทเดน ในบันทึกเขาเรียกสุนัขตัวนั้นว่า Grand Danois ซึ่งหมายถึง Great Danish Dog ชื่อนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายแต่สุดท้ายมันก็ถูกเปลี่ยน เมื่อเวลาผ่านไปนิสัยก้าวร้าวที่ใช้ในการล่าหมูป่านั้น ถูกกำจัดออกจากสายพันธุ์ ทำให้เกรทเดนเป็นสุนัขตัวโตที่มีความอ่อนโยนอย่างที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ ลักษณะทางกายภาพ จากคำอธิบายของ American Kennel Club เกรทเดนมีลักษณะที่ผสมผสานกันระหว่างความสง่างามและความแข็งแรงด้วยขนาดตัวที่ใหญ่ มีรูปร่างดีและเป็นหนึ่งในสายพันธุ์สุนัขใช้งานที่ใหญ่ที่สุด เกรทเดนเป็นสุนัขสายพันธุ์ขนสั้นที่มีรูปร่างแข็งแรง อัตราส่วนระหว่างความยาวและความสูงของขนาดตัวควรเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส […]

ร็อตไวเลอร์ (Rottweiler) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ ร็อตไวเลอร์ เป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ และเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุด ดั้งเดิมเป็นสุนัขพันธุ์ Molussus ของชนเผ่ากรีกโบราณในอาณาจักร Molossians ในต่อมาชาวโรมันได้นำสุนัขพันธุ์ Molussus เข้ามายังประเทศเยอรมนี (Germany) หลังจากนั้นสุนัขพันธุ์ Molussus ได้ผสมพันธุ์กับสุนัขท้องถิ่น ทำให้เกิดเป็นสุนัขสายพันธุ์ใหม่ขึ้นที่ภาคใต้ของประเทศเยอรมนี (Southern Germany) เป็นช่วงที่ชาวโรมันเริ่มมีการสร้างหมู่บ้านด้วยการปูกระเบื้องหลังคาสีแดงขึ้นทั้งหมู่บ้าน จึงมีชื่อหมู่บ้านว่า das Rote Wil (The red tile) และเป็นแรงบันดาลใจในการตั้งชื่อสุนัขสายพันธุ์ใหม่ขึ้นเป็นชื่อสุนัขพันธุ์ร็อตไวเลอร์ ในปีต่อมาคนขายเนื้อ (Butchers) และคนเลี้ยงวัว (Cattlemen) นำสุนัขพันธุ์นี้มาใช้งานเป็นสุนัขลากเกวียน (Drive cattle) ให้ลากของหนัก เช่น เนื้อสด หรือแบกเงินเข้าเมืองแทนวัว เพราะเป็นสุนัขที่แข็งแรง และเดินเร็วกว่าวัว เป็นสาเหตุทำให้สุนัขพันธุ์นี้เกือบสูญพันธุ์ ในปี ค.ศ. 1882 สุนัขพันธุ์ร็อตไวเลอร์ ได้มีการขึ้นแสดงโชว์สุนัขในประเทศเยอรมนีเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1901 ได้มีการปรับเปลี่ยนการใช้งานให้ลดลงของสุนัขพันธุ์ร็อตไวเลอร์ และสุนัขพันธุ์ลีออนเบอร์เกอร์ (Leonberger) ในปี ค.ศ. […]

ดัชชุน (Dachshund) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ดัชชุน Dachshund ได้รับการพัฒนามาจากสุนัขแบดเจอร์ที่เรียกว่า “ดอกซี่ (Doxie)” มีต้นกำเนิดมาจากประเทศเยอรมนีตั้งแต่ก่อนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15 เริ่มแรกสุนัขพันธุ์ดัชชุนเป็นสุนัขสำหรับล่าสัตว์ โดยต้นกำเนิดของสุนัขพันธุ์นี้มาจากสุนัขขนาดใหญ่ (ช่วงน้ำหนัก 10-20ปอนด์) พวกมันล่าทุกอย่างที่อยู่ในป่า ไม่ว่าจะเป็นหมูป่าไปจนถึงกระต่ายขนาดเล็ก แถมยังขึ้นชื่อว่ามีความคล่องแคล่วและล่าสัตว์เก่ง เมื่อพูดถึงสุนัขบรรพบุรุษในประเทศเยอรมนีช่วงคริสต์ศตวรษที่ 18 และ 19 นายพรานหรือกลุ่มที่เลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้ ได้พัฒนาประสิทธิภาพของสายพันธุ์ และสร้างธุรกิจการล่าสัตว์จากสุนัขพันธุ์ดัชชุนให้มีความสามารถที่สมบูรณ์เหมาะเเก่การใช้งาน ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดัชชุนได้รับความนิยมเลี้ยงจากเหล่าราชวงศ์โดยเฉพาะพระราชินีวิกตอเรีย ทำให้นักเพาะพันธุ์มีการพัฒนาสุนัขพันธุ์ดัชชุน (Dachshund) ให้มีความเป็นสัตว์เลี้ยงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของขนาดให้เหลือเฉลี่ยประมาณ 10 ปอนด์ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าสุนัขล่าสัตว์ หลังจากมีการพัฒนาสายพันธุ์ได้มีการส่งออกสุนัขไปยังประเทศสหรัฐอมเริกา ก่อนที่สุนัขพันธุ์ดัชชุนจะเป็นที่รู้จักเเละได้รับความนิยมเลี้ยงในปัจจุบัน ลักษณะทางกายภาพ โดยทั่วไปสุนัขพันธุ์ดัชชุนมีลำตัวยาว มีกล้ามเนื้อเยอะ มีขาที่สั้นและอวบอ้วน อุ้งเท้าไม่ใหญ่มากมีรูปร่างคล้ายใบพายไว้ใช้สำหรับการขุดคุ้ย พวกมันมีผิวหนังที่หย่อนมากพอที่จะไม่ฉีกขาดเมื่อผ่านโพรงไม้แคบ ๆ ขณะล่าเหยื่อ ดัชชุนมีช่องอกลึก เพื่อให้มีพื้นที่ในการขยายของปอดมากเพียงพอในขณะวิ่งล่าสัตว์ มีส่วนหน้าของจมูกยาว ร่วมกับมีบริเวณส่วนของจมูกกว้าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดมกลิ่น พวกมันมีทั้งหมด 3 กลุ่ม แบ่งตามลักษณะของขน คือ ขนสั้น เรียกว่า smooth  […]