ว่านกลิ้งกลางดง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Dioscorea bulbifera L. วงศ์: DIOSCOREACEAE ประเภท: ไม้เลี้อย อายุหลายปี ลำต้น: มีหัวใต้ดินกลมแป้น สามารถแตกหัวย่อย (bulbil) ตามข้อใบได้ รูปทรงกลม สีน้ำตาล ผิวขรุขระ มีรอยนูนกึ่งกลางบุ๋ม ใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจแกมรูปไข่ ขนาด 5-10 เซนติเมตร เส้นใบขนานตามยาวเป็นร่องลึก ดอก: ช่อดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ช่อดอกยาว ดอกเพศผู้มีกลิ่นหอม อัตราการเจริญเติบโต: ช้า พักตัวในฤดูแล้ง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหัว โดยนำหัวย่อยมาปลูกใหม่ การใช้งานและอื่นๆ: ว่านชนิดนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า ว่านพระฉิม ซึ่งแตกต่างกันที่ผิวของหัวย่อยนูนขึ้น ขณะที่ว่านกลิ้งกลางดงผิวเป็นรอยนูนกึ่งกลางบุ๋ม เป็นสมุนไพร โดยนำหัวมาฝนกับว่านเพชรหึง ใช้น้ำซาวข้าวเป็นกระสายยา ใช้กินและทาแก้โรคฝีกาฬ และระงับพิษร้อนให้เย็นได้ หรือใช้อาบเป็นยาแก้ร้อนใน ช่วยรักษาโรคไข้ทรพิษ ความเชื่อ: […]

ว่านเถาวัลย์หลง

เครือเขาหลวง/เถาหมาหลง/มันฤาษี/ฮ้านผีป้าย ชื่อวิทยาศาสตร์: Argyreia  splendens (Hornem.) Sweet วงศ์: CONVOLVULACEAE   ประเภท: ไม้เลี้อย อายุหลายปี ใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ใต้ใบมีขนสีขาวปกคลุม ดอก: ช่อดอกออกจากซอกใบเป็นกระจุก มี 4-6 ดอก แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย มี 5 กลีบ สีขาวและสีม่วง อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี  แสงแดด: แสงแดดครึ่งวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำต้นแตกจากราก ปักชำเถา การใช้งานและอื่นๆ: มีสรรพคุณเป็นสมุนไพร ช่วยรักษาแผล โดยนำต้นมาตำให้ละเอียด ใช้พอกแผล ช่วยให้หายเร็ว ความเชื่อ: คนโบราณเกือบทุกภาคนิยมปลูกไว้หน้าบ้าน เพราะเชื่อว่าเป็นว่านเสน่ห์เมตตามหานิยม ทำให้ค้าขายดี โบราณว่า หากเดินป่าแล้วข้ามเถาต้นเถาวัลย์หลง […]