เอื้องเมี่ยง

เอื้องกิ่งดำ ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrobium gratiosissimum Rchb.f. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: เป็นลำผอม ทอดเอนหรือห้อยลง โคนสอบเรียว ปล้องใต้ข้อป่องออกเล็กน้อย ผิวเรียบหรือเป็นร่องตามยาว สีเขียวอมม่วงหรือม่วงคล้ำเกือบดำ ใบ: รูปไข่แกมใบหอก แผ่นใบบางและร่วงไปเมื่อต้นเจริญเต็มที่     ดอก: ออกเป็นช่อสั้นๆ 1-3 ดอกตามข้อต้นที่ทิ้งใบ  กลีบดอกสีขาวอมม่วงอ่อนๆ ปลายสีชมพูอมม่วง กลีบผายออก โคนกลีบปากกระดกตั้งขึ้น ปลายแผ่ออกเป็นแผ่นเกือบกลม ปลายแหลม มีสีเหลืองที่กลางกลีบปาก ปลายสุดสีชมพูอมม่วง มีขนสั้นละเอียดหนาแน่น ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: พบในธรรมชาติน้อยมาก

เอื้องคำปอน

เอื้องคำป่า/เอื้องเดือน ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrobium dixanthum Rchb.f. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: เป็นลำตรงผอม ผิวเรียบ สีเหลืองคล้ายเทียนไข ขึ้นเป็นกลุ่มหรือกระจุก ใบ: เป็นแถบบางและแคบ ทิ้งใบก่อนมีดอก    ดอก: ออกเป็นช่อสั้นๆ 2-5 ดอกตามข้อต้น กลีบค่อนข้างบาง สีเหลือง ผายออก โคนกลีบปากกระดกตั้งขึ้น มีเส้นสีแดงตามยาวเป็นระยะ  ปลายแผ่ออกเป็นแผ่นบาง ค่อนข้างกลม ขอบจักฟันเลื่อยละเอียด มีขนสั้นละเอียดปกคลุม  ดอกบานนานหนึ่งสัปดาห์  กลิ่นหอมอ่อน ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: –