โลกทึ่ง “เฟินก้านดํา” หลายชนิด พบเพียงที่เดียวในโลก คือที่ประเทศไทย

รู้หรือไม่ว่ามีเฟินก้านดําหลายชนิดที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นพืชถิ่นเดียวหรือพืชเฉพาะถิ่น(EndemicPlants) ซึ่งพบเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น โดยพบขึ้นและแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติบนพื้นที่ที่มีลักษณะจํากัดทางระบบนิเวศ เช่น บนเกาะ ยอดเขา หน้าผาของภูเขาหินปูน แอ่งพรุ ฯลฯ ซึ่งถิ่นที่อยู่ดังกล่าวมีสภาพจํากัดของสิ่งแวดล้อมหรือมีสภาพดินฟ้าอากาศเฉพาะที่ ค้นพบเฟินก้านดำ เฟินเป็นไม้ใบประดับอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับความนิยมปลูกเลี้ยงในเมืองไทยมานานแล้ว โดยเฉพาะเฟินสกุลก้านดํา(Adiantum) ซึ่งก้านใบมีสีดําเป็นมันเงา แผ่นใบแลดูบอบบางพลิ้วไหว แถมยังมีเสน่ห์ตรงใบอ่อนมีสีสวย จนมีการนําเฟินป่าหลายชนิดมาปลูกเป็นไม้ประดับ และมีการปรับปรุงพันธุ์เพื่อคัดเลือกเฟินต้นใหม่ที่สวยงามมากขึ้นเรื่อยๆ รู้จักกับเฟินก้านดําถิ่นเดียวของไทย ซึ่งมีการนํามาทดสอบปลูกเพื่อการอนุรักษ์ หลายชนิดพบขึ้นเฉพาะบนภูเขาหินปูนหรือดินที่สลายมาจากหินปูน เช่น ก้านดําใบบาง ก้านดําคลองพนม ก้านดําทุ่งสง และก้านดําทองแถม โดยแต่ละชนิดมีความสวยงามแตกต่างกันไป ก้านดําทองแถม (A.thongthamii Suk-sathan) เฟินขนาดเล็ก ใบประกอบแบบขนนก1ชั้น แผ่นใบรูปขอบขนาน ใบย่อยรูปพัดเกือบกลม ปลายใบมน ขอบหยักเป็นพู เนื้อใบหนาคล้ายหนัง มีขนสีเทาเงินปกคลุมหนาแน่นทั้งด้านบนและด้านล่าง พบที่เกาะช้าง จังหวัดตราด โดยขึ้นตามซอกหินบริเวณกลางแจ้งในป่าดิบแล้งบนภูเขา ก้านดําคลองพนม (A. phanomensis S.Linds & D.J.Middleton) เฟินขนาดเล็ก ใบประกอบแบบขนนก1ชั้น แผ่นใบรูปขอบขนาน ใบย่อยรูปพัด ขอบใบด้านบนหยักเป็นพูตื้น ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสั้นนุ่มหนาสีน้ําตาลถึงเทา พบที่อุทยานแห่งชาติคลองพนมและอุทยานแห่งชาติเขาสก […]

เฟินก้านดำใบด่าง

Variegated Maidenhair Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Adiantum raddianum C. Prest ‘Variegatum’ วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นพุ่มขนาดกลาง ใบ: ก้านใบตั้งตรงขึ้น ใบแผ่ออกเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง ยาว 50-60 เซนติเมตร ใบย่อยขนาดเล็ก แต่ละใบสีเขียวและมีขีดด่างสีขาว ใบอ่อนสีเขียวอ่อน มักจะมีใบไม่สมบูรณ์ เพราะสร้างอาหารได้น้อยกว่าปกติ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบถ่านทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง ชอบอากาศเย็น แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์

เฟินก้านดำ Adiantum

Adiantum นักเขียน: ภัทรา แสงดานุช เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-18-1452-6 พิมพ์ครั้งแรก: สิงหาคม 2559 จำนวน: 176 หน้า ราคา: 495 บาท เฟินก้านดำ เป็นเฟินชนิดหนึ่งของพืชกลุ่มเฟิน พืชไร้ดอกที่ถือเป็นพืชกลุ่มแรกๆ ที่กำเนิดขึ้นในโลก เฟินก้านดำมีลักษณะเด่นอยู่ที่ก้านสีดำอันบอบบาง มีรูปแบบใบที่หลากหลาย ดูอ่อนช้อยสวยงาม และมีชนิดพันธ์ุจำนวนมาก ทั้งที่เป็นพันธุ์แท้และพันธ์ุปลูกที่เกิดจากการผสมข้ามพันธ์ุในธรรมชาติและพัฒนาโดยมนุษย์ ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมไว้หลายร้อยชนิด พร้อมแนะนำวิธีปลูกเลี้ยง ขยายพันธ์ุ ตลอดจนการบำรุงดูแลให้เฟินสวยงาม และการนำไปใช้ตกแต่งสวน จากประสบการณ์ของนักปลูกเลี้ยงและสะสมเฟินมืออาชีพ   ”เฟินก้านดำ” ปลูกอย่างไรไม่ให้แห้งตาย  

เฟินพลาสติก

ชื่อวิทยาศาสตร์: Asplenium thunbergii Kuntze วงศ์: Aspleniaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นเหง้าสั้น พุ่มใบแผ่ออกรอบๆ ใบ: ก้านใบสีน้ำตาลเข้ม ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 20-25 คู่ ขอบใบย่อยหยักลึกถึงแกนกลาง ปลายใบโค้งเล็กน้อย แผ่นใบหนา ค่อนข้างแข็งและหยาบเมื่อใบแก่ สีเขียวเข้มมาก สปอร์เกิดที่ขอบแฉกด้านบนของใบย่อย มีแผ่นปิดเล็กๆ สามารถนำต้นอ่อนที่เกิดบนใบไปขยายพันธุ์ได้ อัตราการเจริญเติบโต: ช้า วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบ ถ่านทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ หรือใช้ต้นอ่อนที่เกิดบนใบ การใช้งานและอื่นๆ :ชอบความชื้นปานกลาง เป็นเฟินต่างประเทศ ปลูกในไทยได้ดี ปลูกเลี้ยงง่าย

เฟินทอง

 Golden Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Pityrogramma austroamericana Domin. วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นพุ่มขนาดกลาง ความสูง: 50-60 เซนติเมตร ใบ: คล้ายรูปสามเหลี่ยม แคบยาว ใบย่อยหยักลึกเป็นแฉกแคบ ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนใต้ใบมีผงสีเหลืองทองปกคลุม เมื่อกระทบแสงแดดจะเป็นประกายสวยงาม อับสปอร์สีดำ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบ ถ่านทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ : มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของอเมริกา แต่นำมาปลูกลี้ยงในเขตร้อนของเอซียจนแพร่กระจายไปในธรรมชาติ

เฟินใบหัวใจ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Hemiontis arifolia (Burm.f.) Moore วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นพุ่มขนาดเล็ก ความสูง: 8-10 เซนติเมตร ใบ: มีใบสองแบบ ใบไม่สร้างสปอร์รูปร่างคล้ายหัวลูกศรหรือหัวใจ ยาว 5-7 เซนติเมตร ใบหนาคล้ายหนัง ใบแก่สีเขียวเข้ม ใบสร้างสปอร์จะแคบเล็กและมีก้านใบยาวกว่า บริเวณที่โคนใบต่อกับก้านใบอาจเกิดต้นใหม่เล็กๆ ได้ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบ ถ่านทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ หรือแยกต้นที่แตกใหม่บริเวณโคนใบต่อกับก้านใบ การใช้งานและอื่นๆ : ชอบความชื้นสูง ปลูกเป็นไม้กระถางประดับสวนได้

เฟินใบตำลึง

เฟินก้านดำใบองุ่น กระปรอกว่าว ชื่อวิทยาศาสตร์: Doryopteris ludens วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นพุ่มขนาดเล็ก ความสูง: ประมาณ 20-30 เซนติเมตร ใบ: มีใบสองแบบ ใบไม่สร้างสปอร์รูปร่างคล้ายใบตำลึง ขอบใบหยัก 5 แฉกแหลม กว้างและยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ส่วนใบสร้างสปอร์มีก้านใบยาวกว่า ใบใหญ่กว่า ขอบหยักลึก 5-7 แฉก รูปใบหอกแคบ ปลาบแฉกอาจแตกแขนงอีก ใบสีเขียวเป็นมัน อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบ ถ่านทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง ชอบความชื้นสูง แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ […]

เฟินจอนหู

 เฟินโพธิ์/Diamond Maidenhair/Giant Maidenhair Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Adiantum trapeziforme L. วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นพุ่มขนาดใหญ่ ความสูง: เมื่อโตเต็มที่สูงได้ถึง 2 เมตร ใบ: ขนาดใหญ่ แต่ละใบยาว 50-100 เซนติเมตร แผ่กว้างและอ่อนโงลง มีใบย่อยขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนกึ่งรูปไข่ ส่วนปลายเรียวแหลม ขอบด้านหนึ่งหยักมน ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน อัตราการเจริญเติบโต: ช้า วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบถ่านทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ : ชอบวัสดุปลูกที่เป็นหินหรือมีหินปะปนมาก ในต่างประเทศนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

มาช่าส์ไพรด์

 ชื่อวิทยาศาสตร์: Adiantum tenerum ‘Marsha’s Pride’ วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นพุ่มตั้งตรง ความสูง: 30-45 เซนติเมตร ใบ: ยาว 70- 90 เซนติเมตร ใบย่อยรูปพัดย่นเป็นคลื่นมาก ขอบใบหยักเป็นแฉกย่อยๆ แต่ละใบเรียงซ้อนเหลื่อมกันเล็กน้อย ใบอ่อนสีเขียวอ่อน บางต้นอาจมีใบอ่อนสีชมพู อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบถ่านทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ : เป็นพันธุ์ที่ปลูกเลี้ยงง่ายจึงนิยมปลูกกันแพร่หลาย เหมาะปลูกเป็นไม้กระถางประดับสวน

เฟินเกล็ดหอย

Brittle Maidenhair Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Adiantum tenerum วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นพุ่มขนาดกลางถึงใหญ่ ใบ: ยาวได้ถึง 90 เซนติเมตร ใบย่อยรูปลิ่มกว้าง สีเขียวสด ใบแก่มักทิ้งใบและหลุดร่วง อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบ ถ่านทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ : ชอบวัสดุปลูกที่เป็นกลางและระบายน้ำดี ในธรรมชาติพบตามหินผาริมลำธารทั่วไปในเขตร้อนของอเมริกา นิยมปลูกกันแพร่หลาย เพราะเลี้ยงและขยายพันธุ์ง่าย บางครั้งก็ขึ้นเองในพื้นที่ชื้นๆ ทั่วไป

เฟินก้านดำใบฝอย

Double Leaflet ชื่อวิทยาศาสตร์: Adiantum raddianum C. Prest ‘Double Leaflet’ วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นพุ่มขนาดกลาง ใบ: แผ่กว้างคล้ายรูปสามเหลี่ยม ยาว 30-45 เซนติเมตร มีใบย่อยขนาดเล็กและหยักลึกคล้ายเป็นใบคู่ ทำให้พุ่มใบโปร่งและละเอียด อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบถ่านทุบ เศษโฟมหัก ชอบวัสดุปลูกที่เป็นด่างเล็กน้อย น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกได้ดีในที่มีอากาศค่อนข้างเย็นและชุ่มชื้น

เฟินก้านดำใบร่ม

Giant Maidenhair Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Adiantum polyphyllum Willd. วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ความสูง: กว่า 1 เมตร ลำต้น: เป็นเฟินขนาดใหญ่ ทรงพุ่มค่อนข้างสูง ใบ: ใหญ่ ก้านใบยาว ตั้งตรงขึ้นและเป็นใบประกอบ 2-3 ชั้น ใบย่อยมีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยม ใบอ่อนมีสีชมพูเหลือบเงิน แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้มเมื่อใบแก่ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบถ่านทุบ เศษโฟมหัก ชอบวัสดุปลูกที่เป็นด่างเล็กน้อย น้ำ: ปานกลาง ไม่ขังแฉะ ชอบอากาศเย็น แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ: จัดเป็นเฟินหายาก พบในเขตร้อนของอเมริกาใต้ ขึ้นตามผาหินใกล้ลำธารหรือหินชื้น […]

เฟินก้านดำเปรู

Silver Dollar Maidenhair Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Adiantum peruviznum Klotzsch. วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นพุ่มค่อนข้างใหญ่ ใบ: ก้านใบเล็ก สีน้ำตาลเข้มถึงดำ แต่ละใบยาวได้ถึง 1 เมตร ส่วนปลายใบมักทิ้งตัวห้อยลง ใบย่อยสีเขียวสด มีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใบอ่อนมีสีเงินเหลือบชมพู อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบถ่านทุบ เศษโฟมหัก ชอบวัสดุปลูกที่เป็นกลางหรือด่างเล็กน้อย น้ำ: ปานกลาง ไม่ขังแฉะ แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ: พบในเขตร้อนชื้นของอเมริกาใต้ ถ้าปลูกในเขตอากาศหนาวจะพักตัว

เฟินก้านดำอเมริกัน

 American Maidenhair Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Adiantum pedatum L. วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินกึ่งอิงอาศัย ลำต้น: เป็นพุ่มแผ่กว้างมากกว่าสูง ใบ: ใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาว ใบแตกเป็นแฉก ครั้งละ 2 แฉก ใบย่อยมีจำนวนมาก เรียงสองแถวในแต่ละแฉก  ใบแก่สีเขียวเข้มใบอ่อนสีเขียวบรอนซ์ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบถ่านทุบ เศษโฟมหัก ชอบวัสดุปลูกที่มีอินทรียวัตถุสูงและเป็นกรดเล็กน้อย น้ำ: ปานกลาง ไม่ขังแฉะ ชอบอากาศเย็น แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ: พบในเขตกึ่งร้อน ขึ้นตามผาหินที่เย็นและชุ่มชื้น เป็นเฟินกึ่งอิงอาศัย รากจึงมักตื้น ควรหาวัสดุคลุมที่โคนต้นด้วย

เฟินก้านดำบราซิล

ชื่อวิทยาศาสตร์: Adiantum curvatum Kaulf. วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นเฟินขนาดกลาง พุ่มค่อนข้างกว้างและใบดกแน่น ความสูง: 50-70 เซนติเมตร ใบ: ใบประกอบแบบขนนก แตกแบบตีนเป็ด ใบยาว 40-100 เซนติเมตร ใบย่อยคล้ายสี่เหลี่ยม ปลายด้านบนเรียวแหลม ดดยเฉพาะใบที่สร้างสปอร์ ขอบด้านบนและด้านข้างหยักมนตื้น มีก้านใบสั้นมาก เรียงตัวเป็นระเบียบ สีเขียวสด อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบถ่ายทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง ไม่ขังแฉะ แสงแดด: ปานกลางถึงรำไร ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ: มีถิ่นกำเนิดในบราซิล ปลูกเลี้ยงค่อนข้างง่าย ชอบอากาศชื้นเย็น ปลูกเป็นไม้ตัดใบได้ เพราะใบแห้งจะไม่หลุดร่วง

หางนาคบก

กูดน้ำข้าว/ตีนตุ๊กแก/Tralling Maidenhair/Walking Maidenhair Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Adiantum caudatum L. วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นเฟินขนาดเล็ก มีเหง้าสั้นๆ ใบ: ยาวและอ่อนโค้ง ก้านใบสีน้ำตาลเข้มถึงม่วงดำ มีเกล็ดตล้ายขนปกคลุม แกนกลางใบสีน้ำตาลแดง ใบรูปแถบยาว ปลายแหลม ปลายใบยืดยาวออกไป ไม่มีใบ แต่จะเกิดเป็นต้นใหม่เล็กๆ ขึ้นมา ใบประกอบแบบขนนก ขนาด 2-4×20-60 เซนติเมตร ใบย่อยรูปคล้ายสามเหลี่ยม ปลายแหลม ส่วนปลายใบเป็นรูปพัด ขอบด้านบนหยักมน สีเขียวเข้ม ผิวใบมีขนบางๆ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบถ่ายทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: น้อย-ปานกลาง แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: […]

กูดผา

ผักแว่นหัน/เฟินก้านดำ/Southern Maidenhair/Venus’s-hair Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Adiantum capillus-veneris L. วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นเฟินขนาดเล็ก เหง้าเล็กเลื้อยสั้น มีเกล็ดสีน้ำตาลปกคลุม ใบ: ก้านใบสั้นและอ่อน สีม่วงหรือดำ ยาว 3-8 เซนติเมตร ใบประกอบแบบขนนก 1-2 ชั้น รูปขอบขนานแคบหรือรูปคล้ายสามเหลี่ยมแคบ ขนาดประมาณ 3-5×5-12 เซนติเมตร ใบย่อยรูปพัด โคนใบรูปลิ่มหรือแหลม ขอบเรียบ ปลายใบหยักลึก ไม่สม่ำเสมอ ผิวใบเกลี้ยง สีเขียวสด อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบถ่ายทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง ไม่ขังแฉะ แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: […]

เฟินก้านดำใบเล็ก

Bush Maidenhair Fern/Common Maidenhair Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Adiantum aethiopicum L. วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ความสูง: 30-50 เซนติเมตร ลำต้น: ขึ้นเป็นกอ ทรงพุ่มสวยงาม ใบ: มีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม ก้านใบเล็กสีดำหรือสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ อ่อนโค้ง แต่แข็งแรงและเหนียว เมื่อโตเต็มที่แต่ละใบจะยาว 50-60 เซนติเมตร มีใบย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบถ่ายทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง ไม่ขังแฉะ แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกประดับสวน ให้บรรยากาศของสวนเมืองร้อน หรือปลูกเป็นไม้กระถาง ได้ชื่อวิทยาศาสตร์ตามชื่อประเทศเอธิโอเปีย ซึ่งเป็นสถานที่พบครั้งแรก