เฟินแววแมลงทับ

เฟินแววปีกแมลงทับ ชื่อวิทยาศาสตร์: Microsorum thailandica T. Boonkerd & Noot. วงศ์: Polypodiaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินอิงอาศัย ลำต้น: เป็นเหง้าเลื้อยสั้น ใบ: เดี่ยว รูปขอบขนาน ปลายแหลม ยาว 10-20 เซนติเมตร ใบหนาและค่อนข้างแข็ง สีเขียวเข้มเหลือบน้ำเงินเป็นมันวาว อับสปอร์สีน้ำตาลแดง อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เบา เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี มีอินทรียวัตถุ เช่น กาบมะพร้าวสับ กานเฟินชายผ้าสีดา (รากเฟินชายผ้าสีดา) ผสมกับถ่านทุบและใบไม้ผุ น้ำ: ปานกลาง ชอบความชื้นสูง แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ หรือแยกเหง้า การใช้งานและอื่นๆ : เป็นเฟินที่พบทางภาคใต้ของไทยเมื่อปีพ.ศ. 2537 เกาะอาศัยตามผาหินปูนที่ค่อนข้างชื้น นิยมใช้จัดสวนหรือทำไม้กระถางแขวน

สิงโตช้อนทอง

สิงโตซ้อน ชื่อวิทยาศาสตร์: Bulbophyllum spathulatum (Rolfe ex E.W.Cooper) Seidenf. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย เจริญเติบโตทางด้านข้าง มีเหง้าเล็กๆ ทอดเลื้อย ลำต้น: ลำลูกกล้วยรูปไข่ สีน้ำตาลแดง ใบ: ใบรูปขอบขนาน กว้าง 2 – 2.5 เซนติเมตร ยาว 5 – 6 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ดอก: ช่อดอกออกจากโคนลำลูกกล้วย ดอกขนาดประมาณ 6 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีน้ำตาล กลีบเลี้ยงคู่ข้างเชื่อมติดกันดูคล้ายช้อน กลีบปากรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ออกดอกเดือนตุลาคม ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: […]