รวมต้นไม้มงคลในพุทธประวัติ เป็นที่เคารพและนิยมปลูกมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล

ธรรมะและธรรมชาติเป็นสิ่งเดียวที่อยู่คู่กันมาเสมอ หากใครที่ได้ศึกษาพุทธประวัติคงพอทราบว่าในสมัยพุทธกาล สถานที่สำคัญอันเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาส่วนใหญ่เกิดขึ้นใต้ต้นไม้ใหญ่ ในโอกาสวันสำคัญทางพุทธศาสนานี้เราจึงขอรวบรวม ต้นไม้มงคลในพุทธประวัติ ที่มีความสิริมงคลและเป็นที่เคารพสักการะ อีกทั้งยังนิยมปลูกในบ้านหรือสถานที่สำคัญมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งบางต้นอาจมีชื่อพ้องกับต้นไม้ชนิดอื่นจนหลายคนเข้าใจผิด ต้นสาละอินเดีย ต้นไม้มงคลในพุทธประวัติ ที่พบมากบริเวณประเทศอินเดียและเนปาล เมื่อถึงฤดูแล้งที่อากาศหนาวเย็นจะทิ้งใบและออกดอกหอมทั้งต้นคล้ายต้นพยอม (ขอขอบคุณภาพ จาก Geeta Samant ) 1.ต้นสาละอินเดีย ชื่อวิทยาสตร์ Shorea robusta Roxb. วงศ์ DIPTEROCARPACEAE ตามพุทธประวัติกล่าวถึงเหตุการณ์การประสูติและดับขันธ์ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าไว้ว่าเกิดขึ้น ณ ใต้ต้นสาละ โดยประสูติใต้นต้นสาละต้นเดี่ยวและปรินิพพานใต้ต้นสาละคู่ หากแต่เป็นต้นสาละอินเดีย ซึ่งมีความแตกต่างกับต้นสาละลังกาที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันและนิยมปลูกในบ้านเราอย่างสิ้นเชิง แม้ว่ารูปทรงของดอกสาละลังกาจะคล้ายคลึงกับดอกบัวที่อาจเกี่ยวข้องกับการดําเนินได้ 7 ก้าวหลังการประสูติก็ตาม เหตุที่แน่ใจได้ว่าสาละลังกาไม่ใช่ต้นไม้ชนิดเดียวกับต้นสาละในพุทธประวัติอย่างแน่นอน ก็เพราะต้นสาละลังกา (Couroupita guianensis Aubl.) มีถิ่นกําเนิดในทวีปอเมริกาใต้ โดยชาวโปรตุเกสเป็นผู้นํามาเผยแพร่ในประเทศศรีลังกาในช่วงปี พ.ศ.2424 ก่อนที่จะแพร่มายังประเทศไทยในเวลาต่อมา สาละลังกาจึงไม่ใช่ต้นไม้พื้นถิ่นที่สามารถเจริญเติบโตในสวนลุมพินีวัน ประเทศเนปาล หรือกรุงกุสินารา ประเทศอินเดีย เมื่อสองพันกว่าปีก่อนอย่างแน่นอน ต้นสาละอินเดีย อยู่ในวงศ์เดียวกับต้นพะยอมและต้นรังของบ้านเรา มีจุดเด่นคือดอกที่ออกเป็นพวงสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ปัจจุบันยังสามารถพบเห็นได้ในป่าและสวนรอบสังเวชนียสถาน อย่างไรก็ตาม ทั้งต้นสาละอินเดียและต้นสาละลังกาต่างเป็นต้นไม้ที่ให้ร่มเงาและมีความสวยงามเฉพาะตัว หากแต่ควรมีการให้ความรู้และประวัติความเป็นมาที่ถูกต้อง […]

ไทรย้อยใบแหลม

จาเรย/ไทรย้อย/ไทร/ไทรกระเบื้อง/Benjamin’s Fig/Golden Fig/Weeping Fig ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus benjamina L. วงศ์: Moraceae ประเภท: ไม้ต้น  ลำต้น: สูง 5-10 เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว มีทรงพุ่มแผ่กว้าง  ใบ: ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ แผ่นใบหนาเป็นมัน    ดอก: ช่อดอกออกตามซอกใบ ดอกแยกเพศ ขนาดเล็ก ผล: ผลกลม เมื่อแก่เป็นสีแดงเข้ม  อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดเต็มวัน น้ำ: ปานกลาง ทนน้ำท่วม การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง เสียบยอด การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประธานในสวน ริมทางเดิน ในสวนสาธารณะ หรือปลูกลงกระถางก็ได้ ทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี แต่ถ้าปลูกในที่แห้งแล้ง ใบจะร่วงมาก ต้นที่ได้จากการปักชำกิ่งหรือเสียบยอดจะแตกพุ่มใหม่ได้แน่น ไทรย้อยใบแหลมมีประสิทธิภาพสูงในการดูดซับมลพิษในอากาศ โดยเฉพาะสารพิษประเภทฟอร์มาลดีไฮด์ […]