เอื้องม้าลาย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Phalaenopsis minus  Seidenf. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: คล้ายตากาฉ่อ (P.deliciosum) ใบ: รูปขอบขนาน คล้ายตากาฉ่อ แต่กว้างกว่า ดอก: ออกเป็นช่อ บานค่อนข้างพร้อมกัน กลีบเลี้ยงละกลีบดอกสีเหลืองนวล มีแถบเส้นสีม่วง กลีบปากแคบ สีเหลือง ปลายแหลม มีแต้มจุดประสีม่วง ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: เป็นกล้วยไม้ที่พบเฉพาะในประเทศไทย พบได้ในภาคอิสาน แต่หายาก

เหยือกน้ำดอย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Acanthephippium striatum  Lindl. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน ลำต้น: มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นเหนือดินมีลักษณะเป็นหัว ใบ: รูปขอบขนาน แผ่นใบหนาอวบและแข็ง   ดอก: ออกเป็นกระจุกจากโคนหัว ดอกสีขาว โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเปิดออก ทำให้ดอกเป็นถุง กลีคบปากเล็ก สีเหลือง ทยอยบานครั้งละ 1-2 ดอก  ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ดิน: ใบไม้ผุผสมอิฐมอญทุบ น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: เป็นกล้วยไม้หายาก

เอื้องแซะหลวง

เอื้องแซะ เอื้องแซะหอม ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrobium scabrilingue  Lindl. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: รูปรี สูง 10-20 เซนติเมตร ข้อคอดเล็กน้อย ผิวต้นเป็นร่องตื้นๆ ตามยาว และมีขนสั้นละเอียดสีดำ ต้นค่อนข้างแข็ง ขึ้นเป็นกลุ่มเล็กๆ ใบ: มี 3-4 ใบใกล้ยอด รูปรี ปลายหยักเว้าไม่เท่ากัน แผ่นใบหนาและเหนียว   ดอก: ออกเป็นช่อสั้น 1-2 ดอกตามข้อใกล้ยอด กลีบดอกสีขาวอมเขียวอ่อนเป็นมัน โคนกลีบปากกระดกตั้งขึ้นทั้งสองข้าง ปลายแผ่เป็นแผ่นยาว เมื่อแรกบานสีเขียวอมเหลือง สีจะเข้มขึ้นในวันถัดไปจนเป็นสีเหลืองเข้มหรือเหลืองอมส้ม ดอกบานนานเป็นเดือน กลิ่นหอมมาก ออกดอกเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง […]

เอื้องเมี่ยง

เอื้องกิ่งดำ ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrobium gratiosissimum Rchb.f. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: เป็นลำผอม ทอดเอนหรือห้อยลง โคนสอบเรียว ปล้องใต้ข้อป่องออกเล็กน้อย ผิวเรียบหรือเป็นร่องตามยาว สีเขียวอมม่วงหรือม่วงคล้ำเกือบดำ ใบ: รูปไข่แกมใบหอก แผ่นใบบางและร่วงไปเมื่อต้นเจริญเต็มที่     ดอก: ออกเป็นช่อสั้นๆ 1-3 ดอกตามข้อต้นที่ทิ้งใบ  กลีบดอกสีขาวอมม่วงอ่อนๆ ปลายสีชมพูอมม่วง กลีบผายออก โคนกลีบปากกระดกตั้งขึ้น ปลายแผ่ออกเป็นแผ่นเกือบกลม ปลายแหลม มีสีเหลืองที่กลางกลีบปาก ปลายสุดสีชมพูอมม่วง มีขนสั้นละเอียดหนาแน่น ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: พบในธรรมชาติน้อยมาก

เอื้องแซะหม่น

เอื้องแซะภู/เอื้องแซะดอยปุย ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrobium bellatulum  Rolfe วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: ป้อมคล้ายกระสวยหรือเหือบหลมหรือรูปรี สูงไม่เกิน 6 เซนติเมตร ตามต้นมีขนละเอียดสีดำ ต้นเรียงชิดกันเป็นกระจุก ใบ: รูปรี ปลายแหลม ใบเหนียวคล้ายหนัง สีเขียวอมเทา ดอก: ออกเป็นช่อ 1-3 ดอก กลีบสีขาว ผายออก โคนกลีบปากกระดกตั้งขึ้นทั้งสองข้าง สีแดงอมส้ม ปลายแผ่เป็นแผ่นกว้าง ขอบย้วยเป็นคลื่น สีส้มอมเหลือง ปลายเว้าตื้นเป็น 2 แฉก กลางกลีบปากนูนเป็นสันตามยาว ดอกบานนานกว่าหนึ่งสัปดาห์ กลิ่นหอมอ่อน ออกดอกเดือนมกราคม-เมษายน ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร […]

กะเรกะร่อนอินทนนท์

 เอื้องกำเบ้อ/เอื้องช้าง/เอื้องชาด/เอื้องฮ่องฟู/ผีเสื้อ ชื่อวิทยาศาสตร์: Cymbidium tracyanum O’ Brien วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: ขึ้นเป็นกอ ต้นยาวประมาณ 10 เศนติเมตร ใบ: รูปแถบ อวบน้ำ แต่เหนียวคล้ายหนัง   ดอก: ออกดอกเป็นช่อยาวได้ถึง 1 เมตร ช่อดอกทอดเอนหรือโค้งลง ดอกมักออกค่อนไปทางปลายช่อ 10-30 ดอก กลีบดอกแคบยาว พลิ้วเป็นคลื่น สีเขียว มีจุดสีม่วงอมน้ำตาลเป็นเส้นตามยาว หูกลีบปากกระดกตั้งขึ้นทั้งสองข้าง สีม่วงแดง กลีบปากแผ่เป็นแผ่นยาว ปลายแหลม ขอบหยักเป็นคลื่น สีเหลือง มีขีดหรือจุดสีม่วงอมน้ำตาลและมีขนยาว ทยอยบานเป็นเวลานาน ออกดอกเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง […]